หลักการของ Wicksell ในเรื่องการบริหารงานคลังของรัฐเป็นอย่างไร อธิบาย ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ทำได้หรือไม่ในกรณีของประเทศไทย เพราะเหตุใด จะแก้ไขได้อย่างไร
Knut Wicksell ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสำนึกคิดทางเลือกสาธารณะที่มีต่อการบริหารงานคลังและการงบประมาณภาครัฐที่เสนอให้รัฐมุ่งคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนจะได้รับจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากกว่าเพื่อประโยชน์ของรัฐเอง ทั้งนี้ Wicksell มองว่า ปัจเจกบุคคลเป็นผู้ที่มีเหตุผล เขาควรเป็นผู้กำหนดว่ารัฐบาลควรทำหน้าที่อะไรภายใต้จำนวนเงินที่ปัจเจกบุคคลเหล่านั้นยินดีที่จะเสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมเหล่านั้นได้ และรัฐไม่ควรจะดำเนินการใดๆ ที่พลเมืองส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน หรือไม่ยินดีจ่ายภาษีสนับสนุนรัฐบาลเพื่อการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ดังนั้น เมื่อตั้งต้นด้วยแนวคิดที่ว่าพลเมืองเป็นผู้ที่มีความสำคัญสูงสุดในระบบการเมืองการปกครองในยุคปัจจุบัน ระบบงบประมาณภาครัฐในแนวใหม่จึงควรมุ่งต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนเหล่านั้น โดยการพัฒนากลไกการจัดสรรงบประมาณที่สามารถนำไปสู่การดำเนินงานของภาครัฐที่สอดคล้องกับความต้องการของพลเมือง มีกลไกการดำเนินงานที่สามารถนำไปสู่การผลิตหรือการส่งมอบบริการที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีระบบข้อมูลรายงานผลการผลิตและต้นทุนการดำเนินงานที่ถูกต้อง นอกจากนี้ แนวคิดดังกล่าวยังนำไปสู่การออกแบบระบบและวิธีการบริหารจัดการแบบใหม่เพื่อเป็นหลักประกันว่าผลประโยชน์ของพลเมืองจะได้รับการคุ้มครอง เช่น การใช้การบริหารภายใต้สัญญา (Contractual management) การแยกหน่วยงานกำหนดนโยบายออกจากหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ การบริหารงานภายใต้ระบบกิจกรรม (Activity-based management) ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้งบประมาณภาครัฐเป็นเรื่องของพลเมืองนั่นเอง
Wicksell เป็นนักคิดชาวอิตาลีมีหลักการเกี่ยวกับหน้าที่และรายจ่ายของรัฐว่าจะต้องมากจากการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิดในสังคม ซึ่งเป็นความต้องการและเจตจำนงร่วมกันของสังคม โดยมีการโหวต 2 ครั้ง ซึ่งในครั้งแรกเป็นการเลือกตัวแทนในสังคม โดยมุ่งหวังว่าจะได้คนดีเข้าไปเป็นผู้แทนของตน และในครั้งที่สองเป็นการโหวตว่าสังคมต้องการอะไร โดยยินดีจ่ายเพื่อกิจกรรมนั้น ๆ มุ่งคํานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของสังคมมากกว่าของรัฐเอง รัฐบาลควรทำหน้าที่ภายใต้จํานวนเงินที่สังคมยินดีที่จะเสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อให้สามารถดําเนินกิจกรรมเหล่านั้นได้ และรัฐไม่ควรจะดําเนินการใดๆ ที่พลเมืองส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน หรือไม่ยินดีจ่ายภาษีสนับสนุนรัฐบาลเพื่อการดําเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ข้าพเจ้าเห็นด้วยตามหลักการดังกล่าว เนื่องจากเป็นแสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตยในสังคมนั้น ๆ อีกทั้งเป็นการเลือกคนดีให้ทำหน้าที่แทนคนในสังคม
แต่ในกรณีของประเทศไทยข้าพเจ้าคิดว่ายังไม่สามารถนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้อย่างเต็มรูปแบบได้ เนื่องจากหลักการดังกล่าวไม่เหมาะกับชุมชนขนาดใหญ่ ที่ประชากรที่มีความหลากหลายทั้งสถานะ ความเป็นอยู่ เชื้อชาติ ศาสนา และลักษณะของภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
หลักการดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ กล่าวคือ จะต้องนำไปใช้ในสังคมที่เล็กกว่าระดับประเทศ หรือหากใช้หลักการดังกล่าวในระดับประเทศจะต้องแบ่งกิจกรรมให้เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น