MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งบประมาณแบบฐานศูนย์ (ZERO BASE) และงบประมาณแบบสะสม (Incremental Budget)

งบประมาณแบบฐานศูนย์ 
ในลักษณะกว้าง ๆ เป็นระบบงบประมาณที่จะพิจารณา
งบประมาณทุกปีอย่างละเอียดทุกรายการ โดยไม่คำ นึงถึงว่ารายการหรือแผนงานนั้นจะเป็นรายการ
หรือแผนงานเดิมหรือไม่ ถึงแม้รายการหรือแผนงานเดิมที่เคยถูกพิจารณาและได้รับงบประมาณ
ในงบประมาณปีที่แล้วก็จะถูกพิจารณาอีกครั้ง และอาจเป็นไปได้ว่า ในปีนี้อาจจะถูกตัดงบประมาณลง
ก็ได้ เช่น แผนงาน แผนงานหนึ่ง ปีที่แล้วได้รับงบประมาณรวม 1,000 ล้านบาท เพราะถูกจัดไว้ว่ามี
ความจำ เป็นและสำ คัญลำ ดับ 1 พอมาปีงบประมาณใหม่อาจจะได้รับงบประมาณ 500 ล้านบาท
ไม่ถึง 1,000 ล้านบาทเดิมก็ได้ ทั้งนี้เพราะเป็นแผนงานที่จำ เป็นและสำ คัญสำ หรับปีที่แล้ว แต่พอมาปีนี้
แผนงานนั้น ๆ อาจจะไม่จำ เป็นหรือสำ คัญเป็นอันดับที่ 1 ต่อไปก็ได้ ไม่จำ เป็นต้องได้รับงบประมาณ
เท่าเดิมต่อไปก็ได้ และในทางตรงกันข้ามแผนงานอีกแผนงานหนึ่งปีที่แล้วถูกจัดอันดับความสำ คัญไว้
ที่ 3 แต่พอมาปีนี้อาจจะจัดอันดับความสำ คัญเป็นที่ 1 และได้รับงบประมาณมากกว่าเดิมปีที่แล้ว
เพิ่มขึ้นอีกร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ได้

งบประมาณแบบสะสม (Incremental Budget)
การจัดทำ งบประมาณในแต่ละปีเป็นภาระหนัก เนื่องจากต้องใช้ข้อมูลมากในการพิจารณา
และต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายหน่วยงานด้วยกัน ดังนั้นต้องใช้เวลามากในการจัดทำ งบประมาณ
หากจะต้องจัดทำ งบประมาณใหม่ทั้งหมดทุกปีคงจะทำ ได้ยาก และคงมีข้อบกพร่องมากด้วย ดังนั้นเพื่อ
ให้ทันกับเวลาที่มีอยู่ และเพื่อให้งบประมาณได้พิจาณณาให้เสร็จทันและสามารถนำ งบประมาณมาใช้
จ่ายได้ จึงได้มีการพิจาณางบประมาณเฉพาะส่วนเงินงบประมาณที่เพิ่มใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพิจารภณา
จากปีที่แล้วนั้น แต่เงินงบประมาณในปีที่แล้วที่ได้เคยพิจารณาไปครั้งหนึ่งแล้ว จะไม่มีการพิจารณาอีก
ครั้ง เพียงแต่ยกยอดเงินมาตั้งเป็นงบประมาณใหม่ได้เลย เพราะถือว่าได้มีการพิจารณาไปแล้วครั้งหนึ่ง
คงไม่มีความจำ เป็นที่จะต้องไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง

งบประมาณที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน

1) เป็นศูนย์รวมของเงินงบประมาณทั้งหมด ปกติการใช้จ่ายเงินงบประมาณควรจะ
ใช้จ่ายและพิจารณาจากศูนย์ หรือแหล่งรวมเดียวกันทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อจะได้มีการพิจารณาเปรียบเทียบ
การใช้จ่ายในแต่ละรายการ หรือทุกโครงการว่ารายการใดมีความสำ คัญจำ เป็นมากน้อยกว่ากัน หากราย
การใดมีความสำ คัญและจำ เป็นมาก ก็ควรได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายมาก ทั้งนี้เพื่อความยุติ
ธรรมในการจัดสรรเงินงบประมาณทุกโครงการ ควรมีสิทธิเท่า ๆ กันในการเสนอเข้ารับการพิจารณาในการจัดสรรงบประมาณพร้อมกัน เพื่อจะได้มีการประสานงานและโครงการเข้าด้วยกัน ป้องกันมิให้
มีการทำ งานหรือโครงการซํ้าซ้อน อันจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ดังนั้นจึงไม่ควรแยกการ
พิจารณางบประมาณไว้ในหลาย ๆ จุด หรือหลายครั้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดการพิจารณาที่ต่างกันและไม่
ยุติธรรม
แต่อย่างไรก็ตาม ในบางโอกาสก็ยังมีความจำ เป็นที่จะต้องแยกตั้งเงินไว้ต่างหากเป็น
งบพิเศษ นอกเหนือจากงบประมาณ เช่น งบกลาง งบราชการลับ ซึ่งถ้ามีจำ นวนไม่มากเกินไปก็มักจะ
ไม่เป็นภัยทั้งยังช่วยให้เกิดความสะดวกบางอย่างด้วย แต่ถ้าการตั้งงบพิเศษมีมากเกินไปจะเกิดผลเสีย
ต่อการบริหารงบประมาณ เพราะจะทำ ให้เกิดการ คือ โอกาสแยกเงินมาใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นและยังทำ ให้
การบริหารงบประมาณเป็นไปแบบไม่มีแผนและเป้าหมายที่ชัดเจน
2) มีลักษณะของการพัฒนาเป็นหลัก งบประมาณที่ดีควรจะดำ เนินการจัดสรรโดยยึด
หลักการพัฒนาเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าเป็นหลัก ทั้งนี้เนื่องจากมีงบประมาณจำ กัด จึงควรมีการ
พิจารณาจัดสรรงบประมาณตามหลักการพัฒนาที่ดีว่าด้านไหนควรมาก่อนหลัง ตามสถานการณ์และ
ความจำ เป็น3) การกำ หนดเงินต้องสอดคล้องกับปัจจัยในการทำ งาน การจัดงบประมาณในแผน
งานต้องมีความเหมาะสมให้งานนั้น ๆ สามารถจัดทำ กิจกรรมได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรืออีกนัย
หนึ่ง คือ การกำ หนดเป้าหมายหรือผลที่จะได้รับต้องสอดคล้องกับงบประมาณและความเป็นไปได้
4) มีลักษณะที่สามารถตรวจสอบได้ หรือเป็นเครื่องมือที่จะใช้ตรวจสอบการบริหาร
งานของหน่วยงานได้ การจัดงบประมาณในแผนงานต่างควรมีรายละเอียดของกิจกรรมต่าง ๆ อย่างพอ
เพียงและเกิดผลเป็นรูปธรรม
5) มีระยะการดำ เนินงานที่เหมาะสม ตามปกติงบประมาณที่ดีควรมีระยะเวลาเหมาะ
สมตามสถานการณ์ ไม่สั้นไม่ยาวเกินไป โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลา ประมาณ 1 ปี การเริ่มต้นใช้งบ
ประมาณจะเริ่มในเดือนใด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน เช่น งบประมาณแผ่นดิน เริ่ม
เดือนตุลาคม ถึงเดือนกันยายน ของปีต่อไป งบประมาณเงินรายได้ของสถานศึกษาใช้ตามปีการศึกษา
เป็นต้น
6) มีลักษณะช่วยให้เกิดการประหยัด ในการทำ งบประมาณ ควรพยายามให้การใช้
จ่ายเงินตามโครงการต่าง ๆ ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยพยายามไม่ให้มีการใช้จ่ายเกินความจำ เป็น
ฟุม่ เฟือย หรือเป็นการใช้จ่ายที่สูญเปล่า ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่า7) มีลักษณะชัดเจน งบประมาณที่ดีควรมีความชัดเจน เข้าใจง่ายเน้นถึงความสำ คัญ
แต่ละโครงการได้ดี ไม่คลุมเครือ ง่ายต่อการพิจารณาวิเคราะห์ และเป็นประโยชน์ต่อผู้นำ ไปปฏิบัติด้วย8) มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ งบประมาณที่ดีจะต้องเป็นงบประมาณที่มีความ
ถูกต้องทั้งในรายละเอียดทั้งในด้านตัวเลขและรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หากงบประมาณมีข้อ
บกพร่องในด้านความถูกต้อง ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดพลาดหรือความไม่รอบคอบก็ตามอาจเกิดผล
เสียหายขึ้นได้ และต่อไปงบประมาณอาจไม่รับความเชื่อถือ
9) จะต้องเปิดเผยได้ งบประมาณที่ดีจะต้องมีลักษณะที่สามารถจะเปิดเผยแก่
สาธารณะ หรือผู้เกี่ยวข้องทราบได้ ไม่ถือเป็นความลับ เพราะการเปิดเผยเป็นการแสดงถึงความบริสุทธิ์
และโปร่งใสในการบริหารหน่วยงาน
10) มีความยืดหยุน่ งบประมาณที่ดีควรจะยืดหยุ่นได้ตามความจำ เป็น หากจัดวางงบ
ประมาณไว้อย่างเคร่งครัดจนขยับไม่ได้ อาจจะก่อให้เกิดความไม่คล่องตัวในการทำ งาน เพราะลักษณะ
ของการทำ งบประมาณเป็นการวางแผนการทำ งานในอนาคต ซึ่งอาจมีปัจจุบันอื่นมากระทบทำ ให้การ
บริหารงบประมาณผิดพลาด และอย่างไรก็ตาม ถ้ามีความยืดหยุ่นมากก็อาจเกิดปัญหาการใช้งบ
ประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ความสำ คัญและประโยชน์ของงบประมาณ

งบประมาณมีความสำ คัญและเป็นประโยชน์ต่อการบริหาร หน่วยงานสามารถนำ เอา
งบประมาณมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารหน่วยงานให้เจริญก้าวหน้า ความสำ คัญและประโยชน์
ของงบประมาณมีดังนี้
1) ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารหน่วยงาน ตามแผนงานและกำ ลังเงินที่มีอยู่โดยให้
มีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแผนงานที่วางไว้ เพื่อป้องกันการรั่วไหลและการปฏิบัติงานที่ไม่จำ
เป็นของหน่วยงานลดลง
2) ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาหน่วยงาน ถ้าหน่วยงานจัดงบประมาณการใช้จ่าย
อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จะสามารถพัฒนาให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่หน่วยงานและสังคม
โดยหน่วยงานต้องพยายามใช้จ่ายและจัดสรรงบประมาณให้เกิดประสิทธิผลไปสู่โครงการที่จำ เป็น
เป็นโครงการลงทุนเพื่อก่อให้เกิดความก้าวหน้าของหน่วยงาน
3) เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำ กัดให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจาก
ทรัพยากรหรืองบประมาณของหน่วยงานมีจำ กัด ดังนั้นจึงจำ เป็นที่จะต้องใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือ
ในการจัดสรรทรัพยากรหรือใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการวางแผนในการใช้และจัดสรรเงิน
งบประมาณไปในแต่ละด้าน และมีการวางแผนการปฏิบัติงานในการใช้จ่ายทรัพยากรนั้น ๆ ด้วย เพื่อที่
จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเวลาที่เร็วที่สุด และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
4) เป็นเครื่องมือกระจายทรัพยากร และเงินงบประมาณที่เป็นธรรม งบประมาณ
สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรงบประมาณที่เป็นธรรมไปสู่จุดที่มีความจำ เป็นและทั่วถึงที่จะทำ
ให้หน่วยงานนั้นสามารถดำ เนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5) เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ งานและผลงานของหน่วยงาน เนื่องจากงบประมาณ
เป็นที่รวมทั้งหมดของแผนงานและงานที่จะดำ เนินการในแต่ละปีพร้อมทั้งผลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้น
หน่วยงานสามารถใช้งบประมาณหรือเอกสารงบประมาณที่แสดงถึงงานต่าง ๆ ที่ทำ เพื่อเผยแพร่และ
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ

Popular Posts