การซื้อหุ้นคืน คือ เป็นเครื่องมือในการบริหารการเงิน เมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องทางการเงินสูง คือ มีเงินเพียงพอที่จะไปลงทุนในหุ้นบริษัทเอง เมื่อเห็นว่าหุ้นมีราคาต่ำเกินจริง และการลงทุนในหุ้นของบริษัทจะได้รับอัตราผลตอนแทนจาการลงทุนสูงกว่าลงทุนประเภทอื่นและอีกอย่างนึงก็คือ เป็นเครื่องมือในการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท โดยแต่ละครั้งจะทำให้จำนวนหุ้นลดลง ทำให้ EPS เพิ่มขึ้น
บริษัทต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
1. มีกำไรสะสม โดยการซื้อหุ้นคืนจะทำได้ไม่เกินวงเงินสะสม และบริษัทควรกันกำไรสะสมไว้เป็นเงินสำรอง เท่ากับจำนวนเงินที่ได้จ่ายซื้อหุ้นคืนจนกว่าจะมีการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนได้หมด หรือลดทุนชำระแล้วโดยวิธี ตัดหุ้นซื้อคืนที่จำหน่ายไม่หมด แล้วแต่กรณี
2. มีสภาพคล่องส่วนเกิน โดยพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ภายใน 6 เดือน ข้างหน้าว่าถ้านำเงินมาซื้อหุ้นคืนแล้ว จะไม่กระทบกับการชำระหนี้ของบริษัท
3. ไม่ทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย ( Free Float) ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (> 15% ของทุนชำระแล้ว และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 150 ราย)
วิธีการซื้อหุ้นคืน
1. ซื้อบนกระดานหลัก (Main Board) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยราคาที่ซื้อต้องไม่เกินกว่า115% ของราคาปิด ของหุ้นเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม กรณีนี้จะใช้ได้เมื่อบริษัทมีการซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 10% ของทุนชำระแล้วเท่านั้น
2. เสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป (General Offer : GO)
วิธีการขายหุ้นคืน
1. ขายบน Main Board ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยราคาที่ขายต้องไม่ต่ำกว่า 85% ของราคาปิดของหุ้นเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายก่อนหน้า
2. เสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (Public Offering : PO) ในกรณีนี้ บริษัทต้องขออนุญาตเสนอขาย หุ้นต่อประชาชนกับสำนักงาน ก.ล.ต. ด้วย
ข้อจำกัดในการซื้อหุ้นคืนหรือจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน
1. ห้ามทำรายการ หากบริษัทอยู่ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น ก่อนเผยแพร่งบการเงิน ก่อนการประกาศจ่ายปันผล หรือก่อนการประกาศเพิ่มทุน เป็นต้น
2. ห้ามทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ในกรณีซื้อหุ้นคืนบน Main Board
3. ห้ามทำรายการ หากอยู่ระหว่างการถูกทำ Takeover หรือมีข้อเท็จจริงที่ควรเชื่อว่าจะถูก Takeover ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
4. พรบ.มหาชน มาตรา 66/1 และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์u3649 .ละวิธีการว่าด้วยการซื้อหุ้นคืน การจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน และการตัดหุ้นที่ซื้อคืนของบริษัท พ.ศ. 2544
5. ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการใดๆ ของบริษัทจดทะเบียน เมื่อบริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นของบริษัทคืน และจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน พ.ศ. 2544
6. หนังสือเวียนของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ กลต. ชส. (ว) 2/2548 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548 เรื่อง ความเห็นเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการกันกำไรสะสม
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น