ปัจจุบันพาหนะเพื่อการเดินทางเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของบุคคลเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็น ในธุรกิจการงาน การจับจ่ายซื้อของการพักผ่อนทัศนาจร ตลอดจนการติดต่อการค้าในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ยานพาหนะที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับบุคคลมีหลายรูปแบบตั้งแต่ รถจักรยาน รถประจำทาง รถยนต์ส่วนตัวและพาหนะเครื่องบิน อย่างไรก็ตามชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ ซึ่งต้องทำงานและสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ รถยนต์ ดังนั้นในบทนี้พูดถึงเฉพาะเรื่องของรถยนต์ โดยจะกล่าวถึงความจำเป็นของบุคคลในการลงทุนซื้อรถ คุณสมบัติของรถยนต์ที่จะสามารถสนองความต้องการได้อย่างดี การวิเคราะห์ความจำเป็นและเหมาะสมในการซื้อรถยนต์ ควรซื้อรถยนต์ใหม่หรือรถเก่าดี และควรมีการเจรจาต่อรองอย่างไรจึงจะได้รถยนต์ที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมที่สุด
ความหมายของการวางแผนทางการเงิน
การวางแผนทางการเงิน คือ การกำหนดการใช้จ่ายเงินในกิจการต่างๆ ให้สอดคล้องกับโครงการและแผนงานที่จัดทำขึ้น นอกจากการใช้จ่ายเงินในกิจการต่างๆ แผนการเงินยังระบุถึงแหล่งที่มาของเงินและการใช้จ่ายเงินในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการและแผนงานว่าใช้จ่ายไปอย่างไรบ้าง สำหรับในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นการวางแผนทางการเพื่อยานพาหนะ
ความหมายของยานพาหนะ
ยานพาหนะ : ตามความหมายในพจนานุกรมไทย ฉบับมหาวิทยาลัย หน้า 533 ระบุไว้ว่า
“ยานพาหนะ คือ เครื่องนำไป เครื่องขับขี่ต้องเป็นสิ่งที่มีเครื่องยนต์”
การวางแผนทางการเงินเพื่อยานพาหนะ
เงิน เป็นทรัพย์สิน (Asset) ที่ชัดเจนที่สุดของมนุษย์ทุกวันนี้ เพราะเงินเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสามารถแปรเป็นอย่างอื่นได้ทันทีที่ต้องการ เงินจึงมีอำนาจในการซื้อ และอำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตมาก หากขาดเงินก็จะลำบากในความเป็นอยู่มาก คนที่มีทรัพย์สินอย่างอื่นมากมาย แต่ขาดเงินก็จะขัดสน อดอยาก ฝืดเคือง ความเป็นอยู่ยาก หากมีเงินไม่มีสินทรัพย์อื่นเลยก็มีความเสี่ยงมาก เพราะเงินมีความแปรปรวนมากตามปัจจัยอื่นๆ มากมายและแปรเป็นอย่างอื่นได้ง่ายจึงสามารถหมดเร็วตามอำนาจความอยาก ที่จะซื้อหาปัจจัย 4 มาดำรงชีพเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง ปัจจุบันยานพาหนะเป็นปัจจัยที่ 5 รองจาก อาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เพราะยานพาหนะเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีพของมนุษย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุระกิจการงาน การจับจ่ายซื้อของ การทัศนาจร ล้วนจำเป็นต้องใช้ยานพาหนะทั้งสิ้น และเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ยานพาหนะมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นการที่จะซื้อยานพาหนะเป็นของตัวเอง หรือการที่จะเดินทางด้วยยานพาหนะชนิดใดนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนทางการเงินเพื่อให้สามารถใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม ซึ่งการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพนั้น ควรมีขั้นตอนดังนี้
1. การวางแผนทางการเงิน (Strategic Formulation)
2. การนำแผนไปปฏิบัติ (Implementation)
3. การติดตาม / ประเมินผล (Evaluation Control)
ลักษณะของยานพาหนะ
ลักษณะทางยานพาหนะที่มีใช้กันอย่าแพร่หลายในการเดินทางคือ
1. รถยนต์
2. รถจักยานยนต์
3. รถโดยสารประจำทาง
โดยในการศึกษาครั้งนี้จะนำลักษณะของยานพาหนะ คือ รถยนต์ และรถโดยสารประจำทางมาทำการศึกษาถึงการวางแผนทางการเงินเท่านั้น เนื่องจากรถจักรยานยนต์นั้น มีการวางแผนที่คล้ายคลึงกับรถยนต์จึงไม่นำมาศึกษา
จุดประสงค์ของการมียานพาหนะ
1. ต้องการลดเวลาในการในทางโดยเฉพาะเวลารีบเร่ง
2. ต้องการความสะดวกสบายในการเดินทาง
3. เพื่อความรวดเร็วในการเดินทาง
4. ต้องการประหยัดและลดค่าใช้จ่ายบางส่วน
5. เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง
6. เพื่อให้ได้ประโยชน์ในทางธุรกิจ
ความจำเป็นในการใช้รถยนต์
ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจกับเงินงบประมาณไว้เพื่อใช้จ่ายในการซื้อหรือผ่อนชำระรถยนต์ รวมถึงรายจ่ายค่าประกันอุบัติเหตุนั้น ท่านควรถามตัวเองให้แน่ใจเสียก่อนว่า ท่านมีความจำเป็นในการใช้รถยนต์และพร้อมที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์จริงๆ แล้วหรือยัง เพราะถ้าท่านมีความจำเป็นในการใช้รถยนต์เพียงครั้งคราว เช่น เพื่อการเดินทางไปพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือเพื่อทำกิจธุระใดโดยเฉพาะนานๆ ครั้ง ท่านอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินลงทุนเพื่อซื้อรถยนต์เป็นจำนวนมากเช่นนั้น แต่สำหรับสภาพแวดล้อมหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง อย่างในประเทศไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานครดูจะมีแนวโน้มให้ประชาชนในเมืองหลวงมีความจำเป็นจะต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวกันมากขึ้นด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ
1.การสาธารณูปโภคในด้านการขนส่งมวลชนของเมืองหลวงยังมีการบริการที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน การจราจรติดขัด เกิดความล่าช้า และไม่สะดวกในภาวะรีบเร่งในช่วงเวลาเช้าและเย็น จึงทำให้การใช้รถยนต์ส่านบุคคลมีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่มีสมาชิกหลายคนจะมีความสะดวกในการเดินทางได้มากกว่า
2.การใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในปัจจุบันเป็นการใช้เพื่อจุดประสงค์ในทางธุรกิจมากกว่าจะเป็นการสร้างค่านิยมและความภูมิฐานเช่นในสมัยก่อน เนื่องจากแต่ละครอบครัวย่อมมีความจำเป็นในการเดินทางไปในที่ต่างๆ กันได้หลายแห่ง
3.การใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อความสะดวกสบาย นอกจากนั้นท่านยังสามารถไปถึงจุดหมายปลายทางได้แน่นอนกว่าการใช้บริการของรถประจำทางที่มีจดหมายเป็นเพียงป้ายรถประจำทางริมถนน และท่านยังต้องใช้เวลาเดินทางด้วยตนเองจนกว่าจะถึงที่หมายอีกด้วย
ที่มาของรายได้ที่จะใช้จ่ายเพื่อยานพาหนะ
รายจ่ายเพื่อยานพาหนะมีหลายอย่างเช่น รายจ่ายค่าน้ำมันรถ, รายจ่ายค่าจดทะเบียนรถ,ค่าภาษีรถ, ค่าบำรุงซ่อมแซมต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้แม้จะดูไม่มากหนักแต่ถ้าเราต้องจ่ายบ่อยๆ ทุกๆ เดือน ถ้ารวมเป็นปีค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็มีมูลค่าสูงเช่นกัน ซึ่งแหล่งที่มาของรายได้ที่จะใช้จ่ายตรงส่วนนี้อาจได้แก่
1. เงินเดือน คือ เงินที่ได้รับทุกๆ เดือนหรือเรียกว่าเงินประจำ อาจได้มาจาก ภาครัฐบาลหรือภาคเอกชน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าบุคคลเหล่านั้นทำงานอะไร และได้เงินเดือนมากน้อยเพียงไร ซึ่งเงินตรงส่วนนี้อาจจะจัดแบ่งเป็นส่วน เช่น
ส่วนที่ 1 เก็บไว้สำหรับค่าน้ำ, ค่าไฟ
ส่วนที่ 2 เก็บไว้เป็นค่าอาหาร
ส่วนที่ 3 เก็บไว้เป็นเงินใช้ส่วนตัว
ส่วนที่ 4 เก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ
ส่วนที่ 5 เก็บไว้เป็นเงินออม
ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่ว่าแต่ละบุคคลจะจัดสรรเงินอย่างไร
2. เงินออม คือ เงินที่เก็บสะสมเอาไว้ อาจจะเก็บไว้นานแล้ว หรือ นำเงินมาเพิ่มอีก อาจจะเก็บไว้ที่ธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยก็ได้
3. หนี้สินหรือเงินกู้ยืมต่างๆ คือ เงินที่บุคคลเป็นเจ้าของรถ กู้ยืมมาเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะอาจเป็นเงินที่กู้ยืมมาจากธนาคาร หรือ เจ้าหนี้ต่างๆ ซึ่งตรงนี้จะต้องเสียดอกเบี้ยตามแต่เจ้าหนี้จะกำหนด หรืออาจเป็นเงินที่กู้ยืมมาจากญาติพี่น้อง ซึ่งอาจจะเสียดอกเบี้ยน้อยหรืออาจจะไม่เสียเลยก็ได้
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น