Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เงินสำรองทางการของประเทศ


เงินสำรองทางการของประเทศกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ให้คำจำกัดความของเงินสำรองทางการ หรือเงินสำรองระหว่างประเทศไว้ใน Balance of Payment Manual (5th Edition) ดังนี้

“Those external assets that are readily available to and controlled by monetary authorities for direct financing of payments imbalances, for indirectly regulating the magnitudes of imbalances through intervention in exchange markets to affect the currency exchange rate, and/or for other purposes”

วัตถุประสงค์ในการถือเงินสำรองทางการ

เงินสำรองทางการของไทย มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อใช้ในการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน

2. เพื่อความมั่นคั่งของประเทศ (store of wealth)

3. สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติ

4. เพื่อใช้หนุนหลังธนบัตรออกใช้

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการถือเงินสำรองทางการดังกล่าว ในการบริหารเงินสำรองทางการของธปท. จึงยึดหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ

1. รักษามูลค่าของเงินสำรองทางการในรูปเงินตราต่างประเทศ (Security)

2. ให้มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน (Liquidity)

3. ได้รับผลตอบแทนสูงสุดภายในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Return)

ที่มาของเงินสำรองทางการ

เงินสำรองทางการของไทยมีแหล่งที่มาสำคัญดังนี้

1. การเกินดุลการชำระเงิน ซึ่งประกอบด้วยดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย อย่างไรก็ดี ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว การเกินดุลดังกล่าวจะทำให้เงินสำรองทางการของธปท. เพิ่มขึ้นเฉพาะในกรณีที่ธปท. เข้าซื้อเงินตราต่างประเทศจากตลาดเงินตราต่างประเทศเท่านั้น

2. ผลตอบแทนที่ได้จากการบริหารจัดการ ซึ่งแยกเป็นผลตอบแทนที่เกิดจากรายได้ประเภทต่าง ๆ และผลตอบแทนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าตลาดของสินทรัพย์ที่ประกอบเป็นเงินสำรองทางการ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts