MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552

ทฤษฎีความเสี่ยงของการลงทุนในหลักทรัพย์

ความเสี่ยง(Risk) หรือ ความไม่แน่นอน (uncertainty) เกิดขึ้นได้เมื่อสภาพที่ไม่อาจรู้ได้แน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้น โอกาสที่ผลตอบแทนที่ได้รับจริง (Actual Return) ต่ำ กว่าผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดหวังไว้ (Expected Return) อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ

ผู้ลงทุนพยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งแต่ละบุคคลยอมรับความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชอบ ทัศนคติ แรงจูงใจของผู้ลงทุนนั้นว่ามากน้อยเพียงใดซึ่งในการเลือกลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี หากผู้ลงทุนพิจารณาถึงความเสี่ยงจากการลงทุน โดยพิจารณาเฉพาะแล้ว จะทำให้เกิดความผิดพลาดจากการลงทุนได้ ปกติแล้วความเสี่ยงรวม (Total Risk) หาได้จากค่าความเบี่ยงเบนมาตราฐาน ซึ่งประเภทของความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์จำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk)

คือ การเปลี่ยนแปลงของผลตอบ แทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อมภายนอกของธุรกิจ ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้และมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ในตลาดทั้งหมด ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วๆไปเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน สามารถแบ่งเป็น

1.1 ความเสี่ยงเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ (Market risk) คือ ความเสียงอันเกิดจากการสูญเสียในเงินลงทุน ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นและสินทรัพย์ต่างๆในตลาด เพราะราคาหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา โอกาสสุญเสียหรือ ขาดทุนเนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์มีมากความเสี่ยงทางการตลาด เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ ถึงแม้ว่าความสามารถในการทำกำไร (earning power) ของกิจการไม่เปลี่ยนแปลง แต่ราคาหลักทรัพย์ที่เปลี่ยน แปลงนั้นขึ้นอยู่กับ demand และ supply ของหลักทรัพย์ประเภทนั้นๆ ในตลาดซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของบริษัท สาเหตุเหล่านี้ ได้แก่ สงคราม การตายของผู้บริหารประเทศ ปีที่มีการเลือกตั้งผู้บริหารประเทศ นโยบายการเมือง การเก็งกำไร ที่เกิดขั้นในตลาดหุ้นและการเปลี่ยนแปลงในราคาหุ้นนี้จะเกิดจากการคาดคะเนของผู้ลงทุนที่มีต่อความก้าว หน้า (Prospect) ของบริษัทนั้น

1.2 ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest rate risk) คือความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในผลตอบแทน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยทั่วไปในตลาด อัตราดอกเบี้ยในตลาดระยะยาวจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลง ในอัตราดอกเบี้ยมีผลทำให้หลักทรัพย์ต่างๆ กระทบการะเทือนในลักษณะเดียวกัน เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดทั่วๆไปปรับตัวสูงขึ้น จะมีผลทำให้ราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ลดลง เพราะนักลงทุนจะทำการเปรียบเทียบผลตอบแทนและความเสี่ยงระหว่างการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถ้านักลงทุนเห็นว่าผลตอบแทนจากดอกเบี้ยสูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ก็จะขายหลักทรัพย์ที่ตนถือครองอยู่ออกมา มีผลทำให้ราคาหลักทรัพย์ลดต่ำลง

1.3 ความเสี่ยงในอำนาจซื้อหรือภาวะเงินเฟ้อ (Purchasing power risk or Inflation Risk) คือความเสี่ยงที่เกิดจากระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้มูลค่าของเงินลดลง จึงทำให้อำนาจการซื้อลดต่ำลงไปด้วย เพราะจำนวนเงินที่ได้รับเท่าเดิมแต่ค่าของเงินลดลง หรือที่เรียกว่าภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งนักลงทุนหรือสถาบันการเงินจะถูกกระทบกระเทือนเกี่ยวกับอำนาจซื้ออย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินฝากประเภทออมทรัพย์ (saving account) พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ การประกันชีวิต (Life insurance) และหลักทรัพย์ประเภทอื่นๆ ซึ่งได้รับดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ดังนั้นความเสี่ยงประเภทนี้ไม่ได้ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเปลี่ยนแปลง แต่มีผลทำให้ผลตอบแทนที่แท้จริงลดลง

ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ(Unsystematic Risk)

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเฉพาะกิจการหนึ่ง หรือ อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้แล้วจะมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของธุรกิจนั้น ไม่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์อื่นในตลาดความเสี่ยงที่ถูกจัดอยู่ในความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ ได้แก่ ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) โดยประกอบด้วยความเสี่ยงต่างๆดังนี้

2.1 ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) หมายถึง โอกาสที่ผู้ลงทุนจะเสียรายได้และเงินลงทุน หากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ไม่มีเงินชำระหนี้อาจทำให้บริษัทถึงกับล้มละลาย

2.2 ความเสี่ยงทางการบริหาร (Management Risk) เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากการบริหารงานของผู้บริหาร เช่น ความผิดพลาดของผู้บริหาร และการธุรกิจของผู้บริหาร

2.3 ความเสี่ยงทางอุตสาหกรรม (Industry Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากแรงผลักดันบางอย่าง ที่ทำให้ผลตอบแทนของธุรกิจทุกแห่งในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันหรือบางอุตสาหกรรมถูกกระทบกระเทือน
ทฤษฎีปริมาณเงิน (The Modern Quantity theory of money)

ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นโดย Milton Friedman และนักเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชิคาโกโด้เผยแพร่ผลงานเพื่อสนับสนุนการมีเสถียรภาพของความต้องการถือเงินตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินที่มีต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่นี้ได้พิจารณาความต้องการถือเงินจากการที่มีความเห็นเกี่ยวกับเงินว่าเงินเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งในจำนวนสินทรัพย์อื่นๆ ที่มีมากมาย (portfolio of assets) ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการประยุกต์ทฤษฎีทุน(capital theory) เข้ากับการอธิบายพฤติกรรมความต้องการถือเงิน โดยถือว่าเงินมีลักษณะการถือสินค้าทุนในรูปแบบอื่นๆ Friedman ได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับความต้องการถือเงินของบุคคลมีอยู่ 4 ประการคือ ระดับรายได้ที่แท้จริง ระดับราคา ระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและการเพิ่มขึ้นของระดับราคาและอัตราเงินเฟ้อ

โดยปัจจัย 2 เป็นตัวแรกที่มีความสัมพัน์ในทิศทางตรงกับความต้องการถือเงินและปัจจัย 2 ตัวหลังมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่ง Friedman ว่าการเปลี่ยนแปลงของความต้องการถือเงินจะเป็นสัดส่วนเดียวกันกับระดับราคาและเป็นสัดส่วนที่มากกว่าระดับรายได้ที่แท้จริงโดยระดับราคาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการถือเงินดังนี้คือ ถ้าระดับราคาสินค้าสูงขึ้น มูลค่าของเงินที่แท้จริงจะลดลงและเพื่อที่จะรักษาระดับดุลยภาพของความต้องการถือเงินเอาไว้บุคคลต่างๆก็จะต้องเพิ่มจำนวนของปริมาณเงินที่ต้องการถือเอาไว้เพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะซื้อสินค้าได้ในปริมาณเท่าเดิม แต่ถ้าระดับราคาของสินค้าลดลง บุคลก็จะลดปริมาณเงินที่ถือเอาไว้ทั้งนี้เพราะมูลค่าที่แท้จริงของเงินได้เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง คือต้นทุนของการถือเงินที่เป็นมูลค่าแท้จริงเพิ่มสูงขึ้น

ความมั่งคั่งรวม (total wealth) เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะจำกัดขอบเขตของความสามารถที่จะมีความต้องการถือเงินและมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความต้องการถือเงินนักลงทุนกฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ได้พิจารณาถึงความมั่งคั่งรวมประกอบด้ยแหล่งที่มาของรายได้หรือบริการที่สามารถนำมาเพื่อการบริโถคได้ทุกประเภทแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญของบุคคลทั้งหลายก็คือความสามารถในการผลิต (productivity capacity) ของตนเองโดยที่บุคคลจะต้องใช้ความสามารถในตนเองทำการผลิตสิ่งต่างๆเพื่อให้ได้ผลตอบแทนออกมาในรูปของรายได้หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า human wealth ซึ่ง Friedman ได้ให้ความสำคัญโดยถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความมั่งคั่งที่สามารถดำรงได้ การพิจารณาความมั่งคั่งในลักษณะนี้รายได้จะเข้ามามีอิทธิพลต่อความต้องการถือเงิน โดยมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นตัวแทนของความั่งคั่งเท่านั้น รายได้ที่แท้จริงตามความหมายของ Friedman จะแตกต่างจากความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป คือใช้ในความหมายของรายได้ระยะยาวหรือรายได้ถาวร (permanent income) และรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว (transitory income)



Measure income = transitory income + permanent income



รายได้ถาวรนั้น หมายถึง รายได้ที่บุคคลคาดการณ์ว่าจะได้รับอย่างแน่นอนตลอดชั่วชีวิตของคนเรา (ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนของ human capital) หรือหมายความว่าเป็นรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น(expected income) และ Friedman ไม่เห็นด้วยกับการนำเอาข้อมูลรายได้ประชาชาติจากบัญชีรายได้ประชาชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละปี (actual income) มาเป็นข้อมูลที่ใช้วัดขนาดรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งนี้เพราะขนาดของรายได้ที่คาดกับที่เกิดขึ้นจริง อาจมีความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากมีรายได้ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่ไม่ด้คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Or Transitory Event) ซึ่งรายได้ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหวังนี้ไม่ควรเจ้ามามีผลกระทยต่อความต้องการถือเงิน ดังนั้นรายได้ที่มีผลกระทบต่อความต้องการถือเงินเป็นเพียงเฉพาะรายได้ถาวรหรือรายได้ที่คาดหวังเท่านั้น

Human Wealth / Non Human Wealth เนื่องจากความมั่งคั่งที่มีอยู่ในทุกรูปแบบยกเว้น Human Wealth สามารถที่จะมีตลาดสำหรับซื้อหรือขายได้ แต่ตลาดสำหรับการซื้อขาย Human Wealth นั้นไม่มีเพราะว่า Human Wealth ก็คือความสามารถของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงไปให้อยู่ในรูปของรายได้ในอนาคตและเป็นการทำให้ Human Wealth ที่ดำรงอยู่มีมูลค่าปัจจุบันที่สูงขึ้น ในเรื่องนี้ความสามารถของบุคคลที่มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลง Human Wealth ให้ไปอยู่ในรูปความมั่งคั่งประเภทอื่นซึ่งมนทางปฎิบัตแล้ว มูลค่าปัจจุบันของ Human Wealth ประเมินได้ยากกว่าความมั่งคั่งในรูปแบบอื่น Friedman จึงได้นำเอาสัดส่วนของ Human Wealth/ Non Human wealth มาเป็นตัวแปรอีกตัวหนึ่งในฟังก์ชั่นความต้องการถือเงินโดยถ้าสัดส่วนดังกล่าวมีอยู่ในความมั่งคั่งรวมมากขึ้น จะทำให้ความต้องการถือเงินลดลง

อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับจากการถือพันธบัตร (ib) ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินแน่นอนในระยะเวลาที่กำหนด แต่ในขณะที่ถือพันธบัตรนั้นราคาซื้อขายของพันธบัตรในท้องตลาดจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกลไกของตลาดอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินจากการถือพันธบัตรจึงประกอบไปด้วยสองส่วน คือ รายได้จากดอกเบี้ย ซึ่งจะมีจำนวนคงที่และอีกส่วนมาจากกำไรหรือขาดทุนจากการขายพันธบัตร (Capital Gain Or Capital loss) ที่จะเกิดขึ้น ราคาของพันธบัตรจะแปรผันไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยก็สามารถที่จะถูกนำมาใช้วัดถึงของ Capital Gain หรือ Capital Lossที่จะเกิดขึ้นจากการถือพันธบัตรนั้นด้วยและการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่คาดคะเนจะถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจลงทุนของบุคคลด้วย

อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับจากการถือเงิน (im) การถือเงินจะให้ผลตอบแทนในรูปที่เป็นตัวเงินหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบหรือชนิดของเงินที่ถือว่าอยู่ในรูปแบบใดถ้าถือในรูปเงินสดก็จะไม่มีผลตอบแทนในรูปที่เป็นตัวเงินแก่ผู้ถือ ในขณะที่เงินฝากประจำให้ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินแก่ผู้ถือและให้ทางตรงกันข้ามการถือเงินฝากระแสรายวันที่ผู้ถือต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคาร (Bank Charges) ตามที่กำหนด ซึ่งมีลักษณะของผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินมีค่าเป็นลบ (Negative return)

อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือหุ้น (ie) การถือหุ้น (Equity) ก็ให้อัตราผลตอบแทนในลักษณะเดียวกันกับความมั่นคั่งในรูปของพันธบัตร คือ ผลตอบแทนในรูปของตัวเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกมาจากเงินปันผลซึ่งได้รับมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกำไรที่เกิดขึ้นของกิจการที่เป็นผู้ออกหุ้น ส่วนที่ 2 เกิดจาการเปลี่ยนแปลงของ capital Value ของหุ้นในระยะเวลาที่ถือหุ้นนั้นอยู่



อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อ อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไป จะมีผลทำให้มูลค่าของปริมาณเงินที่บุคคลถืออยู่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีทิศทางความสัมพันธ์กันในทางตรงกันข้ามถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปสูงขึ้น มูลค่าที่แท้จริงของปริมาณเงินจะลดลงแต่ถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปลดลงก็จะทำให้มูลค่าที่แท้จริงของปริมาณเงินเพิ่มขึ้นด้วย
รสนิยมและความพอใจ (u) เป็นตัวแปรที่แสดงอรรถประโยชน์ (utility) ที่บุคคลได้รับจากการบริการที่มาจากการถือเงินและบริการที่มาจากการถือสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ

การนำเอาทฤษฎีมาเป็นพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ในการศึกษานี้จะอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายทั้งทางตรงและทางอ้อม ตามแนว ความคิดของทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ดังนี้
1. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินต่อราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขาย โดยที่ถ้าปริมาณเงินสูงขึ้นจะมีผลทำให้ปริมาณเงินที่แท้จริงที่บุคคลถืออยู่มีมากขึ้นเกินกว่าความต้องการถือเงินที่แท้จริงของบุคคลดังนั้นเพื่อรักษาดุลยภาพของปริมาณเงินที่แท้จริง บุคลต่างๆเหล่านี้ก็จะปรับตัวเพื่อให้ปริมาณเงินมีพอดีกับที่ต้องการถือ โดยนำปริมาณเงินส่วนเกินไปซื้อหลักทรัพย์ทำให้อุปสงค์ (Demand๗ในหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น มูลค่าการซื้อขายจะเพิ่มขึ้นและในทางตรงกันข้ามถ้าปริมาณเงินลดลงปริมาณเงินที่แท้จริงที่บุคคลถืออยู่จะลดลง บุคคลจะรักษาดุลยภาพปริมาณเงินไว้โดยการเปลี่ยนความมั่งคั่งในรูปหลักทรัพย์ให้มาอยู่ในรูปของเงินสดทำให้มูลค่าของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลง
2. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยนักเศรษฐศาสตร์การเงินมีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในทิศทางตรงข้าม โดยที่เมื่อปริมาณเงินลดลงจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นซึ่งหมายความว่า หากบุคคลถือทรัพย์ในรูปเงินโดยการฝากกับธนาคารแล้วก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ย แต่หากบุคคลถือสินทรัพย์ในรูปอื่นแทนเงินสดก็จะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสเท่ากับอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้น บุคคลทั่วไปจึงถือเงินสดในขณะดอกเบี้ยสูงขึ้น ความต้องการถือหลักทรัพย์ลดลงทำให้ราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายลดลงด้วย ถ้าหากปริมาณเงินเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยจะลดลง ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการถือเงินจะลดลง บุคคลจะเลือกถือสินทรัพย์ในรูปของหลักทรัพย์แทน ทำให้ความต้องการถือหลักทรัพย์สูงขึ้น มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์สูงขึ้น

การวัดค่าความเสี่ยง

การวัดค่าความเสี่ยง สามารถทำได้ในทางสถิติได้หลายวิธีแต่ที่นิยมและใช้กันแพร่ หลายในทฤษฎีการลงทุนได้แก่

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

ลักษณะการกระจายตัวของอัตราผลตอบแทนที่อาจเป็นไปได้ โดยรวมระดับอัตราผลตอบแทนที่คาดค่าสถิตินี้จึงควรใช้เพื่อชี้ค่าของความเป็นไปได้ที่ผลตอบแทนที่เกิดจริงจากการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ใดๆ จะเบี่ยงเบน หรือ แปรผันไปจากผลตอบแทนที่คาดหวัง
1. ค่า standard deviation สูงหมายความว่าหลักทรัพย์นั้นหรือ portfolio นั้นมีความเสี่ยงสูง เพราะอัตราผลตอบแทนมีการกระจายตัวไกลจากอัตราที่คาดไปมากโอกาสที่จะเบี่ยงเบนไปจึงมีมากด้วย
2. ค่า standard deviation ต่ำหมายความว่า หลักทรัพย์นั้น หรือ portfolio นั้นมีความเสี่ยงต่ำ

ค่าสัมประสิทธิเบต้า (beta coefficient)

เป็นเครื่องชี้หรือค่าวัดความเสี่ยงที่เป็นระบบ ทั้งนี้ความเสี่ยงของหลักทรัพย์ประกอบด้วยความเสี่ยงที่เป็นระบบไม่สามารถขจัดได้จากการกระจายการลงทุน กับความเสี่ยงที่เป็นเฉพาะตัวที่ขจัดได้ในตลาดความเสี่ยงที่เป็นระบบนี้เท่านั้นที่สำคัญ
1. ถ้าค่า beta coefficient มีค่าสูงกว่า 1 หมายความว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์นั้นมีความเสี่ยงที่เป็นระบบสูงกว่าระดับความเสี่ยงของตลาดที่เป็นระดับอ้างอิง
2. ถ้าค่า beta coefficient ต่ำกว่า1 หมายความว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์นั้นมีความเสี่ยงต่ำกว่า

การบริหารความเสี่ยงกับการพัฒนาองค์กร

ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด หรือ ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นและมีผลต่อการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ ความเสี่ยงนี้จะถูกวัดด้วยผลกระทบที่ได้รับและความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
ภาษาง่ายๆ ความเสี่ยง คือ สิ่งต่างๆ ที่อาจกีดกันองค์กรจากการบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมาย ความเสี่ยงทำให้เราไม่บรรลุวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ที่เรากำลังทำเป็นประจำเรียกว่า Operational Risk ทางด้านยุทธศาสตร์ (Strategy) ทางด้านการแข่งขัน (Competitive) ทั้งหมดอยู่ที่ว่า อะไรเป็นวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์อยู่ที่เรากำหนดว่าเราจะสนใจเรื่องอะไร เวลาปกติของการทำแผนเราจะดูที่เรื่องของความประสบผลสำเร็จ หากดูเรื่องของความเสี่ยงจะดูที่เรื่องปัญหาอุปสรรคหรืออะไรคือ ตัวขวาง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง
- ระบบงานขององค์กร
- บุคลากร
- การเงินการคลัง
- การเมืองเศรษฐกิจ
- การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
- ลูกค้า หรือผู้รับบริการ
- สภาพการแข่งขัน
แหล่งที่มาของความเสี่ยง
ความเสี่ยง ภายในองค์กร เช่น
- สถานที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย
- ระบบบัญชีที่ไม่น่าเชื่อถือ
- วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เอื้อต่อการสร้างประสิทธิภาพการทำงาน
- การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่เพียงพอ
- ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest)

ความเสี่ยงภายนอกองค์กร เช่น
- การเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย
- การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
- กระแสโลกาภิวัฒน์
- เสถียรภาพทางการเมือง
- การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภค
- กระแสสังคม สิ่งแวดล้อม
- การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงอย่างง่าย 5 ข้อ ได้แก่
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Establishment)
2. การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)
3. การประเมินความเสี่ยง(Risk Assessment)
4. การสร้างแผนจัดการ(Risk Management Planning)
5. การติดตามสอบทาน (Monitoring & Review)
การที่จะทำแผนรับมือความเสี่ยงมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่า เรามีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงแค่ไหน หากเรามีความเสี่ยงสูง อาทิเช่น ในเรื่องของงบประมาณ เป็นความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติ ความเสี่ยงของการที่จะของบประมาณเป็นความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน
ดังนั้น ปัจจัยการบริหารความเสี่ยง คือการกำหนดเหตุไม่พึงประสงค์ และวางแผนกำจัดเหตุที่ไม่พึงประสงค์หรือผ่อนหนักให้เป็นเบาเพื่อรับความเสี่ยงน้อยที่สุด
ประเด็นที่จะกำหนดและควบคุมความเสี่ยง จุดแรกคือ ถามตัวเองก่อนว่า เรายอมรับความจริงได้หรือไม่ว่ามีความเสี่ยง ความเสี่ยงอะไรที่ควบคุมได้แล้วจึงเอาสิ่งนั้นมาวิเคราะห์ต่อ
ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง จึงควรตอบคำถาม 7 คำถามให้ได้ คือ
Q1 ท่านมีความฝัน ความหวังอะไรที่ต้องบรรลุให้ได้อยู่บ้างหรือไม่
Q2 ท่านมีความกังวลใจอะไรบ้าง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรคที่จะทำให้ท่านไม่บรรลุความสำเร็จที่ตั้งไว้
Q3 ท่านได้เตรียมการณ์ใดเพื่อป้องกัน สาเหตุของเหตุการณ์เหล่านั้นบ้างแล้วหรือไม่
Q4 ท่านคิดว่าการเตรียมการเหล่านั้นถ้ามีสิ่งที่เล็ดลอดได้จะน่ากังวลใจเพียงใด
Q5 ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรค จำนวนมากนั้น ควรจะนำสิ่งใดมาพิจารณา
Q6 ท่านคิดว่าจำเป็นต้องมีแนวทาง วิธีการ เพิ่มเติมในการรับมือ เหตุการณ์หรือผลที่ เล็ดลอดมา อีกหรือไม่ อย่างไร
Q7 ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์นั้นได้เกิด หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดมากน้อยหรือไม่เพียงไร
หากผู้บริหารองค์กรมองเห็นปัญหาอุปสรรค ซึ่งปัญหาอุปสรรคก็อาจเป็นความเสี่ยงได้ การจัดการความเสี่ยงให้หมดไปหรือให้มีเหลือน้อยที่สุด จึงควรนำปัญหาอุปสรรคมาจัดลำดับจากมากไปหาน้อยและวิเคราะห์สาเหตุ แนวทางแก้ไข
การร่วมกันระหว่างผู้บริหาร (คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง) กับบุคลากรในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและแนวทางแก้ไข จะทำให้มีความเข้าใจตรงกัน เพราะการวิเคราะห์ความเสี่ยง ผู้บริหารและบุคลากรอาจมองต่างมุมกัน บนพื้นฐานความคิดที่ต่างกัน
ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง
การนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในองค์กร จะช่วยเป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่าการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร จะมีการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยงเป็นการทำนายอนาคตอย่างมีเหตุมีผล มีหลักการและหาทางลดหรือป้องกันความเสียหายในการทำงานแต่ละขั้นตอนไว้ล่วงหน้า หรือในกรณีที่พบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด โอกาสที่จะประสบกับปัญหาน้อยกว่าองค์กรอื่นหรือหากเกิดความเสียหายขึ้น ก็จะเป็นความเสียหายที่น้อยกว่าองค์กรที่ไม่มีการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ เพราะได้มีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ในขณะที่องค์กรอื่นที่ไม่เคยมีการเตรียมการหรือไม่มีการนำแนวคิดของกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาใช้ เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตขึ้น องค์กรเหล่านั้นจะประสบกับปัญหาและความเสียหายที่ตามมาโดยยากที่จะแก้ไข ดังนั้นการนำกระบวนการบริหารความเสี่ยงมาช่วยเสริมร่วมกับการทำงาน จะช่วยให้ภาระงานที่ปฏิบัติการอยู่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และป้องกันโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและปัญหาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน
การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการองค์กร เป็นเรื่องส่วนรวมที่ทุกคนในองค์กร ตั้งแต่คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานทุกคนควรได้มีส่วนร่วมในการ วิเคราะห์ในเชิงลึก เชิงบูรณาการ และเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน แผนปฏิบัติการ กิจกรรมขององค์กร ซึ่งการบริหารความเสี่ยงที่ดีจะเป็นการวัดความสามารถและการดำเนินงานของบุคลากรภายในองค์กร
องค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดี จะต้องดำเนินงานบนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) การควบคุมภายใน (Internal Control) และการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ประโยชน์จากการบริหารความเสี่ยง
1. เป็นการสร้างฐานข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการบริหารและการปฏิบัติงานในองค์กร การบริหารความเสี่ยงจะเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจด้านต่าง ๆ เนื่องจากการบริหารความเสี่ยง เป็นการดำเนินการซึ่งตั้งอยู่บนสมมุติฐานในการตอบสนองต่อเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร
2. ช่วยสะท้อนให้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญได้ทั้งหมด การบริหารความเสี่ยงจะทำให้พนักงานภายในองค์กรมีความเข้าใจถึงเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กร และตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อองค์กรได้อย่างครบถ้วน ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงที่มีเหตุทั้งจากปัจจัยภายในองค์กร และจากปัจจัยภายนอกองค์กร
3. เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน การบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและทันเวลา รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารในการบริหารงาน และการตัดสินใจในด้านต่างๆ เช่น การวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ การติดตามควบคุมและวัดผลการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร
4. ช่วยให้การพัฒนาองค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การบริหารความเสี่ยงทำให้รูปแบบการตัดสินใจในการปฏิบัติงานขององค์กรมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การตัดสินใจโดยที่ผู้บริหารมีความเข้าใจในกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ขององค์กร และระดับความเสี่ยงอย่างชัดเจน
5. ช่วยให้การพัฒนาการบริหารและจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงในแต่ละกิจกรรมและการเลือกใช้มาตรการในการบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยง (RISK Management)

การเสี่ยงหมายถึง “โอกาสหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่จะทำให้เราไม่บรรลุวัตถุประสงค์” ภาษาง่าย ๆ “ความเสี่ยง คือ สิ่งต่าง ๆที่อาจกีดกันองค์กรจากการบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย ความเสี่ยงทำให้เราไม่บรรลุวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ที่เรากำลังทำเป็นประจำเรียกว่า Operational Risk ทางด้านยุทธศาสตร์ (Strategy) ทางด้านการแข่งขัน (Competitive) ทั้งหมดอยู่ที่ว่า อะไรเป็นวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์อยู่ที่เรากำหนดว่าเราจะสนใจเรื่องอะไร เวลาปกติของการทำแผนเราจะดูที่เรื่องของความประสบผลสำเร็จ หากดูเรื่องของความเสี่ยงจะดูที่เรื่อง ถ้าจะไม่สำเร็จ อะไรคือ ตัวขวาง โดยเรามีขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงอย่างง่าย 5 ข้อ ได้แก่
การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Establishment)
การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)
การประเมินความเสี่ยง(Risk Assessment)
การสร้างแผนจัดการ(Risk Management Planning)
การติดตามสอบทาน (Monitoring & Review)
เหล่านี้เหมือน PDCA การที่จะทำแผนรับมือความเสี่ยงมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่า เรามีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงแค่ไหน หากเรามีความเสี่ยงสูง ในกรณีที่มี 4 M อาทิเช่น ในเรื่องของงบประมาณ เป็นความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติ ความเสี่ยงของการที่จะของบประมาณเป็นความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน
ดังนั้น ปัจจัยการบริหารความเสี่ยง คือการกำหนดเหตุไม่พึงประสงค์ เหตุที่ไม่พึงประสงค์ที่ไม่ทำให้เรากระตือรือร้น เหตุที่ไม่พึงประสงค์คือ น้ำท่วม เกิดอุบัติเหตุกลางคัน รถเสีย ฝนตก หากที่ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อไม่ให้ฝนตกทำไม่ได้ ความเสี่ยงระดับนี้ไม่เอามา Treat เป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรควบคุม ก็ไม่ต้องทำแผนรับมือฝนตก
โดยประเด็นที่จะหาการควบคุมความเสี่ยง จุดแรกคือ ถามตัวเองก่อนว่า เรายอมรับความจริงได้หรือไม่ มีความเสี่ยงอะไรที่ควบคุมได้แล้วจึงเอาสิ่งนั้นมาคุยต่อ
การใช้ชีวิตประจำวันจะมีความแตกต่างกับระบบองค์กร ในระบบองค์กรจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ผ่าออกไปแล้วก็จะพบกระเพาะอาหาร(ลักษณะ) บริหารมันยาก เพราะบทบาทขององค์กรไม่เหมือนกัน ผู้นำจะมีส่วนที่นำเอามาจากผู้ที่ทำความเสี่ยงเสร็จแล้ว โดยสภาพความเสี่ยงของผู้บริหารเกิดจากสภาพแวดล้อม เพราะเป็นบุคคลที่อยู่ข้างบนแล้วมองลงมาเห็นอย่างกว้าง ๆ เช่น มองทางด้านเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย คนภายในองค์กรก็จะมองอีกแบบหนึ่ง หากมีเป้าหมายทางด้านคนก็จะต้องเข้าธรรมชาติของคน จึงจะมากำหนดรายละเอียดได้ โดยสภาพที่เราบริหารความเสี่ยงนั้น มันยากอยู่ที่ Content คือ งานบุคคล งานยุทธศาสตร์ การบริหาร Concept ไม่ยาก แต่ยากที่ Content
ดังนั้น จึงจะต้องตอบคำถาม 7 คำถามให้ได้ เพื่อให้ได้ Concept คือ
Q1 ท่านมีความฝัน ความหวังอะไรที่ต้องบรรลุให้ได้ยู่บ้างหรือไม่
Q2 ท่านมีความกังวลใจอะไรบ้าง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรคที่จะทำให้ท่านไม่บรรลุความสำเร็จที่ตั้งไว้
Q3 ท่านได้เตรียมการณ์ใดเพื่อป้องกัน สาเหตุของเหตุการณ์เหล่านั้นบ้างแล้วหรือไม่
Q4 ท่านคิดว่าการเตรียมการเหล่านั้นถ้ามีสิ่งที่เล็ดลอดได้จะน่ากังวลใจเพียงใด
Q5 ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์ ปัญหา อุปสรรค จำนวนมากนั้น ควรจะนำสิ่งใดมาพิจารณา
Q6 ท่านคิดว่าจำเป็นต้องมีแนวทาง วิธีการ เพิ่มเติมในการรับมือ เหตุการณ์หรือผลที่เล็ดลอดมา อีกหรือไม่ อย่างไร
Q7 ท่านจะทราบได้อย่างไรว่า เหตุการณ์นั้นได้เกิด หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดมากน้อยหรือไม่เพียงไร
ท่านกังวลใจในเรื่องการบริหารงานอะไร ความกังวลใจเหล่านั้นคือ ความเสี่ยง ก็มากำหนดว่า อะไรคือ ความกังวลใจ มีระบบการควบคุมไม่ดี แล้วประเมินว่า รุนแรงมาก เกิดบ่อยคะแนนสูง ลำดับในแต่ละช่อง รุนแรงมาก เกิดไม่บ่อยเราก็นำมาไว้ลำดับหลัง คนในองค์กรจะทราบก็ขึ้นอยู่กับ การตัดสินใจของคณะกรรมการ ในการประเมินไม่เห็นด้วยกับคนในองค์กรทำ เพราะจะไม่ไเขียนจากความเสี่ยงจากงาน แต่จะเขียนจากปัญหาของงาน หากตอบคำถามนี้ได้ ก็จะสามารถรับมือกับงานได้ ทุกอย่างอยู่ที่ธรรมชาติขององค์กรว่า มองอะไรที่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญตามลำดับ

การวางแผนการทำกำไร ( Profit Planning )

การวางแผนการทำกำไร เป็นการวิเคราะห์การใช้สินทรัพย์และเงินทุนในการดำเนินงาน เป็นการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์และเงินทุนที่ก่อให้เกิดต้นทุนคงที่ว่า ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับคุ้มกับความเสี่ยงหรือไม่ การดำเนินธุรกิจใด ๆ ก็ตามย่อมมีความเสี่ยงจากการตัดสินใจในการลงทุนเกิดขึ้นอย่างแน่นอน การตัดสินใจว่าการลงทุนนั้นคุ้มกับความเสี่ยงหรือไม่ เพื่อจะได้มีกำไรที่ต้องการสามารถพิจารณาได้จากอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน

ปัจจัยพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจโครงสร้างเงินทุน มีดังนี้

1. ความเสี่ยงของธุรกิจ ( Business risk ) หรือความเสี่ยงในการดำเนินงานของบริษัท ถ้าความเสี่ยงของธุรกิจมีมากขึ้น ก็จะทำให้สัดส่วนของหนี้ที่ดีน้อยลง
2. ระดับภาษีของธุรกิจ ( The firm' s tax position ) การก่อหนี้ต้องมีภาระคือ ดอกเบี้ยจ่ายซึ่งจะทำให้กำไรลดต่ำลง และระดับการเสียภาษีของธุรกิจก็จะต่ำลงด้วย ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายของสินทรัพย์ถาวร จะทำให้กำไรของธุรกิจต่ำ ระดับการเสียภาษีก็ต่ำเช่นกัน
3. ความคล่องตัวด้านการเงิน ( Financial flexibility ) เจ้าของบริษัทจะต้องรู้ว่าการจัดหาเงินทุนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงานที่คงที่เพื่อความสำเร็จในระยะยาว เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในด้านการเงินและการเตรียมพร้อมด้านการเงินให้เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน เพราะความต้องการเงินในอนาคตและการขาดแคลนจะมีอิทธิพลต่อเป้าหมายโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจ
4. การบริหารแบบระมัดระวังหรือแบบเชิงรุก ( Mamagerial conservatism of aggresiveness ) ผู้จัดการบางคนมักมีการบริหารเชิงรุกมาก ดังนั้นบางบริษัทจึงมีการสร้างหนี้เพื่อให้เกิดกำไรสูง ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อโครงสร้างเงินทุนของธุรกิจ

ความเสี่ยงทางธุรกิจและความเสี่ยงทางการเงิน

1. ความเสี่ยงทางธุรกิจ เป็นความเสี่ยงของธุรกิจที่เกิดขึ้นภายใต้ความไม่แน่นอนที่คาดว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการนั้นๆ หรือเป็นความเสี่ยงซึ่งมีผลสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการนั้นๆ ในสินทรัพย์ การพิจารณาความเสี่ยงทางธุรกิจจะไม่พิจารณาถึงการลงทุนในโครงสร้างจากหนี้สิน ดังนั้นจึงไม่มีภาณะเกี่ยวกับดอกเบี้ยจ่าย ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ดังนี้

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ( Return on Equity : ROE )= กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ / ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ

ความเสี่ยงทางธุรกิจจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1.1 ความต้องการซื้อที่เปลี่ยนแปลง ( Demand variability ) ถ้าความต้องการซื้อลดต่ำลงจะเกิดความเสี่ยงทางธุรกิจ ถ้าบริษัทมีจำนวนหน่วยของราคาขายที่คงที่จะทำให้ความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำลง
1.2 ความเปลี่ยนแปลงของราคาขาย ( Sale price variability ) การลดราคาเพื่อกระตุ้นยอดขายหรือการเปลี่ยแปลงราคาขายจะมีผลกระทบต่อกำไร จึงทำให้เกิดความเสี่ยงทางธุรกิจ
1.3ความเปลี่ยนแปลงของต้นทุน ( Input cost variability ) ในกรณีที่ต้นทุนในการดำเนินงานหรือต้นทุนปัจจัยนำเข้ารวมทั้งต้นทุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความไม่แน่นอนสูง ระดับความเสี่ยงของธุรกิจย่อมสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
1.4 ความสามารถในการปรับราคาผลิตภัณฑ์เมื่อต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ( Ability to adjust output prices for change in input costs ) เมื่อต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาหรือต้นทุนผลิตเพิ่มสูงขึ้น ธุรกิจจำเป็นต้องปรับราคาขายเพื่อให้คุ้มทุน การปรับราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจึงเป็นความเสี่ยงของธุรกิจในการที่จะต่อสู้กับคู่แข่งขัน
1.5 ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ทันกับเวลาที่ต้องการ ( Ability to develop new products in a timely ) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยการเพิ่มสายผลิตภัณฑ์หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เดิมจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันวมัย และผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดนั้นควรเป็นช่วงเวลาซึ่งจะทำให้ธุรกิจได้เปรียบทางการแข่งขัน เป็นความเสี่ยงทางธุรกิจต่อการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด
1.6 จำนวนของต้นทุนคงที่ เป็นภาระผูกพันในการดำเนินงาน ถ้าเปอร์เซ็นต์ของต้นทุนคงที่สูง แต่ความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ลดลง ถ้าไม่ลดต้นทุนคงที่จะทำให้ความเสี่ยงของบริษัทเพิ่มขึ้น

2. ความเสี่ยงทางการเงิน เป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของผู้ถือหุ้นสามัญว่ามีการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างทางการเงินเกี่ยวกับเงินทุนด้วยการเพิ่มหนี้สินหรือออกหุ้นบุริมสิทธิจึงมีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายคือ ดอกเบี้ยและเงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ ผตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับพิจารณาได้จากกำไรต่อหุ้นสามัญ ดังนี้

กำไรต่อหุ้นสามัญ ( EPS ) = กำไรส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ / จำนวนหุ้นสามัญ

ภาระผูกพัน ( Leverage )

ภาระผูกพันหมายถึง การลงทุนจากการใช้สินทรัพย์หรือเงินทุนที่ก่อให้เกิดต้นทุนคงที่ ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการวางแผน และการควบคุมทางการเงิน ภาระผูกพัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ภาระผูกพันในการดำเนินงาน ( Operating leverage )
2. ภาระผูกพันทางการเงิน ( Financial leverage )
ซึ่งในที่นี่ จะกล่าวถึงภาระผูกพันในการดำเนินงานเท่านั้น

ภาระผูกพันในการดำเนินงาน เป็นการดำเนินธุรกิจโดยใช้สินทรัพย์แล้วก่อให้เกิดต้นทุนคงที่ กล่าวคือ การดำเนินธุรกิจที่ก่อให้เกิดรายได้จะต้องอาศัยการลงทุนในสินทรัพย์และการลงทุนในสินทรัพย์จะก่อให้เกิดต้นทุนคงที่ เช่น ต้นทุนคงที่ของการลงทุนซื้อเครื่องจักร ก็คือค่าเสื่อมราคา ต้นทุนคงที่ของการวิจัยและพัฒนาก็คือ การตัดบัญชีของต้นทุนการวิจัยและพัฒนาคุณภาพสินค้า

ธุรกิจทุกประเภทต้องพิจารณาถึงการลงทุนในสินทรัพย์แล้วก่อให้เกิดต้นทุนคงที่ เพื่อให้เข้าใจเรื่องภาระผูกพันในการดำเนินงานง่ายขึ้น มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องจุดคุ้มทุนก่อน

จุดคุ้มทุน ( Break - even - point )

จุดคุ้มทุน หมายถึง ณ ระดับการผลิตหรือการขายระดับใดระดับหนึ่งที่ก่อให้เกิดรายได้รวม ( Total revenue ) เท่ากับต้นทุนรวม ( Total cost ) ต้นทุนรวมประกอบด้วยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร ดังนี้

1. ต้นทุนคงที่ ( Fixed costs ) เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ผันแปรไปตามจำนวนหน่วยผลิตหรือขาย ต้นทุนคงที่รวมจะคงที่ตลอดเวลา แต่ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยจะลดลง ถ้าปริมาณการผลิตหรือขายสูงขึ้น เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าเช่า เงินเดือน ภาษีทรัพย์สิน เป็นต้น

2. ต้นทุนผันแปร ( Variable costs ) เป็นค่าใช้จ่ายที่ผันแปรไปตามจำนวนหน่วยผลิตหรือขาย ถ้าปริมาณการผลิตหรือขายมากต้นทุนผันแปรจะมาก แต่ถ้าปริมาณการผลิตหรือขายน้อยต้นทุนผันแปรจะน้อย นั่นคือ ต้นทุนผันแปรรวมจะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิตหรือขาย แต่ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยจะคงที่ เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่านายหน้า

กำหนดให้

P = ราคาขายสินค้าต่อหน่วย
Q = จำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย
TR = รายได้รวม
V = ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
F = ต้นทุนคงที่รวม
VC = ต้นทุนผันแปรรวม
TC = ต้นทุนรวม
EBIT = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี
จุดคุ้มทุนคือจุดที่ : รายได้รวม = ต้นทุนรวม
สูตร Q = F / ( P - V )
ถ้าธุรกิจต้องการกำไร : รายได้รวม = ต้นทุนรวม + กำไร
Q = ( F + EBIT ) / ( P - V )
EBIT = Q ( P - V ) - F

ข้อจำกัดของการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน

1. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน มีข้อสมมติต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ราคาขาย กำหนดให้มีราคาเดียว ไม่ว่าจะมีการขายมากหรือน้อย
1.2 ต้นทุนคงที่ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะผลิตเพิ่มขึ้นจำนวนเท่าไร
1.3 ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยคงที่

2. ในเรื่องการหาจุดคุ้มทุนนั้น จะใช้ได้ผลดีเมื่อกิจการผลิตและขายสินค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากมีหลายประเภทต้องหาจุดคุ้มทุนแต่ละประเภท ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก

3. ข้อจำกัดในเรื่องการแยกต้นทุนว่าอย่างไรคือต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปร ต้นทุนกึ่งคงที่กึ่งผันแปร

4. จะใช้ได้ดีในเรื่องเกี่ยวกับการวางแผนในระยะสั้น เพราะข้อมูลที่ใช้ในการหาจุดคุ้มทุนนั้น เป็นข้อมูลในอดีต

ตัวอย่าง บริษัทแก้วเจ้าจอม จำกัด เปิดดำเนินกิจการโดยการจำหน่ายขนมชนิดหนึ่ง ซึ่งขายในราคา 100 บาทต่อหน่วย ในการดำเนินงานมีต้นทุนคงที่รวม 500,000 บาท ต้นทุนผันแปร 75 บาทต่อหน่วย จงหาจุดคุ้มทุน

วิธีทำ Q = F / ( P - V )
Q = 500,000 / ( 100 - 75 )
= 20,000 หน่วย

แสดงว่าบริษัทจะต้องทำการขายสินค้าให้ได้ 20,000 หน่วย จึงจะคุ้มทุน

จากโจทก์เดิม ถ้ากิจการต้องการกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี 100,000 บาท ให้คำนวณหาจำนวนหน่วยที่ขาย

วิธีทำ Q = ( F + EBIT ) / ( P - V )
= ( 500,000 + 100,000 ) / ( 100 - 75 )
= 600,000 / 25 = 24,000 หน่วย

แสดงว่า กิจการจอต้องทำการขายให้ได้ 24,000 หน่วย จึงจะได้รับกำไร 100,000 บาท

ผลกระทบต่อจุดคุ้มทุนจากปัยจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป

1. ราคาขายเปลี่ยนแปลง
- ราคาขายลดลง ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะเพิ่มขึ้น
- ราคาขายเพิ่มขึ้น ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะลดลง

ตัวอย่าง จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าปัจจัยอื่นคงที่ แต่ราคาขายเปลี่ยนแปลงจาก 100 บาท ลดลงมาเหลือ 95 บาท จงหาจุดคุ้มทุน

วิธีทำ Q = 500,000 / ( 95 - 75 )
= 500,000 / 20
= 25,000 หน่วย

จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าปัจจัยอื่นคงที่ แต่ราคาขายเปลี่ยนแปลงจาก 100 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 105 บาท จงหาจุดคุ้มทุน

วิธีทำ Q = 500,000 / ( 105 - 75 )
= 500,000 / 30
= 16,666.66 หน่วย

2.ต้นทุนคงที่เปลี่ยนแปลง
- ต้นทุนคงที่ลดลง ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะลดลง
- ต้นทุนคงที่เพิ่มขึ้น ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะเพิ่มขึ้น

ตัวอย่าง จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าปัจจัยอื่นคงที่ แต่ต้นทุนคงที่จาก 500,000 บาท ลดลงมาเหลือ 450,000 บาท

วิธีทำ Q = 450,000 / ( 100 - 75 )
= 450,000 / 25
= 18,000 หน่วย

จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าปัจจัยอื่นคงที่ แต่ต้นทุนคงที่จาก 500,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 600,000 บาท

วิธีทำ Q = 600,000 / ( 100 - 75 )
= 600,000 / 25
= 24,000 หน่วย

3. ต้นทุนผันแปรเปลี่ยนแปลง
- ต้นทุนผัแปรลดลง ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะลดลง เพราะกำไรแปรได้ต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
- ต้นทุนผัแปรเพิ่มขึ้น ปัจจัยตัวอื่นคงเดิม จุดคุ้มทุนจะเพิ่มขึ้น เพราะกำไรแปรได้ต่อหน่วยลดลง

ตัวอย่าง จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าต้นทุนผันแปรจาก 75 บาท ลดลงมาเหลือ 70 บาท ต่อหน่วย

วิธีทำ Q = 500,000 / ( 100 - 70 )
= 500,000 / 30
= 16,666.66 หน่วย

จากตัวอย่างบริษัทแก้วเจ้าจอม ถ้าต้นทุนผันแปรจาก 75 บาท เพิ่มเป็น 80 บาท ต่อหน่วย

วิธีทำ Q = 500,000 / ( 100 - 80 )
= 500,000 / 20
= 25,000 หน่วย

--------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่าง บริษัท วิมเบิลดัน จำกัด ขายลูกเทนนิสลูกละ 20 บาท ต้นทุนคงที่รวม 200,000 บาท ต้นทุนผัแปรลูกละ 15 บาท จัดหาเงินทุนด้วยวิธีการออกหุ้นสามัญจำนวน 1,000 หุ้น มูลค่า 1,750,000 บาท เพื่อลงทุนในการซื้อเครื่องจักรมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ให้พิจารณาการลงทุนซื้อเครื่องจักรดังกล่าวมาเพื่อใช้ในการดำเนินงาน ณ ระดับจำนวนหน่วยขายระดับใดถึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด ถ้ากำหนดจำนวนหน่วยขายเท่ากับ 20,000 40,000 60,000 และ 80,000 หน่วย จะได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่าใด

วิธีทำ จำนวนหน่วยขาย ณ จุดคุ้มทุน Q = FC / ( P - VC ) = 200,000 ( 20 - 15 ) = 40,000 หน่วย

จำนวนหน่วยขาย ณ ระดับ (Q ) 20,000 40,000 60,000 80,000
ยอดขาย (TR) 400,000 800,000 1,200,000 1,600,000
ต้นทุนผัแปร ( VC ) 300,000 600,000 900,000 1,200,000
กำไรแปรได้ 100,000 200,000 300,000 400,000
ต้นทุนคงที่ ( FC ) 200,000 200,000 200,000 200,000
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี ( EBIT ) -100,000 0 100,000 200,000
ภาษี 30 % 0 0 30,000 60,000
กำไร( ขาดทุน )สุทธิ ( EAT ) -100,000 0 70,000 140,000
อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE ) -5.7% 0% 4% 8%
จากผลการวิเคราะห์ของ วิมเบิลดัน จำกัด สรุปได้ดังนี้
Q = 20,000 EBIT = -100,000 ROE = - 5.7 ความเสี่ยงสูง
Q = 40,000 EBIT = 0 ROE = 0 คุ้มทุนพอดี
Q = 60,000 EBIT = 100,000 ROE = 4 พ้นสภาพความเสี่ยงเล็กน้อย
Q = 80,000 EBIT = 200,000 ROE = 8 พ้นสภาพความเสี่ยงมาก

Liquidation Stock Price และ Going Concern Stock Price

ตัวอย่าง
บริษัทมีหนี้สิน 400 ล้าน มีส่วนของผู้ถือหุ้น 100 ล้าน
ขอให้เพื่อนๆทราบว่า ต้นทุนของเงินประเภทก่อหนี้ เรียกว่า Cost of Debt ใช้ชื่อย่อว่า Kd ในกรณีนี้สมมติว่าเท่ากับ 10 % และต้นทุนของเงินที่ได้จากผู้ถือหุ้น เรียกว่า Cost of Equity ใช้ชื่อย่อว่า Ke ในกรณีนี้สมมุติว่าเท่ากับ 20 %
ตัวเลข 20 % นี้ เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของผู้ถือหุ้น ถ้าผู้บริหารบริษัททำได้ต่ำกว่านี้ นักลงทุนจะขายหุ้นแล้วไปลงทุนที่บริษัทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

วิธีการคำนวณต้นทุนถัวเฉลี่ยของเงินทุนของบริษัท (WACC-Weighted Average Cost of Capital)

สูตร WACC = [Debt / (Debt + Equity) * Kd ] + [Equity / (Debt + Equity) * Ke ]
ในกรณีตัวอย่างนี้ WACC = 400/500 * 0.10 + 100/500 * 0.20 ซึ่งเท่ากับ 12 % เป็นต้นทุนถัวเฉลี่ยของเงินทุนของบริษัท

ตอนนี้เราจะมาดูกันว่า ถ้าผู้บริหารบริษัทบริหารงาน(หรือ Generate Cash Flow) ได้ในกรณีต่างๆต่อไปนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับ Stock Price
1. กรณี Generate Cash Flow ได้ เท่ากับ ความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นพอดี
2. กรณี Generate Cash Flow ได้น้อยกว่าความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น
3. กรณี Generate Cash Flow ได้มากกว่าความต้องการของผู้ถือหุ้น (สำหรับเจ้าหนี้ เราจะไม่ให้ดอกเบี้ยมากกว่าที่เจ้าหนี้กำหนด)

คำว่า Stock Price ที่กล่าวถึงนี้ หมายถึง Going Concern Stock Price หมายความว่า เป็นราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้มาจากการคำนวณดังนี้
เอา Value of the Firm ใน Going Concern (ย่อว่า Vf- ซึ่งวิธีการคำนวณจะอธิบายด้านล่าง) หักด้วย Value of Debt (ย่อว่า Vd) ซึ่งจะได้เท่ากับ Value of Equity (ย่อว่า Ve) จากนั้นเอาจำนวนหุ้นไปหารจะได้ราคาหุ้น Stock Price ใน Concept Going Concern

ส่วนคำว่า Liquidation Stock Price หมายความว่าราคาหุ้นในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการวันนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินคืนหุ้นละเท่าไร โดยคำนวณจาก การเอาสินทรัพย์ทั้งหมดไปขายทอดตลาด ได้เงินมาเท่าไรต้องเอาไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ก่อน แล้วจึงนำมาแบ่งให้ผู้ถือหุ้น
วิธีการคำนวณหา Value of the Firm ใน Going Concern

ก่อนอื่นเพื่อนๆต้องเข้าใจก่อนว่า Value of Firm ใน Concept Going Concern ก็คือ "มูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ของ Cash Flow ที่ Firm ควรจะ Generate ได้ในอนาคต"

จากคำพูดข้างบนนี้เราต้องทราบสูตรง่ายๆที่จะหามูลค่าปัจจุบันกรณีเงินแต่ละงวดเท่าๆกัน(ที่พวกเราเรียนจากอาจารย์รวิวัลย์เมื่อเทอมที่แล้ว) สูตรดังกล่าวคือ = จำนวนเงินงวดที่เข้ามาเท่าๆกันทุกงวด หารด้วย อัตราผลตอบแทน

จำนวนเงินงวดที่เข้ามาเท่าๆกันทุกงวดในที่นี้ก็คือ Cash Flow ที่ Generate ได้ในแต่ละปีนั่นเอง
ส่วนอัตราผลตอบแทน ก็คือ WACC นั่นเอง

ดังนั้น กรณีนี้ ถ้า Cash Flow ที่ Generate ได้เท่ากับปีละ 60 ล้าน และ WACC = 12% จะคำนวณ Value of the Firm (ใน Going Concern) ได้เท่ากับ 60/0.12 = 500 ล้าน

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการเรียน Finance ในครั้งต่อๆไปครับ

จากตอนที่แล้วพูดถึงผลกระทบต่อ Stock Price ใน 3 กรณี ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้

กรณีที่ 1 ถ้า Generate Cash Flow ได้ เท่ากับ ความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นพอดี

ปีที่1 ปีที่2 ปีที่ n
Interest (Kd=10%) 40 40 40
Dividend(Ke=20%) 20 20 20
จำนวน Cash Flow ที่ควรจะ Generate ได้แต่ละปี 60 60 60
ถ้า Firm ทำได้เท่ากับ 60 ล้านต่อปีพอดี
ก็จะคำนวณ Value of the Firm = 60/0.12 = 500 ล้าน
สามารถนำมาคำนวณ Going Concern Stock Price ได้ดังนี้ (500-400)/10 = หุ้นละ 10
400 คือ Value of Debt ; 10 ที่นำไปหารคือจำนวนหุ้นทั้งหมด

จากนั้นเรามาดู Liquidation Stock Price (ใครยังไม่ทราบว่าคืออะไรให้ย้อนกลับไปอ่านตอนต้นๆข้างบนนี้)
พบว่า Liquidation Stock Price ก็เท่ากับ 10 บาทเหมือนกัน (คำนวนได้จากเอา Total Asset ตั้ง หักด้วย Debt เหลือเท่าไรเอาไปให้ผู้ถือหุ้นแบ่งกัน ปรากฎว่าแบ่งได้หุ้นละ 10 บาทเท่ากับราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาด (Going Concern Stock Price พอดี)
นั่นหมายความว่าผู้บริหารยังไม่ได้ Maximized Shareholders' Wealth เพียงแต่ทรงๆเอาไว้ไม่โดยไม่ทำลาย Wealth ของผู้ถือหุ้น เพราะว่าบริหารงานโดยทำให้ราคาหุ้นในตลาด(Going Concern Stock Price)เท่ากับส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้นเมื่อเลิกกิจการ( Liquidation Stock Price)พอดี

กรณีที่ 2 ถ้าผู้บริหาร Generate Cash Flow ได้น้อยกว่าความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น

เช่น ผู้ถือหุ้นต้องการ 20% แต่ Firm ทำได้แค่ 15%

ดังนั้นจากข้อมูลเดิม (ดูในกรณีที่ 1) Firm นี้สามารถ Generate Cash ได้เพียงปีละ 55 ล้านเท่านั้น เมื่อนำมาคำนวณหา Vf ใน Going Concern
จะได้เท่ากับ 55/0.12 เท่ากับ 458.33 ล้าน เมื่อนำมาคำนวณหา Going Concern Stock Price จะได้เท่ากับ (458.33-400)/จำนวนหุ้นคือ 10 ล้านหุ้น จะได้ราคาหุ้นเท่ากับ 5.83 บาท แต่ในขณะเดียวกัน Stock Price ใน Liquidation เท่ากับ 10 บาทเหมือนเดิม จะเห็นว่า ในกรณีที่ 2 นี้ Stock Price ใน Going Concern จะต่ำกว่า Stock Price ใน Liquidation นี่คือคำตอบว่า "หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าบริษัทไหน ราคาที่ trade อยู่ใน
ตลาดหลักทรัพย์ต่ำกว่าราคา Liquidation นั่นแสดงว่า Time Interest of Return ต่ำกว่าที่ผู้ถือหุ้นต้องการ"

*** วิธีที่จะ Maximized Shareholders' Wealth คือ ทำให้ Time Interest of Return สูงกว่าที่ผู้ถือหุ้นต้องการนั่นเอง ****

หรือมองในอีกมุมหนึ่ง

บริษัทนี้ เอาเงินเจ้าหนี้มา 400 ล้าน เอาเงินจากผู้ถือหุ้นมา 100 ล้าน มาลงทุนในสินทรัพย์จำนวน 500 ล้าน ต้นทุนถัวเฉลี่ยของเงินทุน (WACC) เท่ากับ 12%
สมมุติว่าบริษัทนี้ Generate Cash Flow ปีละ 60 ล้าน บริษัทนี้ใช้เงินลงทุน 500 ล้าน เพราะฉะนั้นคิดเป็นผลตอบแทนปีละ 60/500*100 = 12% เท่ากับต้นทุนของเงินทุนพอดี จึงทำให้ Stock Price ใน Going Concern เท่ากับ Stock Price ใน Liquidation

แต่ถ้าเปลี่ยนตัวเลขว่า บริษัทนี้ Generate Cash Flow ได้ปีละ 55 ล้าน คือผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 55/500*100 = 11% คือได้ไม่ถึงต้นทุนของเงินทุนคือ 12 % จึงทำให้ราคา Stock ที่ซื้อขายกัน ต่ำกว่าราคา Stock เมื่อเลิกกิจการ

แต่ถ้าเปลี่ยนตัวเลขเป็น Generate Cash Flow ได้ 70 ล้าน คือผลตอบแทนจากการลงทุนจะมากกว่าต้นทุนของเงินลงทุน ดังนั้นราคา Stock จึงสูงกว่าราคา Liquidation **นี่คือวิธีการ Maximized Stock Price **

สรุปได้ว่า ** เวลาเราทำการลงทุนใดๆ Return ของ Project จะต้องสูงกว่า Cost of Capital เสมอ **



ข้อความต่อไปนี้ เป็นการสรุป Keyword สำคัญๆ ถ้าเพื่อนๆ x19 อ่านตอนเรียนชั่วโมงแรกๆ ก็อาจจะยังไม่เข้าใจ เช่นคำว่า “แคปเอ็ม” (CAPM) “ค่าความเสี่ยง” “ค่าเบต้า” “MM Theory” “Free CashFlow” และอื่นๆ แต่ถ้าเรียนไปเรื่อยๆ จนถึงชั่วโมงสุดท้ายเพื่อนๆ จะต้องรู้จักคำเหล่านี้เป็นอย่างดีทุกคำ—ขอให้โชค A …จากพี่พรเทพ x-18

WACC คืออะไร

WACC หรือ Weighted Average Cost of Capital ก็คือ ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของกิจการต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ต้นทุนของเงินกู้ยืม (Cost of debt) และต้นทุนส่วนของผู้ถือหุ้น (Cost of equity)

หน้าที่หลังของผู้บริหารการเงินก็คือ ต้องพยายามบริหาร WACC ให้มีค่าต่ำ ที่สุด ซึ่งโดยทั่วไป ต้นทุนของเงินกู้ยืม จะมีค่าต่ำกว่าต้นทุนของส่วนของ ผู้ถือหุ้นค่อนข้างมาก ดังนั้น บริษัทใดก็ตามมีโครงสร้างทางการเงินที่สามารถกู้ยืมเงินได้ในระดับที่เหมาะสมกับฐานะการเงินย่อมจะทำให้ WACC มีค่าต่ำกว่าบริษัทที่ใช้ equity ทั้งหมด

Cost of Equity

Cost of Equity หรือ Ke นั้น ในทางทฤษฎีสามารถคำนวณได้จาก CAPM หรือ Capital Asset Pricing Model

CAPM เป็นการคำนวณผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นคาดหวัง จากการพยายามหาค่าความเสี่ยง (Risk premium) โดยใช้ค่า
เบต้า เป็นตัววัด

ค่าเบต้า มาจากการคำนวณพฤติกรรมของราคาหุ้นดังกล่าวในอดีตระยะเวลานาน ๆ ว่ามีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นกี่ % เมื่อเทียบจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของตลาดรวม 1%

Ke ตาม CAPM จะ =Rf +(Rm - Rf) x Beta

เนื่องจากค่าเบต้าของหุ้นแต่ละตัวมีค่าไม่เท่ากัน ดังนั้น ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นคาดหวังในหุ้นแต่ละตัวจึงไม่เท่ากันด้วย

ปัจจัยที่มีผลกระทบกับค่าเบต้า ก็คือปัจจัยที่จะส่งผลให้ราคาหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าหรือแย่กว่าตลาดนั่นเอง โดยทั่วไปก็มักจะได้แก่
1. ขนาดของบริษัท
2. ความผันผวนของรายได้ของธุรกิจ
3. อัตราการกู้ยืมของบริษัท

BUSINESS VALUATION

กล่าวโดยสรุป ปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อมูลค่าหุ้น จะประกอบไปด้วย ปัจจัยหลัก 3 กลุ่มด้วยกันคือ
1. ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) หมายถึงอัตราส่วนกำไรต่อยอดขาย (Net profit margin)
2. การบริหารสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพ ( Asset management ) หมายถึงอัตราส่วนยอดขายต่อสินทรัพย์รวม (Asset Turnover)
3. การบริหารต้นทุนทางการเงิน (Cost of capital) หมายถึงสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity)

Functions of Financial Management

หน้าที่ของการบริหารการเงิน
1.Financing Decision - การตัดสินใจด้านการจัดหาเงินทุน
หมายถึง การจัดสัดส่วนของเงินทุนประเภทก่อหนี้ (Debt) และจากผู้ถือหุ้น (Equity) ให้เหมาะสม

2. Investment Decision - การตัดสินใจด้านการลงทุน
หมายถึง การตัดสินใจนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ

3. Liquidity Management - การบริหารสภาพคล่อง
หมายถึง การจัดสัดส่วนที่เหมาะสมของสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) และ หนี้สินหมุนเวียน (Current Liability) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การบริหารเงินทุนทำการสุทธิ (Net Working Capital Management)

Goal ที่สูงที่สุดของ Firm คือ Maximize Shareholder's Wealth หรือ Maximize Stock Price หรือ Maximize Value of the Firm ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้เหมือนกัน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. Maximize Shareholder's Wealth คือการ Maximize Stock Price เพราะว่า Shareholder's Wealth ขึ้นอยู่กับ Return ในรูปของเงินปันผลและกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) ซึ่งกำไรจากการขายหุ้นจากได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ Stock Price (ถ้าขายได้ราคาสูงก็จะได้กำไรจากการขายหุ้นมากด้วย) สำหรับเงินปันผล Firm ที่ไม่จ่ายเงินปันผล Wealth ของผู้ถือหุ้นจะเก็บไว้ใน Stock Price (ตรงนี้อาจารย์กำลังจะบอกว่า เงินปันผลก็คือ Stock Price นั่นเอง โดยแตกออกมาจ่ายให้ผู้ถือหุ้นเป็นเงินสด บริษัทที่จ่ายเงินปันผลจะทำให้ Stock Price ลดลงเท่ากับเงินปันผลที่จ่ายออกไป ซึ่งสรุปได้ว่า การจ่ายเงินปันผลเป็นการ Split Shareholder's Wealth จาก Stock Price ไปอยู่ในรูปของเงินสดปันผลเท่านั้น) ดังนั้นจึงสรุปว่า การMaximize Shareholder's Wealth คือการ Maximize Stock
Price ก็ได้

2. การ Maximize Value of the Firm เป็นการ Maximize Stock Price ด้วยเพราะว่า จาก Value of the Firm (Vf) ถ้าเราเอา Value of the Debt (Vd) ไปหักออก จะเป็นส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้นหรือที่เรียกว่า Value of Equity (Ve) และจาก Value of Equity ถ้านำมาหารด้วยจำนวนหุ้น นั่นคือ Stock Price เพราะฉะนั้นการ Maximize Value of the Firm คือการ Maximize Stock Price เพราะว่าถ้ากำหนดให้ Value of Debt คงที่ ยิ่ง Value of the Firm สูง ก็จะทำให้ Value of Equity สูงขึ้นด้วย และทำให้ Stock Price สูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การ Maximize Value of the Firm คือการ Maximize Stock Price นั่นเอง

(ข้อสอบ 1 ข้อ)

จาก Goal of Firm คือการ Maximize Shareholder's Wealth / Maximize Value of Firm และ Maximize Stock Price ซึงกิจการจะMaximize Stock Price ได้ก็จะต้อง Maximize Cash Flow ซึ่งตาม Sense ของคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจกันว่า การ Maximize Stock Price คือการ Maximize Profit ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด ที่ถูกต้องคือ ต้อง Maximize Cash Flow เพราะว่า Profit เป็นเพียงตัวเลขทางบัญชี (Accounting Profit) จากงบกำไรขาดทุน ซึ่งใช้เกณฑ์คงค้างในการบันทึกบัญชี ดังนั้นบางปีที่กิจการมี Profit มาก แต่กิจการขาดสภาพคล่องคือไม่มีเงินสดมาใช้จ่ายหรือชำระหนี้ เพราะว่าปีนั้นขายสินค้าได้มากแต่ไม่สามารถเก็บเงินได้ (มีแต่ตัวเลขยอดขาย-จึงมีตัวเลขกำไรเกิดขึ้น แต่เก็บเงินสดไม่ได้ มีแต่ยอดลูกหนี้การค้า) ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่างๆนั้นต้องจ่ายเป็นเงินสดทั้งสิ้น ดังนั้นบริษัทจึงควรให้ความสำคัญกับเงินสดหรือ Cash Flow มากกว่ากำไรหรือ Profit ซึ่งเป็นเพียงกำไรทางบัญชีเท่านั้น
นอกจากนั้น วิธีการทางบัญชีที่แตกต่างกัน เช่นการบันทึกต้นทุนแบบ FIFO แบบ LIFO หรือการใช้วิธีตัดค่าเสื่อมแต่ละแบบก็จะทำให้กำไรของแต่ละวิธีการทางบัญชีต่างกันด้วย

ข้อสังเกต Accounting Profit ของกิจการจะมีทิศทางตรงข้ามกับ Cash Flow เช่น ถ้ากำไรมากก็จะเสียภาษีมากทำให้เงินไหลออกมาก Cash Flow จะน้อยกว่ากิจการที่มี Accounting Profit น้อยซึ่งจะเสียภาษีน้อย ทำให้เงินไหลออกน้อย





Conflict of Interest

ใน Firm มีอยู่ 3 Party คือ
1.Shareholders-ผู้ถือหุ้น
2.Debtholders-เจ้าหนี้
3.Managers-ผู้บริหาร
(ผู้บริหาร ถือเป็นตัวแทนหรือ Agent ของผู้ถือหุ้น มีหน้าที่สร้าง Wealth ให้กับผู้ถือหุ้น)

ทั้ง 3 ฝ่ายนี้ต่างก็มี Goal หรือ Interest ของตนเอง
Goal ของผู้บริหาร ก็คือ เงินเดือน โบนัส และรายได้ในรูปแบบอื่นๆ ถ้า Firm Generate Cash Flow มาได้เท่าไร จะต้องจ่ายให้ผู้บริหารก่อนแล้วจึงจ่ายให้เจ้าหนี้ จากนั้นเหลือเท่าไรจึงจะเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้าผู้บริหารตั้งเงินเดือนให้ตัวเองสูงๆ มีรถประจำตำแหน่งราคาแพงๆ หรือใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอื่นๆ ก็จะทำให้ Wealth ของผู้ถือหุ้นลดน้อยลงไป ดังนั้นการ Maximize Wealth ของผู้บริหาร ก็จะเป็นการ Minimize Wealth ของผู้ถือหุ้น เรียกว่าเป็นเป็น Conflict of Interest ระหว่างผู้บริหารกับผู้ถือหุ้น

เพื่อเป็นการป้องกันหรือลดปัญหา Conflict of Interest นี้ จึงเกิดคำว่า "Agency Cost" ขึ้น ซึ่งคำนี้มีความหมายว่า ต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหา Conflict of Interest ระหว่างผู้บริหารกับผู้ถือหุ้น

ตัวอย่างของ Agency Cost เช่น
1. Monitoring Cost
เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นในการสร้างมาตรการติดตามเฝ้าดูหรือควบคุมการทำงานของผู้บริหาร เช่น มีฝ่ายตรวจสอบ (Internal Audit) ฝ่ายกฎหมาย เป็นต้น
2. Incentive Fee เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อจูงใจให้ผู้บริหารตั้งใจมุ่งมั่นที่จะสร้าง Wealth ให้กับผู้ถือหุ้น เช่น มีการให้ Stock Options กับผู้บริหาร (คือการมอบหุ้นให้ผู้บริหาร เพื่อให้ผู้บริหารมีส่วนเป็นเจ้าของด้วย) หรือการจ่าย Bonus หรือรายได้จากผลประกอบการ ถ้า Performance ดี ก็จะได้รายได้มาก เป็นต้น



ปัจจัยต่างๆที่จูงใจให้ผู้บริหาร Maximize Shareholder's Wealth
(Controlling Devices)

1. ผู้ถือหุ้น เป็นผู้ Vote เลือก กรรมการ
กรรมการ เป็นผู้เลือกหรือว่าจ้าง ผู้บริหาร
ดังนั้น ผู้ถือหุ้นจึงสามารถควบคุมผู้บริหารได้ โดยกระทำผ่านกรรมการ ถ้าผู้บริหารทำงานไม่ถูกใจผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นก็สามารถบอกกรรมการให้เลิกจ้างผู้บริหารก็ได้

2. ให้ Stock Options หรือ Performance Share
คือให้ผู้บริหารมีส่วนเป็นเจ้าของ หรือได้ผลตอบแทนที่ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ ซึ่งจะจูงใจให้ผู้บริหารหันมาสนใจสร้างหรือทำให้เกิด Maximize Shareholder's Wealth

3. Threat of being taken over (ผลร้ายจากการถูกซื้อกิจการ)
ตัวอย่าง
ถ้าราคาหุ้นของบริษัทที่ trade อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ คือ 75 บาทต่อหุ้น (ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นราคาที่ได้จากการคำนวณ
ตาม Concept Going Concern หรือ "หลักการดำรงอยู่ของกิจการ" กล่าวคือราคาหุ้นมาจาก Value of the Firm ซึ่งเป็นผลมาจากการ
คาดคะเนความสามารถในการ Generate Cash Flow ในอนาคตของบริษัท แล้วคำนวณกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันหรือ Present Value)

ในขณะเดียวกัน ถ้าบริษัทเลิกกิจการในวันนี้ มีการคำนวณราคาหุ้นใน Liquidation Concept เช่นใช้วิธี Net Asset Value Per Share (NPV per share) โดยการประเมินสินทรัพย์ในด้านซ้ายของงบดุล ในราคาตลาด ได้เท่าไร นำมาหักด้วยมูลค่าของเจ้าหนี้ (Value of Debt) ที่เหลือเป็นส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้นที่จะได้คืนเมื่อเลิกกิจการ จากนั้นนำมาหารด้วนจำนวนหุ้น ก็จะได้เป็น Stock Price ใน Liquidation Concept สมมุติว่าคำนวนได้เท่ากับ 100 บาทต่อหุ้น
จากปรากฏการณ์ข้างต้นนี้ (ราคาหุ้นในตลาดต่ำกว่า ราคาหุ้นใน Liquidation Concept) ก็จะมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งคอยจ้องจะเข้ามา Take Over กิจการ โดยเข้ามาซื้อหุ้นให้เกินสัดส่วน 50 % จากนั้นก็จะเรียกประชุมผู้ถือหุ้น Vote ให้เลิกกิจการแล้วเอาสินทรัพย์มาขายทอดตลาดแล้วเอาเงินมาจ่ายให้เจ้าหนี้แล้วที่เหลือมาแบ่งกัน ซึ่งก็ยังกำไร เนื่องจากราคาหุ้น ใน Liquidation Concept สูงกว่าราคาตลาดที่พวกเขาซื้อมา ผลก็คือ ผู้บริหารจะตกงาน ทั้งนี้เนื่องจากว่าผู้บริหารทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ปล่อยให้ราคาหุ้นตกต่ำลงไปจนต่ำกว่าราคาหุ้นใน Liquidation จนทำให้ถูก Take Over และล้มเลิกกิจการ ซึ่งถือว่าเป็นผลร้ายอันหนึ่งของผู้บริหาร หรือ Threat of being taken over

4. Competition in labor market
ตลาดว่าจ้างผู้บริหาร เป็นตลาดที่ค่อนข้างแข่งขันสูง ถ้าผู้บริหารคนใดบริหารงานไม่ดี ก็จะรู้กันทั่วไปจนไม่มีกิจการใดอยากจะจ้างผู้บริหารคนนี้มาทำงาน

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

การบ้าน

บริษัท L จำกัด กำลังพิจารณาโครงการผลิตสินค้าชนิดหนึ่งออกสู่ตลาด โดยที่บริษัทต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรในราคา 680,000 บาท ค่าขนส่งเครื่องจักร 10,000 บาท ค่าติดตั้งเครื่องจักร10,000 บาท เครื่องจักรมีอายุการใช้งาน 5 ปี มีมูลค่าซาก 100,000 บาท ในการผลิตสินค้าจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ไม่รวมค่าเสื่อมราคา) ปีละ 300,000 บาท บริษัทต้องลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิเพิ่มขึ้นอีกในตอนเริ่มต้นโครงการเป็นเงิน 90,000 บาท และจะได้รับเงินจำนวนนี้กลับคืนมาเมื่อสิ้นสุดโครงการในปลายปีที่ 5 บริษัทคาดว่าสามารถผลิตสินค้าออกขายได้ปีละ 640,000 บาท ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรคิดตามวิธีเส้นตรง และบริษัทต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 30 %
บริษัทควรจะดำเนินการตามโครงการนี้หรือไม่ ให้พิจารณาโดยใช้ วิธี
Payback Period : (ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 3 ปี)
Discounted Payback Period (ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 3 ปี อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
Net Present Value (NPV) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
Internal Rate of Return (IRR) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
Modified Internal Rate of Return (MIRR) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)

เฉลย Chapter 11: ข้อ 2

I กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ:
เครื่องจักร (680,000) บาท
ค่าขนส่ง (10,000)
ค่าติดตั้ง (10,000)
NWC ที่เพิ่มขึ้น (90,000)
รวม (790,000)
II กระแสเงินสดจากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ
ปีที่ 1-4 ปีละ . ปีที่ 5 .
รายได้ 640,000 640,000
ค่าใช้จ่าย 300,000 300,000
ค่าเสื่อมราคา 120,000 120,000
กำไรจากการดำเนินงาน 220,000 220,000
หัก ภาษีเงินได้ 30% 66,000 66,000
กำไรสุทธิ 154,000 154,000
บวก ค่าเสื่อมราคา 120,000 120,000
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 274,000 274,000

III กระแสเงินสดของปีสุดท้าย(ปีที่ 5) :
มูลค่าซาก 100,000
NWC ที่ได้รับกลับคืนมา 90,000
รวมกระแสเงินสดของปีที่ 5 464,000

IV กระแสเงินสดสุทธิของโครงการ :
. 0 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000

V ผลการวิเคราะห์โครงการ :
1. PAYBACK PERIOD = 2 + 242,000/274,000 = 2.88 ปี
(ยอมรับโครงการเพราะไม่เกิน 3 ปี)
2. DISCOUNTED PAYBACK PERIOD
= 3 + 131,898 / 174,132
= 3.76 ปี
(ไม่ยอมรับโครงการเพราะเกิน 3 ปี)

. 0 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000

PRESENT VALUE AT 12 %

-790,000 244,643 218,431 195,028 174,132 263,286

V ผลการวิเคราะห์โครงการ (ต่อ) :
3. NPV12% = 305,519.78 บาท
(ยอมรับโครงการเพราะNPVมีค่าเป็นบวก)
4. IRR = 25.52%
( ยอมรับโครงการเพราะIRRมีค่ามากกว่า 12%)
5. MIRR = 19.57%
(ยอมรับโครงการเพราะMIRRมีค่ามากกว่า 12%)

การคำนวณค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน – มูลค่าซาก) / อายุการใช้งาน
= (700,000 – 100,000) / 5
= 120,000 บาท ต่อปี
NPV
NPV = 274,000(PVIFA 12%,4) + 464,000(PVIF12%,5) – 790,000
= 274,000(3.0373) + 464,000(0.5674) – 790,000
= 832,220 + 263,274 – 790,000
= 1,095,494 – 790,000
= 305,494 บาท
ยอมรับโครงการเพราะ NPVมีค่าเป็นบวก
(หมายเหตุ : ค่าNPV คลาดเคลื่อนจากการใช้เครื่องคิดเลขทางการเงิน
เพราะใช้ตัวเลขจากตารางPresent Value ซึ่งมีการปัดเศษ)
MIRR
0 k=12% 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000
306,880
343,706
384,950
431,144
790,000 1,930,680

0 = NPV

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

บัญชีเบื้องต้น

หลักการบัญชี
การบัญชี (Book-keeping)
การบัญชี หมายถึง การวิเคราะห์ จดบันทีกรายการค้าไว้เป็นหมวดหมู่และประเภท รวมถึงรายการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสรุปผลการดำเนินการและแสดงฐานะทางการเงินของกิจการค้าแต่ละรูปแบบ
ประเภทของกิจการค้า(Types of Business Organization)
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Propretorship)
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
3. บริษัทจำกัด (Corporation)
ความแตกต่างอันสำคัญของกิจการค้าทั้ง 3 แบบนั้น อยู่ที่การบันทึกส่วนของเจ้าของทุน (Owner Equity)
สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน
สินทรัพย์ (Assets) หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตน อันมีมูลค่าเป็นเงิน ซึ่งบุคคล หรือกิจการค้าเป็นเจ้าของ
หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง พันธะผูกพันธ์อันเกิดจากรายการค้าที่บุคคล หรือกิจการค้าต้องชำระคืน ในภายหลังด้วยสินทรัพย์หรือบริการ
ทุน (Proprietorship หรือ Capital) หมายถึง ส่วนของเจ้าของในสินทรัพย์นั่น หรือสินทรัพย์สุทธินั่นเอง

สมการบัญชี (Accounting Equation)
สินทรัพย์ทั้งสิ้นที่กิจการมีอยู่ในขณะใดขณะหนึ่ง ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคล 2 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้ฝ่ายหนึ่ง และเจ้าของอีกฝ่ายหนึ่ง กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ก่อนเจ้าของกิจการ ซึ่งแสดงให้เห็นได้ในรูปของสมการบัญชี ดังนี้
กิจการไม่มีหนี้สิน สมการบัญชี คือ
สินทรัพย์ = ทุน (A = P)
กิจการมีหนี้สิน สมการบัญชี คือ
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน (A = L+P)
จากข้อเท็จจริงของสมการบัญชี นำมาใช้เป็นหลักในการบันทึกรายการค้าในสมุดบัญชี ที่เรียกว่าหลักการบัญชีคู่ (Double Entry) และใช้เป็นหลักในการจัดทำรายงานทางบัญชี

การวิเคราะห์รายการค้า
รายการค้า (Business Transaction) หมายถึง การดำเนินงานในทางการค้าอันก่อนให้เกิดการโอนเงิน หรือสิ่งที่มีมูลค่าเป็นเงิน ระหว่างกิจการค้ากับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง

สมุดบัญชี
สมุดลงรายการขั้นต้น (Book of Original Entry) ที่นิยมใช้กันมาก
1. สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) ใช้บันทึกรายการเปิดบัญชี รายการค้า รายการปรับปรุง และรายการปิดบัญชี
2. สมุดรายวันซื้อ (Purchases Journal) ใช้ลงรายการซื้อสินค้าเชื่อ
3. สมุดรายวันขาย(Sales Journal) ใช้ลงรายการขายสินค้าเชื่อ
4. สมุดรายวันรับเงิน(Cash Receipts Journal) ใช้ลงรายการรับเงินสด
5. สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash Payments Journal) ใช้ลงรายการจ่ายเงินสด

สมุดแยกประเภท(Ledger)
1. สมุดแยกประเภทลูกหนี้ (Accounting Receivable Ledger) ใช้บันทึกลูกหนี้แยกเป็นรายบุคคล
2. สมุดแยกประเภทเจ้าหนี้(Accounting Payable Ledger) ใช้บันทึกเจ้าหนี้แยกเป็นรายบุคคล
3. สมุดแยกประเภททั่วไป (General Ledger) ใช้บันทึกบัญชีคุมยอดต่างๆ ทุกบัญชี

การจัดทำงบทดลอง
งบทดลอง (Trial Balance) เป็นการพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกรายการบัญชีตามหลักบัญชีคู่ ซึ่งประกอบด้วย รายชื่อบัญชีในสมุดแยกประเภททั่วไปพร้อมด้วยยอดคงเหลือ(Accounting Balance) ของบัญชีนั้นๆ ซึ่งจะมีทั้งยอดดุลเดบิต (Debit Balance) และยอดดุลเครดิต (Credit Balance)
การรวมยอดบัญชีและหายอดบัญชีด้วยดินสอ (Pencil Footing) ในสมุดแยกประเภททั่วไป
1. รวมจำนวนเงินทางด้านเดบิตของแต่ละบัญชี แล้วเขียนยอดรวมไว้ใต้จำนวนเงินสุดท้าย
2. รวมจำนวนเงินทางด้านเครดิตของแต่ละบัญชี แล้วเขียนยอดรวมไว้ใต้จำนวนเงินสุดท้าย
3. หาผลต่างระหว่างยอดรวมทั้งสองด้านของแต่ละบัญชี แล้วนำผลต่างเขียนไว้ในช่องรายการของด้านที่มียอดรวมมากกว่า
ข้อสังเกต
1. ตัวเลขเขียนตัวเล็ก ๆ ด้วยดินสอไว้ชิดด้านบนของบรรทัดถัดไป
2. บัญชีใดมีรายการทางด้านเดบิตหรือเครดิตแต่ด้านเดียว แต่มีมากกว่า 1 รายการ จะมีแต่ยอดรวม ไม่มีผลต่าง
3. บัญชีใดที่มีเพียง 1 รายการไม่ต้องรวมยอด
4. บัญชีใดที่ยอดคงเหลือหมดไป ไม่ต้องนำมาเขียนในงบทดลอง

งบทดลองมักกระทำบ่อยครั้ง เข่น เดือนละครั้งในวันสิ้นเดือน นอกจากใช้ทดสอบการลงบัญชีแล้วงบทดลองที่จัดทำขึ้นในวันสิ้นงวดบัญชี ยังเป็นประโยชน์ในการใช้เป็นหลักในการทำงบกำไรขาดทุนรวมทั้งทำงบดุล เพื่อแสดงฐานะการเงินของกิจการด้วย
งบทดลองแม้จะมีประโยชน์ในการพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกรายการในบัญชีแยกประเภททั่วไปก็ตาม แต่มิใช่เป็นการพิสูจน์ความถูกต้องที่สมบูรณ์ เพราะมีข้อผิดพลาดหลายประการ จะไม่ปรากฏให้เห็นเมื่อทำงบทดลอง ได้แก่
1. การบันทึกรายการผิดประเภทบัญชี เช่น จะต้องบันทึกบัญชีเป็นสินทรัพย์ แต่บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
2. การบันทึกจำนวนเงินทั้งเดบิต และเครดิตด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน
3. การลืมลงรายการบางรายการ
4. การบันทึกรายการซ้ำสองครั้ง

ตัวอย่างการวิเคราะห์รายการค้าบางรายการ
1. เจ้าของกิจการนำเงินสดมาลงทุน
สินทรัพย์ เพิ่ม(เงินสด) = ทุน เพิ่ม(ทุน)
2. ขายสินค้าได้เงินสด
สินทรัพย์ เพิ่ม(เงินสด) = ทุน เพิ่ม(ขายสินค้า)
3. ซื้อรถบรรทุกเป็นเงินเชื่อ
สินทรัพย์ เพิ่ม(รถบรรทุก) = หนี้สิน เพิ่ม(เจ้าหนี้)
4. กู้เงินจากธนาคารมาใช้ในร้าน
สินทรัพย์ เพิ่ม(เงินสด) = หนี้สิน เพิ่ม(เงินกู้)
5. เจ้าของถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว
สินทรัพย์ ลด(เงินสด) = ทุน ลด(ถอนใช้ส่วนตัว)
6. จ่ายเงินเดือนพนักงาน
สินทรัพย์ ลด(เงินสด) = ทุนลด(เงินเดือน)
7. ชำระหนี้เงินกู้
สินทรัพย์ ลด(เงินสด) = หนี้สิน ลด(เงินกู้)
8. ซื้อเครื่องตกแต่งเป็นเงินสด
สินทรัพย์ เพิ่ม(เครื่องตกแต่ง) = สินทรัพย์ ลด(เงินสด)
9. ค่าเช่าถึงกำหนดจ่ายแต่ยังไม่ได้จ่าย
หนี้สิน เพิ่ม(ค่าเช่าค้างจ่าย) = ทุน ลด(ค่าเช่า)

ข้อสังเกต การวิเคราะห์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ หนี้สินและทุน ถ้าสมการบัญชีเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 ข้าง ผลการวิเคราะห์จะเหมือนกัน ถ้าเปลี่ยนแปลงในข้างเดียวกัน ผลการวิเคราะห์จะต่างกัน แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ ต้องทำให้สมการบัญชีมีความสมดุลอยู่เสมอ

การบันทึกรายการบัญชี
บัญชีแยกประเภท(Account) หมายถึง ที่ซึ่งรวบรวมรายการค้าไว้เป็นหมวดหมู่ หรือประเภท
เดบิต (Debit) หมายถึง ช่องเงินทางซ้ายของบัญชีแยกประเภท ใช้ตัวย่อ Dr.
เครดิต(Credit) หมายถึง ช่องเงินทางขวาของบัญชีแยกประเภท ใช้ตัวย่อ Cr.

การบันทึกรายการในบัญชีแยกประเภท
ใช้หลักบัญชีคู่ และเป็นไปตามความสมดุลของสมการบัญชี (Equilibrium)
ด้านเดบิต - สินทรัพย์ที่มีอยู่เดิม,สินทรัพย์
- หนี้สินลด
- ทุนลด(ถอนใช้ส่วนตัว และค่าใช้จ่าย)
ด้านเครดิต - สินทรัพย์ลด
- หนี้สินที่มีอยู่เดิม , หนี้สินเพิ่ม
- ทุนที่มีอยู่เดิม , ทุนเพิ่ม (ลงทุนและรายได้)

การปรับปรุงรายการ(Adjusting Entries)
ความสำคัญที่ถือเป็นหลักในการพิจารณารายได้ และค่าใช้จ่ายที่ถือว่าเป็นของงวดบัญชีปัจจุบัน อยู่ที่ว่าบริการหรือประโยชน์นั้นๆ ได้เกิดขึ้นแล้วในระหว่างงวดบัญชี ดังนั้นเมื่อสิ้นงวดบัญชี ก่อนที่จะคำนวณผลของการดำเนินการ กิจการจำเป็นต้องปรับปรุงรายได้และค่าใช้จ่ายให้มียอดเป็นของงวดบัญชีนั้นเสียก่อน การปฏิบัติ เช่นนี้ถือว่าเป็นการคำนวณหาผลกำไรขาดทุน ภายใต้เกณฑ์เงินค้าง (Accrual Basis)
รายการปรับปรุง เมื่อสิ้นงวดบัญชีอาจจำแนกได้ 7 ประเภท คือ
1. ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses)
2. รายได้รับล่วงหน้า(Deferred Incomes)
3. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย(Accrued Expenses)
4. รายได้ค้างรับ(Accrued Incomes)
5. หนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for bad debts)
6. ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)
7. วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป

Popular Posts