MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
แบ่งเป็น 2 วิธีหลักๆ คือ


  • 1. วิธีอนุกรมเวลา (Time Series) อาศัยข้อมูลในอดีตที่มาเป็นช่วงเวลาหนึ่ง ที่ทำให้สามารถเห็นแนวโน้มและรูปแบบของข้อมูล โดยสมมติว่า รูปแบบและแนวโน้มนี้จะมีต่อเนื่องในอนาคต
  • 2. วิธีการใช้ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม (Explanatory method)
การวิเคราะห์แบบ Value Analysis
เป็นระบบที่ขยายขอบเขตจากในคุณค่าของตัวธุรกิจเอง สู่ผู้ผลิตวัตถุดิบและลูกค้า แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยนั้นๆ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่ออุตสาหกรรมที่เราต้องการวิเคราะห์ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการใช้เทคโนโลยี Global positioning System ทำให้ระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตสามารถวางแผนการผลิตและการส่งสินค้าได้ถูกต้องตรง เวลามากขึ้น ถ้าเราไม่แน่ใจว่าปัจจัยที่เกิดขึ้นจะทำให้อุตสาหกรรมนั้นทำกำไรให้กับ อุตสาหกรรมได้หรือไม่ เราก็สามารถใช้ห่วงโซ่คุณค่าของลูกค้ามาพิจารณาว่า สิ่งนั้นทำให้ลูกค้าสามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตได้ดีขึ้นมีประสิทธิภาพขึ้น หรือไม่

วัฏจักรอุตสาหกรรม
ใช้ในการประเมินยอดขายและอัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรม โครงสร้างอุตสาหกรรมและการแข่งขันในอุตสาหกรรม สร้างสภาพแวดล้อมให้บริษัทแข่งขัน บริษัทเองก็จะต้องดำเนินกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อแข่งขันในตลาด เพื่อทำให้เกิดกำไร การเข้าใจอุตสาหกรรมจึงช่วยในการวิเคราะห์ ตัดสินใจเลือกอุตสาหกรรมที่น่าจะมีแนวโน้มในการทำกำไรด้วย วัฏจักรอุตสาหกรรมประกอบด้วย 4 ช่วงด้วยกันคือ
  • 1. ช่วงบุกเบิก (Introduction)
  • 2. ช่วงที่การขยายตัวค่อนข้างสูง (Growth)
  • 3. ช่วงที่ตลาดเริ่มอิ่มตัว (Maturity)
  • 4. ช่วงถดถอย (Declining)
แบบจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรม คือ Five Forces ของ Michael Porter ประกอบด้วยการวิเคราะห์
  • 1. ภาวการณ์แข่งขัน อุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง จะส่งผลให้มีกำไรต่ำ
  • 2. อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด
  • 3. สินค้าทดแทน
  • 4. อำนาจต่อรองของลูกค้า
  • 5. อำนาจต่อรองของผู้ผลิต

เทคนิคในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ที่แนะนำ

เทคนิคในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ที่แนะนำ ได้แก่

  • 1. การวิเคราะห์แบบ PEST
  • 2. การวิเคราะห์แบบ Value Analysis
การวิเคราะห์แบบ PEST
PEST คือการวิเคราะห์
1. Political (การเมือง) - Free trade Area, Mega project and Poverty
2. Economics (เศรษฐกิจ) - China Growth, Inflation and Regional Development
3. Social (สังคม) - Demographic and Health Conscious
4. Technological factors (เทคโนโลยี) - Nano Tech, Fuel Efficient and GPS(Global Positioning System)
ซึ่งการวิเคราะห์จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้และความเป็นจริง เป็นหลัก ผู้วิเคราะห์ต้องเข้าใจดีถึงผลกระทบของปัจจัยแวดล้อมต่ออุตสาหกรรม

การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ หรือต้นทุนในการวิเคราะห์เชิงปริมาณสูงเกินไป เหมาะสมกับการวิเคราะห์ระยะสั้นและอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวด เร็วที่ไม่มีข้อมูลเชิงปริมาณในอดีตเพียงพอในการวิเคราะห์
วิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่ง่ายที่สุด คือ “Expert Opinion” ทำได้โดยการนำผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มาระดมความคิดเห็นกัน ยังมีเทคนิค Delphi เป็นเทคนิคที่ใช้รวบรวมความคิดเห็น คิดค้นโดย Rand Corporation โดยให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนตอบข้อซักถามของทีมดำเนินงานทีละคน ทีมดำเนินงานจะคัดเลือกคำตอบที่ไม่เข้าพวกอย่างสุดขั้วออกไป เหลือแต่ความเห็นที่คล้ายคลึงกัน แล้วส่งคำตอบที่ได้กลับไปยังผู้เชี่ยวชาญประเมิน ซึ่งต้องทำหลายๆรอบ จนกว่าจะได้มติจากผู้เชี่ยวชาญ

การวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรม (Industry Analysis)

การวิเคราะห์ภาวะอุตสาหกรรม (Industry Analysis)
การวิเคราะห์หลักทรัพย์จะเกี่ยวข้องกับแหล่งข้อมูล 3 ระดับคือ


  • 1. ข้อมูลระดับมหภาค ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม กฎระเบียบและนโยบายต่างๆ เทคโนโลยี ประชากรศาสตร์ รูปแบบการดำเนินชีวิต
  • 2. ข้อมูลระดับอุตสาหกรรม ได้แก่ วัฏจักรเศรษฐกิจ โครงสร้างตลาด การเปลี่ยนแปลง
  • ของโครงสร้างมหภาค วัฏจักรชีวิตอุตสาหกรรม
  • 3. ข้อมูลระดับบริษัท
ซึ่งข้อมูลทั้ง 3 ระดับนี้ต่างมีผลต่อผลประกอบการของบริษัท ซึ่งจะมีผลต่อผลตอบ
แทนของการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทนั้นๆ
ในการวิเคราะห์ข้อมูลระดับมหภาคและระดับอุตสาหกรรม จะต้องทำการวิเคราะห์ 2 ด้านด้วยกัน คือ

  • 1. Qualitative Analysis เป็นการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เป็นการใช้ความคิดเห็นของนักวิเคราะห์มาพิจารณาอาจเกิดการ bias ได้ ไม่สามารถบอกออกมาเป็นตัวเลขได้ แต่สามารถใช้ได้ดีเมื่อมีข้อมูลใหม่ๆเข้ามาโดยเฉพาะข้อมูลภายใน (inside information)
  • 2. Quantitative Analysis การวิเคราะห์เชิงปริมาณ จัดทำง่าย สามารถบอกแนวโน้มได้โดยเฉพาะช่วงสั้นๆ แต่มีโอกาสผิดพลาดได้ หากมีข้อมูลภายในอาจทำให้ยากในการวิเคราะห์
วัฎจักรธุรกิจ
ขึ้นกับแนวโน้มของภาวะเศรษฐกิจเช่นกัน ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจนใกล้จุดต่ำสุด Financial stock จะดีขึ้นเนื่องจากมองว่าอนาคตจะ recover เริ่มมีการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อถึงจุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจ Consumer Durable เมื่อถึงช่วงเศรษฐกิจเริ่มโงหัวขึ้น ธุรกิจสินค้าทุนจะเริ่มดี เนื่องจากมีการบริโภคมากขึ้น สินค้าเริ่มมีน้อยลง ต้องมีการผลิตเพิ่ม สินค้าทุนต้องถูกจัดซื้อเพิ่มขึ้น ช่วงเศรษฐกิจเติบโตเต็มที่ Basic industries จะดี

การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Analysis)

ต้อง วิเคราะห์ทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกและในประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจโลกจะมีผลต่อประเทศไทยของเราเช่นกัน ปัจจัยที่ต้องพิจารณา ได้แก่ การพยากรณ์เกี่ยวกับอัตราการเติบโตของรายได้ประชาชาติของแต่ละประเทศ การพยากรณ์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ฯ
นอกจากนี้ยังต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีสัดส่วนการบริโภคในโลกนี้มากที่สุด
ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ จะต้องศึกษาถึงภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างไร ซึ่งวิทยากรเห็นว่าปัจจุบัน



  • -ไทยมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แต่ยังไม่น่าเป็นห่วง ควรเร่งการลงทุน ซึ่งภาค
  • เอกชนได้มีการลงทุนกันเป็นจำนวนมาก ยังเหลือแต่ภาครัฐที่ยังไม่ลงทุนมากนัก
  • - สำหรับการบริโภคของคนในประเทศ มีการชลอตัวเนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ที่ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น
  • - นโยบายการเงิน มีแนวโน้มที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกในอนาคต หากมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ก็จะมีผลต่อภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
  • - ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ของประเทศไทยมีผลการ
  • ดำเนินงานที่ต่ำกว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลก และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ค่อยมีการเติบโตนัก การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเป็นการเคลื่อนย้ายทุนมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นส่วนใหญ่ อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลการเติบโตของตลาดหลักทรัพย์
หลัก ทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดอื่นๆแล้ว มูลค่ายังต่ำมาก เมื่อพิจารณาจากค่า P/E Ratio ในขณะที่บริษัทจดทะเบียนต่างมีงบดุลที่ดีขึ้น นั่นคือมีสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง (มีการใช้เงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น) ทำให้มีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้น ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆมีการใช้เงินทุนจากผู้ถือหุ้นมากแล้ว ผลตอบแทนก็เริ่มโตมาก การจะเพิ่มผลตอบแทนเริ่มยากขึ้น อาจทำให้ ROE/ROA ปรับตัวลดลง บริษัทเหล่านี้จะทำอย่างไร มีทางแก้อยู่ 2 ทางคือ

  • 1. เร่งขยายกิจการโดยลงทุนเพิ่มขึ้น 
  • 2. เร่งจ่ายเงินปันผลให้มากๆ

การวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้นแบ่งได้เป็น 3 แนวทาง


ถึง แม้จะมีหลายแนวทางให้วิเคราะห์แต่มีเพียง 2 แนวทางแรกเท่านั้น ที่นักวิชาการส่วนใหญ่นำมาวิเคราะห์ บางท่านคิดว่า ตลาดหุ้นนั้นเหมือนการเสี่ยงดวง วัดดวงหรือเหมือนการพนันแต่ความจริงแล้ว ตลาดหุ้นนั้น มีศาสตร์และศิลป์ที่สามารถหาคำตอบได้ทางวิยาศาสตร์และทุกอย่างที่เกิดขึ้นมี ทั้งเหตุและผลครับ มีมหาวิยาลัยชื่อดังหลายแห่งที่มี หลักสูตรการสอนเรื่องตลาดหุ้นโดยเฉพาะครับ อย่างเมืองไทยเราก็มี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ส่วนของต่างประเทศดังๆก็มี Massachusetts Institute 0f Technology, Baruch College of The City of New York เป็นต้น

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamantal Analysis)
การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน ประกอบไปด้วย



 

Popular Posts