ตลาดตราสารหนี้ คือตลาดสำหรับการระดมทุนและการออมในระยะที่ยาวกว่า 1 ปี โดยการออกตราสารหนี้ (Debt Securities หรือ Bonds) ผู้ออกตราสารหนี้และผู้ลงทุนจะมีความสัมพันธ์กันในฐานะลูกหนี้และเจ้าหนี้ โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยตามกำหนดเวลาและอัตราที่ชัดเจน และได้รับเงินต้นคืนเมื่อตราสารหนี้นั้นครบกำหนด
ผู้ออกตราสารหนี้ขายเพื่อระดมทุน (Issuer) ถือว่าเป็นการขายตราสารหนี้ในตลาดแรก (Primary Market) ส่วนการซื้อตราสารหนี้ที่มีการออกขายเพื่อการลงทุนหรือการออม (Investment) ทำได้โดยการซื้อจากผู้ออกโดยตรงในตลาดแรก หรือซื้อต่อจากนักลงทุนอื่นๆ ที่เรียกว่าเป็นการซื้อตราสารหนี้ในตลาดรอง (Secondary Market)
ตราสารหนี้สามารถแบ่งตามลักษณะของผู้ออก ได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐ และตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยสามารถออกเป็นตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่น หรือสกุลเงินต่างประเทศก็ได้ นอกจากนั้น ผู้ออกยังสามารถเลือกวิธีการจ่ายดอกเบี้ยได้หลากหลาย เช่น ตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate Bond) อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Bond) โดยอ้างอิงกับดัชนี (Index Linked Bond) หรืออิงกับอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Linked Bond) เป็นต้น ทั้งนี้ มีปัจจัยที่ใช้ประกอบการพิจารณาลักษณะของตราสารหนี้ที่จะออกหลายประการ เช่น ภาวะอัตราดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ ความต้องการของนักลงทุน วัตถุประสงค์ในการระดมทุน และ net cash flow ที่ผู้ออก
คาดว่าจะได้รับในอนาคต เป็นต้น
ฐานของผู้เล่นในตลาดตราสารหนี้จะค่อนข้างหลากหลายกว่าผู้เล่นในตลาดเงิน นอกจากสถาบันการเงิน สถาบัน และองค์กรขนาดใหญ่แล้ว ยังรวมถึงนิติบุคคล และบุคคลธรรมดาที่เป็น
ผู้ออมทั่วไป (นักลงทุนรายย่อย) ด้วย รัฐบาลและ ธปท. ได้มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ (Savings bond) แยกจากตราสารหนี้ที่ออกเพื่อขายแก่สถาบันการเงินและสถาบันขนาดใหญ่ เพื่อจำหน่ายให้กับนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการออมหรือการลงทุนระยะกลางและระยะยาวโดยเฉพาะ โดยจัดจำหน่ายผ่านสาขาธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้นักลงทุนรายย่อยสามารถซื้อได้โดยสะดวก และทั่วถึงมากขึ้นด้วย
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น