MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อ่านเล่นนะคะ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB)


ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (ADB)

มีหลายกลุ่มที่ต่อต้าน ADB ทั้งในไทยและต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากลุ่มเหล่านี้ต่อต้าน ADB แต่แต่ละกลุ่มอาจมีความคิดเห็นที่ต่างกันเกี่ยวกับ ADB

กลุ่มหนึ่งเห็นว่าโครงการของ ADB นั้น บางโครงการไม่ได้คำนึงถึงความเสียหายด้านสังคมและสภาพแวดล้อมอย่างเพียงพอ เน้นเพียงแต่รายได้ที่เป็นตัวเงิน หรือให้ประโยชน์ต่อคนรวยเป็นส่วนมาก

บางกลุ่มในไทยคิดว่า นโยบายการให้เงินกู้ของ ADB เป็นรูปแบบหนึ่งของทุนต่างชาติที่คืบคลานเข้ามายึดเศรษฐกิจและทรัพยากรของไทย โดยมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การสร้างความมั่งคั่งและผลกำไรให้กับประเทศของตนเอง

รู้จัก เอดีบี

1. เอดีบี คือ ?
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ เอดีบี คือสถาบันทางการเงินที่มุ่งเน้นการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เอดีบีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เป็นคู่แข่งแม้กระทั่งธนาคารโลก และองค์กรการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ โดยเอดีบีมีพื้นที่เป้าหมายอยู่ที่ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ก่อตั้งเมื่อปี 1966 (พ.ศ. 2509) ตั้งแต่นั้นมาสถาบันทางการเงินแห่งนี้ก็ทำหน้าที่เป็นช่องทางสำคัญสำหรับอิทธิพลทางธุรกิจของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยธรรมเนียมแล้ว ตำแหน่งประธานของเอดีบี และผู้บริหารระดับสูงจะเป็นคนญี่ปุ่น เหมือนกับที่สหรัฐอมริกาครองตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในธนาคารโลก

2. เอดีบี ทำอะไร?
เอดีบีให้เงินกู้ ลงทุน และให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่รัฐบาล และบริษัทเอกชนต่าง ๆ ในประเทศสมาชิก สำหรับการเตรียมการและการดำเนินการโครงการพัฒนาต่าง ๆ จนเสร็จสิ้น และยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากการระดมเงินทุนจากทั้งภาคเอกชนและภาคสาธารณะเพื่อการพัฒนา

3. ใครเป็นผู้จ่ายเงินสำหรับการดำเนินงานของเอดีบี?
เอดีบีตั้งขึ้นมาด้วยเงินจากการบริจาค และเงินจากการเป็นสมาชิกของประเทศต่าง ๆ และจากการกู้ยืมจากตลาดเงินระหว่างประเทศด้วย

4. ใครบ้างที่เป็นประเทศสมาชิก?
เอดีบีมีสมาชิกผู้ถือหุ้นทั้งหมด 57 ประเทศ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดคือ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา คือประเทศละ 16 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเฃียและแปซิฟิคจำนวน 41 ประเทศ ถือหุ้นอยู่รวมกัน 47 เปอร์เซ็นต์ (ไม่รวมญี่ปุ่น) และสมาชิกอีก 16 ประเทศที่มาจากประเทศอุตสาหกรรมในยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ ถือหุ้นอยู่ 21 เปอร์เซ็นต์ (ไม่รวมสหรัฐอเมริกา) ผู้ถือหุ้นสิบอันดับต้น ๆ (เรียงตามลำดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไปเล็ก) คือ ญี่ปุ่นและอเมริกา จีน อินเดีย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา เกาหลี เยอรมัน และมาเลเซีย โดยเอดีบีมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

5. ใครเป็นผู้บริจาคทุนรายใหญ่ของเอดีบี?
ผู้บริจาครายใหญ่ คือ ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ออสเตรเลีย และแคนาดา

6. ใครเป็นผู้กู้รายใหญ่ของเอดีบี?
ในปี 2539 ผู้กู้รายใหญ่ (เรียงตามลำดับ) คือ จีน อินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน เวียดนาม ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เนปาล บังคลาเทศ และกัมพูชา

7. โครงสร้างการตัดสินใจของเอดีบีเป็นอย่างไร?
โดยทางปฏิบัติ ประเทศผู้บริจาครายใหญ่จะมีอำนาจในการตัดสินใจมากที่สุด ซึ่งก็คือ ญี่ปุ่น และอเมริกา รองลงมาคือ ออสเตรเลีย ที่ผ่านมาประธานของเอดีบีทั้ง 6 คนเป็นชาวญี่ปุ่น ผลก็คือ โครงการต่าง ๆ ที่เอดีบีให้กู้ก็จะเป็นโครงการที่ญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องผลประโยชน์ด้วยเสมอ

8. เอดีบีวางหลักการการดำเนินงานอย่างไร? เอดีบีระบุหลักการการดำเนินงานของตัวเองว่า
- เพื่อขยายเงินกู้ และสร้างความทัดเทียมในการลงทุนสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิก
- เพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคสำหรับการเตรียมการและการดำเนินการโครงการพัฒนาต่าง ๆ รวมทั้งบริการให้คำปรึกษาแนะนำด้วย
- เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการลงทุนของทั้งภาคเอกชนและภาคสาธารณะต่อโครงการการพัฒนาต่าง ๆ
- เพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องสำหรับการให้ความช่วยเหลือกับประเทศสมาชิกทางด้านการวางแผนหรือด้านการวางนโยบายการพัฒนาร่วมกัน

9. อะไรที่เอดีบีบอกว่าเป็นเป้าหมายในทางยุทธศาสตร์ของเอดีบี?
เอดีบีอธิบายบทบาทของตัวเองในภูมิภาคนี้ว่า "เพื่อที่จะเข้ามามีส่วนในระดับกว้าง ๆ ของกิจกรรมการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาคนี้" โดยเอดีบีมองว่าจะต้องสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค โดยวางเป้ายุทธศาสตร์ของธนาคารว่า "จะต้องสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดทอนความยากจน ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ยกระดับสถานะของผู้หญิง และปกป้องสิ่งแวดล้อม" อย่างไรก็ตาม เป้าหมายทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นถูกระบุไว้ปะปนกับเป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมันเด่นชัดว่านโยบายที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และลดทอนความยากจนนั้นยังคงเป็นเป้าหมายใจความใหญ่ หรือถือเป็นปรัชญาการดำเนินงานของธนาคาร

10. เอดีบีอนุมัติวงเงินเพื่อโครงการพัฒนาทางด้านใดบ้าง?
เมื่อเริ่มก่อตั้ง เอดีบีอนุมัติวงเงินมากกว่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อการให้กู้ยืมสำหรับ 1,300 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการเพื่อการพัฒนาโครงสร้างขนาดใหญ่ โดยมุ่งเป้าที่ด้านพลังงาน (โครงการท่อแก๊สยาดานา) การโทรคมนาคม การขนส่ง และการท่องเที่ยว (การสร้างสนามบินงูเห่า และการตัดถนนเชื่อม 6 ประเทศในภูมิภาคแม่น้ำโขง) และแบ่งสรรเพียง 2% (ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุด) ให้กับด้านการศึกษา ส่วนโครงการพัฒนาในภาคเกษตร เงินกู้ของเอดีบีจะพ่วงมากับเงินกู้อื่น ๆ ของญี่ปุ่น เช่น กองทุนเพื่อการพัฒนาโพ้นทะเล และธนาคารเพื่อการส่งออกของญี่ปุ่น เป็นต้น

11. บทบาทของเอดีบีในขณะนี้เป็นอย่างไร?
บทบาทแต่ก่อนธนาคารเป็นผู้ให้กู้เงินแก่ประเทศสมาชิกโดยตรง แต่ในปัจจุบัน ธนาคารได้เปลี่ยนบทบาทใหม่มาเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนา โดยใช้การลงทุนในโครงการต่าง ๆ มาโน้มน้าวภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมลงทุนและจัดการทางด้านการเงินร่วมกัน โดยเอดีบีจะเป็นผู้วางกรอบและผลักดันให้มีการปรับโครงสร้างของสถาบันต่าง ๆ โดยการแปรรูป และปรับกฎหมาย เพื่อปูทางให้ภาคเอกชนเข้ามา การดึงภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนเช่นนี้ เอดีบีอ้างว่าทำให้เงินทุนมหาศาลหลั่งไหลเข้ามาเสริมวิสัยทัศน์ทางด้านการพัฒนาของเอดีบีในภูมิภาคให้ขยายออกไปอย่างมากมาย

วิธีการกำหนดหรือเลือกเป้าประสงค์ขององค์กร

การคัดเลือกหรือกำหนดเป้าประสงค์ขององค์กรนั้น มักจะทำโดยการประชุมพิจารณากันในคณะกรรมการ
วางแผน ซึ่งส่วนมากมักจะดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. การร่วมพิจารณาถึงปัจจัยทางกลยุทธ์ทั้งหลาย ที่จะมีผลกระทบเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการพิจารณาเป้า
ประสงค์ระยะยาว ทั้งนี้โดยพยายามคัดเลือกจัดลำดับปัจจัยทางกลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษจำนวนหนึ่ง โดย
พิจารณาจากปัจจัยที่มีความสำคัญมากเป็นพิเศษ และสำคัญรองลงมาเป็นลำดับ
2. พิจารณาลึกลงไปในแต่ละปัจจัยทางกลยุทธ์ เพื่อให้เห็นชัดว่าปัจจัยกลยุทธ์อันใดที่จะสามารถส่งผล
กระทบหรือส่งผลต่อองค์กร ให้สามารถเคลื่อนตัวเข้าไปสู่จุดมุ่งหมายและสนับสนุนต่อกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ผล
กระทบหรือผลสำเร็จต่าง ๆ เหล่านี้ ควรจะต้องมีลักษณะขอบเขตกว้าง และมองเห็นได้ค่อนข้างชัด
3.พิจารณาคัดเลือกและงมติเห็นชอบร่วมกันเกี่ยวกับเป้าประสงค์ระยะยาวที่ต้อง กำหนดขึ้น ทั้งนี้วิธีการ
อาจกระทำโดยการเขียนลงไปในแบบฟอร์ม ซึ่งอาจมีข้อความว่า “เพื่อให้ได้ผล (หรือบรรลุผล) ในผลสำเร็จ ภาย
ในปี พ.ศ….”
ในการจัดทำเป้าประสงค์นี้ บางครั้งเป้าประสงค์ที่คัดเลือกมาอาจมีจำนวนค่อนข้างมาก และแต่ละข้อต่างก็มี
ความสำคัญต่ออนาคตขององค์กรทั้งสิ้น ในกรณีเช่นนี้ การพิจารณาตัดออก ควรต้องมีการยึดถือตามแนวทางดังนี้ คือ
เป้าประสงค์ที่มีความสำคัญจริง ๆ ควรจะมีจำนวนน้อย เหลือเฉพาะที่มีความสำคัญมากจริง ๆ และควรเป็นเป้า
ประสงค์ที่มีคุณค่ามากที่สุด ต่อการสนับสนุนองค์กรให้บรรลุผลในจุดมุ่งหมายและกลยุทธ์ที่ตั้งไว้มากที่สุด เป้า
ประสงค์ที่จะตกลงยอมรับกันนี้ ควรได้มาจากการลงมติโดยทุกฝ่ายเห็นชอบตรงกัน นอกเหนือจากนั้น สำหรับเป้า
ประสงค์อื่นที่เหลือหรือได้เพิ่มเติมเข้ามานั้น หากเห็นว่ายังมีคุณค่าความสำคัญที่ควรพิจารณารับไว้ ในทางปฏิบัติก็
ควรจะนำไปพิจารณากำหนดเป็นเป้าประสงค์ของฝ่าย แผนก หรือหน่วยงานย่อยที่อยู่ต่ำลงมาก็ได้

พันธกิจ (Mission)

พันธกิจมีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธาน พันธกิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดง
เหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่ เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ
กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์การวิเคราะห์ภารกิจหรือพันธกิจขององค์กร (Mission Aanlysis) เพื่อ
ตรวจสอบว่า งานหลักขององค์กรที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ยังมีความเป็นอยู่หรือไม่ พันธกิจใดควรยกเลิก เพราะเหตุใด
พันธกิจใดควรดำรงอยู่เพราะเหตุใด และพันธกิจใดควรปรับเปลี่ยนใหม่หรือเพิ่มขึ้นใหม่ เพราะเหตุใด บุคลากรใน
องค์กรต้องตระหนักว่าภาระกิจใดคือภารกิจหลัก ภารกิจรอง ซึ่งบางหน่วยงานหลงบทบาทหน้าที่ ไปทำภารกิจรอง
แทน ภารกิจหลักก็จะทำให้องค์กรนั้นมีปัญหาในการดำเนินงานได้ คำถามที่ควรใช้สำหรับพันธกิจขององค์กรมีดังนี้
1. เราควรอยู่ในธุรกิจอะไร
แผนกลยุทธ แผนยุทธศาสตร์
2. จุดประสงค์ที่แท้จริงของเราคืออะไร นอกจากการทำกำไรแล้ว องค์การของเรายัง
มีจุดมุ่งหมายอะไรอีก
3. เอกลักษณ์หรือจุดเด่นเฉพาะขององค์การของเราคืออะไร
4. กลุ่มลูกค้าหลักหรือผู้ใช้สินค้ากลุ่มสำคัญคือใครบ้าง
5. ผลิตภัณฑ์หรือบริการตัวเอกของเราในปัจจุบันคืออะไร และในอนาคตควรเป็น
อะไร
6. ส่วนตลาดที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคตคือส่วนไหนบ้าง
7. ขอบข่ายการจัดจำหน่ายและอาณาเขตตลาดกว้างและครอบคลุมแค่ไหนใน
ปัจจุบัน และในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไร
8. ธุรกิจของเราได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรจากที่เคยเป็นมาเมื่อ 3-5 ปีที่ผ่านมา
9. ในอนาคตข้างหน้า 3-5 ปี ธุรกิจของเราจะเปลี่ยนโฉมจากเดิมไปเป็นอะไร อย่าง
ไร
10. ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มุ่งหวังและต้องการมากที่สุดของเราคืออะไรและมี
วิธีการวัดผลสำเร็จเหล่านั้นอย่างไร
11. มีประเด็นแง่คิดเกี่ยวกับปรัชญาทางธุรกิจอะไรบ้างที่มีความสำคัญต่ออนาคตของ
องค์การ เช่น เรื่องภาพพจน์ขององค์การ ความเป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียว
กัน ในบรรดาผู้ร่วมวิชาชีพหรือชุมชน ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ความสามารถ
ในการคิดค้นพัฒนา ขนาดการเสี่ยง คุณภาพ ประสิทธิภาพผลผลิต วิธีการจัดการ
ฯลฯ
12. ควรต้องพิจารณาให้น้ำหนักความสำคัญต่อกลุ่มภายนอก เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกค้า
ชุมชน กลุ่มพนักงาน และอื่น ๆ ในเรื่องอะไรบ้างหริอไม่
เมื่อได้มีการถามคำถามแล้วนำมาร่วมกันปรึกษาและพิจารณาออกควาเห็นกันแล้ว จากนั้นก็จะได้มีการมอบ
หมายให้มีสมาชิกคนใดคนหนึ่งหรือ 2-3 คน นำไปประมวลและเขียนขึ้นเป็นข้อความเพื่อนำมาพิจารณาอนุมัติอีก
ครั้ง

กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์

1. การระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
ขั้นที่หนึ่ง ประชุมคณะทำงานออกแบบสร้างวิสัยทัศน์ให้แต่ละคนระบุเหตุการณ์ หรือการตัดสินใจในอดีต
4-8 อย่างที่เคยขึ้นกับองค์กร
ขั้นที่สอง ให้สมาชิกแต่ละคนเขียนวัตถุประสงค์ของเขาในการทำงานให้กับองค์กร โดยให้แสดงออกจาก
ส่วนลึกของจิตใจและเพิ่มความหมายให้กับงานที่ทำ การเขียนวัตถุประสงค์อาจนำด้วยคำถาม
ขั้นที่สาม เป็นกิจกรรมกลุ่ม ให้จินตนาการว่าในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า เมื่อวันนั้นมาถึงองค์กร ควรจะ
ประสบความสำเร็จในด้านใด มีชื่อเสียงด้านใด บรรลุวัตถุประสงค์ข้อใดบ้าง หรือยังบกพร่องด้านใดบ้าง
ขั้นที่สี่ กลุ่มอธิบายว่า ลักษณะขององค์กรที่คาดหวังเป็นอย่างไร และสะท้อนให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของ
องค์กรเพียงใด
ขั้นที่ห้า นำข้อคิดที่ได้ทั้งหมดมารวมเข้าเป็นข้อความที่ระบุวัตถุประสงค์
ขั้นที่หก พิจารณาว่าจะวัดหรือประเมินวัตถุประสงค์นั้นได้อย่างไร
2. การระบุภารกิจให้ชัดเจน (Mission) เป็นการพิจารณาว่าองค์กรของท่านควรจะทำอะไรที่พิเศษหรือยิ่ง
ใหญ่ให้สังคม เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันแล้ว พบว่าภารกิจองค์กรของ
ท่านควรแตกต่างจากองค์กรเหล่านั้นอย่างไร ให้เขียนภารกิจลงไปให้ชัดเจน
3. การวิเคราะห์องค์กร เนื่องจากวิสัยทัศน์ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์จุดแข็ง
และจุดอ่อนขององค์กร เพื่อดูความเป็นไปได้ และดูว่าอะไรทำให้องค์กรของเราแตกต่างจากองค์กรอื่น
ในวงการเกี่ยวกัน อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังจากเรา ขณะเดียวกันก็ให้วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมขององค์กร
ด้วย
4. การสร้างวิสัยทัศน์ ย้อนกลับไปดูวัตถุประสงค์ (Purpose) และภารกิจ (Mission) ที่เขียนไว้แล้ว นำมา
กำหนดเป็นวิสัยทัศน์พิจารณาความเป็นไปได้จากการวิเคราะห์องค์กร แล้วปรับแก้ไขอีกครั้ง จากนั้น
ทดสอบประสิทธิผลของวิสัยทัศน์ที่เขียนโดยตอบคำถามให้ได้ว่าวิสัยทัศน์นั้นเป็นที่เข้าใจของคนใน
องค์กร หรือวงการเดียวกันนี้หรือไม่ เราได้ดูความเป็นไปได้ของวิสัยทัศน์แล้วหรือยัง เป็นที่ชัดเจนหรือ
ไม่ว่าเมื่อบรรลุตามวิสัยทัศน์แล้วจะเกิดผลอะไรขึ้นกับองค์กรการเขียนวิสัยทัศน์ ต้อง สั้น ง่าย ให้พลัง
ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.อุทัย บุญประเสริฐ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการ
กำหนดวิสัยทัศน์ ไว้ดังนี้
การกำหนดวิสัยทัศน์ : จุดสุดท้ายของการวางแผนที่ชัดเจน ในการวางแผนจะมีการกำหนดจุดสุดท้ายไว้เป็นลำดับ
ขั้นดังนี้
ระดับอุดมคติ : ปรัชญา/ปณิธาน (philosophy/will)
ภารกิจของหน่วยงาน/องค์การ (MISSION)
จุดมุ่งหมาย (Goal)
แผนกลยุทธ แผนยุทธศาสตร์ Page 6 of 22
วัตถุประสงค์ (Objective)
เป้าหมาย (target)

การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และยุทธศาสตร์ขององค์การ

วิสัยทัศน์ (Vision) คือ ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้นำและสมาชิกทุกคนร่วมกันวาดฝันหรือจินตนาการขึ้น
โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน เชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน
พรรณนาให้เห็นทิศทางขององค์กรอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ เน้นถึงความมุ่ง
มั่นที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ หรือดีที่สุดให้กับลูกค้าและสังคมวิสัยทัศน์จะเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เป็นการตัดสิน
ใจเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางธุรกิจ เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดทางธุรกิจ ซึ่งจะกล่าวถึงอีกครั้งใน
เรื่องยุทธศาสตร์ขององค์การ
ทำไมองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์
1. วิสัยทัศน์สร้างพลังให้กับองค์กร การจะทำให้องค์กรมีการรวมพลังมุ่งไปในทิศทางเดี่ยวกันได้ต้องอาศัย
องค์ประกอบหลายอย่าง ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ภาวะผู้นำที่จะนำคนทั้งองค์กรได้ และวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน
หรือองค์กร
2. วิสัยทัศน์ทำให้ได้เปรียบในแข่งขัน ในโลกของการแข่งขันผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ย่อมได้เปรียบเสมอ เพราะ
สามารถคะเนเหตุการณ์ในอนาคตได้ และวิสัยทัศน์ทำให้เกิดความทะเยอทะยานหาญกล้าที่จะเป็นหนึ่ง
3.วิสัยทัศน์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์อาจจะเขียนในรูปของร้อยแก้วแบบใดก็ได้ แต่ควรประกอบ
ด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ คือ
1. ท่าต้องการทำอะไรให้สำเร็จ (ภารกิจ)
2. ทำไมท่านจึงต้องการทำให้สำเร็จ (วัตถุประสงค์)
3. ท่านคาดหวังผล (Results) เช่นไร
กระบวนการกำหนดวิสัยทัศน์นั้นทำได้หลายรูปแบบ แต่สิ่งที่ต้องมีเหมือนกันก็
คือวิสัยทัศน์ กำหนดขึ้นโดยคณะผู้นำขององค์กร ซึ่งกำหนดร่วมกันโดยการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นวิสัย
ทัศน์ ต้องมีความชัดเจน ความยาวเหมาะสมกับโครงสร้าง ขนาด และลักษณะขององค์กร บอกได้ว่าองค์กรจะเป็น
อย่างไร และทำอะไรในอนาคต รวมทั้งระบุความเชื่อที่เป็นพื้นฐานนำไปสู่วิสัยทัศน์นั้น วิสัยทัศน์ของแต่ละองค์กร
ควรมีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว เพื่อจำแนกให้ความแตกต่างจากองค์กรอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้วิสัยทัศน์ของแต่ละ
หน่วยงานย่อยในองค์กรจะต้องสอดคล้องหรือสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กรด้วย

Popular Posts