ขั้นตอนการวิเคราะห์การลงทุน
การกำหนดโครงการการลงทุนต่าง ๆ ลำดับแรกจะต้องกำหนดโครงการลงทุนต่าง ๆขึ้นก่อน ซึ่งโครงการที่กำหนดจะต้องมีความเป็นไปได้ทางการเงินและอยู่ในวงเงินทุนที่กิจการมีอยู่
ประเมินค่าโครงการการลงทุน เป็นการนำโครงการลงทุนต่าง ๆ ที่กิจการจะทำการลงทุนมาประเมินค่าการลงทุนแต่ละโครงการหลังจากนั้นทำการเปรียบเทียบผลตอบแทนที่จะได้รับจากโครงการ
จัดทำงบประมาณการลงทุน งบประมาณการลงทุนจะแสดงเกี่ยวกับสินทรัพย์ที่ต้องการ จำนวนเงินลงทุน จำนวนเงินที่จะจ่ายชำระ และกำหนดเวลาชำระ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ทำให้กิจการสามารถเตรียมเงินสดเพียงพอสำหรับโครงการ
ดำเนินงานตามโครงการที่เลือก เมื่อเลือกแล้วจะนำโครงการไปปฏิบัติเพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหมายเอาไว้
การติดตามผลของโครงการ เมื่อนำโครงการลงทุนไปปฏิบัติแล้วฝ่ายบริหารต้องตรวจสอบการดำเนินงานตามโครงการที่นำไปปฏิบัติ เพราะการติดตามผลของโครงการลงทุนอยู่ตลอดเวลาจะช่วยให้สามารถแก้ไขปรับปรุงโครงการได้ทันเวลา
ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน
1 จำนวนเงินลงทุนสุทธิหรือกระแสเงินออก (Cash Outflow)
2. ผลตอบแทนของโครงการลงทุนหรือกระแสเงินเข้า (Cash Inflow)
3. เงินมีค่าตามเวลา
4. ค่าเสื่อมราคา
5. ภาษีเงินได้
6. มูลค่าซากของโครงการ
อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
จำนวนเงินลงทุนสุทธิ หรือกระแสเงินออก (Cash Outflow)
1. ค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยง2. ได้
3. การลง4. ทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร
5. เง6. ินสดรับจากการขายสินทรัพย์เก่า
ค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงได้
ตัวอย่าง
บริษัท วันวิสาข์ จำกัด ลงทุนซื้อรถบรรทุกคันใหม่ราคา 2,000,000 บาท มาใช้แทนรถบรรทุกคันเก่า แต่ถ้าหากใช้รถบรรทุกคันเก่าต่อไปจะต้องเสียค่ายกเครื่องเป็นเงิน 30,000 บาท ภาษีเงินได้ 30%
จากโจทย์ค่ายกเครื่องจำนวน 30,000 บาทเป็นค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้เพราะกิจการซื้อรถบรรทุกคันใหม่มาใช้แทนรถบรรทุกคันเก่าการที่ประหยัดรายจ่ายค่ายกเครื่องทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น และจะต้องเสียภาษีมากขึ้นการคำนวรเงินลงทุนจะเป็นดังนี้
ราคารถบรรทุกคันใหม่ 2,000,000 บาท
ประหยัดค่ายกเครื่องรถบรรทุกคันเก่า 30,000
หัก ภาษีที่จ่ายเพิ่ม 30 % 9,000 21,000 บาท
เพราะฉะนั้นจำนวนเงินทุนรถบรรทุกคันใหม่ 1,979,000 บาท
การลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์หมุนเวียน
ในการลงทุนในโครงการใหม่ กิจการอาจต้องเพิ่มเงินทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนเพื่อความคล่องตัวและเพื่อให้การดำเนินไปด้วยความราบรื่น
ตัวอย่าง
บริษัท ตะวัน จำกัด ลงทุนในโครงการใหม่อย่างหนึ่งใช้เงิน 2,00,000 บาท สำหรับซื้อเครื่องจักร กิจการต้องเพิ่มเพิ่มจำนนเงินสดในมือ 100,000 บาท ลูกหนี้ 50,000 บาท และสินค้าคงเหลือ 80,000 บาท เงินลงทุนในโครงการใหม่คำนวณได้ดังนี้
เงินลงทุนในโครงการใหม่ 2,000,000 บาท
บวก สินทรัพย์หมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น :
เงินสด 100,000
ลูกหนี้ 50,000
สินค้าคงเหลือ 80,000 230,000 บาท
เพราะฉะนั้นเงินลงทุนสุทธิ 2,230,000 บาท
เงินสดรับจากการขายสินทรัพย์เก่า
การตัดสินใจลงทุนอย่างหนึ่งอาจมีผลทำให้ต้องจำหน่ายสินทรัพย์บางประเภทออกไป
ตัวอย่าง บริษัท อรสุนัย จำกัด ซื้อเครื่องจักรใหม่ราคา 1,5000,000 บาท เพื่อนำมาแทนเครื่องจักรเก่าซึ่งมีราคาตามบัญชีเหลืออยู่ขณะนี้เท่ากับ 40,000 บาท เครื่องจักรเก่าขายได้เงินเท่ากับ 50,000 บาท ภาษี 30%
เครื่องจักรเก่ามีราคาตามบัญชีเหลืออยู่ 40,000 บาท แต่สามารถาขายได้ 50,000บาทแสดงว่ามีกำไรจากการขาย 10,000 บาท ซึ่งจะส่งผลให้กิจการเสียภาษีขึ้นสำหรับรายได้เพิ่มขึ้นสามารถคำนวรการลงทุนได้ดังนี้
ราคาเครื่องจักรใหม่ 1,500,000 บาท
เงินสดจากการขายเครื่องจักรเก่า 50,000
หัก ภาษีจ่ายเพิ่ม (10000 x 30%) 3,000 47,000 บาท
เงินลงทุนสุทธิในเครื่องจักรใหม่ 1,453,000 บาท
การคำนวณหาเงินลงทุนสุทธิหรือกระแสเงินออก
ตัวอย่าง
บริษัท ฐิติ จำกัด ลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่ราคา 1,000,000 บาท เสียค่าติดตั้ง 15,000 บาท ค่าขนส่ง 1,000 บาท และมีทุนทำการเพิ่ม 200,000 บาท โดยบริษัทขายเครื่องจักรเก่าออกไปในราคา 50,000 บาท
ราคาเครื่องจักรใหม่ 1,000,000 บาท
บวก ค่าติดตั้ง 15,000
ค่าขนส่ง 1,000 16,000 บาท
1,016,000 บาท
ทุนทำการ 20,000 บาท
รวมรายจ่าย 1,036,000 บาท
หัก ค่าขายเครื่องจักรเก่า 50,000 บาท
เพราะฉะนั้น เงินลงทุนสุทธิสุทธิ 986,000 บาท
ถ้าหากบริษัทซื้อเครื่องจักรใหม่ไม่ได้ขายเครื่องจักรเก่าออกไปแต่จะนำมาใช้เป็นเครื่องจักรอะไหล่ เงินลงทุนสุทธิคำนวณได้ดังนี้
ราคาเครื่องจักรใหม่ 1,000,000 บาท
บวก ค่าติดตั้ง 15,000
ค่าขนส่ง 1,000 16,000 บาท
1,016,000 บาท
ทุนทำการ 20,000 บาท
รวมรายจ่าย 1,036,000 บาท
บวก เครื่องจักรเก่าจำมาใช้กับโครงการ 50,000 บาท
เพราะฉะนั้น เงินลงทุนสุทธิ 986,000 บาท
ผลตอบแทนของโครงการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า
ตัวอย่างที่ 1 บริษัท อยุธยา จำกัด ลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่จากการซื้อเครื่องจักรใหม่ใช้จะทำรายได้เงินสดให้กับโครงการปีละ 1,000,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินสดปีละ 800,000 บาท ค่าเสื่อมราคาปีละ 50,000 บาท ภาษี 30%
รายได้เงินสด 1,000,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายเงินสด 800,000 บาท
กำไรก่อนค่าเสื่อมราคาและภาษี 200,000 บาท
หัก ค่าเสื่อมราคา 50,000 บาท
กำไรก่อนภาษีเงินได้ 150,000 บาท
ภาษี 30 % 45,000 บาท
กำไรสุทธิ 105,000 บาท
บวก ค่าเสื่อมราคา 50,000 บาท
เพราะฉะนั้น กำไรเงินสดปีละ 155,000 บาท
เงินมีค่าตามเวลา
ตาราง A-1 .ใช้ใในการปรับค่าของเงินที่ได้รับหรือจ่ายในอนาคตที่มีจำนวนแตกต่งกันในแต่ละปีโดยเงินจำนวนดังกล่าวจะรับหรือจ่าย ณ วันสิ้นปี
ตาราง A-2 ใช้ใในการปรับค่าของเงินที่ได้รับหรือจ่ายในอนาคตที่มีจำนวนแตกต่งกันในแต่ละปีโดยเงินจำนวนดังกล่าวจะรับหรือจ่าย ระหว่างปี
ตาราง B-1 ใช้ใในการปรับค่าของเงินที่ได้รับหรือจ่ายในอนาคตที่มีจำนวนแตกต่งกันในแต่ละปีโดยเงินจำนวนดังกล่าวจะรับหรือจ่าย ณ วันสิ้นปี
ตาราง B-2 ใช้ใในการปรับค่าของเงินที่ได้รับหรือจ่ายในอนาคตที่มีจำนวนแตกต่งกันในแต่ละปีโดยเงินจำนวนดังกล่าวจะรับหรือจ่าย ระหว่างปี
ตัวอย่างการปรับค่าของเงินในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน ณ วันที่ลงทุนหรือจุดศูนย์
บริษัท ทับทิม จำกัด มีโครงการลงทุนทั้งหมด 4 โครงการคือโครงการ Aโครงการ B โครงการ C และโครงการ D ซึ่งโครงการดังกล่าว จะมีผลตอบแทนจากการลงทุนที่ต่างกันดังนี้ (อัตราการตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
ปีที่ โครงการ A โครงการ B โครงการ C โครงการ D
(ณ วันสิ้นปี) (ระหว่างปี ) (ณ วันสิ้นปี) (ระหว่างปี )
1 5,000 5,000 10,000 10,000
2 5,000 5,000 3,000 3,000
3 5,000 5,000 4,000 4,000
4 5,000 5,000 5,000 5,000
5 5,000 5,000 3,000 3,000
คำนวณมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนจากการลงทุนของแต่ละโครงการ
โครงการ A ใช้ตาราง B-1 ช่อง 12 %
เงินรับแต่ละปีติดต่อกัน 5 ปี ณ วันสิ้นปี = 5,000 บาท
แฟคเตอร์จากตาราง B-1 ช่อง 12 % = 3,605 บาท
เพราะฉะนั้น มูลค่าปัจจุบัน = 18,025 บาท
โครงการ B ใช้ตาราง B–2 ช่อง 12 %
เงินรับแต่ละปีติดต่อกัน 5 ปี โดยรับระหว่างปี = 5,000 บาท
แฟคเตอร์จากตาราง B-2 ช่อง 12 % = 3,817 บาท
เพราะฉะนั้น มูลค่าปัจจุบัน = 19,085 บาท
โครงการ C ใช้ตาราง A-1 ช่อง 12 %
ปีที่ เงินรับ ณ วันสิ้นปี แฟคเตอร์ มูลค่าปัจจุบัน
1 10,000 (บาท)) .893 8,930 ( บาท)
2 3,000 .979 2,391
3 4,000 .712 2,848
4 5,000 .636 3,180
5 3,000 .567 1,701
เพราะฉะนั้น มูลค้าปัจจุบัน = 19,050 บาท
โครงการ D ใช้ตาราง A-2 ช่อง 12 %
ปีที่ เงินระหว่างปี แฟคเตอร์ มูลค่าปัจจุบัน
1 10,000 (บาท) .945 9,450 (บาท)
2 3,000 .845 2,535
3 4,000 .753 3,012
4 5,000 .673 3,365
5 3,000 .601 1,803
เพราะฉะนั้น มูลค่าปัจจุบัน = 20165 บาท
ค่าเสื่อมราคา
ค่าเสื่อมราคาจะเป็นราคาใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายเงินสดออกไป ผลของค้าเสื่อมราคาในการหักรายได้ก่อนภาษีทำให้กิจการประหยักภาษีหรือเสียภาษีน้อยลง ซึ่งเท่ากับจ่ายเงินสดค่าภาษีน้อยลงเพราะภาษีเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นตวเลข
ภาษีเงินได้
การดำเนินงานโดยทั่วไปแล้วค่าเสื่อมราคาจะเป็นค่าใช้จ่ายที่นำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวรภาษี ภาษีที่จ่ายจะลดลงด้วยรายการค่าเสื่อมราคา
มูลค่าซากของโครงการ
โครงการลงทุนต่าง ๆ ในตอนปลายอายุของโครงการมูลค่าซากของโครงการประกอบด้วยเงินที่ได้รับจากการขายเครื่องจักร และอุปกรณ์ (ราคาซาก)และการเปลี่ยนทุนทำการเป็นเงินสด
อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
อัตราผลตอบแทนที่กิจการต้องการจากการลงทุนจะต้องไม่น้อยกว่าค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของเงินทุน (cost of Capital ) ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายของเงินลงทุนจากแหล่งต่าง ๆ เหล่านี้คำนวรได้จากการถั่วเฉลี่ยน้ำหนัก (WACC) ต้นทุนจากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ
การวัดค่าของการลงทุน
การวัดค่าของการลงทุนมีวิธีวัดอยู่ 3 วิธีคือ
6.1 วิธีระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)
6.2 วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value Method)
6.3 วิธีอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return Method)
วิธีระยะเวลาคืนทุน
การวัดค่าการงทุนโดยวิธีระยะเวลาคืนทุนสามารถแบ่งได้ 2 กรณีดังนี้
กรณีผลตอบแทนเงินลงทุนหรือกระแสเงินเข้าสุทธิมีจำนวนเท่ากันทุกปี
กรณีผลตอบทนเงินลงทุนหรือกระแสเงินเข้าสุทธิมีจำนวนไม่เท่ากันทุกปี
กรณีผลตอบแทนเงินลงทุนหรือกระแสเงินเข้าสุทธิมีจำนวนเท่ากันทุกปี
ระยะเวลาคืนทุน เงินสดที่จ่ายสุทธิเมื่อเริ่มโครงการ
กระแสเงินเข้าสุทธิต่อปี
ตัวอย่าง กิจการแห่งหนึ่งมีข้อมูลการลงทุนดังนี้
เงินลงทุนครั้งแรก 500,000 บาท
กระแสเงินเข้าสุทธิต่อปี 50,000 บาท
ระยะเวลาคืนทุน 500,000 ปี
50,000
กรณีผลตอบแทนเงินลงทุนหรือกระแสเงินเข้าสุทธิมีจำนวนไม่เท่ากันทุกปี
ระยะเวลาคืนทุน จำนวนปีก่อนคืนทุน จำนวนเงินที่เหลือ
จำนวนกระแสเงินสดเข้าของปีถัดไป
ตัวอย่าง กิจการแห่งหนึ่งมีข้อมูลการลงทุนดังนี้
ปีที่ โครงการ ก (บาท) โครงการ ข (บาท)
เงินลงทุน (บาท ) 0 500,000 500,000
1 100,000 50,000
2 50,000 100,000
3 40,000 150,000
4 100,000 200,000
5 200,000 100,000
6 20,000 -
7 70,000 -
งวดเวลาได้คืนทุน 5.5 ปี 4 ปี
ลำดับความสำคัญ (2) (1)
วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ
มีขั้นตอนการคำนวณดังต่อไปนี้
คำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องลงทุนสุทธิที่ถือว่าเป็นกระแสเงินออก
ใช้อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเป็นหลักในการเปลี่ยนกระแสเงินออกให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน
คำนวณหาจำนวนกำไรเงินสดของแต่ละปีตลอดอายุของโครงการรวมทั้งราคาซากทุนทำการ ณ วันสิ้นสุดโครงการและถือว่าเป็นกระแสเงินเข้า
ใช้อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเป็นหลักในการเปลี่ยนกระแสเงินเข้าให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน
นำมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินออกไปหักมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินเข้าผลลัพธ์ที่ได้คือมูลค่าสุทธิ
ในกรณีที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 0 แสดงว่าการจ่ายลงทุนให้ผลตอบแทนตามอัตราที่ต้องการพอดี
ในกรณีที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิมากกว่า 0 แสดงว่าการจ่ายลงทุนให้ผลตอบแทนตามอัตราที่ต้องการพอดี
ในกรณีที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิต่ำกว่า 0 แสดงว่าการจ่ายลงทุนให้ผลตอบแทนตามอัตราที่ต้องการพอดี
ตัวอย่าง บริษัท กานดา จำกัด กำลังตัดสินใจที่จะลงทุนในโครงการใหม่ โดยมีข้อข้อมูลเสนอมาทั้ง
หมด 4 โครงต่อไปนี้ อัตราผลการตอบแทนต้องการ 18 %
จ่ายลงทุนบาท โครงการ A โครงการ B โครงการ C โครงการ D
30000 30000 30000 30000
กำไรเงินสด (บาท) เงินเข้าสิ้นปี เงินเข้าระหว่างปี เงินเข้าสิ้นปี เงินเข้าระหว่างปี
ปีที่
1 10,000 7,000 20,000
2 17,000 7,000 10,000
3 18,000 7,000 40,000
4 15,000 7,000 10,000
5 10000 7,000 10,000
6 7000 10000
7 7000 10000
8 7,000 1,0000
9 7,000 1,0000
10 7,000 1,0000
การคำนวณมูลค่าปัจจุบันของโครงการ
ตัวอย่าง
โครงการ A เนื่องจากเงินของโครงการนี้มีจำนวนเงินของกระแสเงินเข้าต่ากันในแต่ละปีเงินเข้า ณ วันสิ้นปี การหามูลค่าปัจจุบันต้องใช้ตาราง A-1
คำนวณเงินลงทุนสุทธิ หรือกระแสเงินออก
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุนหรือกระแสเงินเข้า
ปีที่ กระแสเงินเข้า (บาท) แฟคเตอร์ มูลค่าปัจจุบัน (บาท)
1 10,000 .847 8,470
2 17,000 .718 12,206
3 18000 .609 10,962
4 15,000 .516 7,740
5 10,000 .437 4,370
เพราะฉะนั้น กระแสเงินเข้า = 43,748
เปรียบเทียบกระแสเงินเข้าและกระแสเงินออก ณ จุดศูนย์
กระแสเงินเข้า = 43,748 บาท
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = 13,748 บาท
โครงการ B เนื่องจากกระแสเงินเข้าของโครงการนี้มีจำนวนเท่ากันและเข้า ณ วันสิ้นปี การหามูลค่าปัจจุบันต้องใช้ ตาราง B-1
คำนวณเงินลงทุนสุทธิ หรือกระแสเงินออก
กระแสเงินออก = 30000 บาท
คำนวรผลตอบแทนจากการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า
ปีที่ 1-10 เงินเข้ารายปี 70,000 บาท
แฟคเตอร์ B-1 18 % 4.494
มูลค่าปัจจุบันกระแสเงินเข้า 31,458 บาท
เปรียบเทียบกระแสเงินเข้าและกระแสเงินออก ณ จุดศูนย์
กระแสเงินเข้า = 31,458 บาท
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = 1,458 บาท
โครงการ C เนื่องจากกระแสเงินเข้าของโครงการนี้มีจำนวนแตกต่างกันในแต่ละปี และเงินเข้าระหว่างปี การหามูลค่าปัจจุบันต้องใช้ตาราง A-2
คำนวณเงินลงทุนสุทธิ หรือกระแสเงินออก
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า
ปีที่ กระแสเงินเข้า แฟคเตอร์ 18% มูลค่าปัจจุบัน
1 20,000 .922 18,440
2 10,000 .781 7,810
3 40,000 .662 26,480
กระแสเงินเข้า = 52,730
เปรียบเทียบกระแสเงินเข้าและกระแสเงินออก ณ จุดศูนย์
กระแสเงินเข้า = 52,730 บาท
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = 22,730 บาท
โครงการ D เนื่องจากกระแสเงินเข้าของโครงการนี้มีจำนวนเท่ากัน ตั้งแต่ปีที 4-10 และกระแสเงินเข้าระหว่างปี การหามูลค่าปัจจุบันสุทธิต้องใช้ตาราง B-2
1. คำนวณเงินลงทุนสุทธิ หรือกระแสเงินออก
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
2. คำนวณผลตอบแทนจากการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า
ปีที่ 4-10 เงินเข้ารายปี 10,000 บาท
แฟคเตอร์ B-2 18% 4.887 - 2.365 2.522
มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินเข้า 25,220
3. เปรียบเทียบกระแสเงินเข้าและกระแสเงินออก ณ จุดศูนย์
กระแสเงินเข้า = 25,220 บาท
กระแสเงินออก = 30,000 บาท
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = (4,780) บาท
สรุป จากการคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิทั้ง 4 โครงการ จะเห็นได้ว่าถ้ากิจการมีเงินทุนอย่างไม่จำกัด จะสามารถลงทุนในโครงการ A B และ C ได้ ส่วนโครงการ D นั้น ไม่สมควรลงทุน เพราะได้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับเงินทุนที่จ่ายไป แต่หากกิจการมีเงินทุนสำหรับลงทุนในโครงการเดียวเท่านั้น โครงการ B เหมาะสมที่จะลงทุนมากที่สุด เพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่ต้องการมากกว่าโครงการอื่น ๆ
วิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดลง (Discounted Rate of Return Method)
การวัดค่าของการลงทุนโดยวิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดเป็นวิธีการคำนวนอัตราส่วนลด หรืออัตราดอกเบี้ยที่นำไปใช้รับเงินสดที่ได้รับจากโครงการลงทุน (ผลตอบแทนจากการลงทุน หรือกระแสเงินเข้า) ให้มีค่าเป็นปัจจุบันเท่ากับกระแสเงินออก หรือเงินลงทุนสุทธิเพื่อจะได้นำเงินทั้ง 2 ประเภทเปรียบเทียบกันได้
วิธีอัตราผลตอบแทนซื้อลดเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะจะต้องทดลองผิดทดลองถูกไปเรี่อย ๆ จนพบอัตราส่วนลดที่ต้องการ อัตราส่วนลดที่คำนวณได้ถือเป็นอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนหรือบางครั้งใช้กับความหมายที่ว่า อัตราส่วนลดที่คำนวณได้ หมายถึง อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ลงทุนจะยอมจ่ายโดยไม่ขาดทุนหากเงินที่นำมาลงทุนนั้นเป็นเงินที่กู้ยืมมา และการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจ่ายคืนจากเงินสดที่ได้รับจากการลงทุน
การคำนวณหาอัตราผลตอบแทนซื้อลดลงแบ่งได้ 2 กรณีคือ
1. กรณีที่กระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปี
2. กรณีที่กระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี
ตัวอย่าง
บริษัท ซื่อตรง จำกัด กำลังพิจารณาการจ่ายลงทุนในโครงการ ซึ่งมีโครงการมาให้พิจารณา 2 โครงการดังนี้คือ
ปีที่ โครงการ A โครงการB
กระแสเงินออก (บาท) 0 100,000 200,000
กระแสเงินเข้า (บาท) 1 25,000 70,000
2 25,000 100,000
3 25,000 150,000
4 25,000
5 25,000
6 25,000
7 25,000
8 25,000
กรณีกระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปี
โครงการ A กระแสเงินเข้าเท่ากันทุกปีตลอดอายุโครงการ 8 ปี โดยสมมติว่าเงินเข้า ณ วันปลายปี
ตัวคูณส่วนลด เงินลงทุนสุทธิ
ผลตอบแทนเงินสดต่อปี
100,000
25,000
นำตัวคูณส่วนลด 4 ไปเปิดตารางค่าปัจจุบันสะสม (ตาราง B- 1) ณ ปีที่ 8 ตรวจดูอัตราส่วนที่มีตัวคุณส่วนลดเท่ากับ 4 หรือใกล้เคียง 4 มากที่สุด จากตาราง B ตัวคุณส่วนลด 4 จะอยู่ระหว่างอัตราส่วนลดที่ 18% กับ 20% = 4.078 กับ 3.837
เมื่อได้ตัวคูณส่วนลดแล้วจะนำไปหาค่าปัจจุบันของเงินสดที่ได้รับจากโครงการแล้วนำไปเปรียบเทียบกับเงินทุนสุทธิ หากมีผลต่างค่าปัจจุบันสุทธิจะต้องใช้วิธีถัวเฉลี่ยเพื่อให้ได้อัตราส่วนลดตามที่ต้องการดังนี้
โครงการ A
ตัวคูณส่วนลด ณ อัตรา ค่าปัจจุบัน ณ อัตรา
ปีที่ เงินสดรับ 18% 20% 18% 20%
1-8 25,000 4.078 3.837 101,950 95,925
หัก เงินลงทุน 100,000 100,000
ค่าปัจจุบัน 1,950 (4,075)
ค่าปัจจุบันต่างกัน (101,950 - 95,925) = 6,025 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 2%
ค่าปัจจุบันต่างกัน (101,950 - 100,000) = 1,950 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 2 x 1,950
6,025
= .65%
เพราะฉะนั้นอัตราผลตอบแทนซื้อลดโครงการ A = 18 + .65% = 18.65%
กรณีกระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี
โครงการ B กระแสเงินเข้าไม่เท่ากันในแต่ละปี ในขั้นแรกจะต้องคาดคะแนอัตราผลแทนจำนวนหนึ่งไปคูณกับรายได้เมื่อรวมแล้วให้ได้เท่ากับเงินลงทุน สมมติอัตราผลตอบแทน = 20% (ตาราง A-1 ) แล้วคำนวณค่าปัจจุบันของเงินเข้าดังนี้
ปีที่ กระแสเงินสด แฟคเตอร์ 20% มูลค่าปัจจุบัน
1 70,000 (บาท) .833 58,310 (บาท)
2 100,000 .694 69,400
3 150,000 .579 86,850 รวม 214,560 บาท
จะพบว่าได้มูลค่าปัจจุบันของเงินเข้าที่ทดลองในอัตรา 20% = 214,560 บาท สูงกว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินออกซึ่งเท่ากับ 200,000 บาท จึงต้องลองเพิ่มอัตราเป็น 22% 24% และ 25%แล้วคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินเข้าดูใหม่ จะพบว่ายอดรวมค่าปัจจุบันของผลตอบแทนที่ใกล้เคียง 200,000 บาท อยู่ที่อัตราผลตอบแทน 24% และ 25%
โครงการ B
ตัวคูณส่วนลด ณ อัตรา ค่าปัจจุบัน ณ อัตรา
ปีที่ เงินสดรับ (บาท) 24% 25% 24% 25%
1 70,000 .806 .800 56,420 56,000
2 100,000 .650 .640 65,000 64,000
3 150,000 .524 .512 78,600 76,800
รวมค่าปัจจุบัน 200,020 196,800
เงินลงทุนสุทธิ 200,000 200,000
ค่าปัจจุบัน 20 (3,200)
ถัวเฉลี่ยอัตราส่วนลดจะคำนวณได้ดังนี้
ค่าปัจจุบันต่างกัน (200,020 - 196,800) = 3,220 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 1%
ค่าปัจจุบันต่างกัน (200,020 - 200,000) = 20 บาท อัตราเปอร์เซ็นต์ต่างกัน = 1x20 = .0062%
3,220
เพราะฉะนั้น อัตราผลตอบแทนซื้อลดโครงการ B = 24.0062%
สรุป
จากการคำนวณพบว่าโครงการ B มีอัตราผลตอบแทนซื้อลด = 24.0062% สูงกว่าโครงการ A ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนซื้อลด = 18.65% หากบริษัทต้องเลือกลงทุนในโครงการใดโครงการหนึ่งนั้น การใช้อัตราผลตอบแทนซื้อลดยังไม่เป็นการวัดที่เพียงพอ เพราะโครงการทั้ง 2 จ่ายลงทุนด้วยจำนวนเงินไม่เท่ากัน และอายุของโครงการก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นควรจะใช้วิธีการวัดผลตอบแทนจากการลงทุนควรใช้ร่วมกับวิธีอื่น ๆ ด้วย เช่น วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นต้น
การซื้อของผู้บริโภค
-
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค หมายถึง
พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคขึ้นสุดท้ายที่ซื้อสินค้าและบริการไปเพื่อกินเองใช้เอง
หรือเพื่อกินหรือใช้ภายในครัวเรือน
ผู้บ...
4 ปีที่ผ่านมา
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น