Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อุปสงค์ของเงิน

อุปสงค์ของเงิน(Demand for Money Theory) หรือความต้องการถือเงิน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ สี่ประการคือ ระดับราคา(The Level of Price) ระดับอัตราดอกเบี้ย(The Level of Interest Rate) ระดับผลิตภัณฑ์ในประเทศแท้จริง(Real GDP) และระดับนวัตกรรมทางการเงิน(The Pace of Financial Innovation) ซึ่งอุปสงค์ของเงินสามารถอธิบายระดับอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ทฤษฎีความต้องการถือเงินแบ่งออกเป็นสองสำนักใหญ่คือ สำนักคลาสสิค และเคนส์ ซึ่งแต่ละสำนักประกอบด้วยทฤษฎีความต้องการถือเงินสำคัญดังนี้

อุปสงค์ของเงิน(Demand for Money Theory) หรือความต้องการถือเงิน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ สี่ประการคือ ระดับราคา(The Level of Price) ระดับอัตราดอกเบี้ย(The Level of Interest Rate) ระดับผลิตภัณฑ์ในประเทศแท้จริง(Real GDP) และระดับนวัตกรรมทางการเงิน(The Pace of Financial Innovation) ซึ่งอุปสงค์ของเงินสามารถอธิบายระดับอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ทฤษฎีความต้องการถือเงินแบ่งออกเป็นสองสำนักใหญ่คือ สำนักคลาสสิค และเคนส์ ซึ่งแต่ละสำนักประกอบด้วยทฤษฎีความต้องการถือเงินสำคัญดังนี้

1. ทฤษฎีอุปสงค์เงินของสำนักคลาสสิค
แนวคิดของสำนักคลาสสิค ให้ความสำคัญกับระยะเวลาความต้องการถือเงิน และอุปนิสัยของผู้ถือเงินเป็นปัจจัยกำหนดที่สำคัญของความต้องการถือเงิน คือความต้องการถือเงินเกิดขึ้นเนื่องจากช่วงเวลารับและจ่ายเงินไม่ตรงกัน แบ่งออกได้เป็น ทฤษฎีของ เออวิง ฟิชเชอร์ (Irving Fisher) และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์
1.1 แนวความคิดเออวิง ฟิชเชอร์
ปี ค.ศ. 1911 เออวิง ฟิชเชอร์ นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิคใหม่(Neoclassic) ได้พิมพ์หนังสือเรื่อง “The Purchasing Power of Money” เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาทฤษฎีปริมาณเงิน ของ ไซมอน นิวโคมบ(Simon Newcomb) ที่ปี ค.ศ. 1885 ได้พัฒนาทฤษฎีปริมาณเงิน(The Quantity Theory of Money) ของ จอนห์ สจวตมิล(John Stuart Mill) และ เดวิด ฮูม(David Hume) พวกเขาจัดว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค หนังสือของ ฟิชเชอร์ พยามอธิบายทฤษฎีดังกล่าว ให้อยู่ในรูปสมการแลกเปลี่ยนให้เข้าใจได้ง่าย
M.V = P.Q 6.1
และเมื่อจัดสมการ(6.1)
ให้อยู่ในรูปธุรกรรม(Transaction Form) ได้ดังนี้
M.VT = P.T (6.2)
โดย
M = ปริมาณเงินหมุนเวียนในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
V = อัตราความเร็วในการหมุนเวียนเงิน
P = ระดับราคาสินค้าและการบริการทั่วไป
Q = ดัชนีชี้วัดมูลค่าแท้จริงของการใช้จ่าย หรือ P.Q คือมูลค่าเงินที่ใช้จ่าย
T = ปริมาณของสินค้าและบริการที่ซื้อขายกันในระยะหนึ่ง
ซึ่ง P.T หมายถึงผลรวมของการเปลี่ยนแปลงเงินในขณะใดขณะหนึ่ง ดังนั้นความเร็วของการทำธุรกรรมนี้เท่ากับ VT = P.T/M นักเศรษฐศาสตร์ในกลุ่มนี้ คนสำคัญที่ควรกล่าวถึงคือ มิลตัน ฟรีดแมน(Milton Friedman) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1991-2006 เป็นนักเศรษฐศาสตร์สำคัญในกลุ่มนี้ เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ต่อจาก ฟิชเชอร์ จนทำให้แนวคิดเรื่องเศรษฐสาสตร์จุลภาคมหภาคแยกกันได้ชัดเจน และได้รับรางวัลโนเบล(Nobel Price) เรื่องเกี่ยวกับการบริโภคและการเงิน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts