MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้

โดยทั่วไปแล้ว การลงทุนในตราสารหนี้ จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน แต่ในสถานการณ์ที่นโยบายการเงินของภาครัฐไม่ชัดเจน อัตราดอกเบี้ยขยับตัวขึ้นลงมาก ตลาดตราสารหนี้อาจมีความผันผวนและมีความเสี่ยงสูง การลงทุนในตราสารหนี้ในสถานการณ์ดังกล่าว ก็อาจมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในตราสารทุนก็เป็นได้

ความเสี่ยงของตราสารหนี้ มีอยู่ 10 ประเภทด้วยกัน

  1. Interest Rate Risk หรือ Market Risk
    ความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินผันผวน ตัวอย่างเช่น เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินขยับตัวสูงขึ้น หรือมีท่าทีว่าจะขยับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (coupon rate) ของตราสารหนี้ที่ออกใหม่ก็จะสูงขึ้นด้วย ตราสารหนี้ที่ออกมาก่อนหน้าและมีการซื้อขายในตลาดรองก็จะมีการซื้อขายในระดับราคาที่ลดลง เพื่อดึงให้อัตราผลตอบแทน(Yield) ขยับสูงขึ้นไปอยู่ในระดับที่เทียบเคียงกันกับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน ฉะนั้น ยิ่งตราสารหนี้ที่มีอายุยาวเพียงใด หรือ มีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (coupon rate) ต่ำเพียงใด ตราสารหนี้นั้น ก็จะมีความเสี่ยงต่ออัตราดอกเบี้ยที่อาจจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคตมากขึ้นเท่านั้น
  2. Credit Risk หรือ Default Risk
    ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้ ไม่สามารถจ่ายชำระดอกเบี้ย หรือ ชำระคืนเงินต้นได้เต็มตามจำนวนเงิน หรือ ตามเวลาที่กำหนดไว้ ในบรรดาตราสารหนี้ทั้งหมดของภาครัฐและภาคเอกชน ตั๋วเงินคลังของรัฐบาล จะไม่มี credit risk เลย ในขณะที่ ตั๋วเงิน หรือ หุ้นกู้ หรือ ตราสารหนี้ประเภทอื่น ๆ ที่ออกโดยภาคเอกชน จะมี credit risk มากบ้าง น้อยบ้างในระดับที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจ่ายชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยของผู้ออกตราสารหนี้นั้น ๆ
    การพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้ อาจดูจาก ผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating) ตราสารหนี้นั้น ๆ ที่จัดทำโดย บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating agency) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ออกตราสารหนี้ ในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือนั้น อาจมีการจัดอันดับทั้งด้านคุณภาพของผู้ออกตราสารหนี้ (ความสามารถในการจ่ายชำระหนี้) และด้านคุณภาพของตัวตราสารหนี้เอง (ความเหมาะสมของเงื่อนไขในการชำระหนี้)
  3. Purchasing Power Risk หรือ Inflation Risk
    ความเสี่ยงต่อการมีอำนาจซื้อที่ลดลงในอนาคต ภาวะเงินเฟ้อมีอิทธิพลต่ออำนาจซื้อของผู้ลงทุน ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่คู่กันไปกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวเกินกว่า 10 ปี จึงมีความเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อและอำนาจซื้อที่ลดลงในอนาคต เพราะดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาว จะมีจำนวนเงินที่ได้รับในแต่ละงวดเท่าเดิมตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อทำให้ราคาสิ่งของแพงขึ้น

    ผลตอบแทนที่แท้จริง = อัตราดอกเบี้ยรับ – อัตราเงินเฟ้อ

    ถ้าภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น ผลตอบแทนที่แท้จริง (real return) ของการลงทุนในตราสารหนี้จะลดลง และทำให้อำนาจซื้อของผู้ลงทุนลดลงด้วย 
    หากภาวะเงินเฟ้อในปีใดสูงเกินกว่าดอกเบี้ยรับของตราสารหนี้นั้น ผลตอบแทนที่แท้จริงที่ผู้ลงทุนจะได้รับอาจถึงขั้นติดลบก็ได้ กล่าวได้ว่า รายรับจากดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่ลงทุนไว้ ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ฉะนั้น ผู้ลงทุนที่นำเงินออมจำนวนมาก ๆ ไปลงทุนในตราสารหนี้อายุยาวที่มีดอกเบี้ยในอัตราคงที่ (fixed coupon rate) อาจประสบกับความเสี่ยงประเภท purchasing power risk เมื่อเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น รายจ่ายเพิ่มขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ แต่มีรายได้จากดอกเบี้ยรับคงที่ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ลงทุนมิได้คำนึงถึงความเสี่ยงประเภทนี้มากนัก 
    ผู้ลงทุนจึงควรกระจายเงินที่จะลงทุนไปในตราสารหนี้ที่มีอายุ (maturity) หลากหลาย เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงประเภท purchasing power risk ไปในตัว

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การบริหารผลตอบแทน

ในความหมายของผลตอบแทนในแง่ธุรกิจ ย่อมหมายถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งกำหนดจ่ายแก่พนักงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตาม ค่าของงาน และ ผลการทำงาน
ส่วนในด้านพนักงาน ผลตอบแทนก็คือ ค่าจ้างหรือเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์อื่นซึ่งบริษัทกำหนดให้ เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงาน โดยที่พนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้วิชาความรู้ ทักษะ ความชำนาญตามตำแหน่งของงาน ซึ่งตนได้รับไว้ตามสัญญาจ้างแรงงาน
การบริหารผลตอบแทน จึงมีความหมายมิใช่เฉพาะเรื่องการบริหารค่าจ้างหรือเงินเดือน แต่หมายถึงตั้งแต่การกำหนดลักษณะงาน ค่าของงาน (Job Value) การวัดผลการทำงาน ตลอดจนถึงการบริหารสวัสดิการ และผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งบริษัทกำหนดให้เป็นผลตอบแทนการทำงาน และการกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจ่ายหรือการจัดให้พนักงานได้รับผลตอบแทนการทำงานดังกล่าวอย่างถูกต้อง
การบริหารผลตอบแทนจึงจำเป็นต้องมีการวางแผน การจัดระบบงาน การควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายผลตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานที่พนักงานได้ทุ่มเท (Contribute) ให้แก่บริษัท


เป้าหมายหลักในการจัดระบบการบริหารผลตอบแทนการทำงาน นอกเหนือจากเพื่อธำรงรักษาทรัพยากรบุคคลของบริษัทแล้ว ยังมีเป้าหมายหลักดังนี้
1. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด ควรได้รับผลตอบแทนสูงสุด
2. เพื่อจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด
3. เพื่อสามารถแข่งขันกับตลาดได้ คือ สามารถธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพและสามารถคัดเลือก สรรหาผู้มีความสามารถเข้ามาเป็นพนักงานบริษัท
4. สามารถควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลตอบแทนการทำงานให้สอดคล้องกับผลผลิต และผลการดำเนินธุรกิจ
5. เพื่อให้การจ่ายผลตอบแทนเป็นการจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน (Pay per Performance) 
6. เพื่อสะดวกแก่การบริหารและการจัดการให้เป็นไปตามนโยบายและหลักการบริหารบุคคลในเรื่อง ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่
6.1 การจ้างแรงงาน
6.2 การสับเปลี่ยน โยกย้าย แต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่งพนักงาน
6.3 มาตรฐานงานและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
6.4 การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน
6.5 การบริหารสวัสดิการ
6.6 การจัดการเกี่ยวกับผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่บริษัทจัดให้แก่พนักงาน ฯลฯ
7. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือจากพนักงาน โดยอาศัยหลักแห่งความยุติธรรมในการจ่ายผลตอบแทนการทำงาน

นโยบายราคาเกี่ยวกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Pricing over Product Life Cycle)

3.1 การตั้งราคาแบบตักครีมหน้านม (Skimming Pricing) หมายถึงการตั้งราคาสินค้าให้สูงกว่าราคาปกติ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในกรณีดังนี้คือ
3.1.1 เป็นระระเริ่มแรกของการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีลักษณะดีเด่น 
เป็นพิเศษออกตลาด

3.1.2 ต้องการให้ราคาเป็นเครื่องกำหนดคุณภาพ 

3.1.3 ไม่แน่ใจว่าต้นทุนจะเป็นเท่าไร 

3.1.4 ผลิตภัณฑ์นั้นเข้าสู่ตลาดยากเพราะเป็นสินค้าที่ต้องใช้เงินลงทุน
จำนวนสูงมาก 

3.1.5 เจาะตลาดเฉพาะลูกค้ากลุ่มที่มีรายได้สูงเท่านั้น

3.1.6 ราคาสินค้าไม่เป็นปัญหาในการตัดสินใจซื้อ 

3.1.7 รักษาอุปสงค์ให้อยู่ในขอบข่ายของความสามารถ ในการผลิต เพื่อป้องกันสินค้าขาดตลาด

3.1.8 ต้องการตักตวงกำไรให้มากก่อนที่คนอื่นจะเข้ามาแข่งขัน


3.2 การตั้งราคาแบบเจาะตลาด (Penetration Pricing) หมายถึง การตั้งราคา สินค้าให้ต่ำกว่าราคาปกติ ใช้ได้ในกรณีดังนี้

3.2.1 ดึงดูดความสนใจและเชื้อเชิญให้สามารถซื้อมาทดลองใช้ได้
3.2.2 การขายราคาต่ำช่วยเพิ่มปริมาณการขาย ทำให้สามารถผลิตได้ ณ ระดับการผลิตที่ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดต่ำลง 
3.2.3 เมื่อมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
3.2.4 ใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ 
3.2.5 เป็นตลาดของผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย

นโยบายและกลยุทธในการกำหนดราคา (Price Policy and Strategy)

1. นโยบายเกี่ยวกับระดับราคาทั่ว ๆ ไป (The General Price Level)
1.1 นโยบายตั้งราคาเท่ากับราคาตลาดหรือคู่แข่ง
1.2 นโยบายตั้งราคาสูงกว่าราคาตลาดหรือคู่แข่งขัน
1.3 นโยบายตั้งราคาต่ำกว่าราคาตลาดหรือราคาคู่แข่ง
2. แบบลักษณะของการตั้งราคา (Uniform Price)
2.1 ราคาคงที่หรือตายตัว (Fixed Price) คือการกำหนดราคาขายสินค้าหรือ
บริการ ให้ลูกค้าทุกคนในราคาเดียวกันหมดภายใต้สภาวะทางการค้าเดียวกัน
หรือคล้ายกันหรืออาจเรียกว่านโยบายราคาเดียว (One Price Policy) 

2.2 ราคาต่อรอง (Negotiated Price) คือการกำหนดราคาขายสินค้าหรือบริการ
ให้ลูกค้า แต่ละรายในราคาที่แตกต่างกันแม้ว่าจะซื้อสินค้าหรือบริการในปริมาณ
ที่เท่ากัน และภายในสถานการณ์คล้าย ๆ กัน เราอาจเรียกว่า นโยบายหลายราคา 
(Flexible Price Policy) 

2.3 ราคาควบคุม (Resale Price Maintenance) คือการกำหนดราคาขายปลีก
ที่แน่นอนของ บริษัทผู้ผลิตซึ่งกระทำได้โดยการติดราคาขายไว้ที่ตัวผลิตภัณฑ์เลย

วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา

แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. พิจารณาด้านกำไร (Profit Oriented Objectives)
2. พิจารณาด้านการขาย (Sales Oriented Objectives)
3. เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคา (Stabilize Price Objectives)
1. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านกำไร
วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านกำไรนั้นหมายความว่า ใช้กำไรเป็นตัวกำหนด หรือหลักในการพิจารณาว่าราคาควรอยู่ระดับใดแบ่ง 
ได้ 2 อย่างคือ
1.1 เพื่อได้ตอบแทนตามเป้าหมาย (Target Return) คือเป็น การตั้งเป้าหมายไว้ก่อนว่าต้องการกำไรเป็นจำนวนเงินคงที่เท่าใด อาจคิดเป็นจำนวนเงินหรือคิดเป็นกำไรเป็นร้อยละเท่าใดจากเงินลงทุน หรือร้อยละราคาขาย แล้วจึงคำนวณว่าจะตั้งราคา ณ ระดับใดจึงจะ ได้กำไรตามเป้าหมาย

1.2 เพื่อได้ผลตอบแทนสูงสุด (Maximize Profit) คือการกำหนดราคาเพื่อ ให้ได้กำไรสูงสุดนั้น ในทางเศรษฐศาสตร์จะพิจารณาตั้งราคาตรงจุดที่
ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย = รายได้เพิ่มต่อหน่วยคือ 
Marginal Cost (MC) = Marginal Revenue (MR)
2. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาด้านการขายแบ่งได้เป็น 3 อย่าง 
คือ
2.1 เพื่อเพิ่มปริมาณการขาย (Increased Sales) คือการตั้งราคาให้ต่ำ แต่ต้องคำนึงด้วยว่าจะต้องไม่ต่ำกว่าต้นทุน และควรเป็นราคาที่ทำให้ขาย
ได้มาก ที่สุด 

2.2 เพื่อรักษาสัดส่วนของการถือครองตลาด (Maintain Market Share) คือการตั้งราคาเพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้กำไรพอ สมควรแต่มียอดการจำหน่ายในสัดส่วนคงที่ 

2.3 เพื่อเพิ่มปริมาณการถือครองตลาด (Inereased Market Share) คือการตั้งราคาที่ทำให้ขยายส่วนถือครองตลาดให้สูงขึ้น คิดดึงเอา เปอร์เซ็นต์การถือครองตลาดของคู่แข่งขันมา วิธีการนี้อาจทำได้โดย การลดราคาสินค้าลง หรือที่เรียกว่าการตัดราคา
3. วัตถุประสงค์ในการกำหนดราคาโดยพิจารณาการรักษาเสถียรภาพของราคา
แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ
3.1 เพื่อรักษาระดับราคาให้คงที่และไม่มีการพัฒนาด้านใดให้ดีขึ้น คงปล่อย ให้กิจการดำเนินไปเรื่อย ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง และคงขายสินค้าราคาคงที่ตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแต่นาน ๆ ครั้ง

3.2 เพื่อรักษาระดับราคาให้คงที่ แต่พยายามพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ให้ดีขึ้นและผู้บริหารจะต้องพยายามแข่งขันในด้านส่งเสริมการตลาดให้ดีขึ้นด้วย โดยคงราคาไว้ ณ ระดับเดิมเป็นการแข่งขันโดยใช้วิธีอื่นซึ่งไม่ตัดราคา

ปัจจัยที่ควรคำนึงในการกำหนดราคา

1. ปัจจัยภายใน
2. ปัจจัยภายนอก
1. ปัจจัยภายใน
1. วัตถุประสงค์ขององค์การ (Company Objective) องค์การหรือบริษัทจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการดำเนินกิจการ แล้วจึงกำหนดราคาเพื่อให้ สอดคล้องกัน

2. ลักษณะและประเภทของสินค้า (Character of Product) เช่น สินค้าเกษตรกรรมนอกฤดูจะขายราคาแพงกว่าปกติมาก

3. ต้นทุนจะเป็นตัวกำหนดราคาขั้นต่ำสุด
2. ปัจจัยภายนอก
1. คำนึงถึงอุปสงค์ (Demand) ของตลาดว่ามีความต้องการเสนอซื้อสินค้ามาก
เท่าใดและอุปสงค์ ของสินค้านั้นมีความยืดหยุ่นต่อราคาเป็นอย่างไร
2. สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน 
3. กฎหมายและรัฐบาล
4. จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ 
5. สภาพการแข่งขัน 
6. คำนึงถึงพ่อค้าคนกลาง ผู้ผลิตตั้งราคาให้เขาสามารถขายได้
7. ผู้บริโภค

Popular Posts