MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

Financial Health Check

Financial Health Check (การตรวจสุขภาพทางการเงิน) คือกระบวนการสำรวจสถานะทางการเงินในปัจจุบันของท่าน เพื่อช่วยให้ท่านเตรียมความพร้อมในการบรรลุถึงความต้องการที่สำคัญในอนาคต และรับมือกับปัญหาเมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น
Financial Health Check (การตรวจสุขภาพทางการเงิน) จะช่วยท่านค้นหาความต้องการที่แท้จริง และจัดลำดับความสำคัญตามความจำเป็น เพื่อเลือกแบบประกันที่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถ โดยจะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นหลัก ๆ โดยทั่วไป 4 ประการคือ
1. หลักประกันของครอบครัว (family income protection)
2. เงินออมเพื่อการศึกษา (education saving)
3. เงินออมเพื่อการเกษียณที่สดใส (retirement saving)
4. ค่าใช้จ่ายเพื่ออุบัติเหตุ และสุขภาพ (accident & health coverage)
เพราะเราตระหนักดีว่า ทุกช่วงอายุ มีความสำคัญ และการวางแผนทางการเงินให้ สอดคล้องต่อความต้องการทุกระดับ ในทุกช่วงของชีวิตมีความสำคัญยิ่งกว่า
ดังนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจว่าท่านลูกค้าของเอไอเอ จะสามารถกำหนดเป้าหมายที่ต้องการในอนาคตได้อย่างชัดเจน และไปให้ถึงเป้าหมายทางการเงินดังกล่าวนั้น เอไอเอ จึงได้พัฒนาการอบรมตัวแทนประกันชีวิตให้มีความเป็นมืออาชีพ และสามารถวิเคราะห์ วางแผน ช่วยเตรียมความพร้อมรวมถึงแนะนำการดำเนินการอย่างมีระบบเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ให้กับท่านลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุดผ่านขั้นตอนโดยย่อ ดังนี้
1. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและตัวแทนประกันชีวิตถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเปิดใจ
2. วิเคราะห์และจัดลำดับความต้องการที่แท้จริง
3. กรอกแบบสำรวจเพื่อวิเคราะห์สถานะทางการเงินในปัจจุบัน
4. วิเคราะห์และแนะนำทางเลือกที่เหมาะสม
5. ตัดสินใจทางเลือกที่ต้องการโดยลูกค้า
6. ร่วมกันประเมินผลเป็นระยะ ๆ
ทั้งนี้ การวางแผนผ่านขั้นตอนข้างต้นอย่างเป็นระบบจะช่วยให้ท่านได้รับประโยชน์จากการวางแผนและการดำเนินการร่วมกันอย่างสูงสุด ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับในเบื้องต้น มีดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายชีวิตที่ต้องการอย่างชัดเจน
2. ป้องกันปัญหาเงินขัดสน เพราะได้รับการวางแผนการใช้จ่ายเงินที่มีระบบ
3. คลายความกังวลต่อการสร้างครอบครัว

วิธีการบริหารจัดการด้านการเงินเพื่อความคล่องตัว

วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการด้านการเงิน
วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการด้านการเงินคือ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว (liquidity) และเพื่อประโยชน์ในด้านการทำกำไร (profitability)

วิธีการบริหารจัดการด้านการเงินเพื่อความคล่องตัว ควรดำเนินการในด้านต่อไปนี้
1. พยากรณ์การเคลื่อนไหวของเงินสด (forecasting cash flow) โดยมีการวางแผนทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้มั่นใจว่ามีเงินสดเพียงพอสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และการลงทุน ซึ่งหากไม่พอเพียงจะได้หาแหล่งกู้ยืมเงินขาดมืออันจะก่อความเสียหายให้แก่องค์การหรือธุรกิจได้
2. การจัดหาเงินทุน (raising funds) ฝ่ายบริหารเลือกแหล่งกู้ยืมเงินที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด และมีโอกาสที่จะได้รับเงินสดได้ทันตามความต้องการ
3. การบริหารเงินทุนหมุนเวียน (working capital management) เป็นการจัดสรรว่าเงินสดที่มีหรือเงินทุนที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในรอบระยะเวลาของการปฏิบัติงาน (operating cycle) ซึ่งอาจเป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี หรือตามฤดูกาล ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดและลักษณะของธุรกิจ ซึ่งการเคลื่อนไหวของเงินทุนหมุนเวียนโดยทั่วไปมี 2 ลักษณะคือการเคลื่อนไหวในรอบระยะเวลาของการปฏิบัติงานระยะสั้น (short cycle) และการเคลื่อนไหวในรอบระยะเวลาของการปฏิบัติงานระยะยาว (long cycle) หรือการกำหนดเวลาที่ผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องจะพิจารณาให้ใกล้เคียงกับสภาพการณ์ที่ควรเป็นของธุรกิจ โดยพิจารณาว่าควรนำไปใช้ในด้านใดบ้างและในปริมาณเท่าใด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น เป็นค่าใช้จ่ายด้านส่งเสริมการจัดจำหน่าย ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะหากต้องมีการเสียดอกเบี้ยจากการกู้ยืมมาควรพิจารณาว่ามีความจำเป็นมากหรือไม่ และต้องนำอัตราดอกเบี้ยมาคิดรวมเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งหากผลตอบแทนต่ำจะเป็นการลดอัตราส่วนผลกำไรของกิจการลงได้

วิธีการวางแผนงานและการจัดทำงบประมาณทางการเงิน

วิธีการวางแผนงานและการจัดทำงบประมาณทางการเงิน สำหรับธุรกิจมี 2 ลักษณะคือ
1. Top-down management คือวิธีการวางแผนที่เริ่มจากคิดเป้าหมายรวมของธุรกิจในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผน แล้วจึงพิจารณาถึงกิจกรรมต่าง ๆ หรือกิจกรรมย่อยที่จะรวมกันเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ วิธีการนี้ ใช้มากในการวางแผนระยะยาว เช่น บริษัทหรือร้านค้าต้องการเพิ่มกำไรปีละ 20% ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องพิจารณาถึงรายได้ที่จะได้รับ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น แล้วนำเป้าหมายรายได้นั้นมากำหนดเป็นทุนและค่าใช้จ่ายอื่นที่ต้องใช้ทั้งหมด ผลของวิธีการนี้ก็คือ งบประมาณหรือแผนงานทั้งหมดของธุรกิจซึ่งจะสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจที่ได้กำหนดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น
2. Bottom-up management คือวิธีการวางแผนที่เริ่มต้นจากแต่ละแผนกหรือส่วนงานพยากรณ์แยกกันในการคาดคะเนประมาณส่วนประกอบของกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจ โดยคิดเป็นงบประมาณของแต่ละแผนก จากนั้นจึงจะนำมารวมเข้าด้วยกันเป็นแผนการทางการเงินรวมของธุรกิจ
ในธุรกิจขนาดใหญ่จะใช้วิธีการทั้ง 2 ลักษณะเข้าด้วยกัน คือฝ่ายบริหารจะกำหนดแผนงานหลักตามเป้าหมายของธุรกิจขึ้น ส่วนแผนกต่าง ๆ ก็ทำงบประมาณของแต่ละส่วนขึ้น แล้วจึงนำมารวมกันเข้าและเปรียบเทียบกับแผนงานหลักที่ได้กำหนดขึ้น
ในการควบคุมเกี่ยวกับงบประมาณหรือการเงินขององค์การ ต้องมีการจัดการโครงสร้างทางการเงินขององค์การหรือของธุรกิจ ซึ่งเป้าหมายหลักส่วนหนึ่งขององค์การคือการให้เกิดกำไรสูงสุด และการลดความเสี่ยงภัยของธุรกิจโดยกำหนดสัดส่วนของการถือสินทรัพย์ว่าควรอยู่ในรูปใด เช่น รูปของเงินสดการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือการถือในรูปของหลักทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยงในรูปพันธบัตรรัฐบาล ฯลฯ นอกจากนั้นควรมีการจัดโครงสร้างทางการเงินของธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนที่ธุรกิจต้องการใช้ การจัดสรรเงินทุนหมุนเวียน การลดหนี้ผูกพัน การยืดเวลาชำระหนี้ การจัดสรรลงทุนสินทรัพย์ที่มีให้เหมาะสมกับทุนขององค์การและเงื่อนเวลาที่จำกัด การกำหนดนโยบายการจ่ายปันผลให้สัมพันธ์กับสินทรัพย์และโครงสร้างทางการเงิน ซึ่งวิธีการจัดการด้านการเงินเพื่อประโยชน์ในด้านการทำกำไรคือการควบคุมต้นทุนด้านต่าง ๆ อาทิ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยที่ทางฝ่ายการเงินหรืองบประมาณควรจัดทำระบบบัญชีและสามารถวิเคราะห์ต้นทุนด้านต่าง ๆ พร้อมเสนอวิธีการลดต้นทุนให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจสามารถมองเห็นภาพชัดเจนเพื่อพิจารณาได้ และมีการพยากรณ์ผลกำไรในอนาคต โดยต้องมีการวางแผนการขายการพยากรณ์ปริมาณที่จะขายได้ คาดคะเนค่าใช้จ่ายในอนาคต วางแผนการขยายงานในอนาคต เพื่อให้ทราบล่วงหน้าว่าจะสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้มากน้อยเพียงไร และต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าอย่างไรบ้าง หรือควรจะมีการตัดสินใจเพื่อการลงทุนในอนาคตอย่างไร

แหล่งเงินทุน

แหล่งเงินทุน แบ่งออกเป็น 2 แหล่ง
1. แหล่งเงินทุนระยะสั้น
- เจ้าหนี้การค้า เกิดจากการที่องค์กรซื้อสินค้าแล้วยังไม่ได้ชำระเงินหรือชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้โดยเงินที่ยังไม่ได้ชำระหนี้เราสามารถนำมาหมุนเวียนใช้ได้ เช่น ถ้าชำระหนี้ภายใน 10 วัน จะได้ส่วนลด 1%
- ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เช่น ภาษีค้างจ่าย ค่าเบี้ยประกันค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้รับบริการล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายเงินออกไป ดังนั้นค่าใช้จ่ายค้างจ่ายจึงเป็นเหล่งเงินทุนระยะสั้นที่ไม่เสียดอกเบี้ย
- เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร เป็นแหล่งเงินทุนที่ต้องเสียภาษี จะต้องมีหลักทรัพย์หรือไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็ได้ เวลาที่พิจารณาแหล่งเงินทุนระยะสั้นจากธนาคารจะต้องพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายจริง

การจัดสรรเงินทุนให้อยู่ในรูปของสินทรัพย์ถาวร
เพื่อก่อให้เกิดกำไร ถ้าจะจัดเงินทุนให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นการลงทุนที่ใช้เงินจำนวนมาก ระยะเวลาคืนทุนยาวนาน การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต้องทำงบประมาณจ่ายลงทุน การตัดสินใจในงบประมาณจ่ายลงทุน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ 2 ด้าน
1. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยการคำนวณ NPV IRR
2. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ต้องการ โดยการคำนวณ WACC

การพิจารณางบการลงทุนในโครงการ จะทำได้โดยการคำนวณ cash flow แล้วนำมาประเมินการตัดสิน เวลาจะคำนวณเรื่องงบประมาณจ่ายลงทุน จะต้องคำนวณต้นทุนของเงินทุนก่อนและคำนวณผลตอบแทนที่ต้องการก่อน โดยคำนวณ WACC ออกมาก่อนว่าต้นทุนของเงินทุนเป็นเท่าไร แล้วเอาเงินนี้ไปลงทุนเสร็จแล้วได้รับผลตอบแทนที่คาดหวัง (expected rate) เป็นเท่าไร ผลตอบแทนที่คาดหวังนี้น่าจะมากกว่าผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวณ WACC คือผลตอบแทนที่ได้สูงกว่าต้นทุนทางการเงินของเรา เราจึงยอมรับโครงการนั้น การคำนวณจะประกอบไปด้วยการทำ 3 ขั้นตอน
1. Initial Investment Outlay เป็นการคำนวณเงินลงทุนเริ่มต้นโครงการ เช่น เงินลงทุนซื้อสินทรัพย์ถาวรที่เป็นอาคาร ที่ดิน อุปกรณ์หรือเครืองจักร และเงินลงทุนหมุนเวียนสุทธิ NWC--Net Working Capital
2. Operating Cash flow เป็นการคำนวณกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ โดยการคำนวณตามหลักบัญชี
3. Terminal Year Cash flows เป็นขั้นตอนปิดอายุโครงการ จะมีอยู่ในปีสุดท้ายปีเดียว โดยการคำนวณมูลค่าซากของโครงการ แล้วบวกกลับด้วย NWC ที่หักไว้ตั้งแต่ต้นในปีเริ่มโครงการแล้วเอา cash flow 5 ปีที่ได้ไปคำนวณหาวิธีการประเมินโครงการว่าจะยอมรับโครงการนี้หรือไม่ โดยการคำนวณ

PB--Payback Period เป็นการคำนวณระยะเวลาที่ธุรกิจลงทุนในสินทัพย์ถาวรแล้วได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาเป็นจำนวนกี่ปี จึงจะเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรก (เป็นวิธีการคำนวณที่ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ไม่ได้คำนึงถึงว่าหลังจากระยะเวลาคืนทุนแล้ว โครงการนั้นจะมีเงินสดเท่าไร) ส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้

NPV--Net Present Value คือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เป็นวิธีการประเมินโครงการโดยพิจารณาผลต่างระหว่างกระแสเงินสดที่ได้มาตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันกับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ

NPV คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ คือปีที่ 1 2 3 4 เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเอามาลบกับปีที่ 0 ที่เราลงทุนเมื่อเริ่มโครงการไป คือผลต่างของกระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว กระแสเงินสดที่จ่ายเมื่อเริ่มต้นโครงการ โดยเราจะพิจารณายอมรับโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกและปฏิเสธโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นลบ

ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกันจำเป็นจะต้องเลือกเพียงโครงการเดียว ให้พิจารณาโครงการที่ NPV ที่มีค่าเป็นบวกสูงที่สุด

ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน สามารถเลือกได้หลายโครงการ ให้พิจารณาโครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกทุกโครงการ แต่มีข้อแม้ว่าองค์กรจะต้องมีเงินลงทุนในแต่ละโครงการที่เพียงพอด้วย เช่น มี 10 โครงการที่ NPV มีค่าเป็นบวกแต่ต้องใช้เงินลงทุน 1000 ล้าน แต่มีเงินแค่ 100 ล้าน จะต้องหาโครงการที่เหมาะสมกับองค์กรใน 100 ล้านให้มากที่สุด

IRR--Internal Rate of Return คือผลตอบแทนภายในเป็นการประเมินโครงการโดยการพิจารณาอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี ตลอดอายุโครงการเมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้ว เท่ากับเงินสดเมื่อเริ่มต้นโครงการ จะยอมรับโครงการที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน ให้เลือกโครงการที่มี IRR สูงที่สุด

ถ้าเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ให้เลือกทุกโครงการที่ IRR มากกว่า WACC แต่ต้องมีเงินลงทุนเพียงพอด้วย

MIRR--Modified Internal Rate of Return อัตราผลตอบแทนที่ปรับปรุงแล้ว เป็นวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับ IRR คือการคำนวณดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับตลอดอายุโครงการ เมื่อคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันแล้วเท่ากับเงินลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ แต่กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปีนำไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC

MIRR จะมีอยู่ 2 ตัว ที่คิดเหมือนกัน คือจะหาอัตราผลตอบแทนที่ทำให้กระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี เท่ากับกระแสเงินสดที่ลงทุนเมื่อเริ่มโครงการแต่ว่ากระแสเงินสดที่ได้รับในแต่ละปี จะเอาไปลงทุนต่อ โดยได้รับผลตอบแทนเท่ากับ WACC เวลาจะตัดสินใจยอมรับโครงการให้เลือกโครงการที่ MIRR มีค่ามากกว่า WACC และมีค่าสูงสุด

ถ้าเป็นโครงหารที่มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน จะเลือกโครงการที่ MIRR มีค่าสูงสุดเพียงโครงการเดียว แต่ถ้าโครงการที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน ให้เลือกทุกโครงการที่ MIRR มีค่ามากกว่า WACC
ถ้ากรณีที่ NPV กับ IRR ขัดแย้งกัน เช่น โครงการ ก NPV มากกว่าโครงการ ข แต่ IRR ของโครงการ ข มากกว่าโครงการ ก
โครงการ ก โครงการ ข

NPV 100 50

IRR 5% 8%

MIRR 9% 8.5%

ถ้าดูแต่ NPV ถ้าเป็นโครงการที่วัตถุประสงค์อย่างเดียวกันกจะเลือกโครงการ ก เพราะมีค่า NPV มากกว่าโครงการ ข

ถ้าดู IRR จะเลือกโครงการ ข เนื่องจากโครงการ ข มี IRR สูงกว่า WACC และสูงกว่าโครงการ ก

ถ้าเกิดเหตุการณ์ขัดแย้งแบบนี้ให้ดูที่ MIRR เป็นสำคัญแล้วตัดสินใจเลือกโครงการที่ MIRR สูงกว่า ก็จะเลือกโครงการนั้น ดังนั้นจะเลือกโครงการ ก

ถ้าเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน จะเลือกทั้ง 2 โครงการ

ถ้าเป็นกรณีที่ไม่มีค่า MIRR มาให้ดูที่ NPV เป็นหลักแล้วตัดสินใจเลือกโครงการที่ NPV เป็นบวกมากที่สุด

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินได้ (สร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น โดยการทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุด โดยพิจารณาที่หุ้นสามัญที่สูงสุด) ผู้จัดการการเงินจะต้องทำ 3 หน้าที่ คือ
1. หน้าที่ในการจัดหาเงินทุน
1.1 แหล่งเงินทุน จะแบ่งออกเป็น 2 แหล่ง (ทางขวามือของงบดุล)
- แหล่งเงินทุนระยะสั้น
- แหล่งเงินทุนระยะยาว
1.2 ต้นทุนของเงินทุน ต้องเฉลี่ยและถ่วงน้ำหนักเพราะมาจากแห่งไม่เท่ากัน WACC ต้องรู้ต้นทุนของเงินทุนก่อน ว่าใช้จากหนี้สินเป็นเท่าไร จากส่วนผู้ถือหุ้นเป็นเท่าไร
1.3 โครงสร้างเงินทุน (capital structure) หมายถึงโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กร คือเรื่องการใช้หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
โครงสร้างทางการเงิน คือการใช้สัดส่วนของหนี้สินและใช้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นที่เหมาะสมที่จะทำให้ต้นทุนของเงินทุน (WACC) ต่ำที่สุด
2. หน้าที่ในการจัดการเงินทุน
2.1 จัดสรรให้อยู่ในรูปสินทรัพย์หมุนเวียน โดยการใช้ ทฤษฎีการจับคู่ (หนี้สินระยะสั้นใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินระยะยาวใช้กับสินทรัพย์ถาวร)
2.2 จัดสรรให้อยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร (fix asset) โดยพิจารณางบประมาณการลงทุนซึ่งงบลงทุนจะพิจารณาเรื่อง NPV IRR MIRR PB
3. นโยบายเงินปันผล คือจะเอากำไรสะสมไปลงทุน หรือจะเอากำไรสะสมไปจ่ายเป็นเงินปันผล

อัตราส่วนกำไร (profitability ratios)

อัตราส่วนกำไร (profitability ratios) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไร
4.1 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการผลิต
ถ้าอัตราส่วน gross profit เพิ่มมากขึ้น แสดงว่าผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ ต้นทุนการผลิตคือ ต้นตุนที่เกิดจากของเสียระหว่างการผลิต เวลาการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรและการบำรุงรักษา ซึ่งถ้าควบคุมต้นทุนการผลิตทั้ง 3 ตัวนี้ได้ จะทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น
4.2 Net Profit เป็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและในการบริหาร เพื่อทำให้กำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น
ถ้า Net Profit Margin สูง แสดงว่าผู้บริหารสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้ต่ำลงได้ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขาย ต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่สินค้าคงคลัง
ต้นทุนในการบริหารอยู่ที่ management เรื่องของการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเรื่องของการใช้แรงจูงใจ เรื่องของการมีผู้บริหารระดับกลางมากเกินไป ดังนั้นจะต้องทำให้องค์กรแบนราบลง ซึ่งถ้าองกรแบนราบลงแล้วใช้ Empowerment แล้วจะทำให้สายบังคับบัญชาสั้นลง แต่ span of control (ขนาดของการควบคุม) ก็จะกว้างขึ้น จะทำให้ประหยัดต้นทุนในการบริหารได้
4.3 ROA หรือ ROE (Return on Assets ; Return on Equity) คือการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิ จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้สินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดกำไรสุทธิ
ถ้าอัตราส่วน ROA หรือ ROI สูงแสดงว่าผู้บริหารสามารถใช้สินทรัพย์ทั้งหมดให้เกิดกำไรสุทธิได้ดี จะทำให้ ROI กับROA สูงขึ้นได้ จะต้องให้มีกำไรมากๆซึ่งจะมีกำไรได้จะต้องมาก และใช้สินทรัพย์ให้น้อยลง
4.4 ROE--Return on Equity ประสิทธิภาพของผู้บริหารในการใช้ส่วนของผู้ถือหุ้นให้เกิดกำไรมากที่สุด หรือประสิทธิภาพของผู้บริหารในการตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด

การจะทำให้ ROE สูงขึ้นได้โดยการทำให้กำไรสุทธิสูงแต่ส่วนผู้ถือหุ้น (equity) ต่ำโดยการกู้มาลงทุน แต่จะกู้มากก็ไม่ได้เพราะจะกระทบกับ debt ratio และ TIE

วิธีการแก้ไข ที่จะทำให้ ROI และ ROE สูงขึ้นได้โดย
1. ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น
2. ทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
3. ลดสินทรัพย์ลง
4. ใช้การกู้ยืมให้มากขึ้น

อัตราส่วนหนี้สินแบ่งเป็น 2 ตัว คือ

3.1 หนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt ratio)
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินสูงแสดงว่า องค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินมากองค์กรจะระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ยาก หรือเจ้าหนี้อาจไม่พิจารณาให้เงินกู้กับองค์กร ดังนั้นองค์กรจะต้องระดมทุนด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการกู้ เช่น การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหรือการให้เช่า
ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่ำ แสดงว่าองค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่ำ แต่ต้องพิจารณาว่าโครงสร้างเงินทุนขององค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งถ้าใช้หนี้สินน้อยอาจจะไม่มีความเหมาะสมก็ได้ ถ้าหนี้สินน้อยอยู่ต้นทุนทางการเงิน (WACC) จะสูงขึ้น ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทางการเงินด้วย
อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินควรมีค่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะจะทำให้องค์กรระดมเงินทุนด้วยการกู้ได้
3.2 ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย Time Interest Earned--TIE
เป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาว่า องค์กรมีกำไรเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย TIE ควรมีค่าสูง จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพขององค์กรในการหากำไขเพื่อชำระดอกเบี้ย
อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ต้องใช้คู่กับ TIE หากอัตราส่วนหนี้สินสูงและ TIE สูงด้วย แสดงว่าองค์กรมีโอกาสในการระดมเงินทุนด้วนวิธีการกู้เงินเพิ่มขึ้น แต่ถ้าอัตราส่วนหนี้สินสูงแต่ TIE ต่ำ แสดงว่าองค์กรจะระดมทุนด้วยการก่อหนี้ด้ยากเจ้าหนี้จะไม่พิจารณาปล่อยเงินกู้ให้กับองค์กร
ถ้าอัตราหนี้สินต่ำและ TIE ต่ำ การระดมทุนด้วยการก่อหนี้ได้หรือไม่แล้วแต่เจ้าหนี้และต้องดูตัวอื่นประกอบด้วย เช่นนำเงินไปทำอะไร หรือดูวิธีการใช้เงิน
ถ้าหนี้ระยะยาวต้องเอาไปใช้กับสินทรัพย์ถาวร ส่วนหนื้ระยะสั้นต้องใช้กับสินทรัพย์หมุนเวียน

Popular Posts