MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

การเงิน

Market Capitalization หมายถึง มูลค่ารวมของหุ้นที่มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด (ผลรวมของมูลค่าหุ้นของทุกบริษัทในตลาด ซึ่งคำนวณมาจากราคาปิดของหุ้นแต่ละตัว คูณกับจำนวนหุ้นของแต่ละบริษัทในตลาด) หุ้นกู้ (Corporate Debenture) หมายถึง ตราสารทางการเงินที่บริษัทจำกัดออก เพื่อกู้เงินระยะยาวเกินกว่า 1 ปี โดยผู้ซื้อหุ้นกู้จะได้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนดหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (Subordinated Debenture) หมายถึง หุ้นกู้ที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ได้รับการชำระหนี้คืนเป็นอันดับสองรองจากหุ้นกู้หุ้นสามัญ (Common Stock) หมายถึง ตราสารที่แสดงว่าผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของกิจการดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account) หมายถึง ผลรวมสุทธิของบัญชีการค้าสินค้า บัญชีการค้าภาคบริการ บัญชีรายได้ และบัญชีเงินดุลการชำระเงิน หมายถึง ผลสรุปของการทำธุรกรรม (economic transactions) ระหว่างผู้มีถิ่นฐาน (residents)...

บทบาทของตลาดอนุพันธ์ต่อตลาดทุน

ตลาดอนุพันธ์ จัดการความเสี่ยง เสริมสร้างมั่นคง พัฒนาตลาดทุนการทำธุรกรรมในตลาดอนุพันธ์ มีวัตถุประสงค์ทั้งที่เพื่อการลงทุน การจัดการเงินลงทุน และการควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ ตลาดอนุพันธ์มีบทบาทสำคัญในการสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงินและระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากอนุพันธ์สามารถ นำมาใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนหรือผู้ประกอบการต้องเผชิญได้อย่างมีประสิทธิภาพ อนุพันธ์สามารถอ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาของสินค้าหรือสินทรัพย์ทางการเงินต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย ราคาพันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน ราคาทองคำ ราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น ด้วยความหลากหลายของสินทรัพย์อ้างอิงนี้ ทำให้อนุพันธ์สามารถใช้จัดการกับปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ได้อย่างคล่องตัว เช่น ในภาคการผลิต ผู้ผลิตสามารถใช้อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้าต่าง ๆ ในการควบคุมราคาต้นทุนสินค้าทั้งทางด้านต้นทุนราคาวัตถุดิบและต้นทุนด้านการผลิต...

ตลาดอนุพันธ์

ธุรกรรมอนุพันธ์ในประเทศไทยได้มีการดำเนินการมาเป็นระยะเวลานานแล้ว โดยเป็นไปในลักษณะของการตกลงระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง ซึ่งมักเป็นการตกลงของธนาคารพาณิชย์กับผู้ประกอบการที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน จากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย ธุรกรรมเหล่านี้จึงมักจำกัดอยู่ภายในกลุ่มของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแลกิจกรรม ที่ธนาคารพาณิชย์ในการเสนอบริการด้านอนุพันธ์ ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ผ่านการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและมีผลบังคับใช้แล้ว ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักของตลาดทุนไทย ได้จัดตั้งบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ Thailand Futures Exchange--TFEX ขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 โดยมีเงินทุนประกอบการเริ่มต้นที่ 100 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเป็นศูนย์กลางการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรืออนุพันธ์ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว...

การวางแผนทางการเงิน

การวางแผนทางการเงินจำเป็นสำหรับการดำเนินงานด้านธุรกิจ ผู้จัดการทางการเงินมักวางแผนล่วงหน้าสำหรับด้านต่าง ๆ เช่น การซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อลดต้นทุนการผลิต หรือเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต การส่งเสริมการจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มการขาย การเพิ่มบุคลากรของแผนกต่าง ๆ เพื่อการขยายงาน เป็นต้น การพยากรณ์เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการวางแผน ฝ่ายบริหารจะใช้การพยากรณ์เป็นตัวช่วยชี้ให้เห็นว่าแผนสำหรับอนาคตนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจหรือไม่ หรืออาจใช้การพยากรณ์เพื่อคาดคะเนปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นและจะเป็นหนทางเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วย ฝ่ายบริหารควรเขียนแผนงานที่จะปฏิบัติการในอนาคตไว้ในงบประมาณทางการเงิน เพราะงบประมาณเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้บริหาร เมื่อพูดถึงงบประมาณแล้วควรทราบว่างบประมาณคืออะไร งบประมาณเป็นแผนงานที่แสดงออกมาในรูปของตัวเงิน ซึ่งได้ผ่านการคิดพิจารณาและตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งในอนาคต...

การเคลื่อนย้ายเงินทุน

การที่ระบบการเงินจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น ต้องมีสถาบันต่าง ๆ มาอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยสถาบันเหล่านั้นคือกลไกที่อยู่ภายใต้ ระบบการเงิน (financial system) ที่เป็นกลไกสำคัญของการเคลื่อนย้ายเงินทุนรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งทุกหน่วยในตลาดการเงินจะทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ (ศุภชัย ศรีสุชาติ, 2547, หน้า 4) โดยสามารถสรุปได้ ดังแสดงในภาพ 1 จากภาพ 1 โครงสร้างของรูปแบบการเคลื่อนย้ายเงินทุน แสดงให้เห็นทางเลือกในการระดมเงินทุนของภาคเอกชนใน 3 ช่องทาง โดยแต่ละช่องทางจะมีความแตกต่างในเรื่องลักษณะการไหลของเงินทุนจากเจ้าของเงินทุนมาสู่ผู้ต้องการเงินทุน และกระบวนการ เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการที่ตรงกันจากทั้งสองฝ่าย อันจะทำให้การไหลของเงินทุนเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งนี้ อาจพิจารณาจากภาพได้ว่า ช่องทางที่ (1) และช่องทางที่ (3) เป็นลักษณะของการจัดหาเงินทุนทางตรง ในขณะที่ช่องทางที่ (2) เป็นการจัดหาเงินทุนในทางอ้อม...

Pages 371234 »

Popular Posts