MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดลง (Discounted Rate of Return Method)


การวัดค่าของการลงทุนโดยวิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดเป็นวิธีการคำนวนอัตราส่วนลด หรืออัตราดอกเบี้ยที่นำไปใช้รับเงินสดที่ได้รับจากโครงการลงทุน (ผลตอบแทนจากการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า) ให้มีค่าเป็นปัจจุบันเท่ากับกระแสเงินออก หรือเงินลงทุนสุทธิเพื่อจะได้นำเงินทั้ง 2 ประเภทเปรียบเทียบกันได้
วิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะจะต้องทดลองผิดทดลองถูกไปเรี่อย ๆ จนพบอัตราส่วนลดที่ต้องการ อัตราส่วนลดที่คำนวณได้ถือเป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหรือบางครั้งใช้กับความหมายที่ว่า อัตราส่วนลดที่คำนวณได้ หมายถึง อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ลงทุนจะยอมจ่ายโดยไม่ขาดทุนหากเงินที่นำมาลงทุนนั้นเป็นเงินที่กู้ยืมมา และการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจ่ายคืนจากเงินสดที่ได้รับจากการลงทุน
การคำนวณหาอัตราผลตอบแทนซื้อลดลงแบ่งได้ 2 กรณีคือ
1. กรณีที่กระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปี
2. กรณีที่กระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี
ตัวอย่าง
บริษัท ซื่อตรง จำกัด กำลังพิจารณาการจ่ายลงทุนในโครงการ ซึ่งมีโครงการมาให้พิจารณา 2 โครงการดังนี้คือ
ปีที่ โครงการ A โครงการB
กระแสเงินออก (บาท) 0 100,000 200,000
กระแสเงินเข้า (บาท) 1 25,000 70,000
2 25,000 100,000
3 25,000 150,000
4 25,000
5 25,000
6 25,000
7 25,000
8 25,000
กรณีกระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปี
โครงการ A กระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปีตลอดอายุโครงการ 8 ปี โดยสมมติว่าเงินเข้า ณ วันปลายปี
ตัวคูณส่วนลด = เงินลงทุนสุทธิ
ผลตอบแทนเงินสดต่อปี
= 100,000 = 4
25,000

นำตัวคูณส่วนลด 4 ไปเปิดตารางค่าปัจจุบันสะสม (ตาราง B- 1) ณ ปีที่ 8 ตรวจดูอัตราส่วนที่มีตัวคุณส่วนลดเท่ากับ 4 หรือใกล้เคียง 4 มากที่สุด จากตาราง B ตัวคุณส่วนลด 4 จะอยู่ระหว่างอัตราส่วนลดที่ 18% กับ 20% = 4.078 กับ 3.837

เมื่อได้ตัวคูณส่วนลดแล้วจะนำไปหาค่าปัจจุบันของเงินสดที่ได้รับจากโครงการแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเงินทุนสุทธิ หากมีผลต่างค่าปัจจุบันสุทธิจะต้องใช้วิธีถัวเฉลี่ยเพื่อให้ได้อัตราส่วนลดตามที่ต้องการดังนี้
โครงการ A
ตัวคูณส่วนลด ณ อัตรา ค่าปัจจุบัน ณ อัตรา
ปีที่ เงินสดรับ 18% 20% 18% 20%
1-8 25,000 4.078 3.837 101,950 95,925
หัก เงินลงทุน 100,000 100,000
ค่าปัจจุบัน 1,950 (4,075)
ค่าปัจจุบันต่างกัน (101,950 - 95,925) = 6,025 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 2%
ค่าปัจจุบันต่างกัน (101,950 - 100,000) = 1,950 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 2 x 1,950
6,025
= .65%
เพราะฉะนั้นอัตราผลตอบแทนซื้อลดโครงการ A = 18 + .65% = 18.65%
กรณีกระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี
โครงการ B กระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี ในขั้นแรกจะต้องคาดคะแนอัตราผลแทนจำนวนหนึ่งไปคูณกับรายได้เมื่อรวมแล้วให้ได้เท่ากับเงินลงทุน สมมติอัตราผลตอบแทน = 20% (ตาราง A-1 ) แล้วคำนวณค่าปัจจุบันของเงินเข้าดังนี้
ปีที่ กระแสเงินสด แฟคเตอร์ 20% มูลค่าปัจจุบัน
1 70,000 (บาท) .833 58,310 (บาท)
2 100,000 .694 69,400
3 150,000 .579 86,850 รวม 214,560 บาท
จะพบว่าได้มูลค่าปัจจุบันของเงินเข้าที่ทดลองในอัตรา 20% = 214,560 บาท สูงกว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินออกซึ่งเท่ากับ 200,000 บาท จึงต้องลองเพิ่มอัตราเป็น 22% 24% และ 25%แล้วคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินเข้าดูใหม่ จะพบว่ายอดรวมค่าปัจจุบันของผลตอบแทนที่ใกล้เคียง 200,000 บาท อยู่ที่อัตราผลตอบแทน 24% และ 25%
โครงการ B
ตัวคูณส่วนลด ณ อัตรา ค่าปัจจุบัน ณ อัตรา
ปีที่ เงินสดรับ (บาท) 24% 25% 24% 25%
1 70,000 .806 .800 56,420 56,000
2 100,000 .650 .640 65,000 64,000
3 150,000 .524 .512 78,600 76,800
รวมค่าปัจจุบัน 200,020 196,800
เงินลงทุนสุทธิ 200,000 200,000
ค่าปัจจุบัน 20 (3,200)

ถัวเฉลี่ยอัตราส่วนลดจะคำนวณได้ดังนี้
ค่าปัจจุบันต่างกัน (200,020 - 196,800) = 3,220 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 1%
ค่าปัจจุบันต่างกัน (200,020 - 200,000) = 20 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 1x20 = .0062%
3,220
เพราะฉะนั้น อัตราผลตอบแทนซื้อลดโครงการ B = 24.0062%
สรุป
จากการคำนวณพบว่าโครงการ B มีอัตราผลตอบแทนซื้อลด = 24.0062% สูงกว่าโครงการ A ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนซื้อลด = 18.65% หากบริษัทต้องเลือกลงทุนในโครงการใดโครงการหนึ่งนั้น การใช้อัตราผลตอบแทนซื้อลดยังไม่เป็นการวัดที่เพียงพอ เพราะโครงการทั้ง 2 จ่ายลงทุนด้วยจำนวนเงินไม่เท่ากัน และอายุของโครงการก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นควรจะใช้วิธีการวัดผลตอบแทนจากการลงทุนควรใช้ร่วมกับวิธีอื่น ๆ ด้วย เช่น วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นต้น

ตัวอย่างที่ 2 ต่อไปนี้เป็นงบดุลเปรียบเทียบของบริษัท ปานเทพ จำกัด สำหรับปี 2539 และ 2540

บริษัท ปานเทพ จำกัด
งบดุล
ณ 31 ธันวาคม 2539 และ 2540
2539 2540
สินทรัพย์
เงินสด 30,400 36,400
เงินลงทุนชั่วคราว 23,600 30,000
ลูกหนี้ 44,800 52,800
สินค้า 40,200 38,400
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 1,800 2,400
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สุทธิ) 42,400 65,600
183,200 225,600
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
เจ้าหนี้ 17,600 16,400
ตั๋วเงินจ่าย (ธนาคาร) 3,000 6,000
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 6,600 5,400
เงินปันผลค้างจ่าย 3,000 6,000
ตั๋วเงินจ่าย (ครบกำหนด 1 มิ.ย . 2545) - 18,000
ทุนหุ้นสามัญ 100,000 100,000
กำไรสะสม 53,000 73,800
183,200 225,600
ข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างปี 2540 มีดังนี้
1. เงินลงทุนชั่วคราวไม่มีการไถ่ถอนในระหว่างปี
2. สินทรัพย์ถาวรไม่มีการขายในระหว่างปี แต่มีการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นในปี 2540 จำนวน 26,800 บาท
3. บริษัทจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด 24,000 บาท
บริษัท ปานเทพ จำกัด
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2540
เงินทุนหมุนเวียน
ปี 2539 ปี 2540 เพิ่มขึ้น ลดลง
สินทรัพย์หมุนเวียน :
เงินสด 30,400 36,400 6,000
เงินลงทุนชั่วคราว 23,600 30,000 6,400
ลูกหนี้ 44,800 52,800 8,000
สินค้า 40,200 38,400 1,800
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 1,800 2,400 600
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 140,800 160,000
หนี้สินหมุนเวียน :
เจ้าหนี้ 17,600 16,400 1,200
ตั๋วเงินจ่าย (ธนาคาร) 3,000 6,000 3,000
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 6,600 5,400 1,200
เงินปันผลค้างจ่าย 3,000 6,000 3,000
รวมหนี้สินหมุนเวียน 30,200 33,800
เงินทุนหมุนเวียน 110,600 126,200
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 15,600
23,400 23,400
บริษัท ปานเทพ จำกัด
งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2540
แหล่งที่มาเงินทุนหมุนเวียน
จากการดำเนินงาน :
กำไรสุทธิ 44,800
บวก ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร 3,600 48,400
ออกตั๋วเงินจ่ายเพิ่ม 18,000 66,400
แหล่งใช้ไปเงินทุนหมุนเวียน
ซื้อสินทรัพย์ถาวร 26,800
จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด 24,000 50,800
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 15,600
การวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงระหว่างปี 2540
ตัวอย่างนี้แตกต่างจากตัวอย่างที่ 1 ตรงที่ไม่ได้ให้กำไรสุทธิประจำปี และค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรมาให้ จะต้องคำนวรหาเอง ดังนี้
1. การคำนวณหากำไรสุทธิ
กำไรสะสมปลายงวด 73,800 บาท
บวก การจ่ายปันผลเป็นเงินสด 24,000 บาท
97,800 บาท
หัก กำไรสะสมต้นงวด 53,000 บาท
กำไรสุทธิ 44,800 บาท หรือ
กำไรสะสม
2540 2540
ม.ค.-ธ.ค.
ธ.ค. 31 จ่ายเงินปันผล
ยอดยกไป 24,000
73,800
97,800 ม.ค. 1
ธ.ค. 31 ยอดยกมา
กำไรสุทธิ 53,000
44,800
97,800
2. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินค้าทรัพย์ถาวร) ในปี 2539 มีจำนวน 42,400 บาท และในปี 2540 มีจำนวน 65,600 บาท แสดงว่ามีการซื้อสินทรัพย์ถาวร จากข้อมูลเพิ่มเติมที่ให้สินทรัพย์ถาวรมีการซื้อเป็นจำนวนเงิน 26,800 บาท เป็นผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนลดลง 26,800 บาท ส่วนการขายสินทรัพย์ถาวรโจทย์ระบุว่าไม่มีการขายสินทรัพย์ถาวรระหว่างปีรายการนี้ ซึ่งไม่มีผลต่อเงินทุนหมุนเวียน
4. ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว (ครบกำหนด 1 มิถุนายน 2545) ในปี 2540 มีจำนวน 18000 บาท แสดงว่ากิจการกู้ยืมเงินโดยออกตั๋วเงินจ่าย รายการนี้มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 18,000 บาท
5. ทุนหุ้นสามัญ ในปี 2539 และปี 2540 มีจำนวนเท่ากันคือ 100,000 บาท แสดงว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับทุนหุ้นสามัญราการนี้ไม่มีผลหระทบต่อต้นทุนหมุนเวียน

รูปแบบงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน

บริษัท………
งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด…….สิ้นสุด………
แหล่งที่มาเงินทุนหมุนเวียน
จากการดำเนินงาน :
กำไรสุทธิ xx
บวก ค่าใช้จ่ายประเภทไม่หมุนเวียนที่ไม่ใช่เงินสด :
-ค่าเสื่อมราคา xx
-ค่าใช้จ่ายตัดบัญชีกำไรขาดทุน (สินทรัพย์อื่น) xx
-ผลขาดทุนจากการขาย แลกเปลี่ยน เลิกใช้สินทรัพย์
ถาวรหรือเงินลงทุนระยะยาว xx xx
xx
หัก รายได้ประเภทไม่หมุนเวียนที่ไม่ใช่เงินสด :
- ผลกำไรจากการขาย /แลกเปลี่ยนสินทรัพย์
ถาวรหรือเงินลงทุนระยะยาว xx
จากแหล่งอื่น ๆ :
ขายเงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินสด xx
ขายสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด xx
กู้ยืมระยะยาว xx
ขายหุ้นสามัญเป็นเงินสด xx
ลงทุนเพิ่ม xx xx xxx
แหล่งใช้ไปเงินทุนหมุนเวียน
ซื้อเงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินสด xx
ซื้อสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด xx
แลกเปลี่ยนสิทรัพย์ถาวร (เงินสดที่จ่ายเพิ่ม) xx
จ่ายชำระเงินกู้ระยะยาว xx
จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด xx
ถอนใช้ส่วนตัว xx xxx
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น (ลดลง) xxx

ตัวอย่างงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน จากโจทย์ตัวอย่างที่ 1 บริษัท ปิ่นมณี จำกัด
บริษัท ปิ่นมณี จำกัด
งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
สำหรับงวด 1 ปี สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2540
แหล่งที่มาเงินทุนหมุนเวียน
จากการดำเนินงาน :
กำไรสุทธิ 20,150
บวก ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร 4,250
ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวร 2,550 6,800 26,950
ขายสินทรัพย์ถาวร 250
กู้เงินระยะยาว (ออกตั๋วเงินจ่าย) 20,000 47,200 แหล่งใช้ไปเงินทุนหมุนวียน
ซื้อสินสินทรัพย์ 24,500
จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด 7,500 32,000
เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 15,200

การวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงระหว่างปี 2540 จะเลือกพิจารณาเฉพาะรายการสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของ ดังนี้
1. เงินทุนหมุนเวียนจากการดำเนิน ได้จากการกำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้จำนวน 20,150 บาท ต้องปรับปรุงโดยการ บวกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร จำนวน 2,550 บาท เมื่อคำนวณแล้วจะได้แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 26,950 บาท
2. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร)ในปี 2539 จำนวน24,250 บาท แต่ในปี 2540 มีจำนวน 41,700 บาท เปลี่ยนเพิ่มขึ้น แสดงว่าต้องมีการซื้อสินทรัพย์ถาวรในระหว่างปี จากข้อมูลเพิ่มเติมที่ให้สินทรัพย์ถาวรได้มีการขายไปบางส่วนระหว่างปี ดังนั้นจะต้องคำนวณหาราคาขาย และราคาซื้อสินทรัพย์ถาวรระหว่างปี ดังนี้
3. ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว (ครบกำหนด 1 มกราคม 2543 ) ในปี 2540 มีจำนวน 20,000 บาท แสดงว่ากิจการกู้ยืมเงินโดยออกตั๋วเงินจ่าย รายการนี้มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 20,000 บาท
4. หุ้นสามัญ ในปี 2539 และในปี 2540 มีจำนวนเท่ากันคือ 30,000 บาท แสดงว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหุ้นสามัญ รายการนี้ไม่มีผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน
5. กำไรสะสม ในปี 2539 จำนวน 28,325 บาท และในปี 2540 จำนวน 40,975 บาท

sources of funds เงินทุนหมุนเวียน


แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน ( sources of funds )
แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากการดำเนินงาน หมายถึง กำไรสุทธิของกิจการ
2. เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากการขายสินทรัพย์ถาวร และทรัพย์อื่น เช่น การขายสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด การขายเงินลงทุนระยะยาวเป็นเงินสด เป็นต้น
3. เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากหนี้สินระยะยาวและหนี้สินอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การกู้ยืมระยะยาว เป็นต้น
4. เงินทุนหมุนเวียนได้มาจากส่วนชองเจ้าของเพิ่มขึ้น เช่น การขายหุ้นสามัษเป็นเงินสดและการลงทุนเพิ่ม เป็นต้น
แหล่งใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน ( uses of funds )
แหล่งใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน สามารถบางได้ดังนี้
1. เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากการดำเนินงาน หมายถึง ขาดทุนสุทธิของกิจการ
2. เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากการซื้อสินทรัพย์ถาวร และสินทรัพย์อื่น เช่น ซื้อที่ดินอาคาร รถยนต์ เป็นเงินสด การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ถาวร (เงินสดที่จ่ายเพิ่ม)เป็นต้น
3. เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากการชำระหนี้สินระยะยาว หรือหนี้สินอื่นลดลง เช่นหารชำระหนี้เงินกู้ระยะยาว การชำระหนี้ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว การไถ่ถอนหุ้นกู้ เป็นต้น
4. เงินทุนหมุนเวียนใช้ไปจากส่วนของเจ้าของลดลง เช่น การซื้อหุ้นกลับคืน การประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด การถอนส่วนตัว
รายการที่ไม่มีผลกระทบเงินทุนหมุนเวียน
1. การคำนวณหากำไรสุทธิที่มีผลต่อเงินทุนหมุนเวียน
กำไรสุทธิจากการดำเนินงานจะมีค่าใช้จ่ายและรายได้บางรายการที่ไม่ได้ทำให้เงินทุนหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง แต่ถูกนำมาหักหรือนำมาบวกเพื่อหากำไรสุทธิประจำงวด ซึ่งจะต้องปรับปรุงโดยการนำรายการที่ไม่มีผลกระทบเงินทุนหมุนเวียนดังกล่าวบวกคืนกำไรสุทธิหรือหักยอดกำไรสุทธอ ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้
1.1 ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรจะเป็นค่าใช้จ่ายแสดงในงบกำไรขาดทุน แต่เป็นค่าใช้จ่ายประเภทที่ไม่ได้จ่ายเงิน ดังนั้นจะต้องนำค่าเสื่อราคาบวกคืนกำไรสุทธิ
1.2 การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ออกจากบัญชี รายการนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายแสดงในงบกำไรขาดทุน เช่น การตัดจำหน่ายค่าความนิยม การตัดจำหน่ายสิทธิบัตรฯลฯ ค่าใช้จ่ายประเภทนี้ไม่ได้จ่ายเป็นสด ดังนั้นจะต้องนำรายการเหล่านี้บวกคืนกำไรสุทธิ
1.3 กำไรจากการจ่ายสินทรัพย์ถาวร หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรีพย์หมุนเวียนรายการนี้จะแสดงเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนทำให้กำไรสุทธิของกิจการเพิ่มขึ้นเท่ากับผลกำไรดังกล่าว ดังนั้นจะต้องนำรายการเหล่านี้บวกคืนกำไรสุทธิเพราะผลกำไรได้รวมอยู่ในแหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียนซึ่งแสดงเป็นรายการหนึ่งอยู่แล้ว
1.4 ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียน รายการนี้จะแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนแต่เป็นค่าใช้จ่ายประเภทไม่ได้จ่ายเงินสด ดังนั้นจะต้องนำรายการนี้บวกกลับคืนกับกำไรสุทธิ
+ ค่าเสื่อมราคา
กำไรสุทธิ + การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
+ ขาดทุนจาการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวรหรือสินทรัพย์อื่น
- กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร
2. การตีราคาสินทรัพย์ให้สูงขึ้น หรือลดลง
กิจโดยทั่วไปบางครั้งในระหว่างปีอาจมีการตีราคาสินทรัพย์ให้สูงขึ้นหรือลดลงเพื่อปรับให้เหมาะสมกับราคาตลาด เช่น การตีราคาที่ดินให้สูงขึ้น การตัดจำหน่ายค่าความนิยมออกจากบัญชี โดยนำไปปรับปรุงกับบัญชีกำไรสะสม เช่น
-กิจตีราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 1,000,000 บาท จะบันทึกบัญชีดังนี้
Dr. ที่ดิน 1,000,000
Cr.กำไรสะสม 1,000,000
- ตัดจำหน่ายค่าความนิยมออกจากบัญชี 50,000 บาท
เดบิต กำไรสะสม 50,000
เครดิต ค่าความนิยมตัดจำหน่าย 50,000
จะเห็นว่าการนำรายการมาปรับปรุงกับบัญชีกำไรสะสมจะไม่กระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนดังนั้นรายการเหล่านี้จะไม่นำมาแสดงในงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน
3. การเปลี่ยนแปลงของบัญชีประเภทไม่หมุนเวียนที่ไม่มีผลทำให้บัญชีประเภทไม่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลง
บัญชีประเภทไม่หมุนเวียน ได้แก่ สินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินระยะยาว ส่วนของเจ้าของ เช่น การจ่ายหุ้นปันผล การออกหุ้นเพื่อแลกสินทรัพย์ถาวร ฯลฯ เป็นต้น

งบแสดงแหล่งที่มาปละใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน (statement of sources and application of funds )


งบแสดงที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาเงินทุนหมุนเวียนที่กิจการมีอยู่ และแสดงการใช้เงินทุนหมุนเวียนของกิจการ มีวิธีทำดังต่อไปนี้
1. เลือกพิจารณาเฉพาะที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร) หรือสินทรัพอื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนหมุนเวียน หนี้สินระยะยาว แลส่วนของเจ้าของ
2. วิเคราะห์รายการที่มีผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียน โดยพิจารณาจากงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด งบดุลเปรียบเทียบ และข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการการดำเนินงานโดยดูว่ามีรายการใดบ้างที่ทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นหรือลดลง
3. จัดทำงบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน โดยนำรายการที่วิเคราะห์ได้ว่ามีผลกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนซึ่งแบ่งเป็น
3.1 รายการที่มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น (แหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียน)
3.2 รายการที่มีผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนลดลง (แหล่งใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน)
4. ผลที่ได้จากงบนี้คือ เงินทุนหมกหุนเวียนจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงซึ่งจะเข้ากับงบแสดงการเปลียนแปลงเงินทุนหมุนเวียน

สาเหตุการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของเงินทุนหมุนเวียนของงบนี้จะเกิดจาก
1. เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
-ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร) หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียนลดลง
-หนี้สินระยะยาวและส่วนชองเจ้าของเพิ่มขึ้น
2. เงินทุนหมุนเวียนลดลงเนื่องจาก
-ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (สินทรัพย์ถาวร)หรือสินทรัพย์อื่นที่ไม่ใช่สินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้น
-หนี้สินระยะยาวและส่วนของเจ้าของลดลง

DCF หรือ Discounted cash flow เป็นการหามูลค่าของสินทรัพย์ 1 ใน 3 วิธีอันได้แก่


DCF หรือ Discounted cash flow เป็นการหามูลค่าของสินทรัพย์ 1 ใน 3 วิธีอันได้แก่

1. Cost approach
2. Market approach
3. Income approach

โดย DCF เป็นเครื่องมือนึงของวิธีที่ 3 โดยทำการคาดการณ์รายได้ของบริษัทที่จะทำได้ใน 5-10 ปีข้างหน้า แล้วทำการหามูลค่าปัจจุบันด้วย discounted rate ที่เหมาะสม

โดยมีตัวแปรที่ใช้คำนวณหลักๆ คือ
1. มูลค่าของผลตอบแทนในแต่ละปี (CF) ซึ่งมีหลาย model เช่น Net income, Dividend, Free cashflow, etc...
2. discounted rate (i) อันนี้แล้วแต่ model ที่จะใช้ ถ้าเป็น dividend approach model ก็อาจใช้ required return ของ investor เลย แต่ถ้าเป็น net income หรือ free cash flow ต้องใช้ WACC ของกิจการ หรือใช้ Return from risk free investment ก็จะได้อีกความหมายหนึ่ง แต่ถ้าจะเอาลึกๆจริงๆ จะใช้อันไหนก็ได้ แต่ความหมายของ NPV ที่คำนวณได้ก็จะเปลี่ยนไปตาม discounted rate ที่ใช้เอง
3. ระยะเวลาที่จะทำ projection (N ปี) ให้ project ไปเท่าที่เราจะคาดการณ์ได้ก็พอ เพราะไม่งั้นจะยิ่งเดายิ่งมั่วเข้าป่าไป ซึ่ง cash flow หลังจากช่วงที่เรา project ได้ เราก็จะคิดเป็น terminal value อยู่แล้วไม่ต้องห่วงว่าจะไม่เอามารวมในมูลค่ากิจการ

ซึ่งไอ้การเดาเอานี่แหละที่มันจะทำให้เกิดความผิดพลาด ดังนั้นเราจึงต้องเลือกกิจการที่มี DCA - Durable competitive advantage หรือความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะได้คาดการณ์กระแสเงินสดล่วงหน้าได้แม่นยำ

เสร็จแล้วก็หา NPV ซะ จากสูตรไปเปิดในหนังสือที่ไหนก็มี

NPV = Sum of [CFi/(1+i)^n] ; n=1-->N

โดย NPV ที่คำนวณได้ คือมูลค่าของสินทรัพย์ หรือกิจการนั้น
หากเราสามารถซื้อ Asset นี้ได้ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าของมัน
ก็เรียกว่ามี Margin of safety
ซึ่งเหมือนกับแนวคิดเรื่อง Safety factor ในการออกแบบ
และการกำหนด Safety factor ก็ขึ้นกับความมั่นใจในการคำนวณของเรานั่นเอง
สำหรับคุณบัฟเฟต เค้าใช้ Safety factor ประมาณ 2 เท่านะ คือหา NPV ได้เท่าไรก็จะซื้อที่ครึ่งราคา
และเข้าใจว่าเค้าใช้ FCF แต่ละปีแทนค่าใน CFi ในสูตรข้างบน
วิธีการประเมินราคาหุ้นนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี โดยแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ Discounting Model กับRelative Model

1. Discounting Model วิธีการประเมินราคาหุ้นแบบนี้มีวิธีคิดโดยอยู่บนพื้นฐานที่ว่า มูลค่าของหุ้นจะเกิดจากการคิดกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแล้วปรับลดมาอยู่ในมูลค่าปัจจุบัน วิธีที่คิดจะได้เห็นกันบ่อยๆก็คือ Dividend discounted model โดยประเมินจากปันผลที่คาดที่ว่าจะได้รับในอนาคต หรือวิธี Discount cash flow โดยหลักมีคิดคล้ายๆกัน คือเอากระแสเงินสดสุทธิที่เป็นอิสระ คือไม่ต้องใช้ลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์เพื่อรักษาสภาพของธุรกิจเอาไว้ แล้วคำนวณมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน

2. Relative Model วิธีนี้จะใช้การประเมินมูลโดยการเปรียบเทียบ พื้นฐานมาจากความคิดที่ว่า ของ 2 สิ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ควรมีมูลค่าใกล้เคียงกัน ของที่มีคุณภาพที่สูงกว่าก็ควรมีมูลค่าสูงกว่า โดยสิ่งที่เอามาวัดเป็นคุณภาพของหุ้นนั้นก็มีใช้กันอยู่หลายอย่าง เช่น p/e, p/bv, p/fcf, p/sales ฯลฯ

จากพื้นฐานของการประเมินมูลค่าหุ้นทั้ง 2 รูปแบบ ก็มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันพอสมควร

พวกกลุ่ม Discount มีข้อดีคือสามารถพิสูจน์ออกมาเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ชัดเจนทำให้ดูว่ามีความน่าเชื่อถือสูง แต่กลับมีข้อจำกัดสำคัญอย่างหนึ่ง จำเป็นที่จะต้องประมาณอนาคตของบริษัทออกมาเป็นตัวเลขเป็นไปเป็นระยะเวลาหลายปี ซึ่งการประมาณตัวเลขเหล่านี้ให้ได้ใกล้เคียงความจริงเพียงแค่ปีสองปีก็นับว่ายากมากแล้ว ยิ่งเราต้องประมาณออกไปนานเท่าไหร่ โอกาสที่จะคาดการณ์ผิดก็ยิ่งสูงมากขึ้นเรื่อยๆ และวิธีนี้ยังมีเลขอีกตัวที่ต้องใช้คืออัตราส่วนคิดลด หรือ โดยการคิดก็มีหลายแบบอีก บางคนอาจจะใช้ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย หรือ อัตราผลตอบแทนที่ต้องการในการลงทุน ซึ่งแต่ละคนก็คิดได้ต่างกันไป จากการที่ต้องมีการประมาณตัวเลขผลประกอบการในอนาคต และอัตราส่วนคิดลด ทำให้ราคาที่คำนวณได้จากวิธี Discount นั้นแตกต่างกันมาก คน 2 คนที่มีข้อมูลหุ้นตัวหนึ่งเท่าๆกันอาจจะประเมินราคาออกมาห่างกันเป็นเท่าตัวก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะฉะนั้นการใช้งานจริงก็อาจจะยากเอามากๆ และเสียเวลาคิดนานมากเช่นกันกว่าจะได้คำตอบที่น่าเชื่อถือออกมา บางครั้งวิธีผมมองว่าเป็นวิธีแบบสั่งได้ อยากได้ราคาเป้าหมายเท่าไหร่บอกมา แก้ตัวเลขนิดๆหน่อยราคาเป้าหมายก็เปลี่ยนไปคนละเรื่องแล้ว แต่ผลลัพธ์คือ ปวดหัวเวลาคิด แถมยังเอามาใช้งานจริงไม่ค่อยได้

วิธีการหาราคาหุ้นกลุ่ม Relative นี้มีข้อดีอย่างหนึ่งเลยคือง่าย ... ไม่ต้องใช้สูตรคณิตศาสตร์ซับซ้อนอะไรเลยครับ เพิ่งแค่ บวก ลบ คูณ หาร เป็นก็หาได้ไม่ยาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่มากเช่นกัน คือดูไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ พิสูจน์ไม่ค่อยได้ นอกจากนี้การประเมินก็ยังมีข้อจำกัดสำหรับหุ้นบางประเภทอยู่พอสมควร
dcf ใช้สำหรับบริษัทที่สามารถทราบ free cash flow ในระยะยาวๆ ได้
สามารถใช้เป็นราคาที่ควรจะเป็นในระยะยาว
เหมาะสำหรับคนที่ลงทุนในหุ้นหลายๆปี
การลงทุนเป็นลักษณะ stand alone
DCF ยุ่งยากในการคาดคะเนกระแสเงินสดในอนาคต
ประมาณว่า ต้องใช้สมมติฐานมาเกี่ยวข้องด้วย
แต่ถ้าได้ข้อมูลดี มูลค่าหุ้นที่คำนวณได้น่าจะแม่นยำกว่า
DCF จะใช้ได้ดีมากๆเมื่อเราสามารถคาดการณ์กระแสเงินสดของบริษัทในระยะยาวได้ค่อนข้างใกล้เคียง

ข้อเสีย
คำนวณ free cash flow & terminal value ให้ถูกต้องในระยะยาวได้ยาก
การคำนวณยุ่งยากกว่า
ไม่ได้เอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง
dcf หากจะใช้ค่าการเติบโตของfcfก็ต้องรู้ว่ากิจการกำลังจะทำอะไรในอนาคต หากใช้ค่าในอดีต ก็เสี่ยงน่าดู ปรกติไม่ค่อยใช้วิธีนี้เท่าไหร่ครับ เพราะมองไกลๆไม่ค่อยเห็น ไม่เหมาะกับ dcf คือ
1. แบงค์ ประกัน การเงิน ให้ใช้ cash flow to equity แทน
2. พวก conglomarate หรือ holding company เพราะถือหุ้นบริษัทเยอะไป ขี้เกียจคิดเลข



PE ใช้กำหนดราคาเป้าหมายในระยะสั้น การคำนวณเป็นลักษณะเปรียบเทียบ
คำนวณง่าย และ เข้าใจความหมายได้ง่าย
เอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาคิดด้วย
ปัญหาคือ ระวังอย่าไปติดกับ E ปัจจุบัน หรือ E ที่ผ่านมา
กับอีกตัวคือ บางอุตสาหกรรมหรือ บริษัท ถึงแม้จะทำ E ได้ดี
แต่ Cash ที่ได้กับต้องไปลงทุนเพิ่มในทรัพย์สิน เช่น เครื่องจักร
ซึ่งมีโอกาสล้าสมัย เสื่อมค่ามาก ทำให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในงบดุลนั้น
อาจแฝงเอาความด้อยค่าไว้อยู่มากก็ได้
ต้องพิจารณาอุตสาหกรรมและหุ้นแต่ละตัวไป
p/e ก็ต้องดูคุณภาพของeที่กลายเป็นเงินสดจริง การใช้ค่าตัวคูณก็ต้องประเมินจากความสามารถในการทำกำไรในอนาคต แสดงว่าต้องเข้าใจในธุรกิจก่อนทั้งนั้น

ข้อเสีย
กำหนด pe ที่เหมาะสมได้ยาก (มีหลายแบบให้เลือก เช่นใช้อุตสาหกรรมเดียวกันมาเฉลี่ย หรือ กำหนดเอาตามคุณภาพบริษัท)
ไม่ได้ดูระยะยาว ดูแค่ปีต่อปี
สามารถ mid lead the price ได้ถ้าใช้ pe ของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน

Popular Posts