บทที่ 18 ตราสารอนุพันธ์และการจัดการความเสี่ยง
ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ไม่มีมูลค่าในตัวเอง มูลค่าของหลักทรัพย์นึ้ขั้นอยู่กับราคาตลาดหรืออัตราดอกเบี้ยของสินทรัพย์อื่น เช่น สิทธิที่
จะซื้อจะขายหุ้นสามัญ (Option) มูลค่าของสิทธิดังกล่าวขึ้นอยู่กับราคาตลาดของหุ้นสามัญที่รองรับ---> บุคคลกลุ่มที่ 3 คือ นักเก็งกำไร : เข้ามาซื้อขายโดยคาด่าสินทรัพย์
จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยไม่มีความต้องการป้องกันความเสี่ยง เมื่อบุคคลกลุ่มนี้เข้ามามาก ทำให้ตลาดมีสภาพคล่องและมั่นคงมากขึ้น หากไม่มีการควบคุมที่ดีพอ
ก็จะขาดทุนถึงขึ้นล้มละลายได้ Option คือสัญญาแสดงสิทธิของผู้ถือ Option จะซื้อหรือจะขายสินทรัพย์ใดๆที่ระบุไว้ตามจำนวน ภายในระยะเวลาที่กำหนด (strike
หรือ exercise price) ผู้ซื้อต้องจ่าย premiumให้แก่ผู้ขายในวันทำสัญญา จะไม่เป็นการบังคับผู้ถือ Option ให้ซื้อหรือขายแต่อย่างใด มี 2 ประเภท (1) Call Option คือ
Option ที่ผู้ซื้อมีสิทธิจะซื้อสินทรัพย์ตามจำนวน ราคา ภายในระยะเวลาที่กำหนดในอนาคต (2) Put Option คือ Option ที่ผู้ซื้อมีสิทธมีสิทธิจะขายสินทรัพย์ตามจำนวน
ราคา ภายในระยะเวลาที่กำหนดในอนาคต ผู้เกี่วข้องกับ Option มี 2 ฝ่าย คือ (1) ฝ่ายผู้ซื้อ Option (2) ฝ่ายผู้ขาย Option 1. ฝ่ายผู้ซื้อ Option มีสิทธิที่จะใช้หรือไม่ใช้
Option นั้นก็ได้ โดยผู้ซื้อจะจำกัดผลขาดทุนเท่ากับ Premium ที่จ่ายให้กับผู้ขาย แต่จะมีกำไรไม่จำกัด-->จากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินทรัพย์ที่ซื้อไว้ (2) ผู้ขาย Option
มีพันธะที่ต้องปฏิบัติตามเมื่อผู้ซื้อเลือก ที่จะใช้สิทธิ โดยผู้ขายสิทธิจะได้รับผลตอบแทนจำกัด เท่ากับ premium ที่ได้รับ แต่ขาดทุนไม่จำกัดขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์
ที่ขายไป การใช้สิทธิมี 2 แบบ 1. Amercan Option : ผู้ซื้อสามารถเลือกใช้สิทธิในการซื้อหรือขายตั้งแต่วันที่ทำสัญญาจนถึงวันครบสัญญา (2) European Option :
ผู้ซื้อสามารถใช้สิทธิซื้อขายได้เฉพาะวันครบกำหนดสัญญา ราคาใช้สิทธิ (exercise price หรือ strike price) คือราคาที่กำหนดให้ผู้ซื้อใช้สิทธิในการซื้อหรือขาย ถ้า
ราคาใช้สิทธิต่ำกว่าราคาตลาดในขณะนั้นเรียกว่า in-the-money ถ้าราคาใช้สิทธิสูงกว่าราคาในตลาดนั้น เรียกว่า out-of-the-money(OTM)และหากใช้สิทธิเท่ากับราคาใน
ขณะนั้น เรียกว่า at-the-money (ATM) Put Option = ราคาที่กำหนดให้ใช้สิทธิ - ราคาตลาด เช่น นาย ไม่มีหุ้นใน บ. ก แต่
นาย ก ขายสิทธิซื้อหุ้นให้นาย ข 100 หุ้น @55฿ ใช้สิทธิภายใน ม.ค. สิทธิละ 3.15฿ ซื้อ สิทธิในการขายหุ้นไว้ 100 หุ้น @50 บาท ใช้สิทธิได้ภายใน ม.ค. ราคาสิทธิละ 2.20 ฿
ถ้าราคาตลาด 60 = (60-55)100-315 = 185 บาทคือกำไร ราคาตลาด 45 ฿ = (50-45)100-220 = 280 บาท คือกำไร
ตัวอย่าง CALL OPTION สิทธิจะซื้อหุ้น A ราคาหุ้นละ20 บาท ในระยะเวลา 3 เดือน ราคาสิทธิละ 3 บาท คือผู้ซื้อสิทธินี้จะได้สิทธิในการซื้อหุ้น A
ราคาหุ้นละ 20 บาท โดยจ่ายค่า Premium ให้ผู้ขายล่วงหน้า ณ วันที่ทำสัญญา 3 บาท ถ้าใน 3 เดือนนี้ราคาหุ้น A ในท้องตลาดต่ำว่า 20 บาท ผู้ซื้อสิทธิก็จะไม่ใช้สิทธิ
ผู้ขายจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับ Premium = 3 บาท แต่ถ้าราคาหุ้นในท้องตลาดสูงกว่าราคาใช้สิทธิ ผู้ซื้อสิทธิจะใช้สิทธิซื้อหุ้นราคา 20 บาท จากผู้ขาย
หรือ ไม่ก็ได้ แต่ผู้ขายต้องปฏบัติตามที่ผู้ซื้อต้องการ โดยได้รับผลตอบแทนมากที่สุดเท่ากับค่า Premium
ตัวอย่าง PUT OPTION ซื้อสิทธิในการขายหุ้น ( put option) เพื่อมีสิทธิในการขายหุ้นบริษัท A ในเดือนมกราคม ราคาใช้สิทธิหุ้นละ 50 บาทจำนวน 100 หุ้น
ต้องจ่าย premium 2.2 บาทต่อหุ้น ถ้าราคาหุ้นลงลดเหลือ 45บาท ก็สามารถใช้สิทธิจะขายหุ้นได้ในราคาหุ้นละ 50 บาท ถ้ายังไม่มีหุ้นก็สามารถซื้อหุ้นจากตลาด
และ ใช้สิทธิจะขายหุ้น 100 หุ้น คงเหลือกำไรทั้งสิ้น ( 50 x 100 ) - ( 2.2 x 100 ) = 280 บาท
FORDWARD CONTRACTS คือข้อตกลงที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงซื้อขายสินทรัพย์จำนวนหนึ่งจากอีกฝ่ายหนึ่งโดยตกลงขายกันในวันทำสัญญา แต่จะส่งมอบ
และชำระเงินในอนาคตตามวันที่กำหนดไว้ ฉะนั้นราคาสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากวันทำสัญญามากจะมีโอกาสให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาได้
Future Contracts : FC) คล้ายกับ Forward Contracts แตกต่างกัน 3 อย่าง คือ (1) F C ปรับราคาตามตลาดทุกวัน บันทึกกำไรขาดทุนทุกวัน ถ้าขาดทุนจะต้อง
จ่ายเงินเพิ่มหุ้ค้มกับผลขาดทุนนั้น จึงทำให้มีการผิดสัญญาลดลง (2) FC ไม่มีการส่งมอบสินทรัพย์ เมื่อครบกำหนดสัญญาจะจ่ายหรือรับเงินส่วนต่างเท่านั้น
(3) FC เป็นสัญญามาตรฐานสามารถนำไปซื้อขายในตลาดได้ กำหนดขนาดสัญญา วันหมดอายุ กฎระเบียบที่ซื้อขายที่ควบคุมโดยตลาดที่เป็นคนกลางระหว่าง
คู่สัญญา 2 ฝ่ายที่กำหนดข้อสัญญาให้ตรงกันตามความต้องการขอคู่สัญญาเท่านั้น
การแลกเปลี่ยน (Swaps) คือสัญญาที่คู่สัญญา 2 ฝ่ายตกลงแลกเปลี่ยนธุรกรรมกัน เช่นการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย สกุลเงิน ข้อดีคือช่วยลดต้นทุน เพราะไม่มี
ค่าคนกลาง swaps ใช้ลดความเสี่ยงทางการเงิน เช่น การแลกเปลี่ยนความรับผิดชอบในการชำระเงิน---> ช่วยลดเวลา ความยุ่งยาก เพิ่มสภาพคล่องและประสิทธิภาพ
Structured Note คือ ภาระหนี้สินที่เกิดจากภาระหนี้สินอื่น เช่น กรณีวานิชธนากร ได้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลชนิเรียกไถ่ถอนคืนไม่ได้อายุ 30 ปีมาเป็นหลักประกัน
การจำหน่ายพันธบัตรไร้ดอกเบี้ยเป็นชุดๆ ตามงวดดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตรรัฐบาล ชุดสุดท้ายของพันธบัตรไร้ดอกเบี้ยมีอายุ 30 ปี จะค้ำประกันด้วยดอกเบี้ย
ที่ได้รับชุดสุดท้ายจากพันธบัตรรัฐบาล Inverse Floater(FV) คือ ตั๋วเงินที่มีอัตราผลตอบแทนเคลื่อนไวตรงข้ามกับอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด
เช่น ตั๋วเงินอัตราดอกเบี้ยที่คิดกับลูกค้าชั้นดี บวก 1% แต่ IF นี้อัตราผลตอบแทนจะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามของตลาด ดอกเบี้ยสูง IF จะต่ำ
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น