ถ้าใครสังเกตสถานการณ์ การแข่งขันของสถาบันการเงิน ในช่วงนี้ จะพบว่า หลายสถาบันทั้งของไทย และของต่างชาติ ต่างมุ่งเป้าหมาย การหารายได้ ลงมาในส่วนของสินเชื่อลูกค้า รายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ประจำ ซึ่งนอกจาก การให้สินเชื่อ ลักษณะ เงินกู้ส่วนบุคคล ประเภทต่างๆ และวงเงินหมุนเวียนหลากหลายชื่อแล้ว ของเก่าที่ยังนำมาเป็น เครื่องมือเพิ่มรายได้ให้กับสถาบันอีกอย่างก็คือ บัตรเครดิต ซึ่งมีทั้งบัตรที่ออกโดย สถาบันการเงิน เอง ที่เรียกกันว่า LOCAL CARD หรือบัตรที่มีลักษณะเป็น INTERNATIONAL อย่าง VISA / MASTER CARD / AMEX / DINERS บางสถาบันการเงิน ยังมี บัตรลูกผสมที่เป็นทั้ง LOCAL และ INTERNATIONAL ในใบเดียวกัน เพื่อให้ผู้ถือบัตร มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันด้านบัตรเครดิตที่เริ่มเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ต้นปี 2544 ต่อเนื่องจน ถึงปัจจุบัน เมื่อประกอบกับ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ลดวงเงินรายได้ของผู้มีสิทธิ์ถือบัตรเครดิต จากเดิมต้องมีรายได้ 20,000.- บาท / เดือน คงเหลือไม่ต่ำกว่า 15,000.- บาท / เดือน ทำให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น มีผู้ถือบัตรรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจาก ธนาคาร แห่งประเทศไทยระบุว่า มีจำนวนบัตรเครดิต ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2544 จำนวน 1.89 ล้านบัตร และคาดว่า จะเพิ่มเป็นมากกว่า 2.0 ล้านบัตร ในปี 2545 ซึ่งจะเป็นจำนวนที่สูงที่สุด และมากกว่าช่วงก่อน เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ด้วยซ้ำไป
จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า จำนวนบัตรเครดิต ที่เพิ่มขึ้น และจะต้องมี การบริโภค มากขึ้นตามมานั้น ไม่ได้สอดคล้อง หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกับ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ที่ยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง กำลังซื้อโดยรวมลดลง หากมองกันใน แง่ร้ายจะเห็น ความเสี่ยงที่จะเกิด NPL ขึ้นใหม่อีกครั้ง นกลุ่มสินเชื่อรายย่อยเหล่านี้ ซึ่งนั่นเป็นปัญหาระดับประเทศ สำหรับผู้มีส่วน เกี่ยวข้องที่จะดูแล และกำกับควบคุมต่อไป แต่ในส่วนของผู้บริโภค หรือผู้ถือบัตรเอง ก็ควรตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากไม่ใช้บัตรเครดิต ให้ถูกแนวทาง หรือมีความเข้าใจไม่เพียงพอ
โดยคุณสมบัติพื้นฐานบัตรเครดิต คือ เครื่องมือที่ผู้ออกบัตรออกให้กับผู้ถือบัตรเพื่อนำไปใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการ แทนเงินสด ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ตกลง ผู้ถือบัตรจะต้องชำระเงินส่วนนั้นคืนให้กับผู้ออกบัตร แต่เดิม การชำระคืน แต่ละรอบ ผู้ถือบัตรจะต้องชำระคืนเต็ม จำนวนที่ได้รับการแจ้งยอด ธนาคาร หรือผู้ออกบัตร จะมีรายได้หลัก 1 - 3 % จากรายการใช้จ่ายของ ผู้ถือบัตรแต่ละรายการ โดยหักเอาจากร้านค้าที่ขาย ผ่านบัตรเครดิต (นอกจากรายได้จาก ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปี) ในปัจจุบันมี การกำหนดเงื่อนไข การชำระคืนเป็นสามารถผ่อนชำระได้ 5 - 10 % ของยอดการใช้จ่ายต่องวดหรือยอดคงค้าง (แต่ต้อง ไม่ต่ำกว่า 2,000.- บาท ตามประกาศของ ธนาคารแห่งประเทศไทย) ในแง่ของผู้ถือบัตรมีแนวทางเลือกมากขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้เกิดยอดคงค้าง ในบัตรเครดิตมากขึ้น ทำให้ผู้ออกบัตรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก ทางจากดอกเบี้ยซึ่งคิดจากยอดหนี้คงค้าง (ข้อมูล ในไตรมาสที่ 1 ปี 2544 พบว่า ยอดหนี้คงค้างในระบบบัตรเครดิต ทั้งประเทศมีประมาณ 32,000.- ล้านบาท) นอกจากนี้ผู้ออกบัตร ยังมีรายได้จาก ค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสด ฉุกเฉินล่วงหน้า และค่าธรรมเนียมจาก การชำระล่าช้าอีกด้วย
กลยุทธ์ต่างๆ ของผู้ออกบัตร ที่นำมาชักชวนผู้บริโภค ตั้งแต่ต้นปี 2544 อาทิ การยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี การให้ ของแถมมูลค่า ตั้งแต่หลักร้อยบาท จนถึงพันกว่าบาท สำหรับผู้สมัครใหม่ การให้โบนัสหรือรางวัลเป็นสิ่งของ หากมีการใช้จ่ายผ่านบัตร ถึงเป้าที่กำหนด หรือการใช้นโยบายราคา โดยลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับโอนหนี้ เพื่อแย่งชิงลูกค้ากลุ่มเดิม เป็นการแข่งขันที่ไม่เคย ปรากฎมาก่อนตั้งแต่บัตรเครดิต เริ่มเข้ามามีบทบาท ในระบบสถาบันการเงินของประเทศ เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน อาจกล่าวได้ว่า ภาวะตลาด บัตรเครดิต ปัจจุบันเป็นของผู้บริโภคก็ย่อมได้ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะถือบัตรเครดิตสักใบ หรือจะใช้จ่ายผ่านบัตร
เครดิตที่มีอยู่แล้ว ผู้ถือบัตรน่าจะมีกฎเกณฑ์เล็กๆ น้อยๆ สำหรับตัวเองคือ
1. เลือกเงื่อนไขชำระคืนที่เหมาะสม การเลือกเงื่อนไขผ่อนชำระคืนเต็ม ตามจำนวนในใบแจ้งยอด แม้จะเป็น การแสดงความตั้งใจ ในการรักษาวินัยทางการเงินของผู้ถือบัตร แต่ในบางครั้งเป็น การบังคับตนเอง เกินไปจน ไม่มีทางถอย และอาจสร้างปัญหาให้กับ ผู้ถือ บัตรได้ในอนาคต โดยเฉพาะใน ภาวะเศรษฐกิจ ที่ยังไม่มีความแน่นอน ผู้ถือบัตรหลายรายเลือกเงื่อนไขชำระคืนเต็มตามจำนวน ในใบแจ้งยอด แต่กลับพบภายหลังว่า ตนเองกลายเป็น ผู้ถือบัตรเครดิตที่มีปัญหา เมื่อไม่สามารถ ชำระคืนได้ตรงตาม กำหนดทุกครั้ง ซึ่งตรงข้ามกับผู้ที่เลือกผ่อนชำระขั้นต่ำ 10 % ผู้ถือบัตรเหล่านั้นสามารถ กำหนดเงื่อนไขให้ตนเองที่จะเลือกชำระเต็มจำนวนได้ โดยที่ ผู้ออกบัตร ไม่ได้ห้ามแต่อย่างใด แต่หากเดือนใดมีเหตุขัดข้องก็ยังสามารถเลือกชำระ 10 % ตามที่ตกลงกับผู้ออกบัตรไว้ได้เรียกว่า ยังเก็บ ทางถอยไว้ให้กับ ตนเอง และในแง่ของสถาบันผู้ออกบัตรจะถือว่าเป็นลูกค้าเกรด A ด้วยซ้ำ เนื่องจากสามารถชำระได้ดีกว่า เงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
2. พยายามชำระหนี้เต็มตามใบแจ้งยอด หลีกเลี่ยงยอดค้างชำระ ไม่ว่าจะเลือกเงื่อนไขใด ในการชำระคืน ก็ตามสิ่งสำคัญที่ ผู้ถือบัตรต้อง คำนึงไว้ตลอดเวลา คืออัตราดอกเบี้ยที่ผู้ถือบัตรถูกคิดจากยอดค้างชำระ (หลังจากครบกำหนดชำระแล้ว) จะอยู่ที่ประมาณ 17 - 18 % ต่อปี หรืออาจสูงถึง 24 - 27 % ต่อปีในกรณีผู้ออกบัตรที่เป็นสถาบันต่างชาติ อัตราดังกล่าวสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมาก เพราะฉะนั้น คงจะไม่ถูกต้องตาม หลักทฤษฎีการบริหารเงินแน่ หากสามารถชำระเต็มได้แต่ไม่ชำระ โดยเก็บเงินไว้ในบัญชีเงินฝาก
3. หลีกเลี่ยงการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉิน หรือ CASH ADVANCE โดยทั่วไป บัตรเครดิต จะมีวงเงิน ให้เบิก เงินสดฉุกเฉิน ได้ 50-100 % ของวงเงินบัตรหรือ ยอดคงเหลือขณะนั้น การเบิกแต่ละครั้ง ต้องแน่ใจว่าฉุกเฉินจริง ๆ เนื่องจากผู้ถือบัตรจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 4 - 5 % ของยอดที่เบิกทันที และผู้ออกบัตรบางราย ยังคิดดอกเบี้ย จากยอดดังกล่าวนั้น ตั้งแต่วันที่เบิกอีกด้วยซึ่งแสดงว่าจะมี ีต้นทุน ดอกเบี้ยจาก เงินก้อนดังกล่าวนั้น 5 - 6 % ต่อเดือน หรือ 60 - 70 % ต่อปีทีเดียว
4. หลีกเลี่ยงการชำระไม่ตรงกำหนด เนื่องจากจะมีค่าปรับเกิดขึ้นมากน้อยตามแต่สถาบันผู้ออกบัตรจะกำหนด ผู้ออกบัตรบางสถาบัน กำหนดเป็นเกณฑ์แน่นอน 100 - 200 บาทต่อครั้ง แต่ผู้ออกบัตรบางราย กำหนดเป็น เปอร์เซ็นต์ของยอด ที่ต้องชำระคืนตามใบแจ้งยอด ซึ่งหากเดือนใดผู้ถือบัตรหลงลืมชำระไม่ตรงกำหนด อาจจะต้อง ถูกปรับเป็นหลักพันบาททีเดียว
ข้อคิดสำคัญที่ต้องคิดทุกครั้งในการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต คือ ก่อนรูดบัตรแต่ละครั้งเพื่อซื้ออะไรก็ตาม ลองคิดดูสักนิดว่า เรามีเงิน ในบัญชีขณะนั้น มากพอที่จะชำระคืนหรือไม่ เงินในบัญชีนั้นต้องเป็นสำหรับส่วนที่กันไว้สำหรับใช้จ่าย ไม่ใช่เงินออมด้วยจึงจะถูกต้อง หากไม่มีเงินพอในขณะนั้น และการรูดบัตรนั้น เป็นการใช้จ่ายเพื่อรอการเงิน ในอนาคตมาชำระคืน ผู้ถือบัตรควรจะหยุดคิดสักนิด ว่า สินค้าหรือบริการนั้นมีความจำเป็นเพียงใด บัตรเครดิต จะมีประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อผู้ถือบัตรใช้แทนเงินสดที่มีอยู่ และมีเวลาอีก 40 - 45 วันที่จะต้องจ่ายเงินสด ที่มีอยู่นั้นออกไป นั้นคือการใช้บัตรเครดิตที่ถูกวิธี แต่ผู้ถือบัตรจะเป็นฝ่ายถูกใช้โดยผู้ออกบัตรให้เป็นลูกหนี้ และภาระหนี้ที่ต้องชำระคืน ไม่จบสิ้นในอนาคตทันที ถ้าผู้ถือบัตรใช้จ่ายโดยหวังว่าจะนำเงินรายได้ในอนาคตมาชำระคืน ผู้ถือบัตรดังกล่าว จะต้องทำงาน เพื่อตามใช้หนี้ที่เกิดขึ้น และไม่สามารถ วางแผนการเงิน ให้ถูกแนวทางได้อีกเลย
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น