ตลาดอนุพันธ์ จัดการความเสี่ยง เสริมสร้างมั่นคง พัฒนาตลาดทุนการทำธุรกรรมในตลาดอนุพันธ์ มีวัตถุประสงค์ทั้งที่เพื่อการลงทุน การจัดการเงินลงทุน และการควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ ตลาดอนุพันธ์มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงินและระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากอนุพันธ์สามารถ นำมาใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนหรือผู้ประกอบการต้องเผชิญได้อย่างมีประสิทธิภาพ อนุพันธ์สามารถอ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาของสินค้าหรือสินทรัพย์ทางการเงินต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย ราคาพันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน ราคาทองคำ ราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น ด้วยความหลากหลายของสินทรัพย์อ้างอิงนี้ ทำให้อนุพันธ์สามารถใช้จัดการกับปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ได้อย่างคล่องตัว เช่น ในภาคการผลิต ผู้ผลิตสามารถใช้อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้าต่าง ๆ ในการควบคุมราคาต้นทุนสินค้าทั้งทางด้านต้นทุนราคาวัตถุดิบและต้นทุนด้านการผลิต สามารถใช้ควบคุมราคาจัดจำหน่ายสินค้ารวมถึงสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ภายนอก เช่น ควบคุมราคาอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
ในภาคการเงินก็เช่นกัน ผู้ลงทุนหรือผู้ที่ประกอบธุรกิจในตลาดทุนที่ต้องเผชิญความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์ การใช้อนุพันธ์ทางการเงินนี้ ช่วยให้ผู้ลงทุน และผู้ที่ประกอบธุรกิจในตลาดทุน สามารถบริหารความเสี่ยงดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของตลาดอนุพันธ์อีกประการหนึ่ง คือ เป็นเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการลงทุน อนุพันธ์ทางการเงินนั้น สามารถนำมาซื้อขาย เพื่อทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคา หรือทำกำไรจากทิศทางการขึ้นลงของตัวแปรทางการเงินต่าง ๆ ได้ ไม่วาจะเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยน ยิ่งไปกว่านั้น อนุพันธ์ยังมีจุดเด่นที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือประกอบกลยุทธ์จัดการการลงทุนในแบบที่หลากหลายและคล่องตัว ช่วยให้การบริหารจัดการการลงทุนบรรลุวัตถุประสงค์ดังที่วางไว้
พันธกิจของตลาดอนุพันธ์
บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ เป็นหน่วยงานที่อาสาเข้ามาเป็นผู้บุกเบิกตลาดอนุพันธ์ทางการเงินในประเทศไทย เพื่อเป็นจักรกลในการพัฒนาความก้าวหน้าของตลาดทุนไทยให้เติบโตไปอย่างต่อเนื่อง โดย บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ กำหนดพันธกิจของของการดำเนินธุรกิจโดยมุ่งสู่การเป็นตลาดอนุพันธ์ชั้นนำในอาเซียน
วิสัยทัศน์ของตลาดอนุพันธ์
ตลาดอนุพันธ์มุ่งมั่นพัฒนาสู่การเป็นตลาดอนุพันธ์ที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลายและมีสภาพคล่องภายใต้ระบบบริหารจัดการที่มีมาตรฐานสากล
กลยุทธ์และภารกิจสู่เป้าหมาย
เพื่อบรรลุพันธกิจของตลาดอนุพันธ์ บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ จึงได้กำหนดกลยุทธ์และภารกิจในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. สินค้า (product)
บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ วางกลยุทธ์โดยการจัดให้มีสินค้าหรืออนุพันธ์ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้ลงทุน ให้ประเภทและชนิดของอนุพันธ์ที่มีความหลากหลาย ที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในการบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตลาดอนุพันธ์เปิดดำเนินงานโดยจัดให้มีซื้อขายฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ SET50 (SET50 Index Futures) เป็นสินค้าลำดับแรกในวันที่ 28 เมษายน 2549 ออปชั่นที่อ้างอิงกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ SET50 (SET50 Index Options) ในวันที่ 29 ตุลาคม 2550 Stock Futures ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 และ Gold Futures ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 สำหรับสินค้าในลำดับต่อไปจะเป็นออปชั่นที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ และฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้เนื่องจากตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มีมูลค่าการซื้อขายในระดับสูง และมีผู้ลงทุนที่เกี่ยวข้องกับตลาดทั้งสองเป็นจำนวนมาก แต่ตลาดยังขาดเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
2. ความหลากหลายของผู้ลงทุน (diversity of participants)
ความหลากหลายของประเภทและปริมาณของผู้ลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญของตลาดอนุพันธ์ในการเสริมสร้างสภาพคล่องและสนันสนุนให้ราคาซื้อขายมีประสิทธิภาพ บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ ได้ดำเนินมาตรการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนทั่วไป รวมทั้งการร่วมมือศึกษาและลดอุปสรรคและเงื่อนไขของกฎเกณฑ์การลงทุนของผู้ลงทุนสถาบันประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้ลงทุน รวมทั้งการเงื่อนไขการลงทุนของผู้ลงทุนต่างประเทศ
3. สภาพคล่อง (Liquidity)
บมจ. ตลาดอนุพันธ์ ตระหนักถึงความสำคัญของการมีสภาพคล่องการซื้อขายโดยได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องในการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ โดยสนับสนุนให้มีผู้ดูแลสภาพคล่อง(market maker) จากสมาชิกของตลาดอนุพันธ์และผู้ลงทุนสถาบันที่มีศักยภาพ เพื่อทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ให้มีสภาพคล่องอยู่เสมอ ทำให้ผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศมั่นใจว่าจะสามารซื้อและขายอนุพันธ์ได้ตามต้องการ
4. การเผยแพร่ความรู้และการประชาสัมพันธ์ (education and public relations)
การเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอนุพันธ์เป็นมาตรการสำคัญที่ดำเนินการอย่าง โดย บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ทางการตลาดและประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อให้เข้าถึงผู้ลงทุนกลุ่มเป้าหมายทั้งที่เป็นสถาบันและผู้ลงทุนทั่วไปรวมถึงการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับอนุพันธ์ผ่านทางกิจกรรม สัมมนา และการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น