ความเสี่ยง(Risk) หรือ ความไม่แน่นอน (uncertainty) เกิดขึ้นได้เมื่อสภาพที่ไม่อาจรู้ได้แน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้น โอกาสที่ผลตอบแทนที่ได้รับจริง (Actual Return) ต่ำ กว่าผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดหวังไว้ (Expected Return) อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ
ผู้ลงทุนพยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งแต่ละบุคคลยอมรับความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชอบ ทัศนคติ แรงจูงใจของผู้ลงทุนนั้นว่ามากน้อยเพียงใดซึ่งในการเลือกลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดี หากผู้ลงทุนพิจารณาถึงความเสี่ยงจากการลงทุน โดยพิจารณาเฉพาะแล้ว จะทำให้เกิดความผิดพลาดจากการลงทุนได้ ปกติแล้วความเสี่ยงรวม (Total Risk) หาได้จากค่าความเบี่ยงเบนมาตราฐาน ซึ่งประเภทของความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์จำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk)
คือ การเปลี่ยนแปลงของผลตอบ แทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพ แวดล้อมภายนอกของธุรกิจ ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้และมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ในตลาดทั้งหมด ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วๆไปเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน สามารถแบ่งเป็น
1.1 ความเสี่ยงเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ (Market risk) คือ ความเสียงอันเกิดจากการสูญเสียในเงินลงทุน ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นและสินทรัพย์ต่างๆในตลาด เพราะราคาหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา โอกาสสุญเสียหรือ ขาดทุนเนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์มีมากความเสี่ยงทางการตลาด เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ไม่เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ ถึงแม้ว่าความสามารถในการทำกำไร (earning power) ของกิจการไม่เปลี่ยนแปลง แต่ราคาหลักทรัพย์ที่เปลี่ยน แปลงนั้นขึ้นอยู่กับ demand และ supply ของหลักทรัพย์ประเภทนั้นๆ ในตลาดซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของบริษัท สาเหตุเหล่านี้ ได้แก่ สงคราม การตายของผู้บริหารประเทศ ปีที่มีการเลือกตั้งผู้บริหารประเทศ นโยบายการเมือง การเก็งกำไร ที่เกิดขั้นในตลาดหุ้นและการเปลี่ยนแปลงในราคาหุ้นนี้จะเกิดจากการคาดคะเนของผู้ลงทุนที่มีต่อความก้าว หน้า (Prospect) ของบริษัทนั้น
1.2 ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest rate risk) คือความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในผลตอบแทน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยทั่วไปในตลาด อัตราดอกเบี้ยในตลาดระยะยาวจะมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลง ในอัตราดอกเบี้ยมีผลทำให้หลักทรัพย์ต่างๆ กระทบการะเทือนในลักษณะเดียวกัน เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดทั่วๆไปปรับตัวสูงขึ้น จะมีผลทำให้ราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ลดลง เพราะนักลงทุนจะทำการเปรียบเทียบผลตอบแทนและความเสี่ยงระหว่างการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถ้านักลงทุนเห็นว่าผลตอบแทนจากดอกเบี้ยสูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ก็จะขายหลักทรัพย์ที่ตนถือครองอยู่ออกมา มีผลทำให้ราคาหลักทรัพย์ลดต่ำลง
1.3 ความเสี่ยงในอำนาจซื้อหรือภาวะเงินเฟ้อ (Purchasing power risk or Inflation Risk) คือความเสี่ยงที่เกิดจากระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้มูลค่าของเงินลดลง จึงทำให้อำนาจการซื้อลดต่ำลงไปด้วย เพราะจำนวนเงินที่ได้รับเท่าเดิมแต่ค่าของเงินลดลง หรือที่เรียกว่าภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งนักลงทุนหรือสถาบันการเงินจะถูกกระทบกระเทือนเกี่ยวกับอำนาจซื้ออย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินฝากประเภทออมทรัพย์ (saving account) พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ การประกันชีวิต (Life insurance) และหลักทรัพย์ประเภทอื่นๆ ซึ่งได้รับดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ดังนั้นความเสี่ยงประเภทนี้ไม่ได้ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเปลี่ยนแปลง แต่มีผลทำให้ผลตอบแทนที่แท้จริงลดลง
ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ(Unsystematic Risk)
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเฉพาะกิจการหนึ่ง หรือ อุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้แล้วจะมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของธุรกิจนั้น ไม่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์อื่นในตลาดความเสี่ยงที่ถูกจัดอยู่ในความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ ได้แก่ ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) โดยประกอบด้วยความเสี่ยงต่างๆดังนี้
2.1 ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) หมายถึง โอกาสที่ผู้ลงทุนจะเสียรายได้และเงินลงทุน หากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ไม่มีเงินชำระหนี้อาจทำให้บริษัทถึงกับล้มละลาย
2.2 ความเสี่ยงทางการบริหาร (Management Risk) เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากการบริหารงานของผู้บริหาร เช่น ความผิดพลาดของผู้บริหาร และการธุรกิจของผู้บริหาร
2.3 ความเสี่ยงทางอุตสาหกรรม (Industry Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากแรงผลักดันบางอย่าง ที่ทำให้ผลตอบแทนของธุรกิจทุกแห่งในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันหรือบางอุตสาหกรรมถูกกระทบกระเทือน
ทฤษฎีปริมาณเงิน (The Modern Quantity theory of money)
ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นโดย Milton Friedman และนักเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชิคาโกโด้เผยแพร่ผลงานเพื่อสนับสนุนการมีเสถียรภาพของความต้องการถือเงินตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินที่มีต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่นี้ได้พิจารณาความต้องการถือเงินจากการที่มีความเห็นเกี่ยวกับเงินว่าเงินเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งในจำนวนสินทรัพย์อื่นๆ ที่มีมากมาย (portfolio of assets) ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการประยุกต์ทฤษฎีทุน(capital theory) เข้ากับการอธิบายพฤติกรรมความต้องการถือเงิน โดยถือว่าเงินมีลักษณะการถือสินค้าทุนในรูปแบบอื่นๆ Friedman ได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับความต้องการถือเงินของบุคคลมีอยู่ 4 ประการคือ ระดับรายได้ที่แท้จริง ระดับราคา ระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและการเพิ่มขึ้นของระดับราคาและอัตราเงินเฟ้อ
โดยปัจจัย 2 เป็นตัวแรกที่มีความสัมพัน์ในทิศทางตรงกับความต้องการถือเงินและปัจจัย 2 ตัวหลังมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่ง Friedman ว่าการเปลี่ยนแปลงของความต้องการถือเงินจะเป็นสัดส่วนเดียวกันกับระดับราคาและเป็นสัดส่วนที่มากกว่าระดับรายได้ที่แท้จริงโดยระดับราคาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการถือเงินดังนี้คือ ถ้าระดับราคาสินค้าสูงขึ้น มูลค่าของเงินที่แท้จริงจะลดลงและเพื่อที่จะรักษาระดับดุลยภาพของความต้องการถือเงินเอาไว้บุคคลต่างๆก็จะต้องเพิ่มจำนวนของปริมาณเงินที่ต้องการถือเอาไว้เพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะซื้อสินค้าได้ในปริมาณเท่าเดิม แต่ถ้าระดับราคาของสินค้าลดลง บุคลก็จะลดปริมาณเงินที่ถือเอาไว้ทั้งนี้เพราะมูลค่าที่แท้จริงของเงินได้เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง คือต้นทุนของการถือเงินที่เป็นมูลค่าแท้จริงเพิ่มสูงขึ้น
ความมั่งคั่งรวม (total wealth) เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะจำกัดขอบเขตของความสามารถที่จะมีความต้องการถือเงินและมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความต้องการถือเงินนักลงทุนกฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ได้พิจารณาถึงความมั่งคั่งรวมประกอบด้ยแหล่งที่มาของรายได้หรือบริการที่สามารถนำมาเพื่อการบริโถคได้ทุกประเภทแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญของบุคคลทั้งหลายก็คือความสามารถในการผลิต (productivity capacity) ของตนเองโดยที่บุคคลจะต้องใช้ความสามารถในตนเองทำการผลิตสิ่งต่างๆเพื่อให้ได้ผลตอบแทนออกมาในรูปของรายได้หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า human wealth ซึ่ง Friedman ได้ให้ความสำคัญโดยถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความมั่งคั่งที่สามารถดำรงได้ การพิจารณาความมั่งคั่งในลักษณะนี้รายได้จะเข้ามามีอิทธิพลต่อความต้องการถือเงิน โดยมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นตัวแทนของความั่งคั่งเท่านั้น รายได้ที่แท้จริงตามความหมายของ Friedman จะแตกต่างจากความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป คือใช้ในความหมายของรายได้ระยะยาวหรือรายได้ถาวร (permanent income) และรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว (transitory income)
Measure income = transitory income + permanent income
รายได้ถาวรนั้น หมายถึง รายได้ที่บุคคลคาดการณ์ว่าจะได้รับอย่างแน่นอนตลอดชั่วชีวิตของคนเรา (ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนของ human capital) หรือหมายความว่าเป็นรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น(expected income) และ Friedman ไม่เห็นด้วยกับการนำเอาข้อมูลรายได้ประชาชาติจากบัญชีรายได้ประชาชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละปี (actual income) มาเป็นข้อมูลที่ใช้วัดขนาดรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งนี้เพราะขนาดของรายได้ที่คาดกับที่เกิดขึ้นจริง อาจมีความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากมีรายได้ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่ไม่ด้คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Or Transitory Event) ซึ่งรายได้ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหวังนี้ไม่ควรเจ้ามามีผลกระทยต่อความต้องการถือเงิน ดังนั้นรายได้ที่มีผลกระทบต่อความต้องการถือเงินเป็นเพียงเฉพาะรายได้ถาวรหรือรายได้ที่คาดหวังเท่านั้น
Human Wealth / Non Human Wealth เนื่องจากความมั่งคั่งที่มีอยู่ในทุกรูปแบบยกเว้น Human Wealth สามารถที่จะมีตลาดสำหรับซื้อหรือขายได้ แต่ตลาดสำหรับการซื้อขาย Human Wealth นั้นไม่มีเพราะว่า Human Wealth ก็คือความสามารถของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงไปให้อยู่ในรูปของรายได้ในอนาคตและเป็นการทำให้ Human Wealth ที่ดำรงอยู่มีมูลค่าปัจจุบันที่สูงขึ้น ในเรื่องนี้ความสามารถของบุคคลที่มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลง Human Wealth ให้ไปอยู่ในรูปความมั่งคั่งประเภทอื่นซึ่งมนทางปฎิบัตแล้ว มูลค่าปัจจุบันของ Human Wealth ประเมินได้ยากกว่าความมั่งคั่งในรูปแบบอื่น Friedman จึงได้นำเอาสัดส่วนของ Human Wealth/ Non Human wealth มาเป็นตัวแปรอีกตัวหนึ่งในฟังก์ชั่นความต้องการถือเงินโดยถ้าสัดส่วนดังกล่าวมีอยู่ในความมั่งคั่งรวมมากขึ้น จะทำให้ความต้องการถือเงินลดลง
อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับจากการถือพันธบัตร (ib) ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินแน่นอนในระยะเวลาที่กำหนด แต่ในขณะที่ถือพันธบัตรนั้นราคาซื้อขายของพันธบัตรในท้องตลาดจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกลไกของตลาดอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินจากการถือพันธบัตรจึงประกอบไปด้วยสองส่วน คือ รายได้จากดอกเบี้ย ซึ่งจะมีจำนวนคงที่และอีกส่วนมาจากกำไรหรือขาดทุนจากการขายพันธบัตร (Capital Gain Or Capital loss) ที่จะเกิดขึ้น ราคาของพันธบัตรจะแปรผันไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยก็สามารถที่จะถูกนำมาใช้วัดถึงของ Capital Gain หรือ Capital Lossที่จะเกิดขึ้นจากการถือพันธบัตรนั้นด้วยและการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่คาดคะเนจะถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจลงทุนของบุคคลด้วย
อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับจากการถือเงิน (im) การถือเงินจะให้ผลตอบแทนในรูปที่เป็นตัวเงินหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบหรือชนิดของเงินที่ถือว่าอยู่ในรูปแบบใดถ้าถือในรูปเงินสดก็จะไม่มีผลตอบแทนในรูปที่เป็นตัวเงินแก่ผู้ถือ ในขณะที่เงินฝากประจำให้ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินแก่ผู้ถือและให้ทางตรงกันข้ามการถือเงินฝากระแสรายวันที่ผู้ถือต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคาร (Bank Charges) ตามที่กำหนด ซึ่งมีลักษณะของผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินมีค่าเป็นลบ (Negative return)
อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือหุ้น (ie) การถือหุ้น (Equity) ก็ให้อัตราผลตอบแทนในลักษณะเดียวกันกับความมั่นคั่งในรูปของพันธบัตร คือ ผลตอบแทนในรูปของตัวเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกมาจากเงินปันผลซึ่งได้รับมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกำไรที่เกิดขึ้นของกิจการที่เป็นผู้ออกหุ้น ส่วนที่ 2 เกิดจาการเปลี่ยนแปลงของ capital Value ของหุ้นในระยะเวลาที่ถือหุ้นนั้นอยู่
อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อ อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไป จะมีผลทำให้มูลค่าของปริมาณเงินที่บุคคลถืออยู่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีทิศทางความสัมพันธ์กันในทางตรงกันข้ามถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปสูงขึ้น มูลค่าที่แท้จริงของปริมาณเงินจะลดลงแต่ถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปลดลงก็จะทำให้มูลค่าที่แท้จริงของปริมาณเงินเพิ่มขึ้นด้วย
รสนิยมและความพอใจ (u) เป็นตัวแปรที่แสดงอรรถประโยชน์ (utility) ที่บุคคลได้รับจากการบริการที่มาจากการถือเงินและบริการที่มาจากการถือสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ
การนำเอาทฤษฎีมาเป็นพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ในการศึกษานี้จะอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายทั้งทางตรงและทางอ้อม ตามแนว ความคิดของทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ดังนี้
1. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินต่อราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขาย โดยที่ถ้าปริมาณเงินสูงขึ้นจะมีผลทำให้ปริมาณเงินที่แท้จริงที่บุคคลถืออยู่มีมากขึ้นเกินกว่าความต้องการถือเงินที่แท้จริงของบุคคลดังนั้นเพื่อรักษาดุลยภาพของปริมาณเงินที่แท้จริง บุคลต่างๆเหล่านี้ก็จะปรับตัวเพื่อให้ปริมาณเงินมีพอดีกับที่ต้องการถือ โดยนำปริมาณเงินส่วนเกินไปซื้อหลักทรัพย์ทำให้อุปสงค์ (Demand๗ในหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น มูลค่าการซื้อขายจะเพิ่มขึ้นและในทางตรงกันข้ามถ้าปริมาณเงินลดลงปริมาณเงินที่แท้จริงที่บุคคลถืออยู่จะลดลง บุคคลจะรักษาดุลยภาพปริมาณเงินไว้โดยการเปลี่ยนความมั่งคั่งในรูปหลักทรัพย์ให้มาอยู่ในรูปของเงินสดทำให้มูลค่าของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลง
2. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยนักเศรษฐศาสตร์การเงินมีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในทิศทางตรงข้าม โดยที่เมื่อปริมาณเงินลดลงจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นซึ่งหมายความว่า หากบุคคลถือทรัพย์ในรูปเงินโดยการฝากกับธนาคารแล้วก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ย แต่หากบุคคลถือสินทรัพย์ในรูปอื่นแทนเงินสดก็จะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสเท่ากับอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้น บุคคลทั่วไปจึงถือเงินสดในขณะดอกเบี้ยสูงขึ้น ความต้องการถือหลักทรัพย์ลดลงทำให้ราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายลดลงด้วย ถ้าหากปริมาณเงินเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยจะลดลง ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการถือเงินจะลดลง บุคคลจะเลือกถือสินทรัพย์ในรูปของหลักทรัพย์แทน ทำให้ความต้องการถือหลักทรัพย์สูงขึ้น มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์สูงขึ้น
การวัดค่าความเสี่ยง
การวัดค่าความเสี่ยง สามารถทำได้ในทางสถิติได้หลายวิธีแต่ที่นิยมและใช้กันแพร่ หลายในทฤษฎีการลงทุนได้แก่
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)
ลักษณะการกระจายตัวของอัตราผลตอบแทนที่อาจเป็นไปได้ โดยรวมระดับอัตราผลตอบแทนที่คาดค่าสถิตินี้จึงควรใช้เพื่อชี้ค่าของความเป็นไปได้ที่ผลตอบแทนที่เกิดจริงจากการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ใดๆ จะเบี่ยงเบน หรือ แปรผันไปจากผลตอบแทนที่คาดหวัง
1. ค่า standard deviation สูงหมายความว่าหลักทรัพย์นั้นหรือ portfolio นั้นมีความเสี่ยงสูง เพราะอัตราผลตอบแทนมีการกระจายตัวไกลจากอัตราที่คาดไปมากโอกาสที่จะเบี่ยงเบนไปจึงมีมากด้วย
2. ค่า standard deviation ต่ำหมายความว่า หลักทรัพย์นั้น หรือ portfolio นั้นมีความเสี่ยงต่ำ
ค่าสัมประสิทธิเบต้า (beta coefficient)
เป็นเครื่องชี้หรือค่าวัดความเสี่ยงที่เป็นระบบ ทั้งนี้ความเสี่ยงของหลักทรัพย์ประกอบด้วยความเสี่ยงที่เป็นระบบไม่สามารถขจัดได้จากการกระจายการลงทุน กับความเสี่ยงที่เป็นเฉพาะตัวที่ขจัดได้ในตลาดความเสี่ยงที่เป็นระบบนี้เท่านั้นที่สำคัญ
1. ถ้าค่า beta coefficient มีค่าสูงกว่า 1 หมายความว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์นั้นมีความเสี่ยงที่เป็นระบบสูงกว่าระดับความเสี่ยงของตลาดที่เป็นระดับอ้างอิง
2. ถ้าค่า beta coefficient ต่ำกว่า1 หมายความว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์นั้นมีความเสี่ยงต่ำกว่า
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น