Custom Search

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552

Liquidation Stock Price และ Going Concern Stock Price

ตัวอย่าง
บริษัทมีหนี้สิน 400 ล้าน มีส่วนของผู้ถือหุ้น 100 ล้าน
ขอให้เพื่อนๆทราบว่า ต้นทุนของเงินประเภทก่อหนี้ เรียกว่า Cost of Debt ใช้ชื่อย่อว่า Kd ในกรณีนี้สมมติว่าเท่ากับ 10 % และต้นทุนของเงินที่ได้จากผู้ถือหุ้น เรียกว่า Cost of Equity ใช้ชื่อย่อว่า Ke ในกรณีนี้สมมุติว่าเท่ากับ 20 %
ตัวเลข 20 % นี้ เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของผู้ถือหุ้น ถ้าผู้บริหารบริษัททำได้ต่ำกว่านี้ นักลงทุนจะขายหุ้นแล้วไปลงทุนที่บริษัทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

วิธีการคำนวณต้นทุนถัวเฉลี่ยของเงินทุนของบริษัท (WACC-Weighted Average Cost of Capital)

สูตร WACC = [Debt / (Debt + Equity) * Kd ] + [Equity / (Debt + Equity) * Ke ]
ในกรณีตัวอย่างนี้ WACC = 400/500 * 0.10 + 100/500 * 0.20 ซึ่งเท่ากับ 12 % เป็นต้นทุนถัวเฉลี่ยของเงินทุนของบริษัท

ตอนนี้เราจะมาดูกันว่า ถ้าผู้บริหารบริษัทบริหารงาน(หรือ Generate Cash Flow) ได้ในกรณีต่างๆต่อไปนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับ Stock Price
1. กรณี Generate Cash Flow ได้ เท่ากับ ความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นพอดี
2. กรณี Generate Cash Flow ได้น้อยกว่าความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น
3. กรณี Generate Cash Flow ได้มากกว่าความต้องการของผู้ถือหุ้น (สำหรับเจ้าหนี้ เราจะไม่ให้ดอกเบี้ยมากกว่าที่เจ้าหนี้กำหนด)

คำว่า Stock Price ที่กล่าวถึงนี้ หมายถึง Going Concern Stock Price หมายความว่า เป็นราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้มาจากการคำนวณดังนี้
เอา Value of the Firm ใน Going Concern (ย่อว่า Vf- ซึ่งวิธีการคำนวณจะอธิบายด้านล่าง) หักด้วย Value of Debt (ย่อว่า Vd) ซึ่งจะได้เท่ากับ Value of Equity (ย่อว่า Ve) จากนั้นเอาจำนวนหุ้นไปหารจะได้ราคาหุ้น Stock Price ใน Concept Going Concern

ส่วนคำว่า Liquidation Stock Price หมายความว่าราคาหุ้นในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการวันนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินคืนหุ้นละเท่าไร โดยคำนวณจาก การเอาสินทรัพย์ทั้งหมดไปขายทอดตลาด ได้เงินมาเท่าไรต้องเอาไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ก่อน แล้วจึงนำมาแบ่งให้ผู้ถือหุ้น
วิธีการคำนวณหา Value of the Firm ใน Going Concern

ก่อนอื่นเพื่อนๆต้องเข้าใจก่อนว่า Value of Firm ใน Concept Going Concern ก็คือ "มูลค่าปัจจุบัน (Present Value) ของ Cash Flow ที่ Firm ควรจะ Generate ได้ในอนาคต"

จากคำพูดข้างบนนี้เราต้องทราบสูตรง่ายๆที่จะหามูลค่าปัจจุบันกรณีเงินแต่ละงวดเท่าๆกัน(ที่พวกเราเรียนจากอาจารย์รวิวัลย์เมื่อเทอมที่แล้ว) สูตรดังกล่าวคือ = จำนวนเงินงวดที่เข้ามาเท่าๆกันทุกงวด หารด้วย อัตราผลตอบแทน

จำนวนเงินงวดที่เข้ามาเท่าๆกันทุกงวดในที่นี้ก็คือ Cash Flow ที่ Generate ได้ในแต่ละปีนั่นเอง
ส่วนอัตราผลตอบแทน ก็คือ WACC นั่นเอง

ดังนั้น กรณีนี้ ถ้า Cash Flow ที่ Generate ได้เท่ากับปีละ 60 ล้าน และ WACC = 12% จะคำนวณ Value of the Firm (ใน Going Concern) ได้เท่ากับ 60/0.12 = 500 ล้าน

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับการเรียน Finance ในครั้งต่อๆไปครับ

จากตอนที่แล้วพูดถึงผลกระทบต่อ Stock Price ใน 3 กรณี ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้

กรณีที่ 1 ถ้า Generate Cash Flow ได้ เท่ากับ ความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นพอดี

ปีที่1 ปีที่2 ปีที่ n
Interest (Kd=10%) 40 40 40
Dividend(Ke=20%) 20 20 20
จำนวน Cash Flow ที่ควรจะ Generate ได้แต่ละปี 60 60 60
ถ้า Firm ทำได้เท่ากับ 60 ล้านต่อปีพอดี
ก็จะคำนวณ Value of the Firm = 60/0.12 = 500 ล้าน
สามารถนำมาคำนวณ Going Concern Stock Price ได้ดังนี้ (500-400)/10 = หุ้นละ 10
400 คือ Value of Debt ; 10 ที่นำไปหารคือจำนวนหุ้นทั้งหมด

จากนั้นเรามาดู Liquidation Stock Price (ใครยังไม่ทราบว่าคืออะไรให้ย้อนกลับไปอ่านตอนต้นๆข้างบนนี้)
พบว่า Liquidation Stock Price ก็เท่ากับ 10 บาทเหมือนกัน (คำนวนได้จากเอา Total Asset ตั้ง หักด้วย Debt เหลือเท่าไรเอาไปให้ผู้ถือหุ้นแบ่งกัน ปรากฎว่าแบ่งได้หุ้นละ 10 บาทเท่ากับราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาด (Going Concern Stock Price พอดี)
นั่นหมายความว่าผู้บริหารยังไม่ได้ Maximized Shareholders' Wealth เพียงแต่ทรงๆเอาไว้ไม่โดยไม่ทำลาย Wealth ของผู้ถือหุ้น เพราะว่าบริหารงานโดยทำให้ราคาหุ้นในตลาด(Going Concern Stock Price)เท่ากับส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้นเมื่อเลิกกิจการ( Liquidation Stock Price)พอดี

กรณีที่ 2 ถ้าผู้บริหาร Generate Cash Flow ได้น้อยกว่าความต้องการของเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น

เช่น ผู้ถือหุ้นต้องการ 20% แต่ Firm ทำได้แค่ 15%

ดังนั้นจากข้อมูลเดิม (ดูในกรณีที่ 1) Firm นี้สามารถ Generate Cash ได้เพียงปีละ 55 ล้านเท่านั้น เมื่อนำมาคำนวณหา Vf ใน Going Concern
จะได้เท่ากับ 55/0.12 เท่ากับ 458.33 ล้าน เมื่อนำมาคำนวณหา Going Concern Stock Price จะได้เท่ากับ (458.33-400)/จำนวนหุ้นคือ 10 ล้านหุ้น จะได้ราคาหุ้นเท่ากับ 5.83 บาท แต่ในขณะเดียวกัน Stock Price ใน Liquidation เท่ากับ 10 บาทเหมือนเดิม จะเห็นว่า ในกรณีที่ 2 นี้ Stock Price ใน Going Concern จะต่ำกว่า Stock Price ใน Liquidation นี่คือคำตอบว่า "หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าบริษัทไหน ราคาที่ trade อยู่ใน
ตลาดหลักทรัพย์ต่ำกว่าราคา Liquidation นั่นแสดงว่า Time Interest of Return ต่ำกว่าที่ผู้ถือหุ้นต้องการ"

*** วิธีที่จะ Maximized Shareholders' Wealth คือ ทำให้ Time Interest of Return สูงกว่าที่ผู้ถือหุ้นต้องการนั่นเอง ****

หรือมองในอีกมุมหนึ่ง

บริษัทนี้ เอาเงินเจ้าหนี้มา 400 ล้าน เอาเงินจากผู้ถือหุ้นมา 100 ล้าน มาลงทุนในสินทรัพย์จำนวน 500 ล้าน ต้นทุนถัวเฉลี่ยของเงินทุน (WACC) เท่ากับ 12%
สมมุติว่าบริษัทนี้ Generate Cash Flow ปีละ 60 ล้าน บริษัทนี้ใช้เงินลงทุน 500 ล้าน เพราะฉะนั้นคิดเป็นผลตอบแทนปีละ 60/500*100 = 12% เท่ากับต้นทุนของเงินทุนพอดี จึงทำให้ Stock Price ใน Going Concern เท่ากับ Stock Price ใน Liquidation

แต่ถ้าเปลี่ยนตัวเลขว่า บริษัทนี้ Generate Cash Flow ได้ปีละ 55 ล้าน คือผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 55/500*100 = 11% คือได้ไม่ถึงต้นทุนของเงินทุนคือ 12 % จึงทำให้ราคา Stock ที่ซื้อขายกัน ต่ำกว่าราคา Stock เมื่อเลิกกิจการ

แต่ถ้าเปลี่ยนตัวเลขเป็น Generate Cash Flow ได้ 70 ล้าน คือผลตอบแทนจากการลงทุนจะมากกว่าต้นทุนของเงินลงทุน ดังนั้นราคา Stock จึงสูงกว่าราคา Liquidation **นี่คือวิธีการ Maximized Stock Price **

สรุปได้ว่า ** เวลาเราทำการลงทุนใดๆ Return ของ Project จะต้องสูงกว่า Cost of Capital เสมอ **



ข้อความต่อไปนี้ เป็นการสรุป Keyword สำคัญๆ ถ้าเพื่อนๆ x19 อ่านตอนเรียนชั่วโมงแรกๆ ก็อาจจะยังไม่เข้าใจ เช่นคำว่า “แคปเอ็ม” (CAPM) “ค่าความเสี่ยง” “ค่าเบต้า” “MM Theory” “Free CashFlow” และอื่นๆ แต่ถ้าเรียนไปเรื่อยๆ จนถึงชั่วโมงสุดท้ายเพื่อนๆ จะต้องรู้จักคำเหล่านี้เป็นอย่างดีทุกคำ—ขอให้โชค A …จากพี่พรเทพ x-18

WACC คืออะไร

WACC หรือ Weighted Average Cost of Capital ก็คือ ต้นทุนทางการเงินเฉลี่ยของกิจการต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ต้นทุนของเงินกู้ยืม (Cost of debt) และต้นทุนส่วนของผู้ถือหุ้น (Cost of equity)

หน้าที่หลังของผู้บริหารการเงินก็คือ ต้องพยายามบริหาร WACC ให้มีค่าต่ำ ที่สุด ซึ่งโดยทั่วไป ต้นทุนของเงินกู้ยืม จะมีค่าต่ำกว่าต้นทุนของส่วนของ ผู้ถือหุ้นค่อนข้างมาก ดังนั้น บริษัทใดก็ตามมีโครงสร้างทางการเงินที่สามารถกู้ยืมเงินได้ในระดับที่เหมาะสมกับฐานะการเงินย่อมจะทำให้ WACC มีค่าต่ำกว่าบริษัทที่ใช้ equity ทั้งหมด

Cost of Equity

Cost of Equity หรือ Ke นั้น ในทางทฤษฎีสามารถคำนวณได้จาก CAPM หรือ Capital Asset Pricing Model

CAPM เป็นการคำนวณผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นคาดหวัง จากการพยายามหาค่าความเสี่ยง (Risk premium) โดยใช้ค่า
เบต้า เป็นตัววัด

ค่าเบต้า มาจากการคำนวณพฤติกรรมของราคาหุ้นดังกล่าวในอดีตระยะเวลานาน ๆ ว่ามีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นกี่ % เมื่อเทียบจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของตลาดรวม 1%

Ke ตาม CAPM จะ =Rf +(Rm - Rf) x Beta

เนื่องจากค่าเบต้าของหุ้นแต่ละตัวมีค่าไม่เท่ากัน ดังนั้น ผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นคาดหวังในหุ้นแต่ละตัวจึงไม่เท่ากันด้วย

ปัจจัยที่มีผลกระทบกับค่าเบต้า ก็คือปัจจัยที่จะส่งผลให้ราคาหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าหรือแย่กว่าตลาดนั่นเอง โดยทั่วไปก็มักจะได้แก่
1. ขนาดของบริษัท
2. ความผันผวนของรายได้ของธุรกิจ
3. อัตราการกู้ยืมของบริษัท

BUSINESS VALUATION

กล่าวโดยสรุป ปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อมูลค่าหุ้น จะประกอบไปด้วย ปัจจัยหลัก 3 กลุ่มด้วยกันคือ
1. ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) หมายถึงอัตราส่วนกำไรต่อยอดขาย (Net profit margin)
2. การบริหารสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพ ( Asset management ) หมายถึงอัตราส่วนยอดขายต่อสินทรัพย์รวม (Asset Turnover)
3. การบริหารต้นทุนทางการเงิน (Cost of capital) หมายถึงสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts