MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความสามารถในการผลิต (Productivity)

ในทางวิชาการคำว่า Productivity หมายถึง ผลภาพ (บัญญัติศัพท์โดยหนังสือราชบัญฑิตยสถาน) แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กันเนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า “ การเพิ่มผลผลิต ” ซึ่งสื่อความหมายได้ดีกว่า

ในความเข้าใจของผู้คนทั่วไปมองว่า “ การเพิ่มผลผลิต ” กับ “ การผลิต ” นั้น มีความหมายเหมือนกันแต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างชัดเจน ก็คือ “ การผลิต ” จะเกี่ยวข้องกับผลผลิต ซึ่งมักจะเรียกกันโดยทั่วไปว่าปริมาณการผลิตและมีการนับเป็นหน่วยได้ ในขณะที่ “ การเพิ่มผลผลิต ” จะหมายถึง “ ผลิตภาพ ” (Productivity) ก็คือ “ อัตราส่วน ” ระหว่างผลผลิตที่ได้และสิ่งที่ป้อนเข้าไป (วัตถุดิบที่ใช้ไปเพื่อการผลิตได้ผลผลิตจำนวนนั้น)

ในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อพูดถึง “ การเพิ่มผลผลิต ” เราควรจะต้องพิจารณาอีก 2 ปัจจัยสำคัญพร้อมกันไปด้วย คือ ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)

“ ประสิทธิภาพ ” จะมุ่งถึงความประหยัดและต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำเป็นหลัก นั่นหมายถึง การรักษาระดับการผลิตที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาน้อยลงหรือมีการสูญเสียเกิดขึ้นน้อย ส่วน “ ประสิทธิผล ” จะหมายถึงการบรรลุผล หรือหมายถึงผลิตได้ผลหรือทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

แนวทางการเพิ่มผลผลิต

การเพิ่มผลผลิตมีได้หลายรูปแบบ เช่น การลดเวลาในการผลิต (Cycle Time), การลดต้นทุนของวัตถุดิบ (Material cost) ที่ใช้ในการผลิต , การลดจำนวนของเสีย (Defect Reduction) และอื่น ๆ ซึ่งตามที่ Sumanth (1985) ได้กล่าวถึงประเภทของเทคนิคในการเพิ่มผลผลิตไว้ด้วยกัน 5 ประเภท ดังนี้ คือ

• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณาจากการทำงาน

• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน

• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณารูปแบบการทำงานของพนักงาน

• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณาคุณค่าและรูปแบบของผลิตภัณฑ์

• เทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยพิจารณาระบบการจัดการของวัสดุ

ด้วยเทคนิคต่างๆ ที่ได้กล่าวมานั้นล้วนเป็นการเพิ่มผลผลิตทั้งสิ้น ซึ่งในคอลัมนี้เราขอเสนอเทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน เช่น สำหรับงานเจาะรูและโครงสร้างในงานอุตสาหกรรมเหล็กเป็นปัจจัยและงานหลักๆที่พบเห็นกันมาก จึงขอยกตัวอย่างสำหรับงานที่จำเป็นต้องเจาะรูประมาณ 1,000 รู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตรและมีความหนา 35 มิลลิเมตร โดยปกติการเจาะทั่วไปนั้นไม่สามารถเจาะรูโดยดอกสว่าน ( Twist Drillls) ขนาดใหญ่ 50 มิลลิเมตรให้เสร็จในครั้งเดียวได้ แต่ต้องเริ่มโดยการเจาะดอกสว่านขนาดเล็กนำร่องมาก่อน ขนาด 10 มิลลิเมตรและอาจต่อด้วยดอกขนาด 35 มิลลิเมตรและจบด้วยขนาด 50 มิลลิเมตรอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งระยะเวลาในการทำงานของแต่ละดอกอาจใช้เวลาประมาณ 3 – 5 นาที หากเรานำมาคำนวณเวลาที่ต้องใช้ในการเจาะไม่รวมเวลาในการเปลี่ยนดอกเจาะ

ตัวอย่างที่ 1 การเจาะ 1 รูต้องใช้เวลา = จำนวนการเจาะ 3 ครั้ง * 5 นาที = 15 นาที

ถ้าต้องเจาะ 1,000 รู = 15 นาที * 1,000 = 15 ,000 นาที

15,000 นาที = 2 50 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 10.41 วัน

หากลองใช้ดอกเจาะ Jet broach ในงานเดียวกันนั้นจะเห็นว่าดอกเจาะแบบนี้จะทำให้ลด (เวลา) ขั้นตอนในการทำงาน ประหยัดพลังงาน และทำให้เกิดเศษขี้เหล็กที่น้อยกว่า ซึ่งข้อดีเหล่านี้เกิดจากความสามารถของดอกเจาะที่สามารถเจาะรูเหล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่และหนาได้ในการเจาะครั้งเดียว และหากนำมาคำนวณระยะเวลาในการทำงาน กับการเจาะรู 1,000 รู ในงานเดียวกันจะใช้เวลาเพียง 2 นาที
ตัวอย่างที่ 2 จำนวนการเจาะ 1 ครั้ง = 2 นาที * 1000 = 2 000 นาที

2 000 นาที = 33.33 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 1.39 วันเท่านั้น

และนี้ก็เป็นเพียง 1 แนวทางการเพิ่มผลผลิตที่จะช่วยลดเวลาในการทำงานและส่งมอบงานได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังเป็นการประหยัดค่าแรงคนงานลงอีกด้วย

โดยสรุปแล้ว “ การเพิ่มผลผลิต ” หรือ “ ผลิตภาพ ” (Productivity) ก็คือความสามารถในการใช้ทรัพยากรต่างๆ หรือวัตถุดิบต่างๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะเห็นว่า Productivity มีความสำคัญต่อองค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานและตอบสนองความต้องการของลูกค้านั้นเอง ท่านสามารถนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้กับงานของท่านได้ตามความเหมาะสม ไม่เพียงเท่านั้นท่านยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่งด้วย

การวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth)

ความสามารถในการผลิต (Productivity) หมายถึง ระดับเฉลี่ยของผลผลิตต่อคนงานต่อชั่วโมง เป็นการวัดประสิทธิภาพของการผลิตสำหรับระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบ การเพิ่มขึ้นของความสามารถในการผลิตเป็นผลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะทำให้แรงงานสามารถผลิตสินค้าและบริการได้จำนวนมากขึ้น

การวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจแห่งชาติของแต่ละประเทศ ทำได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product หรือ GNP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตโดยประชาชนประเทศนั้นในงวดเวลาที่กำหนด (ปกติภายในระยะเวลา 1 ปี) และการที่จะวัดรายได้ประชาชาติ (GNP) ของประเทศใดสมควรใช้ GNP ต่อคน (GNP per Capita) จึงจะทราบถึงความเจริญเติบโตที่แท้จริง

นักเศรษฐศาสตร์อาจนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product หรือ GDP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศในระยะ เวลา 1 ปี มาเป็นเครื่องวัดผลการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ คำนิยามของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP นี้จะคล้ายกับ GNP มาก แต่มีข้อแตกต่างคือ GDP จะไม่รวมรายได้สุทธิจากต่างประเทศ

ชนิดของการแข่งขัน
ระบบตลาดเสรี (Free - Market System) แสดงให้เห็นการแข่งขันระหว่างผู้ขายสินค้าและทรัพยากร นักเศรษฐศาสตร์แบ่งการแข่งขันในตลาดออกเป็น 4 ตลาด คือ

1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Pure Competition) เป็นสถานการณ์ทางตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าชนิดเดียวกันหลายราย แต่ไม่มีใครมีอิทธิพลมากพอที่จะควบคุมราคาสินค้านั้นได้ เพราะสินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ การเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดของผู้ผลิตเป็นไปโดยง่าย ตลอดจนผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับตลาดเป็นอย่างดี ความจริงแล้วตลาดชนิดนี้ไม่มีอยู่จริงในโลก และถือเป็นเพียงตลาดในอุดมคติ (Ideal Market) เท่านั้น

2. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition) เป็นตลาดที่มีสภาพใกล้เคียงกับความ เป็นจริงในปัจจุบันมากที่สุด คือ เป็นระบบตลาดที่มีผู้ขายจำนวนมาก โดยขายผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน ทั้งนี้ในการเข้าสู่ตลาดหรือออกจากตลาดในระยะยาวจะค่อนข้างง่าย เช่น ระบบตลาดของไทย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

3. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) เป็นตลาดที่มีผู้ขายตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นผู้ขายรายใหญ่ ทั้งจำนวนเงินลงทุนและขนาดของกิจการ โดยอาจจะขายผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เช่น ตลาดน้ำอัดลมของไทย เป็นต้น

4. ตลาดผูกขาด (Monopoly) คือ ตลาด (หรืออุตสาหกรรม) ที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดทดแทนได้ เช่น การผลิตบุหรี่ของโรงงานยาสูบ การผลิตไฟฟ้า ประปา เป็นต้น

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)


•ขั้นแนะนำ(IntroductionStageอาจเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือผลิตภัณฑ์เก่าแต่เปลี่ยนรูปแบบวิธีการให้บริการใหม่และนำเสนอเข้าสู่ตลาดพร้อมทั้งใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์และกลยุทธ์การส่งเสริมการขายในรูปต่างๆ โดยมุ่งไปยังลูกค้าที่คิดว่าพร้อมจะซื้อสินค้าและบริการมากที่สุดเป็นเป้าหมายหลัก
สำหรับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานในขั้นแนะนำนั้น เพื่อสร้างความรู้สึก จดจำ ให้ภาพลักษณ์แก่นักท่องเที่ยว ขยายตลาดลูกค้าประจำ และแสวงหาตลาดใหม่ การหวังผลกำไรจึงเป็นได้ยากถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะอยู่ในขั้นการสำรวจและดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว



•ขั้นเจริญเติบโต (Growth Stage) ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ปริมาณการขายเพิ่มขึ้นได้รับความนิยมจากลูกค้ากำไรให้แก่ธุรกิจได้ดี ผู้ประกอบการต้องเร่งการผลิตเพื่อตอบสนองให้ทันต่อความต้องการ รวมทั้งการรักษาและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้นด้วย เพื่อรักษากลุ่มลูกค้าเดิม เพิ่มสัดส่วนการถือครองตลาด (market share) และขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะมีการดำเนินและพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
•ขั้นเจริญเติบโตที่ (Maturity Stage) ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของตลาด เริ่มคู่แข่งขันการโฆษณาและส่งเสริมการขายจะเปลี่ยนจากการเน้นความต้องการทั่วไป เป็นความต้องการในขั้นเลือก(selective demand) ทำให้เกิดความพยายามสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า (product differentiation) จำเป็นต้องลดราคา หรือ กำไรต่อหน่วย ถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะมีนักท่องเที่ยว เข้าไปเที่ยวเป็นจำนวนมาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน สำหรับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว
•ขั้นอิ่มตัว (Saturation Stage) มียอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง ผลิตภัณฑ์ที่ด้วยกว่าของบริษัทคู่แข่งจะออกสู่ตลาด มีการขายตัดราคากัน ตัวแทนจำหน่ายอาจลดการสั่งซื้อจำเป็นต้องเร่งการส่งเสริมการขายทั้งร้านค้าตัวแทนจำหน่าย และผู้บริโภค พร้อมทั้งปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการจำหน่าย เพื่อขยายตลาดลูกค้าให้กว้างออกไป
•ขั้นตกต่ำ หรือถดถอย (Decline Stage) ผู้ผลิตพยายามลดจำนวนผลิตภัณฑ์ในตลาดเนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่ทันสมัย ยอดขายลดลงไม่สามารถรักษาส่วนแบ่งของตลาดไว้ได้ การส่งเสริมการขายน้อยลง จำเป็นต้องเริ่มวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ด้วยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือให้ผลิตภัณฑ์นั้นออกจากตลาดไป แล้วเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่แทน เช่น ตลาดน้ำวัดไทร ปัจจุบันเปลี่ยนที่ไปเป็นตลาดน้ำดำเนินสะดวก ราชบุรีหรือแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งเสื่อมโทรมจนไม่มีใครอยากมาเที่ยวอีก
ดังนั้นการวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจึงมุ่งความสำคัญไปที่การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องเดินทางไปสู่ความเสื่อมโทรมเสมอไป วงจรชีวิตอาจขยายหรือยึดออกไปได้ด้วยการวางแผนพัฒนาปรับปรุงแก้ไขที่ดี พัฒนาโดยการคำนึงถึงความสามารถในการรองรับของพื้นที่ การจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวก ความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่นและของนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจใช้วิธีการขายร่วม คือเอาแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาทำ package ขายให้นักท่องเที่ยวไปในคราวเดียวกัน หรือปรับตำแหน่งทางการตลาด เช่น พัทยา เป็น Convention Hall City จำทำให้แหล่งท่องเที่ยวสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม สามารถกลับฟื้นคืนสภาพเพื่อเริ่มวงจรใหม่ได้

ระบบ Just in Time

ระบบ Just in Time ที่ในภาษาไทยเราเรียกกันว่า “ระบบทันเวลาพอดี” หมายถึงระบบใน
กระบวนการผลิตที่วางอยู่บนหลักการที่จะกำจัดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต รวมทั้งการดำเนินการให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ถูกจัดเป็น
ระบบการผลิตแบบญี่ปุ่น (Japanese Manufacturing System) ที่สำคัญระบบหนึ่ง

ปรัชญาการผลิตแบบนี้ยังเน้นในเรื่องของ “การผลิตชิ้นส่วนที่ถูกต้อง ณ สถานที่ที่ถูกต้อง ในเวลาที่ถูกต้อง” ซึ่งก็หมายถึงทันเวลาพอดีนั่นเอง เรื่อง
การกำจัดของเสีย หรือความสูญเสีย ที่เป็นที่รู้จักกันดี มี 7 ประเภท เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Seven waste หากเป็นภาษาญี่ปุ่นเขียนเป็นอังกฤษคือ 7
Mudas คือ
1. ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินไป (Over Production Waste)
2. ความสูญเสียจากการขนส่ง (Transportation Waste)
3. ความสูญเสียจากการรอคอย (Waiting Waste)
4. ความสูญเสียจากสินค้าคงคลัง (Inventory Waste)
5. ความสูญเสียจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects Waste)
6. ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion Waste)
7. ความสูญเสียจากกระบวนการมากเกินไป (Overprocessing Waste)

ขยายความของทั้ง 7 ข้อนี้ผมแยกไปพูดในอีกหน้าหนึ่งต่างหากครับ ในหัวข้อ Seven Waste

นอกจากนั้นความหมายของ JIT ยังถูกเอาไปเรียกรวมๆกันกับ การผลิตแบบลีน หรือ Lean Production หรืออาจจะเรียกว่าการผลิตแบบไม่มีสต็อค
(Stockless Production) ก็ได้ครับ ชื่อมันโยงกันไปโยงกันมา อย่าไปสับสนแล้วกัน คุณจะเห็นได้ว่าเจ้าชื่อที่เรียกว่า Stockless Production นั้นมันก็เป็น
หัวข้อหนึ่งอยู่ใน 7 waste อีกด้วย คือ Inventory Waste ที่จะต้องดำเนินการให้หมดไป เอาเป็นสรุปหลัการง่ายๆว่า ในระบบ JIT นั้นกระบวนการผลิตจะ
ไหลไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่ยอมให้ติดขัด มีลักษณะคล้ายกับสายการประกอบที่ไหลไปตามสายพาน โดยในแต่ละจุดหรือสถานีงาน (work station) ที่ต้อง
มีการใช้ชิ้นส่วนต่างๆก็จะมีการเตรียมพร้อมไว้แล้วโดยไม่ขาด และเมื่อชิ้นส่วนพร่องไปก็จะถูกเติมทันที

อย่า งง นะครับว่าเขาทำอย่างไร ให้ชิ้นส่วนในการผลิตไม่ขาด แล้วยังไม่มีการสต็อคอีกด้วย เขาทำได้ครับด้วยแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงโดย
ต้องวางแผนให้มีวัสดุป้อนไม่ขาด และทันเวลาที่ต้องใช้พอดี สำหรับโรงงานที่จะทำแบบนี้ได้ต้องยิ่งใหญ่จริงๆ เพราะตัวเองไม่มีสต็อค แล้วชิ้นส่วนมันมา
จากไหนกัน มันก็มาจาก Supplier นั่นไงครับ ถามว่าใครหนักงานนี้ มันก็ Supplier นั่นแหละ ที่จะต้องส่งของให้ทันตามเวลาที่เขาจะใช้ แล้วแบบนี้คุณคิดว่า
Supplier ต้องสต็อคของหรือไม่ อ้อ! แน่นอนครับ หากไม่สต็อคมันก็เสี่ยง คุณส่งให้เขาไม่ทันโดนปรับอานครับ สมมุติโรงงานที่มีระบบ JIT อยู่ระยอง แล้ว
โรงงานคุณอยู่เทพารักษ์ มันก็วุ่นพอดูเหมือนกันทำให้คุณต้องเก่งในการวางแผนด้วย ไม่งั้นต้องแบกรับหนัก แต่เขาคงให้ราคาดีมันถึงอยู่กันได้ แล้วดูซิครับ
เขาจะยิ่งใหญ่แค่ใหน

ระบบนี้ถูกพัฒนาโดยโตโยต้าครับ ในต้นทศวรรษ 1950 โน่น แล้วก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า Toyota Production System – TPS แปลเป็นไทยก็ได้ว่า
“ระบบการผลิตแบบโตโยต้า” เห็นไหมครับ มาอีกชื่อหนึ่งแล้ว เมื่อเกิดระบบ TPS นี้ขึ้นมาโรงงานในญี่ปุ่นก็เอาไปใช้หลายแห่งในต้นทศวรรษ 1970 ซึ่งผม
ไม่สงสัยเลยเพราะญี่ปุ่นนั้นพูดได้ว่าระบบชั้นยอด และคนก็ชั้นยอดไม่แพ้กัน และในที่สุดก็ไปโผล่ที่อเมริกาในต้นทศวรรษ 1980 โดยบริษัท GE เป็นแห่ง แรก และก็ถูกนำไปใช้ทั่วโลก

ต้องเข้าใจว่าดูตามชื่อเห็นมันเล็กๆ แต่จริงๆแล้วไม่เล็กเลย ใน JIT ยังมีระบบย่อยๆอีกมากมายประกอบกันอยู่ มีอะไรบ้างครับ
ลองมาไล่เรียงดู

1 สายการผลิตต้องสม่ำเสมอ การผลิตไหลไปเหมือนน้ำในท่อน้ำที่มีขนาดภายในของท่อเท่ากันตลอด (จินตนาการเอากับท่อน้ำที่ไม่เป็นสนิมเกาะเองแล้วกัน)

2 ลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักร ให้เป็นศูนย์ บางทีอาจจะมองว่ามันจะเป็นไปได้อย่างไร ตรงนี้อาจต้องขึ้นกับสถานภาพในการผลิตด้วย หากจะเปลี่ยน
ผลิตภัณฑ์แล้วมีเครื่องจักรเตรียมพร้อมอยู่ก่อนแล้วก็ย่อมสามารถทำได้ แต่ถึงแม้จะไม่ได้ศูนย์ระบบนี้ก็ยังเหนือกว่าหลายประเทศรวมทั้งอเมริกา เพราะ JIT
ใช้เวลาเป็นนาที แต่ประเทศทั้งหลายเป็นชั่วโมงครับ

3 ลดขนาดรุ่นของการผลิต สามารถปรับปริมาณการผลิตได้ตามความต้องการของลูกค้า หรือจะเรียกว่าสามารถ flexible ได้

4 ลด Production lead time ด้วยการจัดสถานีงานให้ใกล้กัน ใช้หลักการของ groip technology และ หลักการ Cellular manufacturing

5 มีระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventive Maintenance

6 ปริมาณแรงงานที่ปรับไปปรับมาได้ ไม่ตายตัว นี่ก็ flexible เช่นกัน ไม่เหมือนโรงงานในเมืองไทยที่เห็นกันทั่วๆไป

7 ระบบการจ่ายวัตถุดิบเป็นแบบ pull method of material flow แปลเป็นไทยได้ว่า “ระบบการไหลของวัตถุดิบแบบดึง” ก็คือการจ่ายตามความต้องการ
นั่นเอง เมื่อยังไม่ใช้ก็ไม่มีการจ่าย แล้วก็ไม่มีการสต็อคด้วย จะใช้ก็สั่งเอา Supplier ก็จะมาส่ง แต่ไม่ใช่คิดจะสั่งก็สั่ง ทั้งหมดนี้ผ่านทางการวางแผนการผลิต
ที่มีประสิทธิภาพเยี่ยมครับ

8 คุณภาพสูงอย่างคงที่ (Consistently High Quality) ระบบ JIT เน้นการคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และกระบวนการทำงาน เทียบได้กับ TQM เลย
ทีเดียว

9 Supplier ต้องมีของเสียเป็นศูนย์ ที่ญี่ปุ่นใช้คำว่า Quality Assurance หรือ QA นั่นเอง ของเสียเป็นศูนย์ผมไม่สงสัย สงสัยแต่เจ้าคำว่า QA นี่เองที่มันตี
กับสากล QA ของสากลคือประกันคุณภาพทั้งระบบตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อขนถึงบริการหลังการขาย ไม่ใช่แค่การตรวจสอบคุณภาพ หรือ QC มีศักดิ์ศรีเท่า TQM แต่โรงงานในไทยสไตล์ญี่ปุ่นหลายแห่ง ใช้คำว่า QA ซึ่งก็คือ 100% inspection แล้วมันแน่จริงหรือ
ที่ 100% inspection มันจะไม่มีของเสีย ดูแค่ ความล้าของคนตรวจ หรือเครื่องจักรก็เห็นแล้ว จึงค่อนข้างจะเป็น งง เหมือนกันครับ เจอมาเกือบทั้งหมดพอถามความหมายของ QA ตอบไม่เต็มปากว่าคุณ ทำ 100% final inspection ใช่หรือไม่ ในกระบวนการ
คุณทำ 100% หรือเปล่า คุณถึงเรียกงานคุณว่า QA แล้วในเวลาเดียวกัน แผนก QC ก็อันตรธาน หายไป

10 ชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบที่ได้มาตรฐาน (Standard Parts or Components) ตรงนี้สอดคล้องกับข้อ 9 ชิ้นส่วนทุกชิ้นที่รับเข้า หรือผลิตจะต้องมี มาตรฐานกำกับครบถ้วน

11 ใช้ระบบคัมบัง (Kanban)

12 ระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน (Standard Work Method) ระบบนี้จะมีการสร้างมาตรฐานการทำงานขึ้นมา จัดทำเป็นเอกสาร ให้ความรู้กับบุคลากร
และเน้นให้ปฏิบัติตามคู่มือ

ขอย้ำไว้อีกทีว่าระบบนี้สมรรถนะสูงมาก และเป็นที่ยอมรับกันในสากลทีเดียว ใครสนใจก็ต่อยอดศึกษาเพิ่มได้ตามประเด็นย่อยที่แสดงไว้ หากใจไม่
ถึงทำยากครับ

ประเด็นอื่นๆ อาจหาอ่านได้จากหัวข้อ Lean Manufacturing – การผลิตแบบลีน

การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ (Introduction to Production and Operation Management)

การบริหารเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องพิจารณาในการดำเนินงาน ทั้งด้านการผลิตและการบริการ ผู้บริหารจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยนำเข้า และกระบวนการผลิต ไปจนถึงปัจจัยนำออก สิ่งเหล่านี้จะต้องสามารถวัดผลได้ จึงจะถือว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ

การผลิตและการปฏิบัติการ
การจัดการการผลิตและการปฏิบัติงาน
การศึกษาด้านการบริหารการผลิตและการบริหารการปฏิบัติการ
องค์การกับการจัดการด้านการปฏิบัติงาน
แนวโน้มของการจัดการด้านการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติการในส่วนของงานบริการ
ผลผลิต
การวัดผลผลผลิต
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต
ผลผลิตและการบริการ
การดำเนินงานด้านการผลิตหรือการบริการสำหรับธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ผู้บริหารนิยมใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การลดต้นทุน, การตอบสนองที่รวดเร็ว, การสร้างความแตกต่าง ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

การกำหนดภารกิจ กลยุทธ์และยุทธวิธี
ส่วนประกอบของกลยุทธ์การปฏิบัติการ
ข้อควรพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน
การบรรลุข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการปฏิบัติการ
การตัดสินใจในการบริหารการปฏิบัติการ 10 ประการ
ข้อคำนึงสำหรับกลยุทธ์การปฏิบัติการ
การพัฒนากลยุทธ์และการปฏิบัติการ
ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญ
การสร้างและการจัดหาคนเข้าทำงานขององค์กร

Popular Posts