หน้าที่ของการบริหารการเงิน
1.Financing Decision - การตัดสินใจด้านการจัดหาเงินทุน
หมายถึง การจัดสัดส่วนของเงินทุนประเภทก่อหนี้ (Debt) และจากผู้ถือหุ้น (Equity) ให้เหมาะสม
2. Investment Decision - การตัดสินใจด้านการลงทุน
หมายถึง การตัดสินใจนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ
3. Liquidity Management - การบริหารสภาพคล่อง
หมายถึง การจัดสัดส่วนที่เหมาะสมของสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) และ หนี้สินหมุนเวียน (Current Liability) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การบริหารเงินทุนทำการสุทธิ (Net Working Capital Management)
Goal ที่สูงที่สุดของ Firm คือ Maximize Shareholder's Wealth หรือ Maximize Stock Price หรือ Maximize Value of the Firm ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้เหมือนกัน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. Maximize Shareholder's Wealth คือการ Maximize Stock Price เพราะว่า Shareholder's Wealth ขึ้นอยู่กับ Return ในรูปของเงินปันผลและกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) ซึ่งกำไรจากการขายหุ้นจากได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ Stock Price (ถ้าขายได้ราคาสูงก็จะได้กำไรจากการขายหุ้นมากด้วย) สำหรับเงินปันผล Firm ที่ไม่จ่ายเงินปันผล Wealth ของผู้ถือหุ้นจะเก็บไว้ใน Stock Price (ตรงนี้อาจารย์กำลังจะบอกว่า เงินปันผลก็คือ Stock Price นั่นเอง โดยแตกออกมาจ่ายให้ผู้ถือหุ้นเป็นเงินสด บริษัทที่จ่ายเงินปันผลจะทำให้ Stock Price ลดลงเท่ากับเงินปันผลที่จ่ายออกไป ซึ่งสรุปได้ว่า การจ่ายเงินปันผลเป็นการ Split Shareholder's Wealth จาก Stock Price ไปอยู่ในรูปของเงินสดปันผลเท่านั้น) ดังนั้นจึงสรุปว่า การMaximize Shareholder's Wealth คือการ Maximize Stock
Price ก็ได้
2. การ Maximize Value of the Firm เป็นการ Maximize Stock Price ด้วยเพราะว่า จาก Value of the Firm (Vf) ถ้าเราเอา Value of the Debt (Vd) ไปหักออก จะเป็นส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้นหรือที่เรียกว่า Value of Equity (Ve) และจาก Value of Equity ถ้านำมาหารด้วยจำนวนหุ้น นั่นคือ Stock Price เพราะฉะนั้นการ Maximize Value of the Firm คือการ Maximize Stock Price เพราะว่าถ้ากำหนดให้ Value of Debt คงที่ ยิ่ง Value of the Firm สูง ก็จะทำให้ Value of Equity สูงขึ้นด้วย และทำให้ Stock Price สูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การ Maximize Value of the Firm คือการ Maximize Stock Price นั่นเอง
(ข้อสอบ 1 ข้อ)
จาก Goal of Firm คือการ Maximize Shareholder's Wealth / Maximize Value of Firm และ Maximize Stock Price ซึงกิจการจะMaximize Stock Price ได้ก็จะต้อง Maximize Cash Flow ซึ่งตาม Sense ของคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจกันว่า การ Maximize Stock Price คือการ Maximize Profit ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด ที่ถูกต้องคือ ต้อง Maximize Cash Flow เพราะว่า Profit เป็นเพียงตัวเลขทางบัญชี (Accounting Profit) จากงบกำไรขาดทุน ซึ่งใช้เกณฑ์คงค้างในการบันทึกบัญชี ดังนั้นบางปีที่กิจการมี Profit มาก แต่กิจการขาดสภาพคล่องคือไม่มีเงินสดมาใช้จ่ายหรือชำระหนี้ เพราะว่าปีนั้นขายสินค้าได้มากแต่ไม่สามารถเก็บเงินได้ (มีแต่ตัวเลขยอดขาย-จึงมีตัวเลขกำไรเกิดขึ้น แต่เก็บเงินสดไม่ได้ มีแต่ยอดลูกหนี้การค้า) ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่างๆนั้นต้องจ่ายเป็นเงินสดทั้งสิ้น ดังนั้นบริษัทจึงควรให้ความสำคัญกับเงินสดหรือ Cash Flow มากกว่ากำไรหรือ Profit ซึ่งเป็นเพียงกำไรทางบัญชีเท่านั้น
นอกจากนั้น วิธีการทางบัญชีที่แตกต่างกัน เช่นการบันทึกต้นทุนแบบ FIFO แบบ LIFO หรือการใช้วิธีตัดค่าเสื่อมแต่ละแบบก็จะทำให้กำไรของแต่ละวิธีการทางบัญชีต่างกันด้วย
ข้อสังเกต Accounting Profit ของกิจการจะมีทิศทางตรงข้ามกับ Cash Flow เช่น ถ้ากำไรมากก็จะเสียภาษีมากทำให้เงินไหลออกมาก Cash Flow จะน้อยกว่ากิจการที่มี Accounting Profit น้อยซึ่งจะเสียภาษีน้อย ทำให้เงินไหลออกน้อย
Conflict of Interest
ใน Firm มีอยู่ 3 Party คือ
1.Shareholders-ผู้ถือหุ้น
2.Debtholders-เจ้าหนี้
3.Managers-ผู้บริหาร
(ผู้บริหาร ถือเป็นตัวแทนหรือ Agent ของผู้ถือหุ้น มีหน้าที่สร้าง Wealth ให้กับผู้ถือหุ้น)
ทั้ง 3 ฝ่ายนี้ต่างก็มี Goal หรือ Interest ของตนเอง
Goal ของผู้บริหาร ก็คือ เงินเดือน โบนัส และรายได้ในรูปแบบอื่นๆ ถ้า Firm Generate Cash Flow มาได้เท่าไร จะต้องจ่ายให้ผู้บริหารก่อนแล้วจึงจ่ายให้เจ้าหนี้ จากนั้นเหลือเท่าไรจึงจะเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้าผู้บริหารตั้งเงินเดือนให้ตัวเองสูงๆ มีรถประจำตำแหน่งราคาแพงๆ หรือใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอื่นๆ ก็จะทำให้ Wealth ของผู้ถือหุ้นลดน้อยลงไป ดังนั้นการ Maximize Wealth ของผู้บริหาร ก็จะเป็นการ Minimize Wealth ของผู้ถือหุ้น เรียกว่าเป็นเป็น Conflict of Interest ระหว่างผู้บริหารกับผู้ถือหุ้น
เพื่อเป็นการป้องกันหรือลดปัญหา Conflict of Interest นี้ จึงเกิดคำว่า "Agency Cost" ขึ้น ซึ่งคำนี้มีความหมายว่า ต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหา Conflict of Interest ระหว่างผู้บริหารกับผู้ถือหุ้น
ตัวอย่างของ Agency Cost เช่น
1. Monitoring Cost
เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นในการสร้างมาตรการติดตามเฝ้าดูหรือควบคุมการทำงานของผู้บริหาร เช่น มีฝ่ายตรวจสอบ (Internal Audit) ฝ่ายกฎหมาย เป็นต้น
2. Incentive Fee เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อจูงใจให้ผู้บริหารตั้งใจมุ่งมั่นที่จะสร้าง Wealth ให้กับผู้ถือหุ้น เช่น มีการให้ Stock Options กับผู้บริหาร (คือการมอบหุ้นให้ผู้บริหาร เพื่อให้ผู้บริหารมีส่วนเป็นเจ้าของด้วย) หรือการจ่าย Bonus หรือรายได้จากผลประกอบการ ถ้า Performance ดี ก็จะได้รายได้มาก เป็นต้น
ปัจจัยต่างๆที่จูงใจให้ผู้บริหาร Maximize Shareholder's Wealth
(Controlling Devices)
1. ผู้ถือหุ้น เป็นผู้ Vote เลือก กรรมการ
กรรมการ เป็นผู้เลือกหรือว่าจ้าง ผู้บริหาร
ดังนั้น ผู้ถือหุ้นจึงสามารถควบคุมผู้บริหารได้ โดยกระทำผ่านกรรมการ ถ้าผู้บริหารทำงานไม่ถูกใจผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นก็สามารถบอกกรรมการให้เลิกจ้างผู้บริหารก็ได้
2. ให้ Stock Options หรือ Performance Share
คือให้ผู้บริหารมีส่วนเป็นเจ้าของ หรือได้ผลตอบแทนที่ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ ซึ่งจะจูงใจให้ผู้บริหารหันมาสนใจสร้างหรือทำให้เกิด Maximize Shareholder's Wealth
3. Threat of being taken over (ผลร้ายจากการถูกซื้อกิจการ)
ตัวอย่าง
ถ้าราคาหุ้นของบริษัทที่ trade อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ คือ 75 บาทต่อหุ้น (ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นราคาที่ได้จากการคำนวณ
ตาม Concept Going Concern หรือ "หลักการดำรงอยู่ของกิจการ" กล่าวคือราคาหุ้นมาจาก Value of the Firm ซึ่งเป็นผลมาจากการ
คาดคะเนความสามารถในการ Generate Cash Flow ในอนาคตของบริษัท แล้วคำนวณกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันหรือ Present Value)
ในขณะเดียวกัน ถ้าบริษัทเลิกกิจการในวันนี้ มีการคำนวณราคาหุ้นใน Liquidation Concept เช่นใช้วิธี Net Asset Value Per Share (NPV per share) โดยการประเมินสินทรัพย์ในด้านซ้ายของงบดุล ในราคาตลาด ได้เท่าไร นำมาหักด้วยมูลค่าของเจ้าหนี้ (Value of Debt) ที่เหลือเป็นส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้นที่จะได้คืนเมื่อเลิกกิจการ จากนั้นนำมาหารด้วนจำนวนหุ้น ก็จะได้เป็น Stock Price ใน Liquidation Concept สมมุติว่าคำนวนได้เท่ากับ 100 บาทต่อหุ้น
จากปรากฏการณ์ข้างต้นนี้ (ราคาหุ้นในตลาดต่ำกว่า ราคาหุ้นใน Liquidation Concept) ก็จะมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งคอยจ้องจะเข้ามา Take Over กิจการ โดยเข้ามาซื้อหุ้นให้เกินสัดส่วน 50 % จากนั้นก็จะเรียกประชุมผู้ถือหุ้น Vote ให้เลิกกิจการแล้วเอาสินทรัพย์มาขายทอดตลาดแล้วเอาเงินมาจ่ายให้เจ้าหนี้แล้วที่เหลือมาแบ่งกัน ซึ่งก็ยังกำไร เนื่องจากราคาหุ้น ใน Liquidation Concept สูงกว่าราคาตลาดที่พวกเขาซื้อมา ผลก็คือ ผู้บริหารจะตกงาน ทั้งนี้เนื่องจากว่าผู้บริหารทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ปล่อยให้ราคาหุ้นตกต่ำลงไปจนต่ำกว่าราคาหุ้นใน Liquidation จนทำให้ถูก Take Over และล้มเลิกกิจการ ซึ่งถือว่าเป็นผลร้ายอันหนึ่งของผู้บริหาร หรือ Threat of being taken over
4. Competition in labor market
ตลาดว่าจ้างผู้บริหาร เป็นตลาดที่ค่อนข้างแข่งขันสูง ถ้าผู้บริหารคนใดบริหารงานไม่ดี ก็จะรู้กันทั่วไปจนไม่มีกิจการใดอยากจะจ้างผู้บริหารคนนี้มาทำงาน
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น