MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อัตราส่วนหนี้สินแบ่งเป็น 2 ตัว

3.1 หนี้สินต่อทรัพย์สิน (debt ratio)ถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินสูงแสดงว่า องค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินมากองค์กรจะระดมทุนจากการก่อหนี้ได้ยาก หรือเจ้าหนี้อาจไม่พิจารณาให้เงินกู้กับองค์กร ดังนั้นองค์กรจะต้องระดมทุนด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการกู้ เช่น การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นหรือการให้เช่าถ้าอัตราส่วนหนี้สินต่ำ แสดงว่าองค์กรมีภาระผูกพันธ์ทางการเงินต่ำ จึงมีความเสี่ยงต่ำ แต่ต้องพิจารณาว่าโครงสร้างเงินทุนขององค์กรมีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งถ้าใช้หนี้สินน้อยอาจจะไม่มีความเหมาะสมก็ได้ ถ้าหนี้สินน้อยอยู่ต้นทุนทางการเงิน (WACC) จะสูงขึ้น ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทางการเงินด้วยอัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินควรมีค่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะจะทำให้องค์กรระดมเงินทุนด้วยการกู้ได้3.2 ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย Time Interest Earned--TIEเป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาว่า องค์กรมีกำไรเป็นกี่เท่าของดอกเบี้ยจ่าย...

องค์กรที่มีภาระผูกพันจากการดำเนินงาน operating leverage

องค์กรที่มีภาระผูกพันธ์จากการดำเนินงาน เช่นองค์กรที่ใช้สินทรัพย์ถาวรมาก ๆ องค์กรที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สูง ๆ จะเป็นองค์กรที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจ หน้าที่ของผู้จัดการการเงิน1. หาเงินทุนหรือระดมเงินทุน- เงินทุนระยะสั้น เช่น เจ้าหนี้ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร- เงินทุนระยะยาว เช่น หุ้นกู้ พันธบัตร2. ใช้เงินทุน สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ถาวร คือ ด้านซ้ายของงบดุล3. นโยบายเงินปันผล อัตราส่วนทางการเงิน (financial ratio)เครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่งที่ใช้วัดการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้ผู้บริหารเห็นปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาได้ การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินควรวิเคราะห์ในลักษณะ- เปรียบเทียบผลงานของตนเองในอดีต- เปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน- เปรียบเทียบกับคู่แข่ง (เบอร์ 1) อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม1. อัตราส่วนสภาพคล่อง (liquidity ratios) เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นขององค์กร...

ปัจจัยที่ทำให้มูลค่าของหุ้นสามัญในท้องตลาดสูงที่สุดมี 2 ปัจจัย

1. เงินปันผล เมื่อจ่ายเงินปันผลมากเท่าไรราคาของหุ้นสามัญก็จะสูงขึ้นเท่านั้น2. ความเสี่ยง คือโอกาสที่จะสูญเสียบางอย่าง ในทางการเงินจะพิจารณาความเสี่ยงได้จาก ความปลอดภัยของเงินลงทุนกับอัตราผลตอบแทน ถ้าความปลอดภัยของเงินลงทุนน้อย แสดงว่ามีความเสี่ยงสูงเมื่อมีความเสี่ยงสูง อัตราผลตอบแทนต้องสูง ตามหลักการของ Trade off (high risk high return) ในทางตรงกันข้าม ถ้าความปลอดภัยมาก ความเสี่ยงก็จะน้อย ผลตอบแทนก็จะน้อย Trade off มี 5 ปัจจัย1. ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจที่ต่างกันก็จะมีความเสี่ยงที่ต่างกันผลตอบแทนก็ต่างกัน2. ขนาดของธุรกิจ ธุรกิจประเภทเดียวกันแต่มีขนาดต่างกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก3. เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใช้ในองค์กร ธุรกิจที่ลงทุนในทรัพย์สินถาวรมากเท่ไร ก็มีความเสี่ยงมากเท่านั้น เช่น ธุรกิจสายการบิน4. การใช้ประโยชน์จากหนิ้สิน ถ้าใช้หนี้มาก ๆ จะมีความเสี่ยงสูง แต่จะทำให้มีเงินไปลงทุนในในสินทรัพมาก...

การตัดสินใจลงทุน

1. นโยบายการจัดหาเงินทุนหมุนเวียน ทั้ง 3 แนวคิด- แนวคิดขาดดุล- แนวคิดเกินดุล- แนวคิดสมดุล2. การจัดการสินค้าคงเหลือ : ตามแบบจำลองปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ- การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่ทำให้เกิดประหยัด- การกำหนดจุดสั่งซื้อ- การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือเผื่อขาด3. ความเสี่ยงและผลตอบแทน :- ความเสี่ยงและผลตอบแทนจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนที่ต้องการก็จะสูงตาม- ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่สามารถขจัดได้ และความเสี่ยงจากภาวะตลาด- ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์สามารถทำให้ลดลงได้โดยการลงทุนในหลักทรัพย์มากชนิดหรือเพิ่มขนาดของ portfolio- ความเสี่ยงจากภาวะตลาด เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและกระทบกับกับทุกกิจการโดยรวมอย่างเป็นระบบเช่นเกิดสงคราม ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งไม่สามารถขจัดได้ด้วยการกระจายการลงทุน4. การลงทุนในสินทรัพยไม่หมุนเวียน...

การจัดการการเงิน

 การตัดสินใจลงทุน : การจัดสรรเงินทุนเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด1.1 การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน : เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง : ต้องตัดสินใจในสินทรพัย์หมุนเวียนแต่ละประเภท ในระดับที่ก่อให้เกิดความสามารถในการทำกำไรให้แก่ธุรกิจสูงสุด โดยมีสภาพคล่องที่เหมาะสม1.2 การลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน : มักจะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์งบลงทุน จะต้องพิจารณา- ต้นทุนเงินทุน- ความเสี่ยงในการลงทุน- องค์ประกอบและคุณภาพของสินทรัพย์2. การตัดสินใจจัดหาเงินทุน : แบ่งแหล่งเงินทุนเป็น2.1 แหล่งเงินทุนจากเจ้าหนี้- หนี้สินระยะสั้นหรือหนี้สินหมุนเวียน : ตั๋วเงินจ่าย เจ้าหนี้การค้า- หนี้สินระยะยาว : การกู้เงินระยะยาว หุ้นกู้2.2 แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ : หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ข้อพิจารณาในการจัดหาเงินทุน...

Pages 371234 »

Popular Posts