ตลาดอนุพันธ์ เป็นตลาดตราสารการเงินที่มีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าตลาดเงิน หรือตลาดเงินตราต่างประเทศ โดยตราสารอนุพันธ์จะมีสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying asset) เป็นตราสารการเงิน ธุรกรรม ราคาสินค้า ฯลฯ แล้วแต่คู่กรณีจะตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน ซึ่งตราสารอนุพันธ์ทางการเงินใช้เป็นเครื่องมือสัญญาป้องกัน/บริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาหลักทรัพย์/สินค้า โดยราคาของอนุพันธ์ขึ้นกับระดับราคาของสินทรัพย์อ้างอิงที่ใช้ เช่น
ตราสารหนี้ ตราสารทุน อัตราแลกเปลี่ยน และสินค้าโภคภัณฑ์ ปัจจุบันสามารถแบ่งประเภทตลาดออกเป็น ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures market) และตลาดออปชัน (Option market) สำหรับตลาดตราสารหนี้ผู้ที่ลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยอาจเลือกวิธีการป้องกันความเสี่ยงจากการปรับสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยได้โดยการทำธุรกรรม Interest Rate Swap (IRS) เพื่อแลกอัตราดอกเบี้ยคงที่ที่รับจากพันธบัตรเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวแทน สำหรับอนุพันธ์ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการจัดตั้งบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (TFEX) เมื่อปี 2547 เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 โดยในปี 2549 TFEX ได้มีการออกสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของดัชนี SET50 (SET50 Index Futures) ต่อมาในปี 2550 ได้ออกออปชันของดัชนี SET50 (SET50 Index Options) ในส่วนของฟิวเจอร์สและออปชันของสินค้าอ้างอิงประเภทอื่นๆ นั้น TFEX ได้มีแผนที่จะดำเนินการต่อไป สำหรับในเรื่องของสินค้าเกษตรนั้น สำนักงานคณะกรรมการกำกับการ
ซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการวางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา ตลอดจนกำกับดูแล โ
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมตลาดการเงินของไทยยังมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง
ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ปริมาณธุรกรรมในตลาดการเงินอื่นๆ ไม่สามารถพัฒนาในเชิงลึกได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมมือกันในการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อลดอุปสรรคในการพัฒนาตลาดของเครื่องมือบริหารความเสี่ยง รวมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เล่นประเภทต่างๆ ทั้งในเรื่องของผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความซับซ้อน การบริหารจัดการ และกฎเกณฑ์กำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เล่นในตลาดการเงินสามารถโอนถ่ายความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น