MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วงจรของการวางแผนงาน P-D-C-A

เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน ประกอบด้วย การวางแผน – ปฏิบัติ – ตรวจสอบ – ปรับปรุงการดำเนินงาน การดำเนินกิจกรรม P-D-C-A อย่างเป็นระบบให้ครบวงจรอย่างต่อเนื่องหมุนเวียนเรื่อยๆ ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพเพิ่มขึ้น Plan หมายถึง การวางแผนการดำเนินงาน · การกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง /กำหนดเป้าหมาย / วัตถุประสงค์ · การกำหนดมารตราฐาน เกณฑ์มาตรฐาน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบว่า   การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในแผนหรือไม่ · การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะการดำเนินงาน   การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลด   ความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ Do หมายถึง การปฏิบัติตามแผน · การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด · ก่อนที่จะปฏิบัติจริง ต้องศึกษาข้อมูล...

Requirements of Good Plan

ลักษณะของแผนที่ดี (Requirements of Good Plan) มีลักษณะดังนี้ 1. แผนควรจะมีลักษณะชี้เฉพาะมากกว่าจะมีลักษณะกว้างหรือกล่าวทั่วๆ ไป 2. แผนควรจำแนกตามความแตกต่างระหว่างสิ่งที่รู้และสิ่งที่ยังไม่รู้ให้ชัดเจน 3. แผนควรมีการเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุผลและสามารถนำไปปฏิบัติ 4. แผนจะต้องมีลักษณะยืดหยุ่นและสามารถปรับพัฒนาได้ 5. แผนจะต้องได้รับการยอมรับจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ลำดับขั้นในกระบวนการวางแผน 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ 2. พัฒนาข้อตกลงที่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการวางแผน 3. พิจารณาข้อจำกัดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการวางแผน 4. พัฒนาทางเลือก 5. ประเมินทางเลือก เพื่อเลือกสิ่งที่เป็นไปได้สูงสุด 6. เปลี่ยนแปลงแผนสู่การปฏิบัติ ชนิดของแผน ในปัจจุบันผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ (Vision) กว้างไกลและมีความสำนึกในเรื่องของส่วนรวม มีปณิธาน (Wish) คือ การตั้งความปรารถนาหรือความมุ่งหวังที่จะทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ควบคู่ไปกับการวางแผนในลักษณะต่างๆ...

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

multichannel marketing systems

ช่องทางการตลาดแบบระบบการตลาดหลายช่องทาง หมายถึง การใช้ช่องทางการตลาดตั้งแต่สองช่องทางขึ้นไป เพื่อกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค  การใช้ช่องทางหลายช่องทาง จะทำให้กิจการได้รับผลประโยชน์ คือ                - สามารถเพิ่มยอดขายจากการขายสินค้าผ่านหลายช่องทาง สามารถครอบคลุมตลาดได้อย่างทั่วถึง เพราะถ้าหากใช้ตลาดช่องทางเดียว อาจจะไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าบางกลุ่มได้ เช่น บริษัท ยาคูลท์(ประเทศไทย) จำกัด จากเดิมใช้ช่องทางการตลาดแบบทางตรง หรือช่องทางศูนย์ระดับ โดยการใช้สาวยาคูลท์เท่านั้น ในการนำยาคูลท์ให้ไปถึงผู้บริโภค ต่อมาได้เพิ่มช่องทางการตลาดโดยใช้ช่องทางหนึ่งระดับคือ การขายผ่านร้านค้าปลีก ทำให้สามารถครอบคลุมตลาดได้กว้างขวางขึ้น เป็นต้น              - การใช้หลายช่องทาง ทำให้ลดต้นทุนในการขายสินค้าให้กับลูกค้าในปัจจุบันได้ เช่น...

ช่องทางการตลาดแบบระบบการตลาดตามแนวนอน (horizontal marketing systems)

ระบบการตลาดตามแนวนอน หรือที่ Adler (quoted in Kotler, 1997 : 551) เรียกว่า "การตลาดแบบพึ่งพาอาศัยกัน (symbiotic marketing)" หมายถึง สมาชิกในช่องทางการตลาดที่อยู่กันคนละระบบ มีการร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมทางการค้า โดยอาจจะเป็นการร่วมมือกันแบบชั่วคราวหรือแบบถาวรก็ได้            ระบบการตลาดตามแนวนอน เป็นการรวมตัวกัน หรือร่วมมือกันระหว่างสมาชิกที่อยู่ในช่องทางการตลาดตามแนวนอนตั้งแต่สองรายขึ้นไป และอยู่ในระดับเดียวกัน เช่น ระดับพ่อค้าส่งเหมือนกัน ระดับพ่อค้าปลีกเหมือนกัน โดยมีขอบเขตงานที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนปัจจัยการดำเนินงานบางอย่างร่วมกัน เช่น เงินทุน เทคโนโลยี กำลังการผลิต วัตถุดิบ บุคลากร ความรู้ ความชำนาญการประสบการณ์ ข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น           นอกจากนี้ยังเป็นการนำเอาจุดเด่นของฝ่ายหนึ่งมาเสริมจุดด้อยของอีกฝ่ายหนึ่ง...

corporate marketing channel system, corporate VMS

ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียว (corporate marketing channel system, corporate VMS) หมายถึง สมาชิกในช่องทางการตลาดที่อยู่ในระดับต่าง ๆ รวมตัวกันเป็นองค์กรภายใต้เจ้าของเดียวกัน ซึ่งจะทำให้มีความสามารถในการควบคุม ช่องทางการตลาดได้อย่างเต็มที่ และไม่ต้องมีปัญหาเรื่องคนกลางอิสระที่ทำหน้าที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้ผลิต  ระบบการรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียวแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ                   1. การรวมตัวแบบมุ่งไปข้างหน้า (forward integration) หมายถึง ผู้ผลิตทำหน้าที่ตั้งแต่ขายส่ง และขายปลีกสินค้าของตนด้วยตัวเองทั้งหมด หรืออาจเป็นเจ้าของช่องทางการตลาดเฉพาะในบางตลาด ส่วนตลาดอื่นที่เหลือมอบหมายให้คนกลางอิสระทำหน้าที่อยู่ต่อไป                  2. การรวมตัวแบบมุ่งไปข้างหลัง (backward...

ระบบสิทธิทางการค้า

1. ระบบสิทธิทางการค้าที่ผู้ผลิตให้สิทธิ์แก่พ่อค้าปลีก (manufacturer-retailer franchise system) หมายถึง ระบบที่ผู้ผลิตให้สิทธิทางการค้าแก่พ่อค้าปลีกอิสระ พ่อค้าปลีกที่จะได้รับสิทธิทางการค้าจะต้องผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ ความสามารถ และศักยภาพในการขายให้ได้มาตรฐานตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ และต้องปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างเคร่งครัด ระบบนี้นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น บริษัทโตโยต้า ได้ให้สิทธิทางการค้าแก่ผู้ขาย (dealer) หลายราย ผู้ขายหรือผู้จัดจำหน่ายจะทำการจำหน่ายในระดับค้าปลีกและมีความเป็นอิสระในการบริหารงาน โดยมีการตกลงกันเกี่ยวกับเงื่อนไขการขายและการบริการ เป็นต้น           2. ระบบสิทธิทางการค้าที่ผู้ผลิตให้สิทธิ์แก่พ่อค้าส่ง (manufacturer-wholesaler franchise system) หมายถึง ระบบที่ผู้ผลิตให้สิทธิทางการค้าแก่พ่อค้าส่ง ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของการให้สิทธิ์ในการจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในท้องที่หนึ่ง...

contractual marketing channel system or contractual VMS

ระบบการตลาดตามแนวตั้งแบบรวมตัวกันโดยสัญญา (contractual marketing channel system or contractual VMS) หมายถึง การทำสัญญากันระหว่างสมาชิกต่างระดับในช่องทางการตลาด ที่มีระบบการผลิตและการจัดจำหน่ายที่แตกต่างกัน มีการรวมตัวกันโดยอาศัยข้อตกลงที่เป็นสัญญาร่วมกัน (contractual) เพื่อให้เกิดการประหยัด และสามารถทำยอดขายได้มากขึ้นกว่าที่จะเป็นแบบต่างคนต่างทำ เนื่องจากถ้าสมาชิกระดับใดระดับหนึ่งดำเนินการแต่เพียงลำพัง จะทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานลดน้อยลง ระบบการรวมตัวกันโดยสัญญาแบ่งออกได้ 3 รูปแบบ               2.1 การรวมตัวกันของพ่อค้าปลีกที่พ่อค้าส่งสนับสนุน(wholesaler-sponsored voluntary chains) หมายถึง รูปแบบที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างพ่อค้าส่งรายใดรายหนึ่งกับพ่อค้าปลีกอิสระหลาย ๆ ราย รวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการในลักษณะกลุ่มลูกโซ่สมัครใจ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้...

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ค่าจ้างและผลตอบแทนการทำงาน

ผลตอบแทนการทำงานถูกกำหนดไว้ด้วยคำจำกัดความว่า ค่าจ้าง ซึ่งหมายถึง เงิน ที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างได้ทำ และหมายความรวมถึงเงินที่จ่ายให้ในวันหยุด และในวันลา ซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่มีสิทธิได้รับตามกฎหมายแรงงาน ขอบเขตและความหมายของการบริหารผลตอบแทน ในความหมายของผลตอบแทนในแง่ธุรกิจ ย่อมหมายถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งกำหนดจ่ายแก่พนักงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตาม ค่าของงาน และ ผลการทำงาน ส่วนในด้านพนักงาน ผลตอบแทนก็คือ ค่าจ้างหรือเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์อื่นซึ่งบริษัทกำหนดให้ เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงาน โดยที่พนักงานต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยใช้วิชาความรู้ ทักษะ ความชำนาญตามตำแหน่งของงาน ซึ่งตนได้รับไว้ตามสัญญาจ้างแรงงาน การบริหารผลตอบแทน...

Key Performance Indicator

KPI คือ เครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานหรือประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ขององค์กร ซึ่งสามารถแสดงผลของการวัดหรือการประเมินในรูปข้อมูลเชิงประมาณเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานภายในองค์กร ขั้นตอนการสร้าง KPI กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ (What to measure) กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จหรือปัจจัยวิกฤต (Key Success Factor or Critical Success Factor) ที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ เช่น ปัจจัยด้านคุณภาพ ปริมาณ ต้นทุน การส่งมอบ ความพึงพอใจ ความปลอดภัย และการเพิ่มผลผลิต กำหนดตัวดัชนีชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ (How to measure) ซึ่งสามารถแสดงเป็นข้อมูลในเชิงปริมาณและกำหนดสูตรในการคำนวณรวมทั้งหน่วยของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว กลั่นกรองดัชนีชี้วัดเพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก...

การพัฒนาตนเอง (Self Development)

เก่งตน (Self Ability) หมายถึง เป็นผู้ที่ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันโลกทันคน โดยเริ่มจากการพัฒนาตนเองก่อน การพัฒนาตนเองนั้นพัฒนาได้ 3 ทางคือ ทางกาย องค์ประกอบที่สำคัญคือ รูปร่าง พัฒนาให้ดีขึ้นโดยใช้การแต่งกายช่วยลดจุดด้อยหรือเสริมจุดเด่น หน้าตาสดชื่นแจ่มใส สะอาดหมดจด อากัปกิริยา การแสดงออกเข้มแข็งแต่ไม่แข็งกระด้าง อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ การยืน การเดิน การนั่ง ต้องมั่นคง เรียบร้อย การแต่งกายต้องสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะ เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณ ทางวาจา การพูดดีต้องมีองค์ประกอบ ๔ ประการคือ พูดแต่ดี มีประโยชน์ ผู้ฟังชอบ และทุกคนปลอดภัย ก่อนพูดทุกครั้งต้องคิดก่อนพูด คนที่พูดดี มีปิยะวาจา เป็นลมปากที่หวานหูไม่รู้หาย เป็นที่รักใคร่ชอบพอแก่ทุก ๆ ฝ่ายที่ได้ยินได้ฟัง ทางใจ การพัฒนาทางใจก็มีองค์ประกอบหลายประการ เช่น ความมั่นใจ ถ้ามีความมั่นใจในตนเอง จะทำอะไรก็สำเร็จ ความจริงใจ คือ เป็นคนปากกับใจตรงกัน...

การตลาดหางยาว หรือ Long tail Marketing

การตลาดลองเทล (Long tail Marketing) เป็นการตลาดแนวใหม่ล่าสุดที่สามารถเสนอทางเลือกอันไม่รู้จบให้กับผู้บริโภคได้อย่างน่าทึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดกลุ่มเป้าหมายเพราะข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ หรืองบประมาณเหมือนวิธีทางการตลาดที่ผ่านมา โดยอาศัยกลไกการตลาดแบบอัตโนมัติ (Marketing Automation) มาตอบสนองความต้องการของลูกค้า 'ทุกราย' ได้อย่างเป็นระบบ การตลาดหางยาว หรือ Long tail Marketing เปลี่ยนมุมมองการตลาดแบบเดิมๆ ที่ให้ความสำคัญกับการจัดกลุ่มลูกค้าชั้นดีที่มีจำนวนไม่มาก การเน้นลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงเพียงบางกลุ่ม เปลี่ยนเป็นให้ความสนใจกับน้ำหนักของกลุ่มลูกค้าทีมีกำลังซื้อน้อยกว่าแต่มีจำนวนมากกว่าเยอะและยังไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ โดยขอแนะนำให้รู้จักการตลาดหางยาว หรือ Long Tail Marketing กันแบบคร่าว ๆ สัก 4 ประเด็น ได้แก่ 1. กฎลองเทล (Long tail) เป็นกฎตรงข้ามกับกฎของพาเรโต หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่ากฎ...

การตลาดโดยตรง (Direct Marketing)

ธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็กและงบประมาณน้อย ดังนั้นการทุ่มเทเม็ดเงินเพื่อสื่อสารไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมายต้องมั่นใจว่า ผู้รับสารเหล่านั้นเป็นกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงและที่สำคัญต้องมีศักยภาพในการซื้อสินค้า การใช้การตลาดโดยตรงจึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ของธุรกิจเอสเอ็มอีได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำฐานข้อมูล (Database Management) ที่บันทึกรายละเอียดและพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไว้อย่างเป็นระบบและมีการบริหารจัดการข้อมูลอย่างถูกต้อง ย่อมส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี อันนำไปสู่ความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจในที่สุด หลักการที่สำคัญอย่างหนึ่งของการทำฐานข้อมูลก็เพื่อสนับสนุนแนวคิดเรื่องของกฎ 80 : 20 นั่นเอง ซึ่งแนวคิดนี้มีความเชื่อในเรื่องของความสัมพันธ์ของลูกค้ากับมูลค่าการขายสินค้าที่ว่าร้อยละ...

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความสามารถในการผลิต (Productivity)

ในทางวิชาการคำว่า Productivity หมายถึง ผลภาพ (บัญญัติศัพท์โดยหนังสือราชบัญฑิตยสถาน) แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กันเนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า “ การเพิ่มผลผลิต ” ซึ่งสื่อความหมายได้ดีกว่า ในความเข้าใจของผู้คนทั่วไปมองว่า “ การเพิ่มผลผลิต ” กับ “ การผลิต ” นั้น มีความหมายเหมือนกันแต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างชัดเจน ก็คือ “ การผลิต ” จะเกี่ยวข้องกับผลผลิต ซึ่งมักจะเรียกกันโดยทั่วไปว่าปริมาณการผลิตและมีการนับเป็นหน่วยได้ ในขณะที่ “ การเพิ่มผลผลิต ” จะหมายถึง “ ผลิตภาพ ” (Productivity) ก็คือ “ อัตราส่วน ” ระหว่างผลผลิตที่ได้และสิ่งที่ป้อนเข้าไป (วัตถุดิบที่ใช้ไปเพื่อการผลิตได้ผลผลิตจำนวนนั้น) ในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อพูดถึง “ การเพิ่มผลผลิต ” เราควรจะต้องพิจารณาอีก 2 ปัจจัยสำคัญพร้อมกันไปด้วย คือ ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) “ ประสิทธิภาพ ” จะมุ่งถึงความประหยัดและต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำเป็นหลัก...

การวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth)

ความสามารถในการผลิต (Productivity) หมายถึง ระดับเฉลี่ยของผลผลิตต่อคนงานต่อชั่วโมง เป็นการวัดประสิทธิภาพของการผลิตสำหรับระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบ การเพิ่มขึ้นของความสามารถในการผลิตเป็นผลจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะทำให้แรงงานสามารถผลิตสินค้าและบริการได้จำนวนมากขึ้น การวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจแห่งชาติของแต่ละประเทศ ทำได้โดยใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product หรือ GNP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตโดยประชาชนประเทศนั้นในงวดเวลาที่กำหนด (ปกติภายในระยะเวลา 1 ปี) และการที่จะวัดรายได้ประชาชาติ (GNP) ของประเทศใดสมควรใช้ GNP ต่อคน (GNP per Capita) จึงจะทราบถึงความเจริญเติบโตที่แท้จริง นักเศรษฐศาสตร์อาจนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product หรือ GDP) ซึ่งหมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นได้ภายในประเทศในระยะ...

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)

•ขั้นแนะนำ(IntroductionStageอาจเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือผลิตภัณฑ์เก่าแต่เปลี่ยนรูปแบบวิธีการให้บริการใหม่และนำเสนอเข้าสู่ตลาดพร้อมทั้งใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์และกลยุทธ์การส่งเสริมการขายในรูปต่างๆ โดยมุ่งไปยังลูกค้าที่คิดว่าพร้อมจะซื้อสินค้าและบริการมากที่สุดเป็นเป้าหมายหลัก สำหรับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานในขั้นแนะนำนั้น เพื่อสร้างความรู้สึก จดจำ ให้ภาพลักษณ์แก่นักท่องเที่ยว ขยายตลาดลูกค้าประจำ และแสวงหาตลาดใหม่ การหวังผลกำไรจึงเป็นได้ยากถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะอยู่ในขั้นการสำรวจและดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว •ขั้นเจริญเติบโต (Growth Stage) ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ปริมาณการขายเพิ่มขึ้นได้รับความนิยมจากลูกค้ากำไรให้แก่ธุรกิจได้ดี...

ระบบ Just in Time

ระบบ Just in Time ที่ในภาษาไทยเราเรียกกันว่า “ระบบทันเวลาพอดี” หมายถึงระบบในกระบวนการผลิตที่วางอยู่บนหลักการที่จะกำจัดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต รวมทั้งการดำเนินการให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ถูกจัดเป็น ระบบการผลิตแบบญี่ปุ่น (Japanese Manufacturing System) ที่สำคัญระบบหนึ่ง ปรัชญาการผลิตแบบนี้ยังเน้นในเรื่องของ “การผลิตชิ้นส่วนที่ถูกต้อง ณ สถานที่ที่ถูกต้อง ในเวลาที่ถูกต้อง” ซึ่งก็หมายถึงทันเวลาพอดีนั่นเอง เรื่อง การกำจัดของเสีย หรือความสูญเสีย ที่เป็นที่รู้จักกันดี มี 7 ประเภท เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Seven waste หากเป็นภาษาญี่ปุ่นเขียนเป็นอังกฤษคือ 7 Mudas คือ 1. ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินไป (Over Production Waste)2. ความสูญเสียจากการขนส่ง (Transportation Waste)3. ความสูญเสียจากการรอคอย (Waiting Waste)4. ความสูญเสียจากสินค้าคงคลัง (Inventory Waste)5. ความสูญเสียจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง...

การบริหารการผลิตและการปฏิบัติการ (Introduction to Production and Operation Management)

การบริหารเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องพิจารณาในการดำเนินงาน ทั้งด้านการผลิตและการบริการ ผู้บริหารจะต้องมีการพิจารณาปัจจัยนำเข้า และกระบวนการผลิต ไปจนถึงปัจจัยนำออก สิ่งเหล่านี้จะต้องสามารถวัดผลได้ จึงจะถือว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพการผลิตและการปฏิบัติการ การจัดการการผลิตและการปฏิบัติงาน การศึกษาด้านการบริหารการผลิตและการบริหารการปฏิบัติการ องค์การกับการจัดการด้านการปฏิบัติงาน แนวโน้มของการจัดการด้านการปฏิบัติงาน การปฏิบัติการในส่วนของงานบริการ ผลผลิต การวัดผลผลผลิต ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต ผลผลิตและการบริการ การดำเนินงานด้านการผลิตหรือการบริการสำหรับธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ผู้บริหารนิยมใช้กลยุทธ์ที่หลากหลายเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การลดต้นทุน, การตอบสนองที่รวดเร็ว, การสร้างความแตกต่าง ฯลฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายการกำหนดภารกิจ...

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนวทางการรักษาเสถียรภาพของ BOP

แนวทางการรักษาเสถียรภาพของ BOP หลักการ (หมายความว่า ท่าขาดดุล จะให้ทำอย่างไร) 1. Import Restriction Policy นโยบายจำกัดการนำเข้า โดย **** Tariff Tax ใช้กำแพงภาษี ขึ้นภาษีนำเข้าให้สูง (Import Tax) สินค้าบวกภาษี ซึ่งเป็นเครื่องมือ ลดการขาดดุลทางการค้า ผลที่เกิดขึ้น ราคาสินค้าจะแพงขึ้น Demandลดลง กำแพงภาษีทำให้รัฐได้เงินไม่มาก เพราะ ผู้นำเข้าจะไม่นำเข้าตั้งแต่ต้น กำแพงภาษีไม่ได้เป็นเครื่องมือในการหารายได้ แต่เป็นเครื่องมือใน การรักษาเสถียรภาพขาดดุลการค้า ****Quota Restriction : การจำกัดปริมาณ เป็นการจำกัดปริมาณ หรือจำนวนการสนำเข้า โดยนำเข้าได้ตามโควตาที่กำหนด ถ้าเกิน กว่านั้นเข้าไม่ได้ 1+2=****Tariff Quota : จำกัดการนำเข้า และจำกัดโควตา สามารถนำเข้าได้ แต่ถ้าเกินโควตาที่กำหนดจะต้องเสียภาษีสูง ประเทศที่พัฒนาแล้วชอบใช้ เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า GSP (Generalized System of Preference) ซึ่งเป็นสิทธิพิเศษทาง ภาษี...

การเงินระหว่างประเทศ (International Finance)

การเงินระหว่างประเทศ (International Finance) มีหัวข้อหลัก 3 เรื่อง 1. ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ (Balance of Payment) หรือ BOP 2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ (Exchange Rate System) 3. แนวทางการรักษาเสถียรภาพของ BOP หัวข้อที่ 1 BOP: ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ BOP คือ ดุลยบัญชี ที่ชี้ให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของประเทศนั้น ๆ ในการถือเงินสกุลหลัก สามารถแยกย่อยได้ดังนี้ 1. Current Account = ดุลบัญชี เงินสะพัด (ดุล บ/ช ที่ใหญ่ที่สุด) 1.1 Trade Account ดุลการค้า 1.2 Service Account ดุลบริการ 2. Capital Account ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ หรือ ดุลบัญชีเงินทุน 2.1 FDI (Foreign Direct Investment Account) - ดุลบัญชี เงินลงทุนโดยตรง 2.2 PI (Portfolio Investment Account) - ดุลบัญชีเงินลงทุนโดยอ้อม 3. TA (Transfer Account) ดุลเงินโอน - ดุลบริจาค ดุลช่วยเหลือระหว่างประเทศ รายละเอียด...

การใช้นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง เพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมการเจริญเติบโต

การใช้นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง เพื่อเป้าหมายในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และ รักษาเสถียรภาพ ทาง ศก. (Eco.Growth + Stability) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของทุกประเทศมักจะเจริญเติบโต แบบไม่มีเสถียรภาพ จะ ขึ้น ๆ ลง ๆ บางช่วง ศก. มีความเจริญเติบโตสูง บางช่วงต่ำ ถ้าเป็นอย่างนี้เราเรียกว่า ปัญหาวัฏจักร เศรษฐกิจ (Business Cycle) และมักจะก่อให้เกิดปัญหา 2 ด้าน คือ 1. ช่วงเศรษฐกิจขาลง (ศก. ตกต่ำ) จะมีปัญหาว่างงานเกิดขึ้น เพราะ Demand ของแรงงาน ลดลง แต่ Supply ของแรงงานไม่ลด 2. ช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น จะมีปัญหาเงินเฟ้อ (Price Inflation) เป็นภาวะที่ราคาสินค้าบริการ พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยวัดจากดัชนีราคา (CPI) (Consumer Price Index) คำถาม อ.เงินเฟ้อดี หรือ ไม่ดี ในทางวิชาการ - เงินเฟ้อจะดี หรือ ไม่ดี ต้องดูว่าใครเป็นผู้ตอบ เช่น พ่อค้า บอกว่าดี/ลูกจ้าง ข้าราชการ ไม่ดี - ผลประโยชน์เกิดกับคน ไม่เท่ากัน คือ...

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) คือ การที่รัฐบาลใช้เครื่องทางการคลัง ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 3 ด้าน ดังนี้ 1. การใช้มาตรการเพิ่ม – ลด ภาษี 2. การเพิ่ม – ลด การก่อหนี้สาธารณะ 3. รายจ่ายสาธารณะ (รัฐบาลสามารถเพิ่ม – ลด รายจ่ายประจำปี) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจตามที่ต้องการ - เพื่อให้ ศก. เจริญเติบโต (Eco.Growth) - เพื่อให้ ศก. มีเสถียรภาพ (Eco.Stabitity) - เพื่อให้ ศก. มีความเสมอภาค (Eco.Equity) ผู้ดูแลกระทรวงการคลัง คือ รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี ผ่านสภา ตราเป็น พรบ. รายจ่ายประจำปี กระการคลัง และสำนักงบประมาณ ทำหน้าที่ในการนำนโยบายไปใช้ปฏิบัติ คำถาม อ.ทำไมงบประมาณจะต้องผ่าน พรบ.? เพราะในหลักประชาธิปไตย ผู้เสียภาษีทุก คนจะต้องมีตัวแทน ในรัฐสภา Note ในปัจจุบันนโยบายการเงินนโยบายการคลัง ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปยังเป้าหมายทาง ศก. เป็นพื้นฐาน แต่ปัจจุบันยังมี เป้าหมายทางสังคมด้วย คือ ทำให้สังคมอยู่ดี...

นโยบายการเงิน (Monetary Policy) ความหมาย คือ การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการเงิน กระตุ้นเศรษฐกิจ มีด้วยกัน 3 ด้าน ดังนี้ 1. การลด – เพิ่มปริมาณเงินในระบบ 2. การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย (หรือเรียกว่า ด/บ นโยบาย หรือ ด/บ มาตรฐาน) 3. การปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราระหว่างประเทศ การที่รัฐบาลใช้เครื่องมือทางการเงิน เพื่อบรรลุเป้าหมายทาง ศก. ที่เราต้องการดังนี้ 1.เพื่อให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต (Economic Growth) 2. เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ (Eco Stability) 3. เพื่อให้เศรษฐกิจมีความเสมอภาค (Eco Eavity) หรือ การกระจายรายได้อย่างยุติธรรม - หน่วยงานที่ทำหน้าที่ทางการเงิน คือ Bank ชาติ หรือ ธนาคารกลาง หรือ ธ...

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การใช้นโยบายการเงิน(Monetary Policy)

เมื่อธนาคารกลางต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจจะใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัว(ExpansionMonetary Policy) เป็นการเพิ่มปริมาณเงินทำให้เส้นอุปทานของเงินจะเลื่อนไปทางขวา ดุลยภาพเปลี่ยนแปลงจากจุด A ไปยังจุด Bพบว่า ความต้องการถือเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจาก M1 เป็น M2และอัตราดอกเบี้ยลดลงจาก 3 r เหลือ 4 r การเงินขยายตัวมักใช้กับภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำมีการว่างงาน เพราะเมื่อเพิ่มปริมาณเงินแล้วทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลงทำให้การบริโภคและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความต้องการใช้จ่ายรวม(DAE)ในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจจะขยายตัว อย่างไรก็ตาม การใช้นโยบายขยายตัวมากเกินไปจะทำให้เกิดเงินเฟ้อในทางตรงข้าม หากเศรษฐกิจที่เป็นอยู่มีการเก็งกำไรมาก มีความต้องการมากกว่าผลผลิตศักยภาพ เกิดปัญหาเงินเฟ้อมาก ธนาคารจะเลือกใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว(Contraction MonetaryPolicy) เป็นการลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ...

การสร้างเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ (Money Creation)

แนวคิด คือ เงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์และการให้สินเชื่อ(การปล่อยกู้) จะทำให้ปริมาณเงิน (Money supply) ในระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป- กระบวนการสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์สามารถอธิบายได้โดยใช้งบดุล (Balancesheet) หรือ “T-Account” แสดงรายการ 1. สินทรัพย์ (Assets)และ 2. หนี้สินและทุน(Liabilities andcapital)- เงินฝากขั้นแรก (Primary deposits) คือ เงินสดที่มีผู้นำมาฝากเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ ในจำนวนนี้ธนาคารจะเก็บสำรองไว้ส่วนหนึ่ง เรียกว่าอัตราเงินสำรอง (Reserve ratio)อัตราเงินสำรองแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1.)อัตราเงินสำรองตามกฎหมาย(Legal reserve ratio: r) 2.)อัตราเงินสำรองส่วนเกิน(Excess reserve ratio:re )ข้อสมมติสำหรับการวิเคราะห์การสร้างเงินฝากสูงสุด1.อัตราเงินสดสำรองส่วนเกินเท่ากับ 02. ธนาคารที่ได้รับเงินฝากขั้นแรกจะนำเงินสดหลังหักสำรองตามกฎหมายไปปล่อยกู้ทั้งหมด3. ผู้กู้เงินจากธนาคารจะไม่เบิกเป็นเงินสดแต่จะเปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์นั้นหรือธนาคารอื่นๆก็ได้4....

คำนิยามของเงินในระบบเศรษฐกิจ

เงินสด(Currency) คือ เงินที่เป็นธนบัตรและเหรียญที่อยู่กับสาธารณชน ไม่รวมที่อยู่ในระบบธนาคารเงินฝากกระแสรายวัน (demand deposits) คือ เงินฝากของสาธารณชนในระบบธนาคาร โดยเจ้าของบัญชีสามารถเขียนเช็คชำระหนี้ได้ มีสภาพคล่องสูงรองจากเงินสดปริมาณเงินตามความหมายอย่างแคบ(Narrow money: M1) คือ เงินสด+เงินฝากกระแสรายวันปริมาณเงินตามความหมายอย่างกว้าง(Board money: M2) คือ M1 +เงินฝากประจำ (Timedeposits)+เงินฝากออมทรัพย์ (Saving deposits)ปริมาณเงินตามความหมายอย่างกว้างมาก(M3) คือ M2 +ตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนที่ถือโดยภาคเอกชน (Promissory notes)อแตกต่างระหว่างธนาคารกลางกับธนาคารพาณิชย์1.) ธนาคารกลางไม่ใช่สถาบันที่แสวงหากำไร2.) ธนาคารกลางไม่ดำเนินธุรกิจแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์3.) ลูกค้าของธนาคารกลาง คือ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินอื่นๆ และหน่วยงานของรัฐ แต่ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ คือ ประชาชนทั่วไป4.)...

หน้าที่ของเงิน(The functions of money) ในระบบเศรษฐกิจ

1.)เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน(Medium of Exchange)ทำหน้าที่อำนายความสะดวกและทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำเพราะแต่ละคนจะทำอาชีพที่ตนมีความถนัดมากที่สุดเมื่อได้เงินก็นำไปซื้อสินค้าและบริการอื่นๆ2.) เป็นมาตรฐานการวัดค่า(Standard of Value)ทำให้สินค้าและบริการทุกชนิดถูกประเมินเป็นเงินตราเดียวกัน สะดวกในการเปรียบเทียบมูลค่าและเป็นประโยชน์ในการทำบัญชี ที่สามารถบวกลบกันได้โดยตรงเพราะมีหน่วยเดียวกัน ตัวอย่างของการเปรียบเทียบเช่น ปากการาคา 5 บาท แต่ดินสอราคา 10 บาท แสดงว่า ปากกา 2 ด้ามมีค่าเท่ากับดินสอ1 แท่ง เป็นต้นคำถาม: ท่านคิดว่าถ้าโลกนี้มีสินค้าและบริการ N ชนิด หากกำหนดให้ของแลกของกันโดยตรงจะต้องมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนกี่อัตรา3.) เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้า (Standard of deferred payments)ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ทำให้ธุรกรรมการซื้อเชื่อขายเชื่อดำเนินไปได้อย่างสะดวก เพราะทุกคนเชื่อว่าเงินสามารถชำระหนี้ได้4.)...

อุปสงค์ของเงิน

อุปสงค์ของเงิน(Demand for Money Theory) หรือความต้องการถือเงิน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ สี่ประการคือ ระดับราคา(The Level of Price) ระดับอัตราดอกเบี้ย(The Level of Interest Rate) ระดับผลิตภัณฑ์ในประเทศแท้จริง(Real GDP) และระดับนวัตกรรมทางการเงิน(The Pace of Financial Innovation) ซึ่งอุปสงค์ของเงินสามารถอธิบายระดับอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี ทฤษฎีความต้องการถือเงินแบ่งออกเป็นสองสำนักใหญ่คือ สำนักคลาสสิค และเคนส์ ซึ่งแต่ละสำนักประกอบด้วยทฤษฎีความต้องการถือเงินสำคัญดังนี้อุปสงค์ของเงิน(Demand for Money Theory) หรือความต้องการถือเงิน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ สี่ประการคือ ระดับราคา(The Level of Price) ระดับอัตราดอกเบี้ย(The Level of Interest Rate) ระดับผลิตภัณฑ์ในประเทศแท้จริง(Real GDP) และระดับนวัตกรรมทางการเงิน(The Pace of Financial Innovation) ซึ่งอุปสงค์ของเงินสามารถอธิบายระดับอัตราเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี...

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

Risk Pooling

Risk Pooling คือ การออกแบบโซ่อุปทาน,กระบวนการผลิต ที่จะใช้ในการลดความไม่แน่นอนหรือเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยการที่จะจัดองค์กรให้อยู่ในตำแหน่งที่จะสามารถลดความรุนแรงซึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนต่างๆได้ดีขึ้น แบ่งเป็น 1.Location pooling (การวมสถานที่ตั้ง)ในที่นี้คือการรวมสินค้าคงคลังให้อยู่ในที่เดียวกัน โดยหลักการเลือกคลังสินค้าที่เป็นจุดศูนย์กลาง Store ไม่จำเป็นต้องมีสินค้าคงคลังเป็นของตนเอง แต่จะใช้การดึงสินค้าโดยตรงจากคลังสินค้าที่ใช้ร่วมกัน และสินค้าคงคลังจะถูกเติมเต็มทันทีด้วยระบบอัตโนมัติที่เรียกว่า order pick up to level ข้อดีของระบบนึ้คือ ปริมาณสินค้าคงคลังลดลง แต่มีข้อเสียตรงที่ Service Level อาจลดลงได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในระบบ IT เพราะ Store ต้องเชื่อมโยงกันด้วยระบบ IT 2.Product Pooling (การรวมผลิตภัณฑ์)เป็นการรวม Function พิเศษ ของ 2 ผลิตภุณฑ์ให้อยู่ในชิ้นเดียวกัน...

Outsourcing

Outsourcing หมายถึง การจัดหาจากภายนอก เป็นวิธีการที่องค์กรธุรกิจจัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งอาจจะเคยถูกดำเนินการภายในองค์กร มาเป็นการจัดหาจากแหล่งภายนอกแทน จะทำให้องค์กรเล็กลงแต่คล่องตัวขึ้น ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆลงได้ และสามารถเน้นการดำเนินการเฉพาะแต่กิจกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักซึ่งองค์กรมีความถนัด ทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันมากขึ้นประโยชน์ของการ Outsourcing 1. สามารถควบคุมงบประมาณได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ที่องค์กรเคยปฏิบัติ ได้ มอบหมายให้กับหน่วยงานที่รับ Outsource แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งทำให้องค์กรจัดงบประมาณได้สะดวกขึ้น โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมา 2. สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันได้ ในการ Outsource นั้น ถ้าเราเลือกใช้บริการผู้ที่มีชื่อเสียงในการทำกิจกรรมนั้นๆ ก็จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร...

ปัจจัยในการเลือกทำเลที่

การเลือกทำเลที่ตั้งควรพิจารณาปัจจัยหลายปัจจัยประกอบกันมากกว่ามุ่งเน้นแต่ปัจจัยเดียวเพราะต้นทุนที่ต่ำในทางหนึ่งอาจจะไม่ได้ทำให้ต้นทุนรวมต่ำสุดก็ได้ อย่างไรก็ดีปัจจัยที่จะใช้พิจารณาควรเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานธุรกิจ กล่าวคือ ถ้าดำเนินกิจการคลังสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ ควรอยู่ในภาคตะวันออก เช่นระยอง เพราะใกล้โรงงานผลิตรถยนต์ ซึ่งงานคลังสินค้าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหนัก และเบา การบริการซึ่งรวมถึงการค้าปลีก ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์โลจิสติกส์ การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการคลังสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ปัจจัยต่าง ๆที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า คือ – แหล่งสินค้า การประกอบกิจการคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าเจ้าของสินค้าคือลูกค้าของคลังสินค้าโดยสภาพของวงจรของสินค้าแล้ว...

ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี(Just-in-Time)

การผลิตแบบ JIT คือ การที่ชิ้นส่วนที่จำเป็นเข้ามาถึงกระบวนการผลิตในเวลาที่จำเป็นและด้วยจำนวนที่จำเป็นหรืออาจกล่าวได้ว่า JIT คือ การผลิตหรือการส่งมอบ “ สิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ” ใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ ซึ่งลูกค้าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะลูกค้าผู้ซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงบุคลากรในส่วนงานอื่นที่ต้องการงานระหว่างทำหรือวัตถุดิบเพื่อทำการผลิตต่อเนื่องด้วย โดยใช้วิธีดึง ( Pull Method of Material Flow ) ควบคุมวัสดุคงคลังและการผลิต ณ สถานีที่ทำการผลิตนั้นๆ ซึ่งถ้าทำได้ตามแนวคิดนี้แล้ววัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ งานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูปจะถูกขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิงวัตถุประสงค์ของระบบการผลิตแบบทันเวลา 1.ควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือให้เท่ากับศูนย์ ( Zero inventory ) ...

กิจกรรมหลักของคลังสินค้า

1.งานรับสินค้า (Goods Receipt) งานรับสินค้าเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่จะต้องปฏิบัติในขณะที่สินค้าได้ส่งเข้ามายังคลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บรักษา การดำเนินกรรมวิธีในการแรกรับต่อสินค้าที่ถูกส่งเข้ามานั้นอย่างทันทีทันใดและถูกต้องแน่นอนย่อมมีความสำคัญต่อการดำเนินงานคลังสินค้าที่มีประสิทธิผลและ การเก็บรักษาเบื้องต้น รายละเอียดของการปฏิบัติงานรับสินค้าย่อมผิดแปลกกันออกไป โดยขึ้น อยู่ กับแบบสินค้า และแบบของสิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา สินค้าอาจได้รับเข้ามาจาก แหล่งต่างกัน การขนส่งสินค้ามายังคลังสินค้าอาจกระทำด้วยยานพาหนะที่แตกต่างกัน ด้วยภาชนะ บรรจุหีบห่อที่มีลักษณะแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ย่อมมีผลทำให้รายละเอียดในการปฏิบัติงานรับสินค้าแตกต่าง กันออกไปด้วย การจัดทำเอกสารในการรับสินค้า และการดำเนินกรรมวิธีแรกรับที่รวดเร็ว และถูกต้องย่อมมีความสำคัญและเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับกิจการคลังสินค้าที่มีประสิทธิผล...

คลังสินค้านี้สามารถใช้งานได้ทั้งในด้านการเป็นแหล่งอุปสงค์และการกระจายสินค้า

คลังสินค้านี้สามารถใช้งานได้ทั้งในด้านการเป็นแหล่งอุปสงค์และการกระจายสินค้า ดังนี้ 1.คลังสินค้าช่วยสนับสนุนการผลิต(Manufacturing support) โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการรวบรวมวัตถุดิบในการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบต่างๆจากผู้ขายเพื่อส่งป้อนให้กับโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป 2.คลังสินค้าเป็นที่ผสมผลิตภัณฑ์(Mixing Warehouse) ในกรณีที่มีการผลิตสินค้าจากโรงงานหลายแห่ง จะทำหน้าที่รวบรวมสินค้าสำเร็จรูปจากโรงงานต่างๆไว้ในที่เดียวกันเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามต้องการขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่ละรายว่าต้องการสินค้าจากโรงงาน 3.คลังสินค้าเป็นที่รวบรวมสินค้า(Consolidation warehouse) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าจำนวนมากจากโรงงานหลายแห่ง คลังสินค้าจะช่วยรวบรวมสินคาจากหลายแหล่งซึ่งจัดเป็นการขนส่งขนาดใหญ่หรือทำให่เต็มเที่ยวซึ่งช่วยประหยัดการขนส่ง 4.คลังสินค้าใช้ในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง(Break...

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

งวดเวลาคืนทุน (Payback Period: PB)

งวดเวลาคืนทุน (Payback Period: PB) คือ ระยะเวลา (เป็นจำนวนปี /เดือน หรือวัน) ที่กระแส เงินสด รับจากโครงการ สามารถชดเชย กระแสเงินสดจ่าย ลงทุนสุทธิตอนเริ่มโครงการ พอดี เนื่องจาก โครงการที่ขอ รับการสนับสนุน จะมีลักษณะการลงทุน เพียงครั้งเดียว ในปีแรก และให้ผลตอบแทน ที่เท่ากันทุกปี การหาค่า PB สามารถทำได้ 2 วิธี คือ ก. Static method ข. Dynamic method ค่า PB ที่ได้จากทั้ง 2 วิธี จะมีความแตกต่างกัน โดยค่าจาก Static method จะให้งวดเวลาคืนทุน เร็วกว่า Dynamic method เนื่องจาก Dynamic method จะใช้การคำนวณค่า แบบสะสม จากมูลค่าปัจจุบัน ของ ต้นทุน พลังงานที่ประหยัดได้ ซึ่งคิดอัตราลดค่า (discount rate) ในการเลือก โครงการ ค่า PB จะแสดงให้เห็นว่า ต้องใช้เวลานาน...

อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR)

อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) หมายถึงอัตราลดค่า (discount rate) ที่ทำให้มูลค่าปัจจุบัน ของกระแสเงินสด ที่คาดว่าจะต้องจ่ายในการลงทุน เท่ากับมูลค่าปัจจุบัน ของกระแส เงินสด ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการ ประหยัดพลังงาน ตลอดอายุ โครงการ จากคำนิยามข้างต้น การคำนวณหา อัตราผลตอบแทนลดค่า จะต้องทราบข้อมูลดังนี้ กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ กระแสเงินสดรับสุทธิรายปีตลอดอายุโครงการ ระยะเวลาของโครงการ จากสูตรภายใต้ข้อสมมติว่าไม่มีมูลค่าซากและเงินลงทุนสุทธิเท่ากับต้นทุนทางบัญชี จากสูตรในที่นี้n = อายุของโครงการ(ปี) ESt = ต้นทุนพลังงานที่ประหยัดได้ (energy cost savings) รายปี ตั้งแต่ปลายปีที่ 1 ถึง n Io = เงินจ่ายลงทุนตอนเริ่มโครงการ(total...

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV)

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) คือผลต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันของผลการประหยัดต้นทุน พลังงาน จากมาตรการ ในรูปตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละปี ตลอดอายุของโครงการ กับมูลค่าปัจจุบันของเงิน ที่จ่ายออกไป ภายใต้ โครงการที่กำลังพิจารณา ณ อัตราลดค่า (discount rate) หรือค่าของทุน (cost of capital) ที่กำหนดจากคำนิยามข้างต้น การคำนวณหามูลค่าปัจจุบันสุทธิ จะต้องทราบข้อมูลดังนี้ กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ กระแสเงินสดรับสุทธิรายปีตลอดอายุโครงการ ระยะเวลาของโครงการ อัตราลดค่าหรือค่าของทุนของธุรกิจ จากสูตร ในที่นี้ n = อายุของโครงการ(ปี) ESt = ต้นทุนพลังงานที่ประหยัดได้ (energy cost savings) รายปี ตั้งแต่ปลายปีที่ 1 ถึง n Io = เงินจ่ายลงทุนตอนเริ่มโครงการ(total...

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อ่านเล่นนะคะ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB)

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB) มีหลายกลุ่มที่ต่อต้าน ADB ทั้งในไทยและต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากลุ่มเหล่านี้ต่อต้าน ADB แต่แต่ละกลุ่มอาจมีความคิดเห็นที่ต่างกันเกี่ยวกับ ADB กลุ่มหนึ่งเห็นว่าโครงการของ ADB นั้น บางโครงการไม่ได้คำนึงถึงความเสียหายด้านสังคมและสภาพแวดล้อมอย่างเพียงพอ เน้นเพียงแต่รายได้ที่เป็นตัวเงิน หรือให้ประโยชน์ต่อคนรวยเป็นส่วนมาก บางกลุ่มในไทยคิดว่า นโยบายการให้เงินกู้ของ ADB เป็นรูปแบบหนึ่งของทุนต่างชาติที่คืบคลานเข้ามายึดเศรษฐกิจและทรัพยากรของไทย โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การสร้างความมั่งคั่งและผลกำไรให้กับประเทศของตนเองรู้จัก เอดีบี1. เอดีบี คือ ? ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ เอดีบี คือสถาบันทางการเงินที่มุ่งเน้นการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก...

Pages 371234 »

Popular Posts