MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายเงินปันผล

1. ข้อกำหนดตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้ว่า บริษัทจะจ่ายเงินปันผลจากกำไรในปีปัจจุบันหรือในอดีตก็ได้ (กำไรสะสม) โดยการจ่ายปันผลทุกครั้งจะต้องมีการจัดสรรกำไรส่วนหนึ่ง ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ร้อยละ 5 ของกำไร ไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมายด้วย

2. สภาพคล่อง เป็นปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจ่ายปันผล ถ้าหากฐานะเงินสดของธุรกิจและสภาพคล่องของธุรกิจดีก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หากธุรกิจกำลังขยายกิจการ อาจจะไม่มีสภาพคล่อง เนื่องจากต้องนำเงินสดไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต่าง ๆ จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจจ่ายปันผล

3. ความสามารถในการกู้ยืม ถ้าธุรกิจมีความสามารถในการกู้ยืมสูง ทำให้ธุรกิจไม่จำเป็นจะต้องเก็บรักษาเงินสดไว้มาก ดังนั้นธุรกิจมีสามารถในการจ่ายปันผลได้สูง

4. เสถียรภาพของกำไร ถ้าหากกำไรที่ธุรกิจทำได้สม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะพยากรณ์ได้ล่วงหน้าถึงกำไรที่จะได้ พร้อมทั้งสามารถที่จะจ่ายปันผลในอัตราส่วนที่มากและสูงกว่าธุรกิจที่มีกำไรไม่แน่นอน

5. ความจำเป็นในการชำระหนี้ ถ้าธุรกิจเลือกนำเงินไปชำระหนี้ก็ต้องมีการกันเงินจากกำไรไว้ เพื่อนำไปชำระหนี้ ดังนั้นจึงทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หรือจ่ายได้ก็เป็นจำนวนน้อย

6. ข้อจำกัดในสัญญาเงินกู้ ซึ่งมักจะมีข้อความดังนี้
- การจ่ายปันผลจะทำได้เฉพาะจากกำไรที่เกิดขึ้นหลังวันลงนามในสัญญาจะไปเอากำไรสะสมปีก่อนมาจ่ายปันผลไม่ได้
- บริษัทจะไม่จ่ายปันผล ถ้าหากเงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้
- การออกหุ้นกู้หรือการกู้เงินมา อาจมีข้อตกลงในการจำกัดจำนวนการจ่ายเงินปันผลการจำกัดจำนวนเงินปันผลจ่ายนี้ก็เพื่อจะเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้คืน

7. การควบคุม ในบางครั้งธุรกิจจะกำหนดนโยบายเพื่อที่จะขยายกิจการเท่ากับจำนวนเงิน กำไรที่กันไว้ในรูปกำไรสะสมเท่านั้น เพราะการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญจะทำให้อำนาจการควบคุมและส่วนได้เสียในบริษัทของผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนแปลงไป หรือการก่อหนี้อาจทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูงขึ้น

8. ฐานะทางภาษีของผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้รับถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ถ้าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทจะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงก็ย่อมพอใจที่จะให้คงกำไรไว้ในรูปกำไรสะสม ซึ่งมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญนั้นสูงขึ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) ซึ่งทำให้พอใจมากกว่ารับรายได้ในรูปของเงินปันผล เพราะอัตราภาษีที่เก็บจากเงินปันผลจะสูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บจากกำไรจากการขายหุ้น

9. ภาวะเงินเฟ้อ โดยทั่วไปผู้ถือหุ้นต้องการรับเงินปันผลในปัจจุบันมากกว่าที่จะรอรับในอนาคตเพราะเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น จะทำให้ค่าของเงินลดลงตามกาลเวลา

10. อัตราการขยายตัวของสินทรัพย์ หากกิจการมีการขยายตัวสูง ต้องใช้เงินทุนมากกิจการจะต้องกันเงินกำไรไว้ในรูปของกำไรสะสมจำนวนมาก ทำให้จ่ายเงินปันผลได้น้อยลง

การซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน

การซื้อหุ้นคืน คือ เป็นเครื่องมือในการบริหารการเงิน เมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องทางการเงินสูง คือ มีเงินเพียงพอที่จะไปลงทุนในหุ้นบริษัทเอง เมื่อเห็นว่าหุ้นมีราคาต่ำเกินจริง และการลงทุนในหุ้นของบริษัทจะได้รับอัตราผลตอนแทนจาการลงทุนสูงกว่าลงทุนประเภทอื่นและอีกอย่างนึงก็คือ เป็นเครื่องมือในการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท โดยแต่ละครั้งจะทำให้จำนวนหุ้นลดลง ทำให้ EPS เพิ่มขึ้น

บริษัทต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

1. มีกำไรสะสม โดยการซื้อหุ้นคืนจะทำได้ไม่เกินวงเงินสะสม และบริษัทควรกันกำไรสะสมไว้เป็นเงินสำรอง เท่ากับจำนวนเงินที่ได้จ่ายซื้อหุ้นคืนจนกว่าจะมีการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนได้หมด หรือลดทุนชำระแล้วโดยวิธี ตัดหุ้นซื้อคืนที่จำหน่ายไม่หมด แล้วแต่กรณี

2. มีสภาพคล่องส่วนเกิน โดยพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ภายใน 6 เดือน ข้างหน้าว่าถ้านำเงินมาซื้อหุ้นคืนแล้ว จะไม่กระทบกับการชำระหนี้ของบริษัท

3. ไม่ทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย ( Free Float) ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (> 15% ของทุนชำระแล้ว และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 150 ราย)

วิธีการซื้อหุ้นคืน

1. ซื้อบนกระดานหลัก (Main Board) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยราคาที่ซื้อต้องไม่เกินกว่า115% ของราคาปิด ของหุ้นเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม กรณีนี้จะใช้ได้เมื่อบริษัทมีการซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 10% ของทุนชำระแล้วเท่านั้น

2. เสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป (General Offer : GO)

วิธีการขายหุ้นคืน

1. ขายบน Main Board ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยราคาที่ขายต้องไม่ต่ำกว่า 85% ของราคาปิดของหุ้นเฉลี่ย 5 วันทำการซื้อขายก่อนหน้า

2. เสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นการทั่วไป (Public Offering : PO) ในกรณีนี้ บริษัทต้องขออนุญาตเสนอขาย หุ้นต่อประชาชนกับสำนักงาน ก.ล.ต. ด้วย

ข้อจำกัดในการซื้อหุ้นคืนหรือจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน

1. ห้ามทำรายการ หากบริษัทอยู่ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น ก่อนเผยแพร่งบการเงิน ก่อนการประกาศจ่ายปันผล หรือก่อนการประกาศเพิ่มทุน เป็นต้น

2. ห้ามทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ในกรณีซื้อหุ้นคืนบน Main Board

3. ห้ามทำรายการ หากอยู่ระหว่างการถูกทำ Takeover หรือมีข้อเท็จจริงที่ควรเชื่อว่าจะถูก Takeover ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

4. พรบ.มหาชน มาตรา 66/1 และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์u3649 .ละวิธีการว่าด้วยการซื้อหุ้นคืน การจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน และการตัดหุ้นที่ซื้อคืนของบริษัท พ.ศ. 2544

5. ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการใดๆ ของบริษัทจดทะเบียน เมื่อบริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นของบริษัทคืน และจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน พ.ศ. 2544

6. หนังสือเวียนของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ กลต. ชส. (ว) 2/2548 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548 เรื่อง ความเห็นเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการกันกำไรสะสม

(Dividend Policy)

หุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นสามัญจะมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ จึงมีสิทธิได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล (Dividend) เมื่อมีการประกาศจ่าย และได้รับส่วนเกินจากราคาซื้อขาย (Capital Gain) เมื่อขายหุ้นออกไปผู้ลงทุนในหุ้นสามัญส่วนใหญ่ลงทุนเพราะมุ่งหวังจะได้รับผลกำไรของกิจการ ซึ่งจะได้รับจากการจ่ายเงินปันผล เมื่อมีการประกาศจ่ายเงินปันผลไปแล้วกิจการจะต้องจ่ายเงินปันผล ตามที่ประกาศไว้ในรูปของเงินสดปันผล หรือหุ้นปันผลก็ได้

นโยบายการจ่ายเงินปันผล แบ่งได้ 3 ประเภท

1. จำนวนเงินปันผลต่อหุ้นคงที่ (Stable Amount Pershar) : กิจการจะจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นเป็นจำนวนเงินแน่นอน เช่น จ่ายปันผลหุ้นละ 2 บาท หรือ 3 บาท เป็นต้น กิจการที่จ่ายปันผลเช่นนี้ได้จะต้องมีผลกำไรที่คอ่นข้างแน่นอน และมีฐานะการเงินมั่นคง
2. อัตราการจ่ายเงินปันผลคงที่ (Constant Layout Ratio) : กิจการจะกำหนดจำนวนเงินปันผลเป็นอัตราส่วนกับกำไรที่กิจการได้รับในปีนั้นๆ เช่น กำหนดจ่ายปันผล 50% ของกำไรสุทธิ ถ้าบริษัทมีหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายทั้งหมด 200,000 หุ้นปี 2544 บริษัทมีกำไรสุทธิ 200,000 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 1 บาท ต้องจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 0.50 บาทปี 2545 บริษัทมีกำไรสุทธิ 400,000 บาท กำไรสุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 2 บาท ต้องจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 1.00 บาทดังนั้น วิธีนี้จำนวนเงินปันผลจึงไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงไปตามกำไรสุทธิของกิจการ ถ้ากิจการมีกำไรมากก็จ่ายปันผลมาก ถ้ากิจการมีกำไรน้อยก็จ่ายปันผลน้อย
3. จำนวนเงินปันผลปกติขั้นต่ำบวกเงินปันผลพิเศษ (Low Regular and Extra Dividend) :กิจการจะจ่ายเงินปันผลจำนวนหนึ่งที่แน่นอน และหากปีใดกิจการมีกำไรเกินกว่าปกติ กิจการก็จะจ่ายเงินปันผลเพิ่มพิเศษให้อีกจำนวนหนึ่ง เช่น กำหนดว่าทุกปีจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยหุ้นละ 10 บาท แต่หากปีใดมีกำไรมากก็จะจ่ายเพิ่มพิเศษให้ปี 2540 บริษัทมีกำไรสุทธิ 300,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 10 บาทปี2541 บริษัทมีกำไรสุทธิ 400,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 15 บาท (10+5) ปี 2542 บริษัทมีกำไรสุทธิ 500,000 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 18 บาท (10+8)

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายเงินปันผล

1. ข้อกำหนดตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดไว้ว่า บริษัทจะจ่ายเงินปันผลจากกำไรในปีปัจจุบันหรือในอดีตก็ได้ (กำไรสะสม) โดยการจ่ายปันผลทุกครั้งจะต้องมีการจัดสรรกำไรส่วนหนึ่ง ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ร้อยละ 5 ของกำไร ไว้เป็นทุนสำรองตามกฎหมายด้วย
2.สภาพคล่อง เป็นปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจ่ายปันผล ถ้าหากฐานะเงินสดของธุรกิจและสภาพคล่องของธุรกิจดีก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หากธุรกิจกำลังขยายกิจการ อาจจะไม่มีสภาพคล่อง เนื่องจากต้องนำเงินสดไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวรต่างๆ จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจจ่ายปันผล
3. ความสามารถในการกู้ยืม ถ้าธุรกิจมีความสามารถในการกู้ยืมสูง ทำให้ธุรกิจไม่จำเป็นจะต้องเก็บรักษาเงินสดไว้มาก ดังนั้นธุรกิจมีสามารถในการจ่ายปันผลได้สูง
4. เสถียรภาพของกำไร ถ้าหากกำไรที่ธุรกิจทำได้สม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะพยากรณ์ได้ล่วงหน้าถึงกำไรที่จะได้ พร้อมทั้งสามารถที่จะจ่ายปันผลในอัตราส่วนที่มากและสูงกว่าธุรกิจที่มีกำไรไม่แน่นอน
5. ความจำเป็นในการชำระหนี้ ถ้าธุรกิจเลือกนำเงินไปชำระหนี้ก็ต้องมีการกันเงินจากกำไรไว้ เพื่อนำไปชำระหนี้ ดังนั้นจึงทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หรือจ่ายได้ก็เป็นจำนวนน้อย
6. ข้อจำกัดในสัญญาเงินกู้ ซึ่งมักจะมีข้อความดังนี้
- การจ่ายปันผลจะทำได้เฉพาะจากกำไรที่เกิดขึ้นหลังวันลงนามในสัญญาจะไปเอากำไรสะสมปีก่อนมาจ่ายปันผลไม่ได้
- บริษัทจะไม่จ่ายปันผล ถ้าหากเงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้
- การออกหุ้นกู้หรือการกู้เงินมา อาจมีข้อตกลงในการจำกัดจำนวนการจ่ายเงินปันผลการจำกัดจำนวนเงินปันผลจ่ายนี้ก็เพื่อจะเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้คืน
7. การควบคุม ในบางครั้งธุรกิจจะกำหนดนโยบายเพื่อที่จะขยายกิจการเท่ากับจำนวนเงิน กำไรที่กันไว้ในรูปกำไรสะสมเท่านั้น เพราะการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นสามัญจะทำให้อำนาจการควบคุมและส่วนได้เสียในบริษัทของผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนแปลงไป หรือการก่อหนี้อาจทำให้มีความเสี่ยงทางการเงินสูงขึ้น
8. ฐานะทางภาษีของผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้รับถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ถ้าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทจะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงก็ย่อมพอใจที่จะให้คงกำไรไว้ในรูปกำไรสะสม ซึ่งมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญนั้นสูงขึ้น ผู้ถือหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้น (Capital Gain) ซึ่งทำให้พอใจมากกว่ารับรายได้ในรูปของเงินปันผล เพราะอัตราภาษีที่เก็บจากเงินปันผลจะสูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บจากกำไรจากการขายหุ้น
9. ภาวะเงินเฟ้อ โดยทั่วไปผู้ถือหุ้นต้องการรับเงินปันผลในปัจจุบันมากกว่าที่จะรอรับในอนาคตเพราะเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น จะทำให้ค่าของเงินลดลงตามกาลเวลา
10. อัตราการขยายตัวของสินทรัพย์ หากกิจการมีการขยายตัวสูง ต้องใช้เงินทุนมากกิจการจะต้องกันเงินกำไรไว้ในรูปของกำไรสะสมจำนวนมาก ทำให้จ่ายเงินปันผลได้น้อยลง

ประเภทของการจ่ายปันผล

1. เงินสดปันผล (Cash Dividend) : เงินสดปันผลจะจ่ายจากกำไรสะสม การที่จะจ่ายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณเงินสดที่กิจการถืออยู่ว่ามีเพียงพอหรือไม่ การจ่ายเงินสดปันผลจะทำให้ในงบดุลมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสินทรัพย์ (เงินสดลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย) และด้านหนี้สินและทุนก็ลดลงเช่นกัน (กำไรสะสมลดลงตามจำนวนปันผลที่จ่าย)
2. หุ้นปันผล (Stock Dividend) : เป็นการจ่ายปันผลในรูปของหุ้นสามัญออกใหม่ ซึ่งเรียกว่า หุ้นปันผล ซึ่งจะกำหนดจำนวนหุ้นที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ เช่น การจ่ายหุ้นปันผลร้อยละ 10 หมายความว่า ผู้ถือหุ้นอยู่ 100 หุ้น จะได้รับหุ้นปันผล 10 หุ้น นั่นคือ กิจการจะต้องจดทะเบียนเพิ่มทุน โดยมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 การจ่ายหุ้นปันผลไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนเจ้าของในงบดุล แต่จำนวนกำไรสะสมจะลดลง ในขณะที่มูลค่าหุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้นในจำนวนที่เท่ากัน

ข้อดีของการจ่ายหุ้นปันผล
- ช่วยประหยัดเงินสดให้ธุรกิจ เพื่อใช้ในโครงการลงทุนอื่นในอนาคต โดยไม่ต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมจากแหล่งภายนอก
- ทำให้ผู้ถือหุ้นที่มีรายได้สูงเกิดความพอใจ เพราะถ้าผู้ถือหุ้นมีรายได้สูงจะเสียภาษีสูงด้วย
- ช่วยบริษัทที่ประสบปัญหาทางการเงิน
- ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญไม่สูงเกินไป

ข้อเสียของการจ่ายหุ้นปันผล
- ค่าใช้จ่ายในการจ่ายหุ้นปันผลค่อนข้างสูง
- ทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง
- ราคาตลาดของหุ้นลดลง

3. การแยกหุ้น (Stock Splits) : การจ่ายปันผลวิธีนี้ จะทำให้จำนวนหุ้นสามัญที่ผู้ลงทุนถือหุ้นอยู่มีจำนวนมากขึ้น เช่น แยกหุ้นจาก 1 เป็น 10 หมายความว่า ผู้ถือหุ้นเดิมจะได้รับหุ้นเพิ่มขึ้น 9 หุ้น ต่อหุ้นที่ถืออยู่ 1 หุ้น โดยมูลค่าที่ตราไว้จะลดลงเหลือ 1/10 ด้วย คือหากมูลค่าเดิมที่ตราไว้ 100 บาทต่อหุ้น เมื่อแยกหุ้นแล้วจะเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น การแยกหุ้นไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่วนของเจ้าของในงบดุล จำนวนกำไรสะสมและมูลค่าหุ้นสามัญรวมยังคงเดิม เพียงแต่จำนวนหุ้นจะมากขึ้นและมีราคามูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นลดลงวิธีการแยกหุ้นนี้ จะสร้างความพอใจแก่ผู้ถือหุ้น เพราะเมื่อบริษัทมีกำไรมาก การจ่ายปันผลสูง และมีความเจริญเติบโตในอัตราที่ดีแล้ว ทำให้ราคาตลาดของหุ้นอยู่ในระดับที่สูงมาก
4. การซื้อหุ้นกลับคืน (Stock Pepurchase) : การที่ธุรกิจนำเงินกำไรส่วนที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมหรือเงินที่ได้จากการก่อหนี้ไปซื้อหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายแล้ว ทำให้หุ้นสามัญมีจำนวนน้อยลง ถ้าปัจจัยอื่นคงที่และสมมติว่าการซื้อหุ้นคืนไม่กระทบต่อความสามารถทำกำไรของธุรกิจ จะทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงขึ้น ถ้าธุรกิจนำเงินที่เก็บไว้ในรูปกำไรสะสมไปซื้อหุ้นกลับคืน ทำให้การจ่ายเงินปันผลลดน้อยลง แต่ถ้านักลงทุนขายหุ้นจะได้รับกำไรจากการขายหุ้นเนื่องจากราคาตลาดสูงขึ้น กำไรจาการขายหุ้นชดเชยได้พอดีกับเงินปันผลจ่ายที่น้อยลงการซื้อหุ้นกลับคืนจะกระทำเมื่อกิจการมีเงินทุนเหลือใช้เป็นการถาวร หรือต้องการลดจำนวนหุ้นสามัญที่หมุนเวียนในตลาดลง เพื่อทำให้ราคาตลาดหุ้นสามัญสูงอีก หรือเพิ่มอำนาจการควบคุมกิจการ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถือหุ้นขายหุ้นให้กับบริษัทอื่น กิจการสามารถซื้อหุ้นกลับคืนมาได้ หุ้นที่ซื้อคืนนี้ เรียกว่า Treasury Stock
5. การรวมหุ้น (Reverse Split) : บริษัทสามารถทำการลดจำนวนหุ้นสามัญลงและเพิ่มมูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้นได้ การลดจำนวนหุ้นลงนี้ทำได้โดยการรวมหุ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีที่ราคาตลาดของหุ้นต่ำมาก ธุรกิจก็จะทำการรวมหุ้นเพื่อให้จำนวนหุ้นในมือของผู้ถือหุ้นลดจำนวนลง ราคาตามมูลค่าของหุ้นจะเพิ่มขึ้น อันมีผลทำให้ราคาตลาดของหุ้นสูงขึ้น

ความเสี่ยง (Risk)

ในการตัดสินใจลงทุนใด ๆ นั้น ต้องพิจารณาเปรียบเทียบผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ควบคู่ไปกับระดับของความเสี่ยงที่ตนยอมรับได้เสมอ โดยต้องเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด ภายใต้ความเสี่ยงระดับหนึ่ง หรือการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด ภายใต้อัตราผลตอบแทนระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ยิ่งโอกาสที่ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนมีความไม่แน่นอน หรือความเสี่ยงมากขึ้นเท่าใด ก็จะทำให้เราต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การทำความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับผลตอบแทน และความเสี่ยงจึงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในเรื่องของการลงทุน

โดยเมื่อพูดถึงการลงทุน สิ่งที่เราต้องพิจารณาก่อนเสมอ ก็คือ เมื่อลงทุนแล้ว จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นกลับคืนมาเท่าไร คำว่า “ผลตอบแทน (Returns)” นี้ พูดง่าย ๆ ก็คือ ผลประโยชน์ที่ทุกคนปรารถนาที่จะได้รับจากการลงทุน โดยคาดหวังว่าผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นจะทำให้เงินลงทุนเพิ่มพูนขึ้น และคุ้มค่ากับ

• การที่เรายอมสูญเสียโอกาสที่จะนำเงินซึ่งตนเองมีอยู่ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ แล้วเลือกที่จะนำเงินก้อนนั้นมาลงทุนแทน หรือที่เรียกกันว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)”
• “อำนาจในการซื้อ (Purchasing Power)” ที่สูญเสียไป อันเนื่องมาจากระดับของราคาสินค้า และบริการในตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า “ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation)”
• “ความเสี่ยง (Risk)” ที่เกิดขึ้นจากการลงทุน ซึ่งโดยปกติแล้วการลงทุนใด ๆ ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเสมอไม่มากก็น้อย แต่หากเราเลือกลงทุนในทางเลือกใด ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง เราก็ย่อมต้องการผลตอบแทนในอัตราที่สูงขึ้น เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่มากขึ้นนั้นด้วย ในทางตรงกันข้าม หากเราเลือกลงทุนในทางเลือกใด ๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำ อัตราผลตอบแทนที่เราต้องการเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เกิดขึ้น หรือที่เรียกกันว่า “ส่วนชดเชยความเสี่ยง (Risk Premium)” ก็จะต่ำนั่นเอง
• พันธะผูกพันของเงินลงทุนตลอดช่วง “ระยะเวลาการลงทุน (Investment Period)” โดยยิ่งเงินลงทุนมีพันธะผูกพัน หรือต้องใช้เวลานานมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ย่อมมีโอกาสที่จะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นกับเงินลงทุนนั้นได้มากยิ่งขึ้นในอนาคต
• ค่าใช้จ่าย หรือต้นทุนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการลงทุนนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ต้นทุนที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาลงทุน (Costs of Debt) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating Expenses) ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนประกอบกิจการ ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้แก่นายหน้า (Commission หรือ Brokerage Fees) ซึ่งเกิดขึ้นจากการลงทุนในหลักทรัพย์ เป็นต้น
• กรณีแรก จีบสำเร็จ และได้เป็นภรรยาจริง ตรงตามที่คาดหวังไว้ตั้งแต่ต้น หากเปรียบเสมือนกับการลงทุน ก็คือ ได้รับผลตอบแทนจริงตรงกับที่ได้คาดหวังเอาไว้ ถือว่า ไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้นแต่อย่างใด
• กรณีที่สอง จีบไม่สำเร็จ แม้ว่าจะลงทุนลงแรง ทั้งพาไปเที่ยว พาไปดูหนังฟังเพลง และซื้อของต่าง ๆ ให้มากมาย แต่ท้ายสุดสาวเจ้ากลับเลือกคนอื่นแทน หากเปรียบเสมือนกับการลงทุน ก็คือ ได้รับผลตอบแทนจริงต่ำกว่าที่ได้คาดหวังไว้นั่นเองอย่างนี้ถือว่า ขาดทุน และเป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางลบ
• กรณีสุดท้าย จีบสำเร็จ แต่พิเศษหน่อยตรงที่ แทนที่จะได้สาวสวยที่สุดในหมู่บ้านมาเป็นภรรยาเพียงอย่างเดียว ยังพบว่าภรรยามีฝีมือในการทำอาหารจนสามารถเปิดร้านอาหารที่มีชื่อเสียง ทำรายได้ให้แก่ครอบครัวเป็นอย่างมาก อย่างนี้ ถือว่ากำไรแน่นอน หากเปรียบเสมือนกับการลงทุน ก็คือ ได้รับผลตอบแทนจริงสูงกว่าที่ได้คาดหวังไว้ เป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางบวกแต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่สอง หรือกรณีสุดท้าย สังเกตได้ว่า ผลลัพธ์ที่ได้เกิดขึ้นจริงแตกต่างไปจากที่ได้คาดหวังไว้ตั้งแต่ต้น จึงถือว่าเป็นความเสี่ยงทั้งสิ้น โดยเราสามารถจำแนกความเสี่ยงออกได้เป็น

1. ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อกิจการทุกกิจการ หรือมีผลกระทบต่อราคาของทุกๆ หลักทรัพย์ในตลาด โดยไม่สามารถควบคุม หรือทำให้ลดลงได้ ซึ่งประกอบด้วย
- ความเสี่ยงตลาด (Market Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากกระแสความรู้สึก หรือทัศนคติของนักลงทุนที่มีต่อสภาวะตลาด (Market Sentiment) โดยรวม
- ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) เป็นความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการกู้ยืมเงิน หรือราคาของหลักทรัพย์ในตลาด
- ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อลดลง (Purchasing Power Risk) เป็นความเสี่ยงอันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) โดยจะมีผลทำให้อำนาจการซื้อของเงินที่ได้รับจากการลงทุนลดลง หรือทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับลดลงนั่นเอง

2. ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk) หมายถึง ความเสี่ยงเฉพาะที่ส่งผลกระทบต่อกิจการใดกิจการหนึ่งเท่านั้น หรือมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งเท่านั้น โดยสามารถควบคุม หรือทำให้ลดลงได้ด้วยการบริหารจัดการที่ดี หรือการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งประกอบด้วย
- ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน (Business Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่ส่งผลเฉพาะต่อแต่ละกิจการ หรือแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากคุณภาพของทีมผู้บริหาร การบริหารงานที่ผิดพลาด และการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด เป็นต้น
- ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial หรือ Default Risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความน่าเชื่อถือทางการเงิน หรือความสามารถในการชำระหนี้ของแต่ละกิจการ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของกิจการ การใช้เงินกู้ผิดวัตถุประสงค์ เป็นต้น

ความเสี่ยงทางการเงิน คืออะไร

องค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงินที่บริหารจัดการลงทุนโดยตรง หรือบริษัทเอกชนทั่วไปที่ต้องจัดการเงินสดคงเหลือผ่านช่องทางการลงทุนต่าง ๆ แล้ว ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นด้วยกันทั้งสิ้น โดยนิยามแล้ว ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) สำหรับองค์กร หมายถึง ความไม่แน่นอนของผลลัพธ์ในอนาคต อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมทางการเงินของฝ่ายที่เกี่ยวข้องในองค์กร ที่จะส่งผลกระทบทางลบต่อมูลค่าของกิจการ หากมองในเชิงเปรียบเทียบแล้ว ความเสี่ยงทางการเงินสำหรับผู้ลงทุนรายบุคคล มักจะเกิดจากความเสี่ยงด้านภาวะตลาด (Market Risk) เป็นหลัก ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความผันผวนของตลาดเงิน ทำให้ผู้ลงทุนไม่สามารถเชื่อได้อย่างแน่นอนว่าผลตอบแทนที่จะได้รับจะเป็นเท่าใด ณ สิ้นสุดการลงทุนแต่ ความเสี่ยงทางการเงินในระดับองค์กร ครอบคลุมปัจจัยที่กว้างกว่า

นอกจากความเสี่ยงด้านภาวะตลาดที่องค์กรต้องเผชิญเช่นเดียวกันแล้ว ความเสี่ยงยังเกิดจากความไม่แน่นอนที่อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ชำระราคาหรือชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ เรียกว่าความเสี่ยงด้านเครดิต(Credit Risk) และความเสี่ยงที่เกิดจากข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงาน หรือการตรวจสอบเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน จนทำให้เกิดความเสียหายขึ้น เรียกว่า ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ (Operational Risk) ทั้งนี้ ความเสี่ยงด้านภาวะตลาดและความเสี่ยงด้านเครดิต จัดได้ว่าเป็นความเสี่ยงระยะสั้นที่ก่อให้เกิดความผันผวนต่อมูลค่าการลงทุน ในขณะที่ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ จัดได้ว่าเป็นความเสี่ยงระยะยาวที่ส่งผลต่อการดำเนินงานและมูลค่าของกิจการ

เนื่องจากความเสี่ยงทางการเงินมีหลายมิติ องค์กรที่ดำเนินธุรกิจแตกต่างกันจะรับความเสี่ยงแต่ละประเภทในระดับที่ต่างกันเช่น องค์กรที่เน้นการบริหารพอร์ตการลงทุนจะมีความเสี่ยงด้านภาวะตลาดสูง และองค์กรที่เน้นการปล่อยสินเชื่อจะมีความเสี่ยงด้านเครดิตสูง เป็นต้น นอกจากนี้ ความเสี่ยงประเภทเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน อาจมีความสำคัญต่อองค์กรไม่เท่ากันอีกด้วย เช่น ในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจ องค์กรอาจมีความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการมาก เนื่องจากอยู่ในระบบการดำเนินการต่าง ๆ ยังไม่เข้าที่ หรือเมื่อต้องขยายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่ยังไม่คุ้นเคย อาจทำให้เผชิญกับความเสี่ยงจากภาวะตลาดเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น ท่านผู้บริหารควรพิจารณาความเสี่ยงทางการเงินในเชิงภาพรวมและจัดสมดุลให้ดี หากให้น้ำหนักการบริหารความเสี่ยงประเภทใดประเภทหนึ่งมากเกินไป อาจทำให้ได้รับความเสียหายจากการละเลยความเสี่ยงอีกประเภทหนึ่งได้

ทฤษฎีปริมาณเงิน (The Modern Quantity theory of money)

ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นโดย Milton Friedman และนักเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชิคาโกโด้เผยแพร่ผลงานเพื่อสนับสนุนการมีเสถียรภาพของความต้องการถือเงินตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินที่มีต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่นี้ได้พิจารณาความต้องการถือเงินจากการที่มีความเห็นเกี่ยวกับเงินว่าเงินเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งในจำนวนสินทรัพย์อื่น ๆ ที่มีมากมาย (portfolio of assets) ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการประยุกต์ทฤษฎีทุน (capital theory) เข้ากับการอธิบายพฤติกรรมความต้องการถือเงิน โดยถือว่าเงินมีลักษณะการถือสินค้าทุนในรูปแบบอื่น ๆ Friedman ได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับความต้องการถือเงินของบุคคลมีอยู่ 4 ประการคือ ระดับรายได้ที่แท้จริง ระดับราคา ระดับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและการเพิ่มขึ้นของระดับราคาและอัตราเงินเฟ้อ

โดยปัจจัย 2 เป็นตัวแรกที่มีความสัมพัน์ในทิศทางตรงกับความต้องการถือเงินและปัจจัย 2 ตัวหลังมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่ง Friedman ว่าการเปลี่ยนแปลงของความต้องการถือเงินจะเป็นสัดส่วนเดียวกันกับระดับราคาและเป็นสัดส่วนที่มากกว่าระดับรายได้ที่แท้จริงโดยระดับราคาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการถือเงินดังนี้คือ ถ้าระดับราคาสินค้าสูงขึ้น มูลค่าของเงินที่แท้จริงจะลดลงและเพื่อที่จะรักษาระดับดุลยภาพของความต้องการถือเงินเอาไว้บุคคลต่าง ๆ ก็จะต้องเพิ่มจำนวนของปริมาณเงินที่ต้องการถือเอาไว้เพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะซื้อสินค้าได้ในปริมาณเท่าเดิม แต่ถ้าระดับราคาของสินค้าลดลง บุคลก็จะลดปริมาณเงินที่ถือเอาไว้ทั้งนี้เพราะมูลค่าที่แท้จริงของเงินได้เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงคือ
ต้นทุนของการถือเงินที่เป็นมูลค่าแท้จริงเพิ่มสูงขึ้น

ความมั่งคั่งรวม (total wealth) เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะจำกัดขอบเขตของความสามารถที่จะมีความต้องการถือเงินและมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความต้องการถือเงินนักลงทุนกฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ได้พิจารณาถึงความมั่งคั่งรวมประกอบด้ยแหล่งที่มาของรายได้หรือบริการที่สามารถนำมาเพื่อการบริโถคได้ทุกประเภทแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญของบุคคลทั้งหลายก็คือความสามารถในการผลิต (productivity capacity) ของตนเองโดยที่บุคคลจะต้องใช้ความสามารถในตนเองทำการผลิตสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนออกมาในรูปของรายได้หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า human wealth ซึ่งFriedman ได้ให้ความสำคัญโดยถือว่าเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความมั่งคั่งที่สามารถดำรงได้ การพิจารณาความมั่งคั่งในลักษณะนี้รายได้จะเข้ามามีอิทธิพลต่อความต้องการถือเงิน โดยมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นตัวแทนของความั่งคั่งเท่านั้น รายได้ที่แท้จริงตามความหมายของ Friedman จะแตกต่างจากความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป คือใช้ในความหมายของรายได้ระยะยาวหรือรายได้ถาวร (permanent income) และรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว (transitory income)

Measure income = transitory income + permanent income

รายได้ถาวรนั้น หมายถึง รายได้ที่บุคคลคาดการณ์ว่าจะได้รับอย่างแน่นอนตลอดชั่วชีวิตของคนเรา (ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนของ human capital) หรือหมายความว่าเป็นรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (expected income) และ Friedman ไม่เห็นด้วยกับการนำเอาข้อมูลรายได้ประชาชาติจากบัญชีรายได้ประชาชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละปี (actual income) มาเป็นข้อมูลที่ใช้วัดขนาดรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งนี้เพราะขนาดของรายได้ที่คาดกับที่เกิดขึ้นจริง อาจมีความแตกต่างกันอันเนื่องมาจากมีรายได้ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่ไม่ด้คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Or Transitory Event) ซึ่งรายได้ที่เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหวังนี้ไม่ควรเจ้ามามีผลกระทยต่อความต้องการถือเงิน ดังนั้นรายได้ที่มีผลกระทบต่อความต้องการถือเงินเป็นเพียงเฉพาะรายได้ถาวรหรือรายได้ที่คาดหวังเท่านั้น

Human Wealth / Non Human Wealth เนื่องจากความมั่งคั่งที่มีอยู่ในทุกรูปแบบยกเว้น Human Wealth สามารถที่จะมีตลาดสำหรับซื้อหรือขายได้ แต่ตลาดสำหรับการซื้อขาย Human Wealth นั้นไม่มีเพราะว่า Human Wealth ก็คือความสามารถของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงไปให้อยู่ในรูปของรายได้ในอนาคตและเป็นการทำให้ Human Wealth ที่ดำรงอยู่มีมูลค่าปัจจุบันที่สูงขึ้น ในเรื่องนี้ความสามารถของบุคคลที่มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลง Human Wealth ให้ไปอยู่ในรูปความมั่งคั่งประเภทอื่นซึ่งมนทางปฎิบัตแล้ว มูลค่าปัจจุบันของ Human Wealth ประเมินได้ยากกว่าความมั่งคั่งในรูปแบบอื่น Friedman จึงได้นำเอาสัดส่วนของ Human Wealth/ Non Human wealth มาเป็นตัวแปรอีกตัวหนึ่งในฟังก์ชั่นความต้องการถือเงินโดยถ้าสัดส่วนดังกล่าวมีอยู่ในความมั่งคั่งรวมมากขึ้น จะทำให้ความต้องการถือเงินลดลง

อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับจากการถือพันธบัตร (ib) ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินแน่นอนในระยะเวลาที่กำหนด แต่ในขณะที่ถือพันธบัตรนั้นราคาซื้อขายของพันธบัตรในท้องตลาดจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกลไกของตลาดอัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินจากการถือพันธบัตรจึงประกอบไปด้วยสองส่วน คือ รายได้จากดอกเบี้ย ซึ่งจะมีจำนวนคงที่และอีกส่วนมาจากกำไรหรือขาดทุนจากการขายพันธบัตร (Capital Gain Or Capital loss) ที่จะเกิดขึ้น ราคาของพันธบัตรจะแปรผันไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยก็สามารถที่จะถูกนำมาใช้วัดถึงของ Capital Gain หรือ Capital Loss ที่จะเกิดขึ้นจากการถือพันธบัตรนั้นด้วยและการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่คาดคะเนจะถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจลงทุนของบุคคลด้วย

อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับจากการถือเงิน (im) การถือเงินจะให้ผลตอบแทนในรูปที่เป็นตัวเงินหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบหรือชนิดของเงินที่ถือว่าอยู่ในรูปแบบใดถ้าถือในรูปเงินสดก็จะไม่มีผลตอบแทนในรูปที่เป็นตัวเงินแก่ผู้ถือ ในขณะที่เงินฝากประจำให้ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินแก่ผู้ถือและให้ทางตรงกันข้ามการถือเงินฝากระแสรายวันที่ผู้ถือต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับธนาคาร (Bank Charges) ตามที่กำหนด ซึ่งมีลักษณะของผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินมีค่าเป็นลบ (Negative return)

อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือหุ้น (ie) การถือหุ้น (Equity) ก็ให้อัตราผลตอบแทนในลักษณะเดียวกันกับความมั่นคั่งในรูปของพันธบัตร คือ ผลตอบแทนในรูปของตัวเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
- ส่วนแรกมาจากเงินปันผลซึ่งได้รับมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกำไรที่เกิดขึ้นของกิจการที่เป็นผู้ออกหุ้น
- ส่วนที่ 2 เกิดจาการเปลี่ยนแปลงของ capital Value ของหุ้นในระยะเวลาที่ถือหุ้นนั้นอยู่

อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปหรืออัตราเงินเฟ้อ อัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไป จะมีผลทำให้มูลค่าของปริมาณเงินที่บุคคลถืออยู่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีทิศทางความสัมพันธ์กันในทางตรงกันข้ามถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปสูงขึ้น มูลค่าที่แท้จริงของปริมาณเงินจะลดลงแต่ถ้าอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาโดยทั่วไปลดลงก็จะทำให้มูลค่าที่แท้จริงของปริมาณเงินเพิ่มขึ้นด้วย

รสนิยมและความพอใจ (u) เป็นตัวแปรที่แสดงอรรถประโยชน์ (utility) ที่บุคคลได้รับจากการบริการที่มาจากการถือเงินและบริการที่มาจากการถือสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ

การนำเอาทฤษฎีมาเป็นพื้นฐานที่ใช้วิเคราะห์ในการศึกษานี้จะอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายทั้งทางตรงและทางอ้อม ตามแนว ความคิดของทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ดังนี้

1. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินต่อราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขาย โดยที่ถ้าปริมาณเงินสูงขึ้นจะมีผลทำให้ปริมาณเงินที่แท้จริงที่บุคคลถืออยู่มีมากขึ้นเกินกว่าความต้องการถือเงินที่แท้จริงของบุคคลดังนั้นเพื่อรักษาดุลยภาพของปริมาณเงินที่แท้จริง บุคลต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะปรับตัวเพื่อให้ปริมาณเงินมีพอดีกับที่ต้องการถือ โดยนำปริมาณเงินส่วนเกินไปซื้อหลักทรัพย์ทำให้อุปสงค์ (Demand) ในหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น มูลค่าการซื้อขายจะเพิ่มขึ้นและในทางตรงกันข้ามถ้าปริมาณเงินลดลงปริมาณเงินที่แท้จริงที่บุคคลถืออยู่จะลดลง บุคคลจะรักษาดุลยภาพปริมาณเงินไว้โดยการเปลี่ยนความมั่งคั่งในรูปหลักทรัพย์ให้มาอยู่ในรูปของเงินสดทำให้มูลค่าของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลง

2. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย นักเศรษฐศาสตร์การเงินมีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในทิศทางตรงข้าม โดยที่เมื่อปริมาณเงินลดลงจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นซึ่งหมายความว่า หากบุคคลถือทรัพย์ในรูปเงินโดยการฝากกับธนาคารแล้วก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ย แต่หากบุคคลถือสินทรัพย์ในรูปอื่นแทนเงินสดก็จะเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสเท่ากับอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้น บุคคลทั่วไปจึงถือเงินสดในขณะดอกเบี้ยสูงขึ้น ความต้องการถือหลักทรัพย์ลดลงทำให้ราคาหลักทรัพย์และมูลค่าการซื้อขายลดลงด้วย ถ้าหากปริมาณเงินเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยจะลดลง ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการถือเงินจะลดลง บุคคลจะเลือกถือสินทรัพย์ในรูปของหลักทรัพย์แทน ทำให้ความต้องการถือหลักทรัพย์สูงขึ้น มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์สูงขึ้น

ศัพท์ตราสารหนี้ 2

Accrued Interest (AI)
ดอกเบี้ยค้างรับคือ ดอกเบี้ยสะสมที่เกิดจากการลงทุน ในตราสารหนี้ นับจากวันจ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุดจนถึงวันส่งมอบตราสาร

Amortizing Debenture
หุ้นกู้ชนิดทยอยคืนเงินต้น คือ หุ้นกู้ที่ทยอยชำระคืนเงินต้นบางส่วนให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยชำระตามจำนวนเงินและงวดที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน

Arbitrage
กลยุทธ์ในการทำกำไรจากผลต่างของราคาใน 2 ตลาดของสินค้าชนิดเดียวกัน ซึ่งการที่จะทำเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีการซื้อขายมากกว่าหนึ่งตลาด เช่น การขายสินค้าในตลาดปกติที่มีการส่งมอบกันทันทีไปพร้อม ๆ กับการซื้อสินค้าในตลาดล่วงหน้า เป็นต้น

Automated System For The Stock Exchange Of Thailand (ASSET)
ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Automatic Order Matching (AOM)
เป็นวิธีการซื้อขายหลักทรัพย์แบบหนึ่งในระบบ ASSET โดยที่ระบบจะประมวลคำสั่งซื้อและคำสั่งขายที่ดีที่สุดไว้ในลำดับแรก ส่วนคำสั่งซื้อและคำสั่งขายที่ดีในอันดับต่อมา จะถูกเรียงลำดับไว้ตาม ๆ กันไป จากนั้นระบบจะทำการจับคู่คำสั่งซื้อ และคำสั่งขายที่มีลักษณะตรงกันทั้งด้านปริมาณที่จะซื้อจะขาย และราคาที่จะซื้อจะขายให้โดยอัตโนมัติ

Backdoor Listing
การจดทะเบียนโดยอ้อม หมายถึงการที่บริษัทจดทะเบียนได้มาซึ่งสินทรัพย์หรือหุ้นของบริษัทอื่นที่มิใช่บริษัทจดทะเบียน และเมื่อคำนวณมูลค่าตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ แล้วปรากฎว่าสินทรัพย์ของบริษัทอื่นที่ได้มานั้นมีขนาดใหญ่กว่า สินทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนและมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอำนาจการควบคุมบริษัทจดทะเบียนจากกลุ่มของผู้ถือหุ้นของบริษัทอื่นนั้นแทน ดังนั้น จึงเท่ากับว่าบริษัทอื่นนั้นสามารถเป็นบริษัทจดทะเบียนโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาจากตลาดหลักทรัพย์ตามเกณฑ์คุณสมบัติบริษัทจดทะเบียน

Basis Point (bp)
หน่วยย่อยของอัตราผลตอบแทน โดย 1 bp มีค่าเท่ากับ 0.01 %

Bear Market
ตลาดหมี หมายถึงภาวะที่ตลาดที่เฉื่อยเนือย ดัชนีราคาหลักทรัพย์มีทิศทางขาลงและหยุดนิ่ง ซึ่งราคาตราสารหนี้โดยทั่วไปมีระดับลดต่ำลงต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน ปริมาณการซื้อขายน้อย

Bid
ราคาเสนอซื้อ

Bid-Offered Spread
ส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อ (Bid Price) และราคาเสนอขาย (Offered Price)

Big Lot
การซื้อขายรายใหญ่ คือการซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง (อาจเป็นหุ้นหรือตราสารหนี้ก็ได้) จำนวนเดียวกันโดยไม่แบ่งย่อย และมีปริมาณหรือมูลค่าการซื้อขายเท่ากับหรือสูงกว่าปริมาณหรือมูลค่าที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่า การซื้อขายคราวละตั้งแต่ 1 ล้านหุ้นหรือมูลค่า 3 ล้านบาทขึ้นไป ถือเป็นการซื้อขายรายใหญ่

Bill of Exchange (B/E)
ตั๋วเงิน ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายถึงหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน

Bond
พันธบัตรหรือหุ้นกู้ คือ ตราสารแห่งหนี้ระยะยาวซึ่งผู้ออกมีข้อผูกพันตามกฎหมายที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแก่ผู้ซื้อตามเวลาที่กำหนด ในต่างประเทศจะใช้คำว่า Bond สำหรับตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Secured Bond) และจะใช้คำว่า Debenture สำหรับตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Unsecured Bond) สำหรับในประเทศไทยนิยมใช้ Bond หรือพันธบัตรในการเรียกตราสารหนี้ภาครัฐ และใช้ Debenture หรือหุ้นกู้ในการเรียกตราสารหนี้ภาคเอกชน

Bond Index
ดัชนีตราสารหนี้เป็นเครื่องวัดมูลค่าตลาดตราสารหนี้ โดยเปรียบเทียบกับมูลค่าตลาดตราสารหนี้ ณ วันฐาน ดัชนีตราสารหนี้มีได้หลายดัชนี ซึ่งมีความแตกต่างกันได้ตามการกำหนดขอบเขตการครอบคลุมของดัชนี เช่น ดัชนีตลาดโดยรวม ดัชนีตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง ดัชนีตราสารหนี้ภาคเอกชน เป็นต้น

Board Lot
หน่วยการซื้อขาย หมายถึง จำนวนหน่วยขั้นต่ำของหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้มีการซื้อขายบนกระดานหลัก (Main Board) ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมักกำหนด 1 หน่วยการซื้อขายหุ้นส่วนใหญ่เท่ากับ 100 หุ้น

Book Value
มูลค่าตามบัญชี (มูลค่าตามบัญชี = สินทรัพย์รวม - หนี้สินรวม / จำนวนหุ้นสามัญที่บริษัทออกเรียกชำระเงินค่าหุ้นแล้ว) หรือในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ถ้าหากบริษัทเลิกกิจการและสามารถนำสินทรัพย์รวมถึงหนี้สินต่าง ๆ ไปแปรเป็นเงินสดได้ตามมูลค่าที่ระบุในงบดุลนั้นแล้ว ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินคืนในจำนวนเท่ากันกับมูลค่าตามบัญชีต่อการถือหุ้น 1 หุ้น

คำศัพท์ตราสารหนี้

พันธบัตรหรือหุ้นกู้ (Bond)
พันธบัตรหรือหุ้นกู้คือตราสารแห่งหนี้ระยะยาวซึ่งผู้ออกมีข้อผูกพันตามกฎหมายที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นแก่ผู้ซื้อตามเวลาที่กำหนด โดยทั่วไป ตราสารหนี้จะกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนไว้แตกต่างกันไป เช่น 5 ปี 10 ปี หรือนานกว่านั้น

ตัวแทนผู้ถือครองตราสารหนี้ (Bond-holders representative)
ตัวแทนทำหน้าที่ดูแลรักษาสิทธิของผู้ถือครองตราสารหนี้หรือผู้ถือครองเอกสารการเงินอื่น ๆ

ดอกเบี้ย (Coupon)
ดอกเบี้ยซึ่งจ่ายให้กับผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตราสารหนี้เป็นงวดตลอดอายุของตราสารหนี้เพื่อเป็นค่าตอบแทนสำหรับการนำเงินมาลงทุน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยจะกำหนดเป็นร้อยละต่อปีจากราคาที่ตราไว้ การจ่ายดอกเบี้ยในประเทศไทยส่วนใหญ่จะจ่ายเป็นงวดทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี

หุ้นกู้ภาคเอกชน (Debenture)
หุ้นกู้ภาคเอกชนมีลักษณะคล้ายกับตราสารหนี้ คือเป็นตราสารที่แบ่งเป็นหน่วย แต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่ากันและกำหนดประโยชน์ตอบแทนไว้เป็นการล่วงหน้าในอัตราเท่ากันทุกหน่วย หุ้นกู้บางอย่างสามารถแลกเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญได้

ความเสี่ยงจากการผิดสัญญา
คือความเสี่ยงที่ผู้ออกตราสารหนี้จะไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้นของตราสารหนี้นั้นได้ นักลงทุนสามารถดูจากอันดับความน่าเชื่อถือเพื่อคาดการณ์ถึงความเสี่ยงชนิดนี้ของผู้ออกตราสารหนี้แต่ละรายได้

ราคาที่ตราไว้ (Face value)
จำนวนเงินที่จะจ่ายให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์เมื่อครบกำหนดอายุของตราสารหนี้

ผู้ออกตราสารหนี้ (Issuer)
ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอขายตราสารหนี้ หรือเอกสารทางการเงินอื่นๆ ของตน อาจเป็นบริษัท รัฐบาล หรือองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย

สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง (Liquid Asset)
สินทรัพย์ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย

วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Date)
วันที่ครบกำหนดชำระคืนเงินต้นสำหรับหนี้สินหรือตราสารทางการเงินอื่น ๆ

การเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement)
เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ให้กับนักลงทุนไม่เกิน 35 รายภายในรอบระยะเวลา 12 เดือน หรือเสนอขายให้กับผู้ลงทุนที่เป็นสถาบัน ตามที่กฎหมายกลต.กำหนดไว้ทั้งหมด 17 ประเภท คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดของผู้ลงทุนทั้ง 17 ประเภท

การเสนอขายสำหรับประชาชนทั่วไป (Public offering)
เป็นการเสนอขายหลักทัพย์ที่ออกใหม่ให้กับประชาชนภายใต้ข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการ กลต. ข้อกำหนดสำคัญคือหลักทรัพย์นั้นต้องมีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือและผ่านการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการ กลต. แล้ว

การไถ่ถอนตราสารหนี้ (Redemption)
ในกรณีที่ไม่มีการไถ่ถอนก่อนกำหนด วันไถ่ถอนจะเป็นวันเดียวกับวันครบกำหนดอายุ

สำนักทะเบียนพันธบัตร (Registrar)
หน่วยงานกลางที่มีหน้าที่จัดเก็บทะเบียนข้อมูลของผู้ถือครองเอกสารทางการเงิน

ตลาดรอง (Secondary market)
แหล่งกลางสำหรับการซื้อขายเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของตราสารหนี้ที่ได้ผ่านการซื้อขายในตลาดแรกมาแล้ว

ใบพันธบัตร (Scrip)
เอกสารซึ่งออกให้ผู้ถือครองตราสารหนี้หรือเอกสารทางการเงินอื่น ๆ

ธุรกรรมของพันธบัตรชนิดจดบัญชี (Scrip-less transaction)
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะไม่มีการออกเอกสารรับรองที่เป็นกระดาษ

Popular Posts