ตลาดการเงินสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์และรูปแบบการทำธุรกรรมได้หลายส่วน โดยแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านอัตราผลตอบแทน ผู้เล่น ปริมาณธุรกรรม และระดับการพัฒนา
1. ตลาดเงินตราต่างประเทศ คือตลาดสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยทั่วไปอยู่ในลักษณะ Over-the-Counter (OTC) ซึ่งผู้ดำเนินการจะเป็นธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทยและได้รับอนุญาตจาก ธปท. ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและต่างประเทศ
เป็นผู้เล่นที่สำคัญในตลาดนี้
ธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในไทยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2497) รวมถึงประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และหนังสือเวียนเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่เกี่ยวข้อง
โดยทั่วไปประเภทของธุรกรรมเงินตราต่างประเทศประกอบด้วยธุรกรรมทันที (spot) ธุรกรรมล่วงหน้า (forward) ธุรกรรมสวอปเงินตราต่างประเทศ (foreign exchange swap) และธุรกรรมอนุพันธ์เงินตราต่างประเทศ เช่น FX Options และ Cross Currency Swaps เครื่องมือการเงินของตลาดเงินตราต่างประเทศ เช่น FX Swap มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเครื่องมือการเงิน
ในตลาดเงิน เช่น Interbank และ Repo เพราะต่างก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกู้ยืมระยะสั้น
ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตรา แลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Managed Float) ซึ่งค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลต่างๆ กำหนดโดยกลไกตลาดตามอุปสงค์และอุปทานในตลาดเงินตราต่างประเทศ ทั้งในและต่างประเทศ และสามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
2. ตลาดเงิน เป็นตลาดสำหรับการกู้ยืมและการลงทุนระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี เพื่อบริหาร
สภาพคล่องในช่วงสั้นๆ ธุรกรรมในตลาดเงินส่วนใหญ่ ได้แก่ ธุรกรรมการกู้ยืมแบบไม่มีหลักประกัน (Clean Loan) ระหว่างธนาคาร การซื้อ-ขายตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ธปท.
ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงิน และการทำธุรกรรมซื้อคืน (Repurchase Agreement หรือ Repo)
ซึ่งแบ่งเป็นธุรกรรมที่ ธปท. ทำกับสถาบันการเงินที่เป็น Primary Dealers เรียกว่าธุรกรรม Bilateral Repo และธุรกรรมที่ภาคเอกชนทำระหว่างกันเอง เรียกว่าธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน หรือ Private Repo เป็นต้น โดยในปี 2547 ธปท. ได้ผลักดันการสร้างเส้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงการกู้ยืมระหว่างธนาคารระยะสั้น หรือ BIBOR (Bangkok Interbank Offered Rates) สำหรับใช้เป็นอัตราอ้างอิงในการทำธุรกรรมการกู้ยืมเงินในตลาดเงิน รวมทั้งเป็นอัตราอ้างอิงสำหรับตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (floating rate note) ด้วย นอกเหนือจากธนาคารพาณิชย์ ผู้เล่นในตลาดเงินอื่นๆ ได้แก่ สถาบันการเงินอื่นๆ บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Analysis)
-
สภาพแวดล้อมภายนอกมีอิทธิพลต่อองค์การอย่างมากก็จริง
แต่ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจและสามารถจัดการปัจจัยภายในองค์การด้วยการดาเนินงานจึงจะบรรลุเป้าหมาย
การวิเคร...
5 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น