ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นโดย Milton Friedman และนักเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชิคาโกโด้เผยแพร่ผลงานเพื่อสนับสนุนการมีเสถียรภาพของความต้องการถือเงินตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินที่มีต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่นี้ได้พิจารณาความต้องการถือเงินจากการที่มีความเห็นเกี่ยวกับเงินว่าเงินเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งในจำนวนสินทรัพย์อื่น ๆ ที่มีมากมาย (portfolio of assets) ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการประยุกต์ทฤษฎีทุน (capital theory) เข้ากับการอธิบายพฤติกรรมความต้องการถือเงิน โดยถือว่าเงินมีลักษณะการถือสินค้าทุนในรูปแบบอื่น ๆ Friedman ได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับความต้องการถือเงินของบุคคลมีอยู่ 4 ประการคือ ระดับรายได้ที่แท้จริง ระดับราคา ระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและการเพิ่มขึ้นของระดับราคาและอัตราเงินเฟ้อ
โดยปัจจัย 2 เป็นตัวแรกที่มีความสัมพัน์ในทิศทางตรงกับความต้องการถือเงินและปัจจัย 2 ตัวหลังมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่ง Friedman ว่าการเปลี่ยนแปลงของความต้องการถือเงินจะเป็นสัดส่วนเดียวกันกับระดับราคาและเป็นสัดส่วนที่มากกว่าระดับรายได้ที่แท้จริงโดยระดับราคาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการถือเงินดังนี้คือ ถ้าระดับราคาสินค้าสูงขึ้น มูลค่าของเงินที่แท้จริงจะลดลงและเพื่อที่จะรักษาระดับดุลยภาพของความต้องการถือเงินเอาไว้บุคคลต่าง ๆ ก็จะต้องเพิ่มจำนวนของปริมาณเงินที่ต้องการถือเอาไว้เพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะซื้อสินค้าได้ในปริมาณเท่าเดิม แต่ถ้าระดับราคาของสินค้าลดลง บุคลก็จะลดปริมาณเงินที่ถือเอาไว้ทั้งนี้เพราะมูลค่าที่แท้จริงของเงินได้เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงคือ
ต้นทุนของการถือเงินที่เป็นมูลค่าแท้จริงเพิ่มสูงขึ้น
ความมั่งคั่งรวม (total wealth) เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะจำกัดขอบเขตของความสามารถที่จะมีความต้องการถือเงินและมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความต้องการถือเงินนักลงทุนกฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ได้พิจารณาถึงความมั่งคั่งรวมประกอบด้ยแหล่งที่มาของรายได้หรือบริการที่สามารถนำมาเพื่อการบริโถคได้ทุกประเภทแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญของบุคคลทั้งหลายก็คือความสามารถในการผลิต (productivity capacity) ของตนเองโดยที่บุคคลจะต้องใช้ความสามารถในตนเองทำการผลิตสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนออกมาในรูปของรายได้หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า human wealth ซึ่งFriedman ได้ให้ความสำคัญโดยถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความมั่งคั่งที่สามารถดำรงได้ การพิจารณาความมั่งคั่งในลักษณะนี้รายได้จะเข้ามามีอิทธิพลต่อความต้องการถือเงิน โดยมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นตัวแทนของความั่งคั่งเท่านั้น รายได้ที่แท้จริงตามความหมายของ Friedman จะแตกต่างจากความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป คือใช้ในความหมายของรายได้ระยะยาวหรือรายได้ถาวร (permanent income) และรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว (transitory income)
Measure income = transitory income + permanent income
รายได้ถาวรนั้น หมายถึง รายได้ที่บุคคลคาดการณ์ว่าจะได้รับอย่างแน่นอนตลอดชั่วชีวิตของคนเรา (ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนของ human capital) หรือหมายความว่าเป็นรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (expected income) และ Friedman ไม่เห็นด้วยกับการนำเอาข้อมูลรายได้ประชาชาติจากบัญชีรายได้ประชาชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละปี (actual income) มาเป็นข้อมูลที่ใช้วัดขนาดรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งนี้เพราะขนาดของรายได้ที่คาดกับที่เกิดขึ้นจริง อาจมีความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากมีรายได้ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่ไม่ด้คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Or Transitory Event) ซึ่งรายได้ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหวังนี้ไม่ควรเจ้ามามีผลกระทยต่อความต้องการถือเงิน ดังนั้นรายได้ที่มีผลกระทบต่อความต้องการถือเงินเป็นเพียงเฉพาะรายได้ถาวรหรือรายได้ที่คาดหวังเท่านั้น
Human Wealth / Non Human Wealth เนื่องจากความมั่งคั่งที่มีอยู่ในทุกรูปแบบยกเว้น Human Wealth สามารถที่จะมีตลาดสำหรับซื้อหรือขายได้ แต่ตลาดสำหรับการซื้อขาย Human Wealth นั้นไม่มีเพราะว่า Human Wealth ก็คือความสามารถของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงไปให้อยู่ในรูปของรายได้ในอนาคตและเป็นการทำให้ Human Wealth ที่ดำรงอยู่มีมูลค่าปัจจุบันที่สูงขึ้น ในเรื่องนี้ความสามารถของบุคคลที่มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลง Human Wealth ให้ไปอยู่ในรูปความมั่งคั่งประเภทอื่นซึ่งมนทางปฎิบัตแล้ว มูลค่าปัจจุบันของ Human Wealth ประเมินได้ยากกว่าความมั่งคั่งในรูปแบบอื่น Friedman จึงได้นำเอาสัดส่วนของ Human Wealth/ Non Human wealth มาเป็นตัวแปรอีกตัวหนึ่งในฟังก์ชั่นความต้องการถือเงินโดยถ้าสัดส่วนดังกล่าวมีอยู่ในความมั่งคั่งรวมมากขึ้น จะทำให้ความต้องการถือเงินลดลง
อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับจากการถือพันธบัตร (ib) ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินแน่นอนในระยะเวลาที่กำหนด แต่ในขณะที่ถือพันธบัตรนั้นราคาซื้อขายของพันธบัตรในท้องตลาดจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกลไกของตลาดอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินจากการถือพันธบัตรจึงประกอบไปด้วยสองส่วน คือ รายได้จากดอกเบี้ย ซึ่งจะมีจำนวนคงที่และอีกส่วนมาจากกำไรหรือขาดทุนจากการขายพันธบัตร (Capital Gain Or Capital loss) ที่จะเกิดขึ้น ราคาของพันธบัตรจะแปรผันไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยก็สามารถที่จะถูกนำมาใช้วัดถึงของ Capital Gain หรือ Capital Loss ที่จะเกิดขึ้นจากการถือพันธบัตรนั้นด้วยและการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่คาดคะเนจะถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจลงทุนของบุคคลด้วย
อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับจากการถือเงิน (im) การถือเงินจะให้ผลตอบแทนในรูปที่เป็นตัวเงินหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบหรือชนิดของเงินที่ถือว่าอยู่ในรูปแบบใดถ้าถือในรูปเงินสดก็จะไม่มีผลตอบแทนในรูปที่เป็นตัวเงินแก่ผู้ถือ ในขณะที่เงินฝากประจำให้ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินแก่ผู้ถือและให้ทางตรงกันข้ามการถือเงินฝากระแสรายวันที่ผู้ถือต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคาร (Bank Charges) ตามที่กำหนด ซึ่งมีลักษณะของผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินมีค่าเป็นลบ (Negative return)
อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือหุ้น (ie) การถือหุ้น (Equity) ก็ให้อัตราผลตอบแทนในลักษณะเดียวกันกับความมั่นคั่งในรูปของพันธบัตร คือ ผลตอบแทนในรูปของตัวเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
- ส่วนแรกมาจากเงินปันผลซึ่งได้รับมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกำไรที่เกิดขึ้นของกิจการที่เป็นผู้ออกหุ้น
- ส่วนที่ 2 เกิดจาการเปลี่ยนแปลงของ capital Value ของหุ้นในระยะเวลาที่ถือหุ้นนั้นอยู่
อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อ อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไป จะมีผลทำให้มูลค่าของปริมาณเงินที่บุคคลถืออยู่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีทิศทางความสัมพันธ์กันในทางตรงกันข้ามถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปสูงขึ้น มูลค่าที่แท้จริงของปริมาณเงินจะลดลงแต่ถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปลดลงก็จะทำให้มูลค่าที่แท้จริงของปริมาณเงินเพิ่มขึ้นด้วย
รสนิยมและความพอใจ (u) เป็นตัวแปรที่แสดงอรรถประโยชน์ (utility) ที่บุคคลได้รับจากการบริการที่มาจากการถือเงินและบริการที่มาจากการถือสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ
การนำเอาทฤษฎีมาเป็นพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ในการศึกษานี้จะอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายทั้งทางตรงและทางอ้อม ตามแนว ความคิดของทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ดังนี้
1. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินต่อราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขาย โดยที่ถ้าปริมาณเงินสูงขึ้นจะมีผลทำให้ปริมาณเงินที่แท้จริงที่บุคคลถืออยู่มีมากขึ้นเกินกว่าความต้องการถือเงินที่แท้จริงของบุคคลดังนั้นเพื่อรักษาดุลยภาพของปริมาณเงินที่แท้จริง บุคลต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะปรับตัวเพื่อให้ปริมาณเงินมีพอดีกับที่ต้องการถือ โดยนำปริมาณเงินส่วนเกินไปซื้อหลักทรัพย์ทำให้อุปสงค์ (Demand) ในหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น มูลค่าการซื้อขายจะเพิ่มขึ้นและในทางตรงกันข้ามถ้าปริมาณเงินลดลงปริมาณเงินที่แท้จริงที่บุคคลถืออยู่จะลดลง บุคคลจะรักษาดุลยภาพปริมาณเงินไว้โดยการเปลี่ยนความมั่งคั่งในรูปหลักทรัพย์ให้มาอยู่ในรูปของเงินสดทำให้มูลค่าของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลง
2. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย นักเศรษฐศาสตร์การเงินมีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในทิศทางตรงข้าม โดยที่เมื่อปริมาณเงินลดลงจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นซึ่งหมายความว่า หากบุคคลถือทรัพย์ในรูปเงินโดยการฝากกับธนาคารแล้วก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ย แต่หากบุคคลถือสินทรัพย์ในรูปอื่นแทนเงินสดก็จะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสเท่ากับอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้น บุคคลทั่วไปจึงถือเงินสดในขณะดอกเบี้ยสูงขึ้น ความต้องการถือหลักทรัพย์ลดลงทำให้ราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายลดลงด้วย ถ้าหากปริมาณเงินเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยจะลดลง ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการถือเงินจะลดลง บุคคลจะเลือกถือสินทรัพย์ในรูปของหลักทรัพย์แทน ทำให้ความต้องการถือหลักทรัพย์สูงขึ้น มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์สูงขึ้น
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น