พันธบัตรหรือหุ้นกู้ (Bond)
พันธบัตรหรือหุ้นกู้คือตราสารแห่งหนี้ระยะยาวซึ่งผู้ออกมีข้อผูกพันตามกฎหมายที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแก่ผู้ซื้อตามเวลาที่กำหนด โดยทั่วไป ตราสารหนี้จะกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนไว้แตกต่างกันไป เช่น 5 ปี 10 ปี หรือนานกว่านั้น
ตัวแทนผู้ถือครองตราสารหนี้ (Bond-holders representative)
ตัวแทนทำหน้าที่ดูแลรักษาสิทธิของผู้ถือครองตราสารหนี้หรือผู้ถือครองเอกสารการเงินอื่น ๆ
ดอกเบี้ย (Coupon)
ดอกเบี้ยซึ่งจ่ายให้กับผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้เป็นงวดตลอดอายุของตราสารหนี้เพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับการนำเงินมาลงทุน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยจะกำหนดเป็นร้อยละต่อปีจากราคาที่ตราไว้ การจ่ายดอกเบี้ยในประเทศไทยส่วนใหญ่จะจ่ายเป็นงวดทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี
หุ้นกู้ภาคเอกชน (Debenture)
หุ้นกู้ภาคเอกชนมีลักษณะคล้ายกับตราสารหนี้ คือเป็นตราสารที่แบ่งเป็นหน่วย แต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่ากันและกำหนดประโยชน์ตอบแทนไว้เป็นการล่วงหน้าในอัตราเท่ากันทุกหน่วย หุ้นกู้บางอย่างสามารถแลกเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญได้
ความเสี่ยงจากการผิดสัญญา
คือความเสี่ยงที่ผู้ออกตราสารหนี้จะไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้นของตราสารหนี้นั้นได้ นักลงทุนสามารถดูจากอันดับความน่าเชื่อถือเพื่อคาดการณ์ถึงความเสี่ยงชนิดนี้ของผู้ออกตราสารหนี้แต่ละรายได้
ราคาที่ตราไว้ (Face value)
จำนวนเงินที่จะจ่ายให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์เมื่อครบกำหนดอายุของตราสารหนี้
ผู้ออกตราสารหนี้ (Issuer)
ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอขายตราสารหนี้ หรือเอกสารทางการเงินอื่นๆ ของตน อาจเป็นบริษัท รัฐบาล หรือองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง (Liquid Asset)
สินทรัพย์ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย
วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Date)
วันที่ครบกำหนดชำระคืนเงินต้นสำหรับหนี้สินหรือตราสารทางการเงินอื่น ๆ
การเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement)
เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้กับนักลงทุนไม่เกิน 35 รายภายในรอบระยะเวลา 12 เดือน หรือเสนอขายให้กับผู้ลงทุนที่เป็นสถาบัน ตามที่กฎหมายกลต.กำหนดไว้ทั้งหมด 17 ประเภท คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดของผู้ลงทุนทั้ง 17 ประเภท
การเสนอขายสำหรับประชาชนทั่วไป (Public offering)
เป็นการเสนอขายหลักทัพย์ที่ออกใหม่ให้กับประชาชนภายใต้ข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการ กลต. ข้อกำหนดสำคัญคือหลักทรัพย์นั้นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือและผ่านการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการ กลต. แล้ว
การไถ่ถอนตราสารหนี้ (Redemption)
ในกรณีที่ไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด วันไถ่ถอนจะเป็นวันเดียวกับวันครบกำหนดอายุ
สำนักทะเบียนพันธบัตร (Registrar)
หน่วยงานกลางที่มีหน้าที่จัดเก็บทะเบียนข้อมูลของผู้ถือครองเอกสารทางการเงิน
ตลาดรอง (Secondary market)
แหล่งกลางสำหรับการซื้อขายเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของตราสารหนี้ที่ได้ผ่านการซื้อขายในตลาดแรกมาแล้ว
ใบพันธบัตร (Scrip)
เอกสารซึ่งออกให้ผู้ถือครองตราสารหนี้หรือเอกสารทางการเงินอื่น ๆ
ธุรกรรมของพันธบัตรชนิดจดบัญชี (Scrip-less transaction)
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะไม่มีการออกเอกสารรับรองที่เป็นกระดาษ
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น