ความหมายของการวิเคราะห์งบการเงินการวิเคราะห์งบการเงิน คือ กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการใดกิจการหนึ่งจากงบการเงินของกิจการนั้น พร้อมทั้งนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการตัดสินใจ
การวิเคราะห์งบการเงินมีจุดประสงค์ 2 ประการดังนี้1. การหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ2. การนำข้อเท็จจริงที่ได้มาใช้ประกอบการตัดสินใจหรือเสนอแนะแนวทางการตัดสินใจ
กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์งบการเงิน
1. เจ้าหนี้ หมายถึง บุคคลภายนอกที่ให้กิจการกู้เงินมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เจ้าหนี้จะวิเคราะห์งบการเงินของลูกหนี้เพื่อพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ ความสามารถในการหากำไรและลักษณะการได้มาและการใช้ไปของเงินทุน
2. ผู้ลงทุนทั่วไป หมายถึง ผู้ที่มีเงินออมและพร้อมที่จะลงทุนในธุรกิจ จะวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรทั้งปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน
3. ผู้บริหาร มีหน้าที่และต้องรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการจึงต้องการการวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อพิจารณาถึงปัญหาและโอกาสของกิจการสำหรับการกำหนดแผนดำเนินการต่อไป
4. หน่วยงานรัฐบาล วิเคราะห์งบการเงินเพื่อได้ข้อมูลที่จะนำมาประกอบการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภคและประเทศโดยส่วนรวม
5. นักวิชาการ วิเคราะห์งบการเงินของกิจการ เพื่อนำมาศึกษาและให้ข้อเสนอแนะ ตลอดจนจัดทำข้อมูลที่สำคัญ ๆ เพื่อการศึกษาและงานวิจัยซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่วงการศึกษา และวงการธุรกิจ
การวิเคราะห์งบการเงินมีจุดมุ่งหมายพอสรุปดังนี้1. เพื่อเป็นเครื่องมือกลั่นกรองเบื้องต้นสำหรับการตัดสินใจ โดยเฉพาะเรื่องการลงทุน 2. เป็นเครื่องมือช่วยพยากรณ์ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานในอนาคตและการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบต่าง ๆ 3. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยปัญหาในการบริหารงาน ฐานะการเงินและปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น 4. เป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละฝ่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินมี 5 ประเภท ดังนี้ 1. การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis) 2. การวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีแนวนอน (Horizontal Analysis) 3. การวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีแนวตั้ง (Vertical Analysis) 4. การวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีแนวโน้ม (Trend Analysis) 5. การวิเคราะห์โดยจัดทำงบกระแสเงินสด (Cash Flow Analysis)
การวิเคราะห์งบการเงินมีจุดประสงค์ 2 ประการดังนี้1. การหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการ2. การนำข้อเท็จจริงที่ได้มาใช้ประกอบการตัดสินใจหรือเสนอแนะแนวทางการตัดสินใจ
กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์งบการเงิน
1. เจ้าหนี้ หมายถึง บุคคลภายนอกที่ให้กิจการกู้เงินมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เจ้าหนี้จะวิเคราะห์งบการเงินของลูกหนี้เพื่อพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ ความสามารถในการหากำไรและลักษณะการได้มาและการใช้ไปของเงินทุน
2. ผู้ลงทุนทั่วไป หมายถึง ผู้ที่มีเงินออมและพร้อมที่จะลงทุนในธุรกิจ จะวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรทั้งปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน
3. ผู้บริหาร มีหน้าที่และต้องรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการจึงต้องการการวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อพิจารณาถึงปัญหาและโอกาสของกิจการสำหรับการกำหนดแผนดำเนินการต่อไป
4. หน่วยงานรัฐบาล วิเคราะห์งบการเงินเพื่อได้ข้อมูลที่จะนำมาประกอบการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภคและประเทศโดยส่วนรวม
5. นักวิชาการ วิเคราะห์งบการเงินของกิจการ เพื่อนำมาศึกษาและให้ข้อเสนอแนะ ตลอดจนจัดทำข้อมูลที่สำคัญ ๆ เพื่อการศึกษาและงานวิจัยซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่วงการศึกษา และวงการธุรกิจ
การวิเคราะห์งบการเงินมีจุดมุ่งหมายพอสรุปดังนี้1. เพื่อเป็นเครื่องมือกลั่นกรองเบื้องต้นสำหรับการตัดสินใจ โดยเฉพาะเรื่องการลงทุน 2. เป็นเครื่องมือช่วยพยากรณ์ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานในอนาคตและการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นจากผลกระทบต่าง ๆ 3. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยปัญหาในการบริหารงาน ฐานะการเงินและปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น 4. เป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละฝ่าย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินมี 5 ประเภท ดังนี้ 1. การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis) 2. การวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีแนวนอน (Horizontal Analysis) 3. การวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีแนวตั้ง (Vertical Analysis) 4. การวิเคราะห์งบการเงินโดยวิธีแนวโน้ม (Trend Analysis) 5. การวิเคราะห์โดยจัดทำงบกระแสเงินสด (Cash Flow Analysis)