MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กลเม็ดใช้บัตรเครดิตแบบถูกวิธี


ทุกวันนี้การใช้บัตรเครดิตกลายเป็นส่วนหนึ่ง ในชีวิตของคนไทยทั่วไปแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ประกอบการทั้งธนาคาร และสถาบันที่ออก บัตรเครดิต ต่างดึงดูดใจลูกค้าด้วยโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษต่าง ๆ มากมาย จนทำให้จำนวนผู้ใช้บัตรเครดิต เพิ่มอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีบัตรเครดิตแล้วก็ควรใช้อย่างสบายใจและเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้ ใช้บัตรเครดิตกับสิ่งที่มีความจำเป็นเท่านั้น จากสภาพเศรษฐกิจในขณะนี้ ส่งผลทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ฉะนั้น การจะซื้อสินค้า ก็ควรจะเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น ส่วนสินค้าจำพวกอำนวยความสะดวก ให้ชีวิตนั้นคงจะต้องรอไว้ก่อน จนกว่าสภาพคล่องทางการเงินดีขี้นกว่าปัจจุบัน

คำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ หลังจากใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าแล้ว ควรชำระหนี้ที่ถูกเรียกเก็บ ให้เจ้าหนี้เต็ม จำนวนที่เรียกเก็บและตรงกำหนดเวลาวันชำระ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดอกเบี้ยและค่าปรับจากการชำระหนี้ช้า ฉะนั้น ก่อนใช้บัตรเครดิต ควรคำนึงถึงรายได้ของตน หรือความสามารถในการชำระหนี้คืนให้แก่เจ้าหนี้

ดูวันก่อนออกจากบ้านไป ช้อปปิ้ง พยายามใช้บัตรครดิต ให้ได้ระยะเวลาในการปลอดหนี้ให้มากที่สุดจากธนาคาร โดยเลือก หลังจากวันที่มี การสรุปยอดการใช้จ่ายทุกครั้ง เนื่องจากถ้านำบัตรเครดิตไปใช้ใกล้ถึงวันตัดยอด ก็จะได้เวลา ในการปลอดหนี้น้อย และต้องชำระเงินเร็ว ยึดแนวนี้ไม่มีพลาด

- ศึกษาเงื่อนไขของบัตรเครดิตที่ถืออยู่อย่างละเอียด
- หมั่นติดต่อกับธนาคารเพื่อจะได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
- ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้า หรือบริการในระยะเวลาปลอดหนี้
- ตรวจสอบความถูกต้องของรายการสินค้าและจำนวนเงินที่จ่ายผ่านบัตรเครดิตทุกครั้ง
- เก็บสลิปที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพื่อตรวจสอบกับใบแจ้งหนี้
- เก็บรักษาบัตรเครดิตให้ปลอดภัย
- ยกเลิกการถือบัตรเครดิต หากไม่มีความจำเป็น

เริ่มต้นอย่างไรดี ถ้าต้องการมีบัตรเครดิตไว้ใช้สักใบ บัตรเครดิต หลายท่านต้องการมีไว้ใช้จ่ายอย่างน้อย 1 หรือ 2 ใบ เพื่อบริหารสภาพคล่องทางการเงินของท่านในแต่ละเดือน ปัจจุบันบัตรเครดิตมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากเดิม ซึ่งเคยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 25 % - 29 % ต่อปี เหลือเพียง 18 % ต่อปีเท่านั้น อีกทั้งค่าธรรมเนียม ในการเบิกถอน เงินสดก็ปรับลดลงอีกด้วยเหลือเพียง 3 % ของยอดที่เบิกถอน

ข้อดีของการมีบัตรเครดิต คือ ท่านไม่จำเป็นที่จะต้องชำระค่าสินค้า หรือบริการ เป็นเงินสด ท่านสามารถใช้บัตรเครดิตของท่าน ชำระค่าใช้จ่ายได้ทันที โดยเงินสดของท่าน ก็ยังคงมีอยู่ ที่สำคัญค่าบริการหรือสินค้าที่ท่านใช้จ่ายนั้น ท่านสามารถชำระคืน ได้ในภายหลัง โดยมี ระยะเวลาประมาณ 45 - 55 วันแล้วแต่บัตรของธนาคาร ท่านไม่จำเป็น ที่จะต้องชำระคืนเต็ม จำนวน เพราะท่านสามารถเลือกชำระคืนเพียง 5 % ของค่าใช้จ่ายท่านของท่าน บัตรเครดิตยังให้ท่านเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า
สำหรับเหตุการณ์ในทุกสถานการณ์ เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียน และบัตรเครดิตยังมีโปรโมชั่นส่งเสริมการขายมากมาย ไม่ว่า จะเป็น การผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้าอัตราดอกเบี้ย 0 % การสะสมคะแนนแลกของกำนัล ต่างๆ การเห็นไหมครับว่า บัตรเครดิตน่าสนใจจริงๆครับ

ข้อเสียของการมีบัตรเครดิต
ข้อนี้ขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมของท่านเองว่า ท่านสามารถควบคุมการใช้บัตรของท่านได้ถูกวิธีหรือไม่ หากท่านมีการใช้วงเงินเกิน
การชำระคืนของท่าน การมีบัตรเครดิตก็เป็นดาบ 2 คมเช่นกัน ดังนั้นเมื่อท่านมีบัตรเครดิต ท่านควรมี วิธีการบริหารการใช้จ่าย อย่างถูกวิธี เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริหารการเงินของตัวท่านเอง

สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาในการเลือกสมัครบัตรเครดิต
1. อัตราดอกเบี้ย
2. ค่าธรรมเนียมต่างๆในการใช้บัตร
3. การให้บริการ
4. ค่าบริการรายปี
5. โปรโมชั่นของบัตรแต่ละประเภท

วิธีเลือกบัตรเครดิต

พิจารณาเงื่อนไขในการสมัครของบัตรนั้น ๆ เช่น เงินเดือนขึ้นต่ำ เงินเดือนต้องผ่านแบงค์ เป็นต้น ใช ้บัตรเครดิต อย่างฉลาด
สินเชื่อหรือเครดิต มีหลายหลายรูปแบบในประเทศไทย นอกเหนือจากบัตรเครดิตที่ช่วยให้ผู้ถือบัตรมีความยืดหยุ่น และคล่องตัว ในการใช้เงินสูงสุดแล้วก็ยังมี บัตรเครดิต อีกหลายประเภท อาทิ บัตรเพื่อการกู้ยืม สำหรับนักเรียน การกู้เพื่อ วันพักผ่อน การกู้เพื่อซื้อบ้าน หรือการจำนองแม้ว่า บัตรเครดิต เหล่านี้จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป แต่มีลักษณะพิเศษร่วมกัน บางประการ เช่น ช่วยให้เราคง รูปแบบการใช้ชีวิตตามความปรารถนาได้ โดยไม่ต้อง จ่ายเงินครั้งละมากๆ ดังนั้น การใช้บัตรเครดิต อย่างชาญฉลาดจะช่วยให้ผู้ใช้บัตรได้รับประโยชน์ ความปลอดภัย และความสะดวก

ในทางกลับกัน การใช้บัตรเครดิตอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้คุณตกอยู่ในความเดือดร้อน มีหลายกรณีที่ผลของ
การใช้บัตรเครดิตกลายเป็นภาระหนักทางการเงินของคุณ แทนที่จะช่วยส่งเสริมการเงินส่วนตัวของคุณ แนวทางต่อไปนี้เป็นวิธี การใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาด และการล่วงรู้สัญญาณอันตรายจากการใช้เครดิตอย่างไม่เหมาะสม ผู้บริโภคที่เฉลียวฉลาด จะใช้เครดิตเพื่อส่งเสริมการใช้เงิน มากกว่าการทำให้กลายเป็น ภาระทางการเงิน ลองพิจารณาแนวทาง อันชาญฉลาดใน การใช้บัตรเครดิตดังนี้

จัดทำงบค่าใช้จ่ายประจำเดือน โดยแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ คอลัมน์แรกเขียนรายการค่าใช้จ่ายและคอลัมน์ที่สอง เขียนรายได้หลังหักภาษี เมื่อคุณนำค่าใช้จ่ายมาเปรียบเทียบกับรายได้ คุณจะเห็นทันทีว่าคุณเป็นหนี้เท่าไร และคุณสามารถ รับภาระได้หรือไม่ ขั้นตอนนั้นนับว่ามีความสำคัญมาก

วิธีการที่ดีที่สุดใน การสร้างกรอบให้ตัวเอง คือการยืมเงินหรือใช้จ่ายเงินล่วงหน้าภายในวงเงินที่คุณสามารถใช้คืนได้ พิจารณาว่าคุณสามารถใช้เงินในจำนวนเท่าไร แล้วค่อยใช้เครดิตตาม จำนวนนั้นแทน การนั่งคำนวณว่า คุณจะได้รับเครดิตเท่าไร

กฎทั่วไป คือ คุณควรจะจำกัดยอดการกู้ยืมเงินไว้ที่ 20% ของรายได้หลังหักภาษี ควรจำกัดตัวเองด้วยการใช้บัตรเพียงใบเดียว เช่น บัตรเครดิตของห้างสรรพสินค้าที่คุณชอบ หรือบัตรสถานีบริการน้ำมัน ควรแน่ใจว่า ในการชำระเงินที่กู้ยืมมานั้น คุณไม่ต้องจ่ายค่าปรับ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณมี ความยืดหยุ่น ในการชำระเงินเวลาใดก็ได้

อย่าคิดเอาเองว่า คุณได้รับอนุญาตให้กู้ยืม ดังนั้นคุณจึงพร้อมแล้วที่จะใช้เครดิตให้มากกว่ายิ่งขึ้น หากคุณมีเป้าหมายที่ จะควบคุมการเงินของคุณ ควรแน่ใจว่า การเงินของคุณมีเสถียรภาพเพียงพอก่อนการยอมรับเงื่อนไขต่างๆ เพิ่มเติม ควรอ่าน รายละเอียดต่างๆ อย่างถี่ถ้วน เพราะมีข้อแตกต่างมากมายระหว่างผู้ออกเครดิต และเงื่อนไขการจ่ายคืน ปรึกษาคู่สมรส หรือสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบในภาระหนี้สิน ควรหาข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ทุกอย่างดำเนิน ไปอย่างราบรื่น การทำเช่นนี้จะช่วยไม่ให้เกิดการใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น หรือการใช้เงิน อย่างไม่สมเหตุผล อีกทั้งช่วย สร้างความมั่นใจว่า ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทุกคน เต็มใจทำตามข้อตกลง ควรคิดเสมอว่า การเซ็นชื่อร่วมกันถือเป็นสัญญา ถ้าผู้ทำสัญญาไม่อาจชำระหนี้ได้ คุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่เพียงผู้เดียว

ดังนั้นก่อนเซ็นชื่อควรแน่ใจว่าอีกฝ่ายมีความรับผิดชอบอย่างจริงจัง และพิจารณาว่าคุณ สามารถจัดการกับหนี้สินต่างๆ ได้หากคุณต้องเป็นผู้รับผิดชอบ หากคุณเป็นนักชอปปิ้งด้วย ที่ไม่อาจห้ามใจตัวเองได้ และมักทำผิดเงื่อนไขการกู้ยืม เป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน คุณยังไม่ควรใช้บัตรเครดิตจนกว่า คุณจะสามารถใช้เงินภายในวงเงินที่มีอยู่ได้ ให้บัตรเครดิตเป็น เพื่อนร่วมทางที่คุณวางใจได้ ไม่มีใครต้องการเผชิญกับภาวะเงินขาดมือ ในขณะอยู่ต่างประเทศ แต่ถ้าคุณมีบัตรเครดิต ที่ใช้ได้ทั่วโลกสักใบ ฝันร้ายนี้ย่อมจะไม่เกิดขึ้น

บัตรเครดิต

ถ้าใครสังเกตสถานการณ์ การแข่งขันของสถาบันการเงิน ในช่วงนี้ จะพบว่า หลายสถาบันทั้งของไทย และของต่างชาติ ต่างมุ่งเป้าหมาย การหารายได้ ลงมาในส่วนของสินเชื่อลูกค้า รายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ประจำ ซึ่งนอกจาก การให้สินเชื่อ ลักษณะ เงินกู้ส่วนบุคคล ประเภทต่างๆ และวงเงินหมุนเวียนหลากหลายชื่อแล้ว ของเก่าที่ยังนำมาเป็น เครื่องมือเพิ่มรายได้ให้กับสถาบันอีกอย่างก็คือ บัตรเครดิต ซึ่งมีทั้งบัตรที่ออกโดย สถาบันการเงิน เอง ที่เรียกกันว่า LOCAL CARD หรือบัตรที่มีลักษณะเป็น INTERNATIONAL อย่าง VISA / MASTER CARD / AMEX / DINERS บางสถาบันการเงิน ยังมี บัตรลูกผสมที่เป็นทั้ง LOCAL และ INTERNATIONAL ในใบเดียวกัน เพื่อให้ผู้ถือบัตร มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันด้านบัตรเครดิตที่เริ่มเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ต้นปี 2544 ต่อเนื่องจน ถึงปัจจุบัน เมื่อประกอบกับ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ลดวงเงินรายได้ของผู้มีสิทธิ์ถือบัตรเครดิต จากเดิมต้องมีรายได้ 20,000.- บาท / เดือน คงเหลือไม่ต่ำกว่า 15,000.- บาท / เดือน ทำให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น มีผู้ถือบัตรรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจาก ธนาคาร แห่งประเทศไทยระบุว่า มีจำนวนบัตรเครดิต ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2544 จำนวน 1.89 ล้านบัตร และคาดว่า จะเพิ่มเป็นมากกว่า 2.0 ล้านบัตร ในปี 2545 ซึ่งจะเป็นจำนวนที่สูงที่สุด และมากกว่าช่วงก่อน เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ด้วยซ้ำไป

จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า จำนวนบัตรเครดิต ที่เพิ่มขึ้น และจะต้องมี การบริโภค มากขึ้นตามมานั้น ไม่ได้สอดคล้อง หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกับ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ที่ยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง กำลังซื้อโดยรวมลดลง หากมองกันใน แง่ร้ายจะเห็น ความเสี่ยงที่จะเกิด NPL ขึ้นใหม่อีกครั้ง นกลุ่มสินเชื่อรายย่อยเหล่านี้ ซึ่งนั่นเป็นปัญหาระดับประเทศ สำหรับผู้มีส่วน เกี่ยวข้องที่จะดูแล และกำกับควบคุมต่อไป แต่ในส่วนของผู้บริโภค หรือผู้ถือบัตรเอง ก็ควรตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากไม่ใช้บัตรเครดิต ให้ถูกแนวทาง หรือมีความเข้าใจไม่เพียงพอ

โดยคุณสมบัติพื้นฐานบัตรเครดิต คือ เครื่องมือที่ผู้ออกบัตรออกให้กับผู้ถือบัตรเพื่อนำไปใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการ แทนเงินสด ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาตามที่ตกลง ผู้ถือบัตรจะต้องชำระเงินส่วนนั้นคืนให้กับผู้ออกบัตร แต่เดิม การชำระคืน แต่ละรอบ ผู้ถือบัตรจะต้องชำระคืนเต็ม จำนวนที่ได้รับการแจ้งยอด ธนาคาร หรือผู้ออกบัตร จะมีรายได้หลัก 1 - 3 % จากรายการใช้จ่ายของ ผู้ถือบัตรแต่ละรายการ โดยหักเอาจากร้านค้าที่ขาย ผ่านบัตรเครดิต (นอกจากรายได้จาก ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และค่าธรรมเนียมรายปี) ในปัจจุบันมี การกำหนดเงื่อนไข การชำระคืนเป็นสามารถผ่อนชำระได้ 5 - 10 % ของยอดการใช้จ่ายต่องวดหรือยอดคงค้าง (แต่ต้อง ไม่ต่ำกว่า 2,000.- บาท ตามประกาศของ ธนาคารแห่งประเทศไทย) ในแง่ของผู้ถือบัตรมีแนวทางเลือกมากขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้เกิดยอดคงค้าง ในบัตรเครดิตมากขึ้น ทำให้ผู้ออกบัตรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก ทางจากดอกเบี้ยซึ่งคิดจากยอดหนี้คงค้าง (ข้อมูล ในไตรมาสที่ 1 ปี 2544 พบว่า ยอดหนี้คงค้างในระบบบัตรเครดิต ทั้งประเทศมีประมาณ 32,000.- ล้านบาท) นอกจากนี้ผู้ออกบัตร ยังมีรายได้จาก ค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสด ฉุกเฉินล่วงหน้า และค่าธรรมเนียมจาก การชำระล่าช้าอีกด้วย

กลยุทธ์ต่างๆ ของผู้ออกบัตร ที่นำมาชักชวนผู้บริโภค ตั้งแต่ต้นปี 2544 อาทิ การยกเว้นค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี การให้ ของแถมมูลค่า ตั้งแต่หลักร้อยบาท จนถึงพันกว่าบาท สำหรับผู้สมัครใหม่ การให้โบนัสหรือรางวัลเป็นสิ่งของ หากมีการใช้จ่ายผ่านบัตร ถึงเป้าที่กำหนด หรือการใช้นโยบายราคา โดยลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับโอนหนี้ เพื่อแย่งชิงลูกค้ากลุ่มเดิม เป็นการแข่งขันที่ไม่เคย ปรากฎมาก่อนตั้งแต่บัตรเครดิต เริ่มเข้ามามีบทบาท ในระบบสถาบันการเงินของประเทศ เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน อาจกล่าวได้ว่า ภาวะตลาด บัตรเครดิต ปัจจุบันเป็นของผู้บริโภคก็ย่อมได้ อย่างไรก็ตามการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะถือบัตรเครดิตสักใบ หรือจะใช้จ่ายผ่านบัตร
เครดิตที่มีอยู่แล้ว ผู้ถือบัตรน่าจะมีกฎเกณฑ์เล็กๆ น้อยๆ สำหรับตัวเองคือ

1. เลือกเงื่อนไขชำระคืนที่เหมาะสม การเลือกเงื่อนไขผ่อนชำระคืนเต็ม ตามจำนวนในใบแจ้งยอด แม้จะเป็น การแสดงความตั้งใจ ในการรักษาวินัยทางการเงินของผู้ถือบัตร แต่ในบางครั้งเป็น การบังคับตนเอง เกินไปจน ไม่มีทางถอย และอาจสร้างปัญหาให้กับ ผู้ถือ บัตรได้ในอนาคต โดยเฉพาะใน ภาวะเศรษฐกิจ ที่ยังไม่มีความแน่นอน ผู้ถือบัตรหลายรายเลือกเงื่อนไขชำระคืนเต็มตามจำนวน ในใบแจ้งยอด แต่กลับพบภายหลังว่า ตนเองกลายเป็น ผู้ถือบัตรเครดิตที่มีปัญหา เมื่อไม่สามารถ ชำระคืนได้ตรงตาม กำหนดทุกครั้ง ซึ่งตรงข้ามกับผู้ที่เลือกผ่อนชำระขั้นต่ำ 10 % ผู้ถือบัตรเหล่านั้นสามารถ กำหนดเงื่อนไขให้ตนเองที่จะเลือกชำระเต็มจำนวนได้ โดยที่ ผู้ออกบัตร ไม่ได้ห้ามแต่อย่างใด แต่หากเดือนใดมีเหตุขัดข้องก็ยังสามารถเลือกชำระ 10 % ตามที่ตกลงกับผู้ออกบัตรไว้ได้เรียกว่า ยังเก็บ ทางถอยไว้ให้กับ ตนเอง และในแง่ของสถาบันผู้ออกบัตรจะถือว่าเป็นลูกค้าเกรด A ด้วยซ้ำ เนื่องจากสามารถชำระได้ดีกว่า เงื่อนไขที่ตกลงกันไว้

2. พยายามชำระหนี้เต็มตามใบแจ้งยอด หลีกเลี่ยงยอดค้างชำระ ไม่ว่าจะเลือกเงื่อนไขใด ในการชำระคืน ก็ตามสิ่งสำคัญที่ ผู้ถือบัตรต้อง คำนึงไว้ตลอดเวลา คืออัตราดอกเบี้ยที่ผู้ถือบัตรถูกคิดจากยอดค้างชำระ (หลังจากครบกำหนดชำระแล้ว) จะอยู่ที่ประมาณ 17 - 18 % ต่อปี หรืออาจสูงถึง 24 - 27 % ต่อปีในกรณีผู้ออกบัตรที่เป็นสถาบันต่างชาติ อัตราดังกล่าวสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมาก เพราะฉะนั้น คงจะไม่ถูกต้องตาม หลักทฤษฎีการบริหารเงินแน่ หากสามารถชำระเต็มได้แต่ไม่ชำระ โดยเก็บเงินไว้ในบัญชีเงินฝาก

3. หลีกเลี่ยงการเบิกถอนเงินสดฉุกเฉิน หรือ CASH ADVANCE โดยทั่วไป บัตรเครดิต จะมีวงเงิน ให้เบิก เงินสดฉุกเฉิน ได้ 50-100 % ของวงเงินบัตรหรือ ยอดคงเหลือขณะนั้น การเบิกแต่ละครั้ง ต้องแน่ใจว่าฉุกเฉินจริง ๆ เนื่องจากผู้ถือบัตรจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 4 - 5 % ของยอดที่เบิกทันที และผู้ออกบัตรบางราย ยังคิดดอกเบี้ย จากยอดดังกล่าวนั้น ตั้งแต่วันที่เบิกอีกด้วยซึ่งแสดงว่าจะมี ีต้นทุน ดอกเบี้ยจาก เงินก้อนดังกล่าวนั้น 5 - 6 % ต่อเดือน หรือ 60 - 70 % ต่อปีทีเดียว

4. หลีกเลี่ยงการชำระไม่ตรงกำหนด เนื่องจากจะมีค่าปรับเกิดขึ้นมากน้อยตามแต่สถาบันผู้ออกบัตรจะกำหนด ผู้ออกบัตรบางสถาบัน กำหนดเป็นเกณฑ์แน่นอน 100 - 200 บาทต่อครั้ง แต่ผู้ออกบัตรบางราย กำหนดเป็น เปอร์เซ็นต์ของยอด ที่ต้องชำระคืนตามใบแจ้งยอด ซึ่งหากเดือนใดผู้ถือบัตรหลงลืมชำระไม่ตรงกำหนด อาจจะต้อง ถูกปรับเป็นหลักพันบาททีเดียว

ข้อคิดสำคัญที่ต้องคิดทุกครั้งในการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต คือ ก่อนรูดบัตรแต่ละครั้งเพื่อซื้ออะไรก็ตาม ลองคิดดูสักนิดว่า เรามีเงิน ในบัญชีขณะนั้น มากพอที่จะชำระคืนหรือไม่ เงินในบัญชีนั้นต้องเป็นสำหรับส่วนที่กันไว้สำหรับใช้จ่าย ไม่ใช่เงินออมด้วยจึงจะถูกต้อง หากไม่มีเงินพอในขณะนั้น และการรูดบัตรนั้น เป็นการใช้จ่ายเพื่อรอการเงิน ในอนาคตมาชำระคืน ผู้ถือบัตรควรจะหยุดคิดสักนิด ว่า สินค้าหรือบริการนั้นมีความจำเป็นเพียงใด บัตรเครดิต จะมีประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อผู้ถือบัตรใช้แทนเงินสดที่มีอยู่ และมีเวลาอีก 40 - 45 วันที่จะต้องจ่ายเงินสด ที่มีอยู่นั้นออกไป นั้นคือการใช้บัตรเครดิตที่ถูกวิธี แต่ผู้ถือบัตรจะเป็นฝ่ายถูกใช้โดยผู้ออกบัตรให้เป็นลูกหนี้ และภาระหนี้ที่ต้องชำระคืน ไม่จบสิ้นในอนาคตทันที ถ้าผู้ถือบัตรใช้จ่ายโดยหวังว่าจะนำเงินรายได้ในอนาคตมาชำระคืน ผู้ถือบัตรดังกล่าว จะต้องทำงาน เพื่อตามใช้หนี้ที่เกิดขึ้น และไม่สามารถ วางแผนการเงิน ให้ถูกแนวทางได้อีกเลย

เงินด่วนอย่างไรไม่ให้ตกหลุมพราง

......ดอกเบี้ย 0%นาน 15 เดือน.......กู้วันนี้แถมกระเป๋าเดินทางมูลค่า 3 พันบาทฟรี............ชำระหนี้ตรง 3 เดือน ฟรี 1 เดือน....อนุมัติเงินด่วนภายใน 30 นาที.....กู้ 1 แสน ชำระคืน 95,000 บาท ....

สารพัดสารพันสิ่งล่อใจที่พร้อมจะดึงให้คุณก้าวลงไปตก 'หลุมพราง' ของหนี้ ที่ยุคสมัยนี้การสร้างหนี้เกิดขึ้นโดยง่ายดายอย่างน่าอัศจรรย์ โลกยิ่งแคบลง การเป็นหนี้ยิ่งทำได้ไวขึ้น ไวจนบางครั้งคุณเองก็ลืมดูเงื่อนไขอย่างละเอียดถี่ถ้วน มารู้ตัวอีกทีก็สายเสียแล้ว

หลายครั้งหลายคราที่เงินด่วนแทนที่จะเนรมิตอำนาจซื้อให้คุณได้ทำตามความฝัน หรือปลดเปลื้องภาระอันหนักอึ้งที่แบกมานาน กลับกลายเป็นว่ายิ่งสร้างภาระให้คุณแบกอย่างแสนสาหัสยิ่งกว่าเดิม

ถ้าไม่อยากติดกับดักของหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินด่วน ก่อนตกลงปลงใจเป็นลูกหนี้เงินกู้ส่วนบุคคล ควรจะพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ไว้ก่อน

เปรียบเทียบรายละเอียดของผู้ให้กู้ค่ายต่างๆ....เป็นเรื่องพื้นๆ สำหรับผู้ที่ต้องการกู้เงินอยู่แล้วว่า อันดับแรกคุณต้องเปรียบเทียบ รายละเอียด ของสถาบันการเงินรายต่างๆ ที่ให้บริการสินเชื่อบุคคล เพราะแต่ละแห่งย่อมมีโปรโมชั่น และเงื่อนไขที่แตกต่างกัน สถาบันการเงินส่วนใหญ่ อาจจะกำหนดเงื่อนไขว่าผู้กู้ต้องมีรายได้ต่อเดือนขั้นต่ำที่ 10,000 บาท ถ้าคุณเงินเดือนยังไม่ถึงเกณฑ์ ก็อาจต้องมองหา สถาบันการเงิน รายอื่นที่ตั้งเกณฑ์ไว้ต่ำกว่า

เช่น กรณีของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด และบริษัท บัตรกรุงไทย อาจจะกำหนดรายได้ขั้นต่ำไว้ที่เดือนละ 1 หมื่นบาท ขณะที่ซิตี้ แบงก์ อาจจะตั้งเกณฑ์ไว้ที่ 15,000 บาท แต่คุณมีรายได้ไม่ถึง ก็อาจต้องหันไปพิจารณาแคปิตอล โอเค ซึ่งกำหนดขั้นต่ำไว้ที่เดือนละ 4,000 บาทเท่านั้น

@ระยะเวลา-วงเงินให้กู้
.......เป็นเงื่อนไขที่ต้องไม่ลืมพิจารณาเช่นกัน สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะกำหนดระยะเวลาเงินกู้อยู่ที่ 1-5 ปี เป็นหน้าที่ของคุณแล้วว่า จะเลือก ระยะเงินกู้กี่ปีดี คุณเท่านั้นที่จะรู้กำลังการผ่อนชำระของตัวเองว่าควรจะอยู่ในระดับไหน ถ้ามีภาระต้องใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมาก ก็ควรเลือกผ่อนชำระให้นานเข้าไว้ วงเงินผ่อนจะได้น้อย และไม่เป็นภาระจนเกินไป แต่ถ้ามีกำลังผ่อนได้เยอะก็ควรจะเลือก ระยะเวลาผ่อน ให้สั้นเข้าไว้ เพราะแบงก์ชาร์จดอกเบี้ยในแต่ละเดือนไม่น้อยเลยทีเดียว ยิ่งเลือกผ่อนชำระหลายปีคุณก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยแบงก์มากเท่านั้น

ส่วนวงเงินให้กู้จะประมาณ 4-5 เท่าของเงินเดือน ถ้าคุณอยากได้มากกว่านั้น ก็อาจต้องเลือกสถาบันการเงินที่ให้วงเงินสูง 6-7 เท่า เช่น เพอร์ซัลนัลโลนของซิตี้ แบงก์ หรือ สินเชื่อเคทีซี แคช ของบริษัท บัตรกรุงไทย

ดอกเบี้ย.....ดูเหมือนว่าดอกเบี้ยจะเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดสำหรับการกู้เงิน ไม่ว่าจะกู้มาเพื่อวัตถุประสงค์อะไรก็ตาม ดอกเบี้ยเป็นสิ่งแรก ที่ต้องคำนึงถึง แม้สินเชื่อบุคคลจะมีระยะกู้สั้นๆ แค่ 1-5 ปี คุณอาจรู้สึกว่าไม่ต้องแบกรับ ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ในระยะนาน เหมือนกู้ซื้อบ้าน แต่ใช่ว่าจะปล่อยเลยตามเลย

และสิ่งที่ต้อง 'ระวัง' และ 'รอบคอบ' ให้มากที่สุดก็เรื่องดอกเบี้ยนี่แหละ อย่างที่เคยเกริ่นไว้ว่าสถาบันการเงินมักโฆษณา และป่าวประกาศ เฉพาะอัตราดอกเบี้ยถูกแสนถูกในระยะโปรโมชั่น แต่อัตราที่ชาร์จหลังพ้นระยะโปรโมชั่นไปแล้วนี่สิส่วนมากจะเงียบกริบ นั่นเป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องถามไถ่จากเจ้าหน้าที่ขายให้ละเอียดและถี่ถ้วนที่สุด

เช่นว่า แคปิตอล โอเค เขย่าตลาดด้วยโปรโมชั่น 'ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินต่อเดือน 0% มากถึง 15 เดือน' แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ลูกค้าทุกคนจะได้อัตรานี้ เพราะกำหนดให้เฉพาะลูกค้าที่เลือกระยะเวลาผ่อนชำระคืน 60 เดือน และผ่อนชำระครบถ้วนตรงตามกำหนดทุกๆ 3 งวดติดต่อกันจนสิ้นสุดระยะเวลา 60 เดือน

หรือเพอร์ซันนัลโลนของซิตี้ แบงก์ ที่โฆษณาว่าดอกเบี้ยฟรี 0% 3 เดือน ก็ไม่ใช่ว่าผู้กู้ทุกคนจะได้อัตรานี้ แต่หมายความว่า คุณต้องเป็น ลูกค้าที่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และกู้วงเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ส่วนลูกค้าต่างจังหวัด 0% แค่เดือนแรกเท่านั้น

อ่านเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ให้ถี่ถ้วน......ข้อเสียที่ผู้กู้เงินหรือผู้ที่ทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินส่วนใหญ่ คือ ไม่ค่อยอ่านเงื่อนไข สัญญาเงินกู้ให้ละเอียด จึงมักเกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะเงื่อนไขเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่เกิดการเข้าใจผิดกันอยู่บ่อยๆ

เพราะบางครั้งสถาบันการเงินมักจงใจล่อใจผู้กู้ด้วยการประโคมอัตราดอกเบี้ยที่เป็นระยะโปรโมชั่น จนผู้กู้บางคนเข้าใจผิดว่า เป็นอัตราเท่านี้ตลอดสัญญาเงินกู้ หรือบางครั้งก็ชาร์จอัตราดอกเบี้ยในราคาถูกจริง แต่เพียงแค่คุณชำระล่าช้าหรือทำผิดเงื่อนไขนิดหน่อย ก็เท่ากับว่าคุณต้องถูกชาร์จดอกเบี้ยอีกอัตราหนึ่งซึ่งแพงระเบิดเถิดเทิง

ยอมเสียเวลาสักนิด ในการนั่งอ่านและทบทวนรายละเอียดทั้งหมดของสัญญาเงินกู้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมานั่งคอตกทีหลัง

@ค่าธรรมเนียม.......
นอกจากอัตราดอกเบี้ยจะเป็นสิ่งที่ผู้กู้ต้องดูให้ถ้วนถี่แล้ว 'ค่าธรรมเนียม' ประเภทต่างๆ ที่ต้องจ่าย ยังเป็นสิ่งที่คุณต้องไม่ลืมสำรวจ หรือสอบถามเจ้าหน้าที่ขายให้ละเอียดด้วย เพราะในการกู้แต่ละครั้งไม่ได้มีเพียงแค่ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่าย จิปาถะอีกหลายอย่างที่คุณควรจะรู้

ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ที่โดยปกติจะคิดไม่เกิน 3% ของวงเงินสินเชื่อต่อเดือน ค่าธรรมเนียมจัดการสินเชื่อ อัตราปกติไม่เกิน 5% ของวงเงินสินเชื่อหรือขั้นต่ำ 500 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ค่าปรับกรณีชำระล่าช้า ประมาณ 5% ของยอดค้างชำระ หรือขั้นต่ำ 100 บาทต่องวด แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ค่าปรับกรณีเช็คคืน ฉบับละ 200 บาทต่อครั้ง ค่าธรรมเนียมการใช้คืนสินเชื่อ ก่อนครบกำหนดเวลาชำระคืน ประมาณ 5% ของจำนวนยอดเงินที่ค้างชำระ แต่ไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

ทบทวนวัตถุประสงค์ก่อนกู้.....การไม่เป็นหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ เรื่องนี้ใครๆ ก็รู้ แต่เอาเข้าจริงๆ ดูเหมือนชีวิตของคนในยุคนี้ ไม่อยากมีลาภอันประเสริฐกันเท่าไหร่นัก บางคนตัดสินใจเป็นหนี้ด้วยวัตถุประสงค์ผิดๆ เช่น เอามาปรนเปรอความสะดวกสบายของตัวเอง กู้มาซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ กู้เพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ กู้เพราะอยากได้เสื้อผ้าแบรนด์เนมคอลเลคชั่นใหม่

แต่สำหรับบางคน การกู้สินเชื่อบุคคลจากสถาบันการเงินทั้งแบงก์ และนอน-แบงก์ เพื่อนำไปโปะหนี้นอกระบบที่อัตราดอกเบี้ยแพงหูฉี่ อันนี้ถือว่าเป็นการรีไฟแนนซ์หนี้ที่ทำให้ภาระน้อยลง

ฉะนั้น ก่อนจะตกลงปลงใจกู้เงินแต่ละครั้งคิดหน้าคิดหลังให้ดีเสียก่อน ทบทวนจุดมุ่งหมายในการกู้เงินให้ดี จะได้ไม่ติดกับดักหนี้

การเลือกซื้อ (Shopping for appliances)

การเลือกซื้อ (Shopping for appliances)
เมื่อได้วางแผนเรียบร้อยและกำหนดแนวทางในการซื้อของตนแล้ว ต่อไปก็ไปดูจากหลาย ๆ ร้านที่เลือกไว้แล้ว ดูว่าในสินค้าแบบเดียวกันคุณภาพและบริการเหมือนๆกันนั้น ร้านไหนที่สามารถต่อรองราคาได้มากที่สุดก็ซื้อจากร้านนั้น โดยทั่วไปแล้วการซื้อของใช้ราคาแพงเหล่านี้ราคามักจะต่อรองได้เสมอ คือ สามารถซื้อได้ในราคาต่ำกว่าราคาที่ติดป้ายไว้ เพราะราคาที่ติดป้ายไว้เป็นราคาเต็ม ซึ่งได้รวมค่าคอมมิชชั่นที่พนักงานขายได้รับไว้ด้วย ซึ่งถ้าพนักงานขายจะลดราคาให้ต่ำลง โดยยอมรับค่าคอมมิชชั่นให้น้อยลงก็ย่อมทำได้ ในการซื้อควรสอบถามให้แน่ชัดว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งของ ในทางปฏิบัติเมื่อได้ตกลงซื้อแล้วก็ควรให้จัดส่งของโดยทันที เพื่อผู้ซื้อจะได้ทดลองใช้และดูว่าเครื่องทำงานดีหรือไม่ เหมาะกับการใช้ในบ้านของเราอย่างไร ใช้กับระบบไฟในบ้านได้ดีหรือไม่ หรือจะต้องแก้ไขให้เหมาะสมอย่างไร เพื่อผู้ขายจะได้ให้บริการโดยครบถ้วนและถูกต้องดังกล่าว ในการชำระเงินถ้ามีเงินสดเพียงพอก็ชำระเป็นเงินสดเพราะจะซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่าราคาเงินผ่อนมาก แต่ถ้ามีเงินสดไม่เพียงพอผู้ขายก็จะมีบริการชำระเป็นเงินผ่อน ซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ย ในการซื้อเงินผ่อนนี้ควรต้องคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงด้วย

การซื้อรถยนต์ใหม่ (Buying a new car)
ถ้าท่านกำลังคิดที่จะซื้อรถยนต์ใหม่สักคันหนึ่ง ท่านควรมีการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ในด้านต่างๆให้ดี เพื่อที่ท่านจะได้สามารถเลือกซื้อรถยนต์ได้ตามความต้องการ โดยมีการลงทุนที่ต่ำที่สุดด้วย สำหรับขั้นตอนพื้นฐานประการแรกในการเลือกซื้อรถยนต์ใหม่ คือ ท่านต้องตัดสินใจว่ารถยนต์ชนิดใดที่ท่านต้องการและท่านมีวงเงินที่สามารถจ่ายซื้อได้เป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ในขั้นตอนนี้ท่านสามารถขอคำแนะนำได้จากผู้มีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ที่ท่านรู้จัก หรือขอคำแนะนำได้จากตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และแหล่งหาความรู้ที่ดีที่สุดอีกแหล่งหนึ่งก็คือ จาการอ่านนิตยสารเกี่ยวกับรถยนต์
ภายหลังจากที่ท่านสามารถตัดสินใจได้แน่นอนแล้วว่า ท่านต้องการรถยนต์ชนิดใด ขั้นตอนต่อไปที่ท่านต้องการทำการตัดสินใจก็ คือ ระยะเวลาในการใช้รถยนต์ว่าท่านมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้รถยนต์คันใหม่เป็นเวลานานเท่าใด เช่น ถ้าท่านคิดว่าจะใช้รถยนต์เพียงระยะ 2-3 ปี แล้วจะทำการแลกเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่อีกครั้งหนึ่ง ย่อมหมายความว่าท่านควรจะมีสภาพรถที่ไม่ทรุดโทรมมากนักภายในระยะเวลาอันสั้น เพื่อที่ท่านจะได้สามารถแลกเปลี่ยนได้ในราคาที่ค่อนข้างสูงพอสมควร ดังนั้นรูปแบบของรถยนต์ควรเป็นรูปแบบรุ่นใหม่ และไม่ดูล้าสมัยภายในเวลา 2-3 ปี ซึ่งหมายความว่าราคาของรถยนต์จะได้ไม่ตกลงไปมากนัก
ในทางตรงกันข้ามที่ท่านตัดสินใจว่าจะใช้รถยนต์คันใหม่ของท่าน ไปจนกว่ารถยนต์จะหมดสภาพการใช้งานอย่างจริงๆแล้ว ท่านควรใช้เงินลงทุนในการซื้อรถยนต์ในจำนวนที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากท่านไม่ได้สนใจถึงรูปแบบของรถมากไปกว่าราคา ดังนั้นท่านจึงควรใช้เวลาคอยสักเล็กน้อยเพื่อให้รถรุ่นใหม่ตกเข้ามา และถ้าผู้ขายมีความต้องการจะระบายรถยนต์รุ่นเก่าออกไปมากเท่าใด ท่านก็จะสามารถซื้อรถยนต์คันใหม่ได้ในราคาที่ถูกลงเท่านั้น และถ้าท่านซื้อรถยนต์โดยมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกน้อยที่สุด เช่น ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ไม่มีเกียร์อัตโนมัติ ไม่มีระบบกระจกไฟฟ้า ฯลฯ ท่านก็จะมีการลงทุนกับรถยนต์มากยิ่งขึ้น เพราะการเพิ่มเติมเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆเหล่านั้น ท่านสามารถจัดการเพิ่มเติมได้ภายหลังทีละรายการตามกำลังงบประมาณที่ท่านพอมีอยู่
เนื่องจากรถยนต์ใหม่มีราคาค่อนข้างแพง จึงควรใช้ความระมัดระวัง และพิถีพิถันเป็นพิเศษ การซื้อรถยนต์ใหม่ควรให้ความสนใจในเรื่องของ
- การเลือกรถยนต์
- การพิจารณาราคาที่เหมาะสม
- การต่อรองกับผู้ขาย

1. การเลือกรถยนต์ (Selecting the make of car)
ในการพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์ใหม่ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ควรให้ความสนใจ เช่น ความเชื่อถือได้ของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ (Reliability record) การรับประกันรถยนต์ (Warranty offered) ระบบเครื่องแบบธรรมดาหรือมีให้เลือกพิเศษ (Standard and optimal equipment available) ตลอดจนราคาขายต่อของรถที่ซื้อ (Resale value) รวมทั้งเรื่องการทดลองขับดู (Test drive)
1. 1. ความเชื่อถือได้ รถยนต์แต่ละยี่ห้อเป็นที่กล่าวถึงของผู้ซื้อต่าง ๆ กัน บางยี่ห้อเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นรถมีคุณภาพดี ไม่เสียง่าย ไม่ต้องซ่อมบ่อย ซึ่งในการเลือกซื้อรถก็ควรดูคุณสมบัติเหล่านี้ เพราะรถถ้าจะสวยอย่างเดียวแต่คุณภาพไม่คงทน ต้องเข้าอู่ซ่อมอยู่เรื่อยแล้ว ก็เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งควรจะได้ศึกษาข้อมูลเหล่านี้เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อด้วย
1.2. การประกันรถ การซื้อรถใหม่ในช่วงปีแรกหรือใน 20,000 กิโลเมตรแรก บริษัทรถยนต์มักจะให้การรับประกันว่า ถ้าเสียจะให้บริการซ่อมฟรี ในช่วงที่รถอยู่ในระหว่างการรับประกันของบริษัทค่าใช้จ่ายจึงมีน้อย ดังนั้นการซื้อรถจึงควรพิจารณาด้วยว่า รถยี่ห้อใดให้การรับประกันในเรื่องใดบ้าง มากน้อยเพียงไร
1.3. ระบบเครื่องแบบธรรมดาหรือมีให้เลือกเป็นพิเศษ รถยนต์แต่ละยี่ห้อจะมีระบบเครื่องที่แตกต่างกัน บางยี่ห้อจะมีเฉพาะระบบอัตโนมัติเท่านั้น แต่บางยี่ห้อก็มีให้เลือกทั้งระบบอัตโนมัติ และแบบธรรมดา ซึ่งผู้ซื้อสามารถเลือกได้ตามความประสงค์ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเรื่องราคาด้วย เพราะรถที่มีระบบอัตโนมัติราคาจะสูงกว่าแบบธรรมดา
1.4. ราคาขายต่อ รถยนต์บางยี่ห้อเวลาขายออกไปราคาจะตกมากกว่ายี่ห้ออื่น ราคาของรถมือสองจะเปลี่ยนไปทุก ๆ ปี วารสารยานยนต์หรือหนังสือพิมพ์ต่างๆ จะรายงานราคาของรถมือสองยี่ห้อต่างๆให้ผู้บริโภคทราบอยู่เสมอ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ที่จะทราบว่ารถยี่ห้อใด รุ่นใดที่ราคาตกมากหรือน้อยในเวลาขาย สิ่งที่ควรสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ รถที่มีขนาดต่างกันเวลาขายออกไปราคาจะตกไม่เหมือนกัน
1.5. การทดลองขับ ก่อนซื้อรถใหม่ควรทดลองขับให้แน่ใจจนเป็นที่พอใจเสียก่อน เนื่องจากรถแต่ละยี่ห้อระบบเครื่องยนต์ พวงมาลัย ระบบเกียร์ น้ำหนักรถ รูปทรง ประตู หน้าต่าง กระจก จะต่างกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะมีผลให้ผู้ขับขี่มีความรู้สึกว่านั่งสบายขับได้เหมาะมือหรือไม่ อย่าซื้อรถที่เมื่อทดลองขับแล้วรู้สึกไม่สะดวกสบายหรือคล่องตัวเป็นอันขาด
2. การทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ใหม่
ดังกล่าวแล้วว่าถ้าท่านมีข้อตกลง ในการเพิ่มเติมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายน้อยอย่าง ท่านก็จะมีการลงทุนในงบประมาณการซื้อรถยนต์ได้ลดลง ซึ่งอาจเป็นประมาณถึงร้อยละ 10-30 ของราคารถยนต์ที่ตกลงกันทีเดียว สำหรับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ผู้ซื้อสนใจจะได้รับ ได้แก่ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ การเปลี่ยนพวงมาลัยเป็นแบบ power การเปลี่ยนใช้เบรค ABS เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้รถยนต์รวมทั้งหมด

ดังกล่าวแล้วว่าถ้ารถยนต์ของท่านเป็นรถเก่าที่มีอายุการใช้งานมานมาก ท่านย่อมมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และมีรายจ่ายค่าน้ำมันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารถยนต์ของท่านเป็นรถขนาดใหญ่ ก็ยิ่งจะมีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงสูงกว่ารถยนต์ขนาดเล็ก นอกจากนั้นรถยนต์ขนาดใหญ่ก็ยังมีราคาสูงกว่ารถยนต์ขนาดเล็ก และมีค่าเสื่อมราคาสูงกว่าอีกด้วย ประการสำคัญคือ มีรายจ่ายค่าซ่อมแซมดูแล เข่น ค่าอะไหล่รถยนต์ ค่ายางรถยนต์ ค่าแรงงาน ฯลฯ ที่มากกว่าเช่นกัน ซึ่งหมายความว่ารายจ่ายรวมทั้งหมดของการใช้รถยนต์ขนาดเล็กจะมีน้อยกว่าการใช้รถยนต์ขนาดใหญ่ จากการศึกษาถึงรายจ่ายแต่ละประเภท ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายแปรได้ของการใช้รถยนต์ข้างต้น ท่านก็สามารถที่จะทราบรายจ่ายรวมทั้งหมดได้ โดยการทำเป็นกระดาษทำการแสดงการคำนวณรายจ่ายของการใช้รถยนต์ต่อปี ดังแสดง

กระดาษทำการแสดงการคำนวณรายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ประจำปี
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์
รายจ่ายประจำ
ค่าเสื่อมราคา ……………
การประกันอุบัติเหตุ ……………
ดอกเบี้ยเงินกู้จ่าย ……………
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ……………
รวมรายจ่ายประจำปี ……………..
รายจ่ายแปรได้
ค่าน้ำมัยเบนซิน ……………
ค่ายางรถยนต์ ……………
ค่าซ่อมแซมรถ ……………
รวมรายจ่ายแปรได้ ……………..
รวมค่าใช้จ่ายของรถยนต์ทั้งหมด ……………...

เมื่อทราบถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของการมียานพาหนะ แล้วก็สามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการวางแผนการเงิน แล้วทำตามขันตอนการวางแผน ดังนี้
1. การคำนึงถึงโอกาส เป็นการพิจารณาถึงโอกาสจากปัจจัยต่าง ๆ โดยถือเป็น จุดเริ่มต้นในการวางแผนที่ทุกคนควรจะเริ่มจากจุดนี้
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดถึงเป้าหมายของกิจกรรมที่จะต้องดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมาย
3. การวางแผนข้อสมมติฐานต่าง ๆ
4. การกำหนดทางเลือกต่าง ๆ เป็นการค้นหาและสำรวจทางเลือกต่าง ๆ ที่อาจจะปฏิบัติได้ในอนาคต
5. การประเมินทางเลือกต่าง ๆ
6. การเลือกทางเลือกที่จะใช้ในการกำหนดแผน
7. การกำหนดแผนสนับสนุน
8. การกำหนดตัวเลขต่าง ๆ ในการจัดทำแผนโดยการจัดทำงบประมาณ

กำหนดแนวทางในการซื้อ (Establishing guidelines)
เมื่อได้กำหนดวัตถุประสงค์และพิจารณาคุณค่าของการใช้สอยแล้ว ต่อไปก็ควรกำหนดแนวทางที่จะซื้อโดยมีขั้นตอนดังนี้
1. หาแผ่นพับโฆษณาของเครื่องใช้ที่จะซื้อมาศึกษาดู โดยเลือกจากหลายแบบหลายยี่ห้อ เพื่อจะได้ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวให้มากที่สุด แผ่นพับเหล่านี้สามารถขอได้จากร้านจำหน่ายทั่วไป หรือจากร้านตัวแทนจำหน่ายสินค้านั้น
2. พูดคุยกับเพื่อนฝูงที่เคยใช้มาแล้วว่าเป็นอย่างไร คำแนะนำของผู้ที่เคยใช้มาแล้วจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
3. ตัดสินใจวางแนวทางของตนเองว่าเราจะซื้ออะไร มีขนาดและกำลังการใช้มากน้อยแค่ไหน(Load capacity) จำนวนกี่ชุดจะวางไว้ที่ห้องไหน สีสันอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับห้องหรือสถานที่ของเรา
4. กำหนดงบประมาณที่จะซื้อ เมื่อเลือกสิ่งที่เราต้องการแล้วต้องคำนึงว่าสิ่งนั้นอยู่ภายในงบประมาณที่เราสามารถหาซื้อได้ด้วย ในเรื่องงบประมาณนี้ต้องครอบคลุมถึงเรื่องของค่าใช้จ่ายด้วย ข้อคิดที่ควรคำนึงถึงคือ อย่าซื้อของที่คิดว่าราคาถูกที่สุดในขณะนี้ เพราะของที่ราคาถูกที่สุดในขณะนี้ในระยะยาวแล้วอาจจะกลายเป็นของที่ราคาแพงที่สุดก็ได้ เพราะถ้าเราซื้อของใช้คุณภาพไม่ดี ราคาถูก เสียบ่อย ต่อไปก็ต้องเสียค่าซ่อมบำรุงอยู่เรื่อย
5. เลือกจังหวะที่เหมาะสมในการซื้อ เครื่องใช้บางอย่างที่วางแผนซื้อในช่วงที่เขาลดราคา หรือไม่ใช่ช่วงฤดูของการใช้จะซื้อได้ถูกลง เช่น การซื้อแอร์คอนดิชั่น ในช่วงหน้าหนาวราคาจะถูกกว่าช่วงหน้าร้อน หรือถ้าซื้อช่วงที่มีการลดราคาประจำปี ร้านค้าจะตั้งราคาต่ำมากกว่าช่วงเวลาปกติ
6. เมื่อจะตัดสินใจเลือกซื้อชนิดใดรูปแบบใดแล้ว ให้สอบถามราคาจากร้านที่มีชื่อเสียงอย่างน้อย 3 ร้าน เพื่อเปรียบเทียบกัน โดยเปรียบเทียบกันในเรื่องราคาและดูว่าผู้ขายมีศูนย์การให้บริการกระจายอยู่ทั่วไปหรือไม่ สัญญาการรับประกันสินค้าเป็นอย่างไร

รายจ่ายประจำของการใช้รถยนต์

รายจ่ายประจำหรือต้นทุนคงที่ในการใช้รถยนต์ หมายถึงรายจ่ายที่ท่านจะต้องจ่ายเสมอไม่ว่าท่านจะใช้รถยนต์เป็นเวลานานเท่าใด จำนวนไมล์สูงเพียงใดหรือมีรายจ่ายเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุกี่ครั้ง เพราะรายจ่ายประจำของรถยนต์ที่สำคัญก็คือรายจ่ายค่าเสื่อมราคารถยนต์ รายจ่ายค่าประกันอุบัติเหตุ รายจ่ายค่าผ่อนชำระและดอกเบี้ยเงินกู้ในการซื้อรถยนต์แบบผ่อนชำระ รวมถึงรายจ่ายในการทำใบขับขี่และการต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปีด้วย

รายจ่ายแปรได้ของการใช้รถยนต์

ค่าใช้จ่ายแปรได้ของการใช้รถยนต์ หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้รถยนต์หรืออาจเรียกว่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก็ได้ ซึ่งรายจ่ายแปรได้ที่สำคัญของการใช้รถยนต์สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 หมวด คือ

1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ในการที่จะทำให้รถนั้นสามารถใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ รายจ่ายค่าน้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่อง และค่าบำรุงรักษา
2. ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษารถยนต์เพื่อให้รถยนต์อยู่ในสภาพที่ใช้การได้เสมอ

1.รายจ่ายค่าน้ำมันเบนซิน
ในปัจจุบันรถยนต์สามารถใช้น้ำมันดีเซล และแก๊สแทนได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ถ้าท่านมีรถที่มีประสิทธิภาพปนการประหยัดน้ำมันแล้ว ท่านจะมีรายจ่ายรายการนี้ลดลงเป็นอย่างมาก และรถยนต์ใหม่มักจะมีประสิทธิภาพในการประหยัดน้ำมันได้ดีกว่ารถยนต์เก่า
ผู้บริโภคที่ฉลาดมักไม่ใช้วิธีซื้อรถคันใหม่ เพียงเพื่อหวังที่จะมีการประหยัดน้ำมันได้มากขึ้นเท่านั้น แต่เขาควรจะมีวิธีการใช้รถเก่าให้มีประสิทธิภาพ จะเป็นการกระทำที่ถูกต้องมากกว่า ซึ่งวิธีการใช้รถยนต์ที่จะทำให้เกิด การประหยัดน้ำมันมากขึ้น มีดังนี้

1. ควรขับรถช้าๆ ในอัตราที่คงที่ คืออยู่ในระดับความเร็วประมาณ 50 ไมล์ต่อชั่วโมง จะเป็นอัตราที่ทำให้ท่านประหยัดน้ำมันได้มากที่สุด นอกจากนั้นท่านไม่ควรติดเครื่องรถยนต์ หรือมีการเปลี่ยนแปลงความเร็วของรถอย่างรวดเร็วเพราะการขับรถด้วยความเร็วสูงจะเป็นการสิ้นเปลืองน้ำมันมาก ทั้งยังทำให้รถสึกหรอเร็วขึ้นด้วย
2.ไม่ควรขับรถช้าต่ำกว่าอัตรา 50 ไมล์ต่อชั่งโมง เพราะการขับรถในอัตราความเร็วที่ต่ำ
กว่าอัตราดังกล่าวแทนที่จะทำให้ท่านประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น
3.เติมลมยางรถยนต์ของท่านให้สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ในคู่มือรถยนต์ เพราะการมียาง
รถยนต์ที่แข็งจะช่วยให้ท่านประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น
4.ละเว้นการใช้เครื่องปรับอากาศในขณะที่ท่านขับรถในอัตราความเร็วต่ำ เพราะจะทำให้ทานประหยัดเชื้อเพลิงลงได้ ถึงประมาณร้อยละ 10-20 ทีเดียว แต่ในทางตรงข้ามที่ท่านกำลังขับด้วยความเร็วสูงการใช้เครื่องปรับอากาศจะทำให้ท่านสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยกว่าการงดใช้เครื่องปรับอากาศ และทำการเปิดหน้าต่างรถยนต์แทน
5.ในฤดูหนาวที่มีอากาศหนาวเย็น ท่านจะสามารถเติมน้ำมันได้ในจำนวนที่มากกว่าการเติมน้ำมันในฤดูร้อนที่มีอากาศร้อย เนื่องจากน้ำมันมีการขยายตัวและเต็มถังได้เร็วกว่าการเติมน้ำมันในฤดูหนาว ซึ่งหมายความว่าฤดูกาลมีส่วนที่จะทำให้ท่านสามารถประหยัดน้ำมันได้เช่นกัน
6.ไม่บรรทุกของสัมภาระที่หนักเกินไป เพราะจะทำให้รถมีน้ำหนักมาก และต้องใช้กำลังในการเคลื่อนสูงจึงมีการสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าที่ควร

2. รายจ่ายซื้อยางรถยนต์
โดยปกติโดยทั่วไปแล้วเจ้าของรถยนต์ควรมีการเปลี่ยนยางรถยนต์ เมื่อท่านได้ใช้รถยนต์ไปเป็นระยะทางประมาณ 40,000 ไมล์ หรือเป็นระยะเวลาประมาณ 4 ปี โดยเฉลี่ย ถ้ายางรถยนต์ของท่านเป็นยางคุณภาพดี แต่ถ้าท่านใช้ยางรถยนต์คุณภาพด้อยแล้ว อายุการใช้งานของยางรถยนต์ก็ใช้ได้เพียงจำนวนระยะทาง 15,000 – 25,000 ไมล์เท่านั้น ดังนั้นในระยะเวลา 4 ปี ที่ท่านต้องเปลี่ยนยางรถยนต์ แต่จะเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับชนิดของยางรถยนต์ที่ท่านเลือกใช้ด้วย
การใช้ยางรถยนต์ที่ดี จะช่วยให้ท่านสามารถประหยัดน้ำมันได้มากขึ้นประมาณร้อยละ3-5 ดังนั้นการเลือกใช้ยางรถยนต์ที่ดีจะช่วยให้ท่านมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นได้ ท่านจึงควรซื้อยางรถยนต์จากร้านค้าที่ท่านคุ้นเคย โดยเฉพาะถ้าเป็นการเลือกซื้อจากผู้ขายที่มีชื่อเสียงด้วยจะช่วยให้ท่านมั่นได้ว่าท่านจะได้ยางรถยนต์ตามที่ต้องการ ในการเลือกซื้อยางรถยนต์ท่านควรมีข้อพิจารณา
1. ไม่ควรเลือกซื้อยางรถยนต์ที่มีขนาดเล็กกว่ายางรถยนต์เดิม ที่มีมากับรถยนต์ในการซื้อครั้งแรก
2. ใช้ยางรถยนต์ชนิดเดียวกับยางรถยนต์ที่ติดมากับรถครั้งแรก ถ้าท่านไม่มีความนำเป็นจะต้องเปลี่ยนชนิดของยางเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เพื่อการให้เช่ารถ
3. ควรใช้ยางรถยนต์ประเภทเดียวกันทั้ง 4 ล้อ อย่าใช้ยางรถยนต์หลายๆ ประเภทในรถคันเดียวกัน เช่น บางล้อเป็นยางรถยนต์แบบ Radian หรือบางล้อเป็นแบบ Belted bias ply และถ้าท่านมีงบประมาณเพียงพอท่านควรใช้ยางแบบ Radian ทุกล้อจะช่วยให้ท่านประหยัดรายจ่ายในการซื้อยางยนต์ใหม่ได้มากขึ้น
4. ในการขับรถโดยใช้ยางรถยนต์ใหม่นั้น สำหรับระยะทาง 50 ไมล์แรก ท่านควรขับด้วยความเร็วไม่เกินอัตรา 55 ไมล์ต่อชั่วโมง เพื่อปรับให้ยางเริ่มใช้งานได้เข้าที่กับรถยนต์ และควรตรวจสอบและเติมลมยางรถยนต์โดยไม่ให้ยางแฟบได้ เพื่อเป็นการยืดอายุยางรถยนต์ให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น
3. รายจ่ายค่าบำรุงรักษารถยนต์
ถ้ารถยนต์ของท่านมีอายุการใช้งานมานานแล้ว หรือเป็นรถยนต์รุ่นเก่า ย่อมมีความต้องการที่จะได้รักการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น ในขณะที่รถยนต์ใหม่อาจอยู่ในความคุ้มครองของบริษัทรับประหัน สำหรับรายการค่าซ่อมแซมที่ท่านจำเป็นต้องดูแลส่วนใหญ่มักเป็นการตั้งเบรคใหม่ การเปลี่ยนท่อน้ำใหม่ การเปลี่ยนโช้คอัพ เป็นต้น

การวางแผนการเงินเพื่อยานพาหนะ

ปัจจุบันพาหนะเพื่อการเดินทางเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของบุคคลเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็น ในธุรกิจการงาน การจับจ่ายซื้อของการพักผ่อนทัศนาจร ตลอดจนการติดต่อการค้าในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ยานพาหนะที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับบุคคลมีหลายรูปแบบตั้งแต่ รถจักรยาน รถประจำทาง รถยนต์ส่วนตัวและพาหนะเครื่องบิน อย่างไรก็ตามชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ ซึ่งต้องทำงานและสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ รถยนต์ ดังนั้นในบทนี้พูดถึงเฉพาะเรื่องของรถยนต์ โดยจะกล่าวถึงความจำเป็นของบุคคลในการลงทุนซื้อรถ คุณสมบัติของรถยนต์ที่จะสามารถสนองความต้องการได้อย่างดี การวิเคราะห์ความจำเป็นและเหมาะสมในการซื้อรถยนต์ ควรซื้อรถยนต์ใหม่หรือรถเก่าดี และควรมีการเจรจาต่อรองอย่างไรจึงจะได้รถยนต์ที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมที่สุด
ความหมายของการวางแผนทางการเงิน

การวางแผนทางการเงิน คือ การกำหนดการใช้จ่ายเงินในกิจการต่างๆ ให้สอดคล้องกับโครงการและแผนงานที่จัดทำขึ้น นอกจากการใช้จ่ายเงินในกิจการต่างๆ แผนการเงินยังระบุถึงแหล่งที่มาของเงินและการใช้จ่ายเงินในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการและแผนงานว่าใช้จ่ายไปอย่างไรบ้าง สำหรับในการศึกษาครั้งนี้จะเป็นการวางแผนทางการเพื่อยานพาหนะ
ความหมายของยานพาหนะ
ยานพาหนะ : ตามความหมายในพจนานุกรมไทย ฉบับมหาวิทยาลัย หน้า 533 ระบุไว้ว่า
“ยานพาหนะ คือ เครื่องนำไป เครื่องขับขี่ต้องเป็นสิ่งที่มีเครื่องยนต์”
การวางแผนทางการเงินเพื่อยานพาหนะ
เงิน เป็นทรัพย์สิน (Asset) ที่ชัดเจนที่สุดของมนุษย์ทุกวันนี้ เพราะเงินเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสามารถแปรเป็นอย่างอื่นได้ทันทีที่ต้องการ เงินจึงมีอำนาจในการซื้อ และอำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตมาก หากขาดเงินก็จะลำบากในความเป็นอยู่มาก คนที่มีทรัพย์สินอย่างอื่นมากมาย แต่ขาดเงินก็จะขัดสน อดอยาก ฝืดเคือง ความเป็นอยู่ยาก หากมีเงินไม่มีสินทรัพย์อื่นเลยก็มีความเสี่ยงมาก เพราะเงินมีความแปรปรวนมากตามปัจจัยอื่นๆ มากมายและแปรเป็นอย่างอื่นได้ง่ายจึงสามารถหมดเร็วตามอำนาจความอยาก ที่จะซื้อหาปัจจัย 4 มาดำรงชีพเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง ปัจจุบันยานพาหนะเป็นปัจจัยที่ 5 รองจาก อาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เพราะยานพาหนะเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีพของมนุษย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุระกิจการงาน การจับจ่ายซื้อของ การทัศนาจร ล้วนจำเป็นต้องใช้ยานพาหนะทั้งสิ้น และเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ยานพาหนะมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นการที่จะซื้อยานพาหนะเป็นของตัวเอง หรือการที่จะเดินทางด้วยยานพาหนะชนิดใดนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนทางการเงินเพื่อให้สามารถใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม ซึ่งการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพนั้น ควรมีขั้นตอนดังนี้
1. การวางแผนทางการเงิน (Strategic Formulation)
2. การนำแผนไปปฏิบัติ (Implementation)
3. การติดตาม / ประเมินผล (Evaluation Control)
ลักษณะของยานพาหนะ
ลักษณะทางยานพาหนะที่มีใช้กันอย่าแพร่หลายในการเดินทางคือ
1. รถยนต์
2. รถจักยานยนต์
3. รถโดยสารประจำทาง
โดยในการศึกษาครั้งนี้จะนำลักษณะของยานพาหนะ คือ รถยนต์ และรถโดยสารประจำทางมาทำการศึกษาถึงการวางแผนทางการเงินเท่านั้น เนื่องจากรถจักรยานยนต์นั้น มีการวางแผนที่คล้ายคลึงกับรถยนต์จึงไม่นำมาศึกษา
จุดประสงค์ของการมียานพาหนะ
1. ต้องการลดเวลาในการในทางโดยเฉพาะเวลารีบเร่ง
2. ต้องการความสะดวกสบายในการเดินทาง
3. เพื่อความรวดเร็วในการเดินทาง
4. ต้องการประหยัดและลดค่าใช้จ่ายบางส่วน
5. เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง
6. เพื่อให้ได้ประโยชน์ในทางธุรกิจ



ความจำเป็นในการใช้รถยนต์
ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจกับเงินงบประมาณไว้เพื่อใช้จ่ายในการซื้อหรือผ่อนชำระรถยนต์ รวมถึงรายจ่ายค่าประกันอุบัติเหตุนั้น ท่านควรถามตัวเองให้แน่ใจเสียก่อนว่า ท่านมีความจำเป็นในการใช้รถยนต์และพร้อมที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์จริงๆ แล้วหรือยัง เพราะถ้าท่านมีความจำเป็นในการใช้รถยนต์เพียงครั้งคราว เช่น เพื่อการเดินทางไปพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือเพื่อทำกิจธุระใดโดยเฉพาะนานๆ ครั้ง ท่านอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินลงทุนเพื่อซื้อรถยนต์เป็นจำนวนมากเช่นนั้น แต่สำหรับสภาพแวดล้อมหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง อย่างในประเทศไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานครดูจะมีแนวโน้มให้ประชาชนในเมืองหลวงมีความจำเป็นจะต้องใช้รถยนต์ส่วนตัวกันมากขึ้นด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ
1.การสาธารณูปโภคในด้านการขนส่งมวลชนของเมืองหลวงยังมีการบริการที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน การจราจรติดขัด เกิดความล่าช้า และไม่สะดวกในภาวะรีบเร่งในช่วงเวลาเช้าและเย็น จึงทำให้การใช้รถยนต์ส่านบุคคลมีความจำเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่มีสมาชิกหลายคนจะมีความสะดวกในการเดินทางได้มากกว่า
2.การใช้รถยนต์ส่วนบุคคลในปัจจุบันเป็นการใช้เพื่อจุดประสงค์ในทางธุรกิจมากกว่าจะเป็นการสร้างค่านิยมและความภูมิฐานเช่นในสมัยก่อน เนื่องจากแต่ละครอบครัวย่อมมีความจำเป็นในการเดินทางไปในที่ต่างๆ กันได้หลายแห่ง
3.การใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเพื่อความสะดวกสบาย นอกจากนั้นท่านยังสามารถไปถึงจุดหมายปลายทางได้แน่นอนกว่าการใช้บริการของรถประจำทางที่มีจดหมายเป็นเพียงป้ายรถประจำทางริมถนน และท่านยังต้องใช้เวลาเดินทางด้วยตนเองจนกว่าจะถึงที่หมายอีกด้วย


ที่มาของรายได้ที่จะใช้จ่ายเพื่อยานพาหนะ
รายจ่ายเพื่อยานพาหนะมีหลายอย่างเช่น รายจ่ายค่าน้ำมันรถ, รายจ่ายค่าจดทะเบียนรถ,ค่าภาษีรถ, ค่าบำรุงซ่อมแซมต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้แม้จะดูไม่มากหนักแต่ถ้าเราต้องจ่ายบ่อยๆ ทุกๆ เดือน ถ้ารวมเป็นปีค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็มีมูลค่าสูงเช่นกัน ซึ่งแหล่งที่มาของรายได้ที่จะใช้จ่ายตรงส่วนนี้อาจได้แก่
1. เงินเดือน คือ เงินที่ได้รับทุกๆ เดือนหรือเรียกว่าเงินประจำ อาจได้มาจาก ภาครัฐบาลหรือภาคเอกชน ซึ่งก็แล้วแต่ว่าบุคคลเหล่านั้นทำงานอะไร และได้เงินเดือนมากน้อยเพียงไร ซึ่งเงินตรงส่วนนี้อาจจะจัดแบ่งเป็นส่วน เช่น
ส่วนที่ 1 เก็บไว้สำหรับค่าน้ำ, ค่าไฟ
ส่วนที่ 2 เก็บไว้เป็นค่าอาหาร
ส่วนที่ 3 เก็บไว้เป็นเงินใช้ส่วนตัว
ส่วนที่ 4 เก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ
ส่วนที่ 5 เก็บไว้เป็นเงินออม
ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่ว่าแต่ละบุคคลจะจัดสรรเงินอย่างไร
2. เงินออม คือ เงินที่เก็บสะสมเอาไว้ อาจจะเก็บไว้นานแล้ว หรือ นำเงินมาเพิ่มอีก อาจจะเก็บไว้ที่ธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยก็ได้
3. หนี้สินหรือเงินกู้ยืมต่างๆ คือ เงินที่บุคคลเป็นเจ้าของรถ กู้ยืมมาเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะอาจเป็นเงินที่กู้ยืมมาจากธนาคาร หรือ เจ้าหนี้ต่างๆ ซึ่งตรงนี้จะต้องเสียดอกเบี้ยตามแต่เจ้าหนี้จะกำหนด หรืออาจเป็นเงินที่กู้ยืมมาจากญาติพี่น้อง ซึ่งอาจจะเสียดอกเบี้ยน้อยหรืออาจจะไม่เสียเลยก็ได้

Popular Posts