1.)เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน(Medium of Exchange)
ทำหน้าที่อำนายความสะดวกและทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำเพราะแต่ละคนจะทำอาชีพที่ตนมี
ความถนัดมากที่สุดเมื่อได้เงินก็นำไปซื้อสินค้าและบริการอื่นๆ
2.) เป็นมาตรฐานการวัดค่า(Standard of Value)
ทำให้สินค้าและบริการทุกชนิดถูกประเมินเป็นเงินตราเดียวกัน สะดวกในการเปรียบเทียบมูลค่า
และเป็นประโยชน์ในการทำบัญชี ที่สามารถบวกลบกันได้โดยตรงเพราะมีหน่วยเดียวกัน ตัวอย่างของการ
เปรียบเทียบเช่น ปากการาคา 5 บาท แต่ดินสอราคา 10 บาท แสดงว่า ปากกา 2 ด้ามมีค่าเท่ากับดินสอ
1 แท่ง เป็นต้น
คำถาม: ท่านคิดว่าถ้าโลกนี้มีสินค้าและบริการ N ชนิด หากกำหนดให้ของแลกของกันโดยตรงจะต้องมี
การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนกี่อัตรา
3.) เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้า (Standard of deferred payments)
ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทำให้ธุรกรรมการซื้อเชื่อขายเชื่อดำเนินไป
ได้อย่างสะดวก เพราะทุกคนเชื่อว่าเงินสามารถชำระหนี้ได้
4.) เป็นเครื่องสะสมมูลค่า (Store of value)
เงินจัดเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งที่สะสมไว้ได้ บุคคลอาจเลือกเก็บเป็นเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายใน
อนาคตต่อไป โดยเงินเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากที่สุด(Liquidity) แต่การเก็บเงินไว้เฉยๆจะไม่ให้
ผลตอบแทนเหมือนการออมในทรัพย์สินอื่นๆ เช่พันธบัตร หรือหุ้นซึ่งให้ผลตอบแทนแต่มีสภาพคล่อง
น้อยกว่าเงิน
หมายเหตุ
- สภาพคล่อง(Liquidity) หมายถึง ความง่ายที่จะใช้สินค้านั้นเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ในระบบเศรษฐกิจ
- เงินจะทำหน้าที่ได้ดีนั้นค่าของเงิน(อำนาจซื้อ) ต้องมีเสถียรภาพ การที่ค่าเงินมีการ
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
2 ความคิดเห็น:
หลายกะหลายเบิ่ย
เยอะมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลย
แสดงความคิดเห็น