MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

Financial Health Check

Financial Health Check (การตรวจสุขภาพทางการเงิน) คือกระบวนการสำรวจสถานะทางการเงินในปัจจุบันของท่าน เพื่อช่วยให้ท่านเตรียมความพร้อมในการบรรลุถึงความต้องการที่สำคัญในอนาคต และรับมือกับปัญหาเมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น Financial Health Check (การตรวจสุขภาพทางการเงิน) จะช่วยท่านค้นหาความต้องการที่แท้จริง และจัดลำดับความสำคัญตามความจำเป็น เพื่อเลือกแบบประกันที่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถ โดยจะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นหลัก ๆ โดยทั่วไป 4 ประการคือ 1. หลักประกันของครอบครัว (family income protection) 2. เงินออมเพื่อการศึกษา (education saving) 3. เงินออมเพื่อการเกษียณที่สดใส (retirement saving) 4. ค่าใช้จ่ายเพื่ออุบัติเหตุ และสุขภาพ (accident & health coverage) เพราะเราตระหนักดีว่า ทุกช่วงอายุ มีความสำคัญ และการวางแผนทางการเงินให้ สอดคล้องต่อความต้องการทุกระดับ...

วิธีการบริหารจัดการด้านการเงินเพื่อความคล่องตัว

วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการด้านการเงิน วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการด้านการเงินคือ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว (liquidity) และเพื่อประโยชน์ในด้านการทำกำไร (profitability) วิธีการบริหารจัดการด้านการเงินเพื่อความคล่องตัว ควรดำเนินการในด้านต่อไปนี้ 1. พยากรณ์การเคลื่อนไหวของเงินสด (forecasting cash flow) โดยมีการวางแผนทางการเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อให้มั่นใจว่ามีเงินสดเพียงพอสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และการลงทุน ซึ่งหากไม่พอเพียงจะได้หาแหล่งกู้ยืมเงินขาดมืออันจะก่อความเสียหายให้แก่องค์การหรือธุรกิจได้ 2. การจัดหาเงินทุน (raising funds) ฝ่ายบริหารเลือกแหล่งกู้ยืมเงินที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด และมีโอกาสที่จะได้รับเงินสดได้ทันตามความต้องการ 3. การบริหารเงินทุนหมุนเวียน (working capital management) เป็นการจัดสรรว่าเงินสดที่มีหรือเงินทุนที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในรอบระยะเวลาของการปฏิบัติงาน...

วิธีการวางแผนงานและการจัดทำงบประมาณทางการเงิน

วิธีการวางแผนงานและการจัดทำงบประมาณทางการเงิน สำหรับธุรกิจมี 2 ลักษณะคือ 1. Top-down management คือวิธีการวางแผนที่เริ่มจากคิดเป้าหมายรวมของธุรกิจในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผน แล้วจึงพิจารณาถึงกิจกรรมต่าง ๆ หรือกิจกรรมย่อยที่จะรวมกันเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ วิธีการนี้ ใช้มากในการวางแผนระยะยาว เช่น บริษัทหรือร้านค้าต้องการเพิ่มกำไรปีละ 20% ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องพิจารณาถึงรายได้ที่จะได้รับ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น แล้วนำเป้าหมายรายได้นั้นมากำหนดเป็นทุนและค่าใช้จ่ายอื่นที่ต้องใช้ทั้งหมด ผลของวิธีการนี้ก็คือ งบประมาณหรือแผนงานทั้งหมดของธุรกิจซึ่งจะสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจที่ได้กำหนดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น 2. Bottom-up management คือวิธีการวางแผนที่เริ่มต้นจากแต่ละแผนกหรือส่วนงานพยากรณ์แยกกันในการคาดคะเนประมาณส่วนประกอบของกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจ โดยคิดเป็นงบประมาณของแต่ละแผนก...

แหล่งเงินทุน

แหล่งเงินทุน แบ่งออกเป็น 2 แหล่ง 1. แหล่งเงินทุนระยะสั้น - เจ้าหนี้การค้า เกิดจากการที่องค์กรซื้อสินค้าแล้วยังไม่ได้ชำระเงินหรือชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้โดยเงินที่ยังไม่ได้ชำระหนี้เราสามารถนำมาหมุนเวียนใช้ได้ เช่น ถ้าชำระหนี้ภายใน 10 วัน จะได้ส่วนลด 1% - ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เช่น ภาษีค้างจ่าย ค่าเบี้ยประกันค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้รับบริการล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายเงินออกไป ดังนั้นค่าใช้จ่ายค้างจ่ายจึงเป็นเหล่งเงินทุนระยะสั้นที่ไม่เสียดอกเบี้ย - เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร เป็นแหล่งเงินทุนที่ต้องเสียภาษี จะต้องมีหลักทรัพย์หรือไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็ได้ เวลาที่พิจารณาแหล่งเงินทุนระยะสั้นจากธนาคารจะต้องพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายจริง การจัดสรรเงินทุนให้อยู่ในรูปของสินทรัพย์ถาวร เพื่อก่อให้เกิดกำไร...

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงิน

หน้าที่ของผู้จัดการทางการเงินที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินได้ (สร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น โดยการทำให้มูลค่าของธุรกิจสูงสุด โดยพิจารณาที่หุ้นสามัญที่สูงสุด) ผู้จัดการการเงินจะต้องทำ 3 หน้าที่ คือ 1. หน้าที่ในการจัดหาเงินทุน 1.1 แหล่งเงินทุน จะแบ่งออกเป็น 2 แหล่ง (ทางขวามือของงบดุล) - แหล่งเงินทุนระยะสั้น - แหล่งเงินทุนระยะยาว 1.2 ต้นทุนของเงินทุน ต้องเฉลี่ยและถ่วงน้ำหนักเพราะมาจากแห่งไม่เท่ากัน WACC ต้องรู้ต้นทุนของเงินทุนก่อน ว่าใช้จากหนี้สินเป็นเท่าไร จากส่วนผู้ถือหุ้นเป็นเท่าไร 1.3 โครงสร้างเงินทุน (capital structure) หมายถึงโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กร คือเรื่องการใช้หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น โครงสร้างทางการเงิน คือการใช้สัดส่วนของหนี้สินและใช้สัดส่วนของผู้ถือหุ้นที่เหมาะสมที่จะทำให้ต้นทุนของเงินทุน...

อัตราส่วนกำไร (profitability ratios)

อัตราส่วนกำไร (profitability ratios) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนในด้านต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไร 4.1 อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (gross profit) แสดงให้เห็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนการผลิต ถ้าอัตราส่วน gross profit เพิ่มมากขึ้น แสดงว่าผู้บริหารมีประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ ต้นทุนการผลิตคือ ต้นตุนที่เกิดจากของเสียระหว่างการผลิต เวลาการผลิต การซ่อมแซมเครื่องจักรและการบำรุงรักษา ซึ่งถ้าควบคุมต้นทุนการผลิตทั้ง 3 ตัวนี้ได้ จะทำให้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น 4.2 Net Profit เป็นประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและในการบริหาร เพื่อทำให้กำไรสุทธิเพิ่มมากขึ้น ถ้า Net Profit Margin สูง แสดงว่าผู้บริหารสามารถควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหารให้ต่ำลงได้...

อัตราส่วนหนี้สินแบ่งเป็น 2 ตัว คือ

3.1 หนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt ratio) ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินสูงแสดงว่า องค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินมากองค์กรจะระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ยาก หรือเจ้าหนี้อาจไม่พิจารณาให้เงินกู้กับองค์กร ดังนั้นองค์กรจะต้องระดมทุนด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการกู้ เช่น การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหรือการให้เช่า ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่ำ แสดงว่าองค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่ำ แต่ต้องพิจารณาว่าโครงสร้างเงินทุนขององค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งถ้าใช้หนี้สินน้อยอาจจะไม่มีความเหมาะสมก็ได้ ถ้าหนี้สินน้อยอยู่ต้นทุนทางการเงิน (WACC) จะสูงขึ้น ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทางการเงินด้วย อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินควรมีค่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะจะทำให้องค์กรระดมเงินทุนด้วยการกู้ได้ 3.2 ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย Time Interest...

Pages 371234 »

Popular Posts