MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามความสัมพันธ์ของต้นทุนกับเหตุแห่งต้นทุน

ต้นทุนอาจเกิดจากเหตุเดียว กิจกรรมเดียว แผนกเดียว หรืออาจมีหลายกิจกรรมหลายแผนกมาร่วมทำให้เกิดต้นทุนเดียวกัน ตัวอย่าง เงินเดือนพนักงานบัญชีเป็นต้นทุนที่เกิดในแผนกบัญชีเท่านั้น เป็นกิจกรรมเดียวคืองานบัญชี ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าแม่บ้านทำความสะอาดอาคารที่เกิดขึ้นในกิจการ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากหลายแผนกรวมกันซึ่งเป็นการเกิดหลายกิจกรรม นักบัญชีบริหารจะต้องให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารจึงพยายามวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนกับเหตุแห่งต้นทุน เพื่อใช้ในการการบริหารต้นทุน
1. ต้นทุนทางตรง (Direct Cost) หมายถึง ต้นทุนที่สามารถติดตาม หรือคิดเข้ากับผลิตภัณฑ์ได้ง่ายชัดเจน เช่น วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในแผนกโดยตรง
2. ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost) หมายถึง ต้นทุนผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามรถเข้าโดยตรงกับผลิตภัณฑ์ หรือกับแผนกผลิตได้อย่างชัดเจน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงินเดือนผู้ควบคุมงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าประกันภัยโรงงาน จึงจำเป็นต้องมีเกณฑ์ในการปันส่วน

4. การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามงวดเวลาที่ก่อประโยชน์
เป็นการแบ่งต้นทุนโดยยึดหลักเวลาที่ต้นทุนจะก่อประโยชน์ แบ่งเป็น 2 กรณีคือ กรณีก่อประโยชน์ในอนาคต เรียกว่า ต้นทุนผลิตภัณฑ์ ส่วนกรณีเกิดประโยชน์ในปัจจุบัน เรียกว่า ต้นทุนงวดเวลา
1. ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์โดยตรงบางครั้งเรียกว่า ต้นทุนที่เป็นตัวสินค้า ไม่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะสำเร็จรูปหรือไม่ก็ตาม ต้นทุนที่ถือเป็นต้นทุนผลิตภัณฑ์ ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ถูกขายไปจะกลายเป็นต้นทุนขายส่วนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแต่ยังไม่ขายเรียกว่าสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตไม่เสร็จเรียกว่า สินค้าระหว่างผลิตหรืองานระหว่างทำ
2. ต้นทุนงวดเวลา (Period Cost) หมายถึง ต้นทุนผลิตภัณฑ์ในส่วนที่ถูกขาย ออกไประหว่างงวดเรียกว่า ต้นทุนขายกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการขาย และค่าใช้จ่ายในการบริการ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบัญชีต้นทุน

การจัดแบ่งประเภทต้นทุน
3.1.1 การจัดแบ่งประเภทต้นทุนตามหน้าที่การผลิต โดยการแบ่งต้นทุนตามหน้าที่ดังนี้ คือ
1. วัตถุทางตรง (Direct Materials)
2. ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labour)
3. ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead)
1. วัตถุทางตรง (Direct Materials) หมายถึง วัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสินค้าสำเร็จรูปสามารถวัดจำนวนได้ง่าย และสังเกตเห็นได้ชัดว่าเป็นส่วนประกอบของสินค้า
2. ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labour) หมายถึง แรงงานที่เกิดขึ้นโดยตรงในการนำวัตถุดิบมาแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป สามารถระบุได้ว่าค่าแรงนั้นเกิดขึ้นจากสินค้าชนิดใด เป็นจำนวนเท่าใด และคำนวณเป็นต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าที่ผลิต
3. ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead) หมายถึง ต้นทุนในการผลิตทั้งหมดยกเว้นวัตถุทางตรงและค่าแรงงานทางตรง เช่น วัตถุทางอ้อม ค่าแรงทางอ้อม ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าและแสงสว่าง ค่าประกันภัยโรงงาน ฯลฯ
3.1.2 การจัดแบ่งประเภทต้นทุนพฤติกรรมต้นทุน
เพื่อจะนำต้นทุนไปใช้ในการควบคุมและวางแผนพฤติกรรมต้นทุน เพราะจะเป็นแนวทางชี้ให้เห็นว่าต้นทุนนั้นมีความสัมพันธ์กับระดับกิจกรรมอย่างไร พฤติกรรมของต้นทุนสามารถแยกได้ดังนี้
1. ต้นทุนผันแปร
2. ต้นทุนคงที่
3. ต้นทุนกึ่งผันแปร
1. ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) หมายถึง ต้นทันที่เปลี่ยนแปลไปเป็นอัตราส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลระดับกิจกรรมหรือหน่วยผลิต เช่น ถ้าทำการผลิตมาก ต้นทุนประเภทนี้จะมาก หรือถ้าทำการผลิตน้อยทุนประเภทนี้จะเกิดขึ้นน้อย
สรุป ต้นทุนผันแปราจะมีลักษณะยอดรวมเปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม หรือหน่วยผลิตแต่ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยจะคงที่
2. ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) หมายถึง ต้นทุนที่มีลักษณะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับการผลิต ซึงจะมีจำนวนรวมคงที่ตลอดช่วงการผลิต เช่น โรงงานผลิตน้ำผลไม้กระป๋อง ต้องจ่ายค่าเช่าโรงงานต่อเดือน เดือนละ 20,000 บาท ไม่ว่าโรงงานจะผลิตน้ำผลไม้กระป๋องเป็นจำนวนเท่าใด หรือโรงงานเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปต้องจ้างผู้จัดการโรงงานมาเพื่อคุมงาน โดยจ้างผู้จัดการโรงงานเดือนละ 50,000 บาทถึงแม้ว่าโรงงานจะผลิตเสื้อเป็นจำนวนเท่าใดทางโรงงานก็ต้องจ่ายเงินเดือนผู้จัดการโรงงาน 50,000 บาททุกเดือน
ต้นทุนคงที่ในการผลิต ได้แก่ เงินเดือนผู้จัดการโรงงาน เงินเดือนคนทำความสะอาดโรงงาน เงินเดือนยามเฝ้าโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ฯลฯ
ต้นทุนในการขายและบริหาร ได้แก่ เงินเดือนผู้จัดการสำนักงาน เงินเดือนคนทำความสะอาดสำนักงาน เงินเดือนพนักงานขาย ค่าเสื่อมราคาเครื่องใช้สำนักงาน ฯลฯ
สรุป ต้นทุนคงที่จะมีลักษณะยอดรวมไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม หรือจำนวนหน่วยผลิต แต่ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยจะเปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม หรือจำนวนหน่วยผลิต ตัวอย่างในโรงงานเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปต้องจ้างผู้จัดการโรงงานมาเพื่อคุมงานโดยจ่ายเงินเดือนละ 50,000 บาท หากโรงงานผลิตสินค้างวดนี้จำนวน 2,000 หน่วย ต้นทุนคงที่จะคิดเข้าเป็นต้นทุนสินค้าต่อหน่วยเท่ากับ 50,000 = 25 บาท
2,000
3. ต้นทุนกึ่งผันแปร (Semi Variable Cost) เป็นการเพิ่มขึ้นของต้นทุนผันแปรในอัตราของการเพิ่มที่ไม่คงที่ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นในอัตราการเพิ่มที่เพิ่มขึ้นหรือเพิ่มในอัตราที่ลดลง
ต้นทุนกึ่งผันแปรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ต้นทุนผสม (Mixed Cost) และต้นทุนชั้น (Step Cost)

การควบคุมและลดต้นทุน

ฝ่ายบริหารต้องการควบคุมต้นทุน คือต้องการพิจารณาให้แน่ว่าต้นทุนที่เเกิดขึ้นมีไม่มากเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์และแผนงาน แต่อย่างไรก็ตามเราจะต้องไม่ถือว่าการบัญชีต้นทุนเกี่ยวข้องกับการควบคุมต้นทุนเพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากผลของวัตถุประสงค์ในการคำนวณกำไร และแสดงฐานะการเงิน แต่ตรงกันข้ามการควบคุมต้นทุนเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งต่างหากของการบัญชีต้นทุน และการควบคุมอาจกระทำได้โดยใช้เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการวัดกำไรเลย
การควบคุมหรือการลดต้นทุนต้องใช้ระบบการบัญชีต้นทุนที่ค่อนข้างละเอียด โดยต้องรู้ว่าต้นทุนเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหน ต้องรู้จำนวนต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง และจำนวนต้นทุนที่เหมาะสมที่ควรเกิดขึ้น ถ้าไม่มีข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าระบบการบัญชีต้นทุนให้ผลดีในการควบคุมต้นทุน
3. การตัดสินใจและวางแผน
วัตถุประสงค์ในการช่วยฝ่ายบริหารในการทำงานการตัดสินใจและวางแผนเป็นความรับผิดชอบสำคัญของระบบบัญชีต้นทุน มักมีคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนว่า ตัวเลขต้นทุนไม่อาจนำไปใช้สำหรับทำการตัดสินใจและวางแผนโดยสม่ำเสมอเป็นปกติ แต่ทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมข้อมูลต่าง ๆ ไว้จนกว่าจะต้องการใช้ข้อมูลนั้น นักบัญชีต้องรู้ว่าฝ่ายบริหารต้องตัดสินใจเรื่องอะไรก่อน จากนั้นก็จะแยกต้นทุนออกจากบันทึกต่าง ๆ และจัดให้อยู่ในลักษณะที่มีประโยชน์สำหรับใช้ตัดสินใจนั้น รายงานทางบัญชีตามปกติที่ได้มาจากบัญชีต้นทุนควรบอกให้ทราบถึงมาตรการการทำกำไรของการทำงาน เพื่อให้ประโยชน์ในการวัดผลงานและการควบคุมต้นทุน ต้นทุนหรือรายงานต้นทุนตามปกติ จึงไม่อาจมีประโยชน์สำหรับวัตถุประสงค์ในการตัดสินใจ เพราะว่า การตัดสินใจแต่ละอย่างต้องใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน
การตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดราคาขายสายผลิตภัณฑ์จะนำเอาต้นทุนและรายได้ส่วนเพิ่มมาใช้ประกอบการตัดสินใจ การขยายสายผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ นั้น ต้องรู้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายสำหรับซื้ออุปกรณ์การผลิตใหม่ และต้นทุนรวมที่เกี่ยวข้องกับการขยายงานดังกล่าวมาใช้ประกอบในการตัดสินใจ การตัดสินใจว่าจะยกเลิกสายผลิตภัณฑ์หรือไม่ ควรรู้ถึงรายได้ส่วนเพิ่มหรือรายได้ส่วนที่แตกต่างออกไป (differential revenues) ที่ต้องขาดไปและต้นทุนส่วนเพิ่มหรือต้นทุนส่วนที่แตกต่างออกไป (differential costs) ซึ่งจะประหยัดได้อันเนื่องยกเลิกสายผลิตภัณฑ์นั้น
ระบบบัญชีต้นทุนที่ดีไม่จำเป็นต้องรายงานต้นทุนในแบบซึ่งจะใช้ได้สำหรับการตัดสินใจ แต่อย่างไรก็ดีระบบบัญชีที่ดีจะเก็บสะสมข้อมูลที่ต้องการสำหรับการตัดสินใจเหล่านี้ไว้ และสามรถนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ มีข้อสังเกตคือ การตัดสินใจทั้งหลายต้องถือหลักต้นทุนและรายได้ในอนาคต อดีตเป็นแต่เพียงสิ่งช่วยอย่างหนึ่งในการใช้ดุยพินิจเกี่ยวกับอนาคต

Cost concepts,And Classification

ความหมายของคำว่า ต้นทุน
ตามศัพท์บัญชีที่บัญญติโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยให้นิยามคำว่า “ต้นทุน” (Cost) ไว้ดังนี้
“รายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการซึ่งอาจจ่ายเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่น หุ้นทุนหรือการให้บริการหรือการก่อหนี้ รวมถึงผลขาดทุนที่วัดค่าเป็นตัวเงินได้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ”
นักบัญชีต้นทุนบางท่านให้นิยามคำว่า ต้นทุน ไว้ดังนี้ “ต้นทุน หมายถึงเงินสดหรือสิ่งที่เทียมเท่าเงินสดซึ่งต้องเสียไปเพื่อแลกกับสินค้าหรือบริการโดยคาดหวังว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการในปัจจุบันหรืออนาคต” ถ้าประโยชน์นั้นยังคงเป็นสิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดในอนาคตก็จะเรียกว่าต้นทุน แต่เมื่อใดที่ประโยชน์ได้เกิดขึ้นสมบูรณ์แล้ว ต้นทุนจะถูกจัดประเภทเป็นค่าใช้จ่าย (Expenses) ในงวดบัญชีที่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือรายได้ขึ้นถ้าหากว่าประโยชน์สูญสิ้นไปโดยไม่เกิดประโยชน์ใดเลยทั้งปัจจุบันหรืออนาคตก็จะเรียกว่าผลขาดทุน (Loss)
หรือต้นทุน หมายถึง ข้อมูลทางบัญชี เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน ในด้านการวางแผนข้อมูลต้นทุนที่จะช่วยในการทำงบประมาณและประมาณต้นทุนการผลิตกำหนดราคาขาย ประมาณการผลกำไรได้ และใช้ในการตัดสินใจการลงทุนและการขยายงาน
หรือต้นทุน หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต หรือการบริการเป็นส่วนก็เรียกว่า มูลค่าของปัจจัยเข้า (Input Value) ของระบบ ต้นทุนจึงเป็นเงินสด หรือค่าใช้จ่ายรูปแบบอื่นที่จ่ายไปเพื่อจะให้ได้มาซึ่งบริการหรือผลผลิตในทางธุรกิจ ต้นทุน คือ ค่าใช้จ่ายส่วนที่จ่ายไปเพื่อจะให้ได้ผลตอบแทนหรือรายได้
กิจการประเภทบริการ ต้นทุนจะหมายถึง จำนวนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการให้บริการแก่ลูกค้า
กิจการประเภทจำหน่ายสินค้า ต้นทุนจะหมายถึง มูลค่าของสินค้าสำเร็จรูป
กิจการประเภทอุตสาหกรรม ต้นทุนจะหมายถึง จำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าทุกขั้นตอน

2. วัตถุประสงค์ของการบัญชีต้นทุน
วัตถุประสงค์ของการบัญชีการเงิน คือ การรายงานฐานะทางการเงินของกิจการ และรายวางผลการเปลี่ยนแปลงเงินทุนของกิจการในแต่ละงวดบัญชีเนื่องมาจากการดำเนินงาน งบดุลเป็นงบที่แสดงถึงผลการดำเนินงาน แสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่นั้นได้ใช้ให้เกิดผลอย่างไรบ้างในงวดที่ผ่านมา
กำไรของธุรกิจวัดได้โดยนำเอาต้นทุนของผลิตภัณฑ์และค่าใช้จ่ายไปหักยอดรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์นั้น
การบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีของกิจการ การบัญชีต้นทุนเป็นการบันทึกการวัดผลและการายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุน ต้นทุนมีความหมายกว้างมาก หมายถึงเงินที่ได้จ่ายออกไปเงินที่สัญญาจะจ่ายในอนาคต ค่าของสินทรัพย์ที่ลดลงเนื่องจากการใช้งาน ซึ่งเหล่านี้จะรวมอยู่ในต้นทุนสินค้าคงเหลือ ต้นทุนของการเพิ่มปริมาณการขาย ต้นทุนที่ประหยัดได้เนื่องจากการปิดสายงานและอื่น ๆ
ในการตัดสินใจและประเมินผลงานของบุคคลที่เกี่ยวข้องกิจการไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นบุคคลภายนอก เช่น เจ้าของ เจ้าหนี้ ผู้ลงทุน หรือเป็นบุคคลภายใน เช่น ฝ่ายบริหารของกิจการเป็นต้น ย่อมจะใช้ข้อมูลต้นทุนของกิจการเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ และประเมินผลงานเสนอซึ่งระบบบัญชีต้นทุนจะให้ข้อมูลดังกล่าว ฝ่ายบริหารของกิจการย่อมต้องการใช้ข้อมูลต้นทุนในการตัดสินใจวางแผนควบคุม และประเมินผลงานของฝ่ายต่างๆ ดังนั้นการบัญชีต้นทุนมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. การสะสมข้อมูลเพื่อจัดทำงบการเงิน
วัตถุประสงค์นี้เกี่ยวกับการรวบรวมต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการสำหรับงวดหนึ่ง ๆ
ถึงว่าวัตถุประสงค์ข้อนี้จะถูกยกมาอ้างว่ากิจการต่าง ๆ ควรมีระบบบัญชีต้นทุรที่ดีตามวัตถุประสงค์ข้อนี้มีความสำคัญน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุปรระสงค์อีก2 ข้อของการบัญชีต้นทุนแต่วิธีการคำนวณจะใช้วิธีใดนั้นไม่แน่นอนเพราะขึ้นกับข้อสมมุติที่ใช้ระบบบัญชีที่ดีควรง่ายและไม่ยุ่งยาก
มีข้อสังเกตว่า ไม่ว่ากิจการจะมีระบบบัญชีต้นทุนที่ดีเพียงใดก็ตามยังมีปัญหาในเรื่องการคำนวณกำไรและการแสดงฐานะการเงินอยู่ ปัญหาประการหนึ่งคือ ต้นทุนผลิตคงที่ควรถือเป็นต้นทุนของผลิตภัณฑ์ หรือต้นทุนผลิตคงที่บางส่วน
ในบางกิจการมีปัญหาในด้านต้นทุนร่วม (ต้นทุนที่เกิดขึ้นรวมกันในการผลิตผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 ชนิด) ความสำคัญของปัญหาต้นทุนร่วมจะมีน้อย เพราะว่ากิจการสนใจที่จะแบ่งต้นทุนร่วมนี้เพื่อหาราคาทุนของผลิตภัณฑ์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการบัญชีการเงินเท่านั้น ไม่ได้สนใจสำหรับการควบคุมต้นทุนและการตัดสินใจ
ต้นทุนผลิตภัณฑ์และต้นทุนสำหรับงวด (product costs and period costs) เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก โดยปกติมักมีคุณศัพท์ประกอบคำว่าต้นทุนเสมอทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความคลุมเครือ ตัวอย่างเช่น ต้นทุนที่ยังใช้ไม่หมด (unexpired costs) หรือต้นทุนที่ใช้หมดแล้ว (expired costs) คือต้นทุนที่ควรคิดเข้างวดปัจจุบัน (ต้นทุนสำหรับงวด) เป็นค่าใช้จ่ายหรือขาดทุน (expenses or losses) ต้นทุนเหล่านี้เป็นต้นทุนเกี่ยวข้องกับงวดเวลา และไม่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ต้นทุนเหล่านี้เป็นต้นทุนจะโอนไปงวดอนาคต
ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยที่ผลิตเรียนว่าต้นทุนผลิตภัณฑ์ (product costs) ต้นทุนเหล่านี้อาจถือเป็นสินทรัพย์ (สินค้าคงเหลือ) จนกว่าสินค้าที่ต้นทุนนั้นเกี่ยวข้องถูกขายไป ต้นทุนของสินค้าที่ขายจะถือเป็นค่าใช้จ่ายและนำไปหักกับยอดขาย ต้นทุนทั้งหลายที่เป็นต้นทุนของสินค้าที่ผลิต (ที่อยู่ในงบต้นทุนผลิต) เรียกว่าต้นทุนผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้แก่ วัตถุทางตรง แรงงานทางตรง และโสหุ้ยการผลิตถือเป็นราคาทุนของสินค้าคงเหลือ เพราะต้นทุนเหล่านี้เป็นต้นทุนของบริการที่ใช้ไปในการผลิต

Statement of Changes in Financial Position

การดำเนินงานของธุรกิจมีผลทำให้รายได้ ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของกิจการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งจะมีการทำงบการเงินขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานและฐานะของกิจการงบต่าง ๆ ที่ธุรกิจจัดทำขึ้นมีดังต่อไปนี้ คือ
1. งบกำไรขาดทุน (Income Statement) เป็นงบที่แสดงการเปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายซึ่งเกิดจากการดำเนินงานในงวดบัญชีหนึ่ง ถ้ารายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายเรียกว่ากำไรสุทธิ ถ้ารายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่ายเรียกว่า ขาดทุนสุทธิ
2. งบดุล (Balance Sheet) เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง โดยจะแสดงถึง สินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของกิจการ
3. งบกำไรสะสม (Retained Earning Statement) เป็นงบที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของกำไรสะสมในงวดบัญชีนั้น
งบการเงินที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ และส่วนของเจ้าของ รวมถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ดังนั้นนักบัญชีจึงได้มีความเห็นให้จัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินเป็นงบการเงินอีกงบหนึ่งเพื่อเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องพร้อมกับงบการเงินดังกล่าวข้างต้น
การจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินสามารถจัดทำได้ 2 เกณฑ์ เกณฑ์เงินทุนหมุนเวียน และเกณฑ์เงินสด เพราะคำว่าเงินทุน (Funds) มีความหมาย หมายถึง เงินสด (Cash) และทุนหมุนเวียน (Working Capital)
1. วัตถุประสงค์ของการจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน
1. เพื่อแสดงให้เห็นถึงแหล่งเงินทุนที่ได้มาของกิจการจากการดำเนินงานและแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ที่ได้มาในระหว่างงวดดำเนินงาน
2. เพื่อแสดงรายละเอียดการใช้ไปของเงินทุนระหว่างงวดดำเนินงาน
3. เพื่อเปิดเผยถึงสาเหตุและจำนวนเงินของการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในงบแสดงฐานะทางการเงินระหว่างงวดดำเนินงาน
2. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินตามเกณฑ์ทุนหมุนเวียน (Working Capital Basis)
โดยปกติกำไรจากการดำเนินงานจะมีความสำคัญต่อธุรกิจมากแต่มีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบที่ให้ผลของการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น กิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราที่สูง แต่ในขณะเดียวกันฐานะของเงินทุนหมุนเวียนกลับต่ำลง เนื่องจากสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของกิจการอยู่ในรูปสินทรัพย์ถาวร หรือเงินทุนระยะยาว ทำให้กิจการขาดความคล่องตัวในการดำเนินงานกิจกาจอาจจำเป็นต้องไปก่อหนี้เพิ่มเพื่อ คืนความคล่องตัวให้กับกิจการ หรือบางครั้งกิจการมีผลกำไรสูงไม่ได้หมายความว่า เงินทุนที่กิจการใช้หมุนเวียนดำเนินงานในปีต่อไปจะมีจำนวนสูงด้วยเสมอไป สาเหตุอาจเนื่องจากกิจการอาจใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมาก เป็นผลทำให้เงินทุนหมุนเวียนเหลือน้อยลง เช่น การซื้อสินทรัพย์ถาวรเป็นเงินสด เป็นต้น
เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) หรือ เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital) หมายถึง ผลต่างของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ ในการดำเนินกิจการเงินทุนหมุนเวียนจะเป็นที่สนใจของฝ่ายบริหาร เนื่องจากเงินทุนหมุนเวียนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ของกิจการ ดังนั้นในการดำเนินงานปัจจุบันเงินทุนหมุนเวียนจึงมีผลต่อฐานะการเงินของกิจการอย่างมาก
ในการจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินตามเกณฑ์เงินทุนหมุนเวียนจะต้องจัดทำงบแสดงการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนขึ้นก่อนที่จะจัดทำงบแสดงที่มา และใช้ไปของเงินทุนหมุนเวียน

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA)


การประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) คือ กระบวนการวิเคราะห์และประเมินค่าผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

ตลอดช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การสกัดหรือการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งและการแจกจ่าย การใช้งานผลิตภัณฑ์ การใช้ใหม่ / แปรรูป และการจัดการเศษซากของผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน

ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า พิจารณาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เกิดจนตาย (Cradle to Grave) โดยมีการระบุถึงปริมาณพลังงานและวัตถุดิบที่ใช้ รวมถึงของเสียที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมและการประเมินโอกาสที่จะส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศและสุขอนามัยของชุมชน เพื่อที่จะหาวิธีการในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ปัจจุบัน LCA ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ปูนซีเมนต์ ยานยนต์ หรือแม้แต่บรรจุภัณฑ์เอง ยกตัวอย่างเช่น คาร์ฟูร์ (Carrefour) ในฝรั่งเศส มีการศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบของการใช้ถุงพลาสติกแบบต่างๆ และถุงกระดาษ เพื่อจะนำผลที่ได้ไปตัดสินใจในเรื่องการวางนโยบาย จากการศึกษาพบว่าถุงกระดาษมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าถุงพลาสติกทุกชนิด โดยที่ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหลักของถุงทุกประเภทมาจากขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุ ดิบ เช่น การผลิตโพลีเอทิลีน และกระดาษ เป็นต้น

เทคนิค ของการประเมินวัฏจักรชีวิตนั้นจะแตกต่างจากเครื่องมือทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่มีอยู่ คือ LCA เป็นกระบวนการประเมินค่าผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ (Product) หรือหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ (function) ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น โดยเน้นผลเชิงปริมาณชัดเจน ทำให้การศึกษา LCA มีความซับซ้อนมากกว่าเครื่องมือทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพราะต้องทำการวิเคราะห์ตั้งแต่แหล่งกำเนิดของทรัพยากรที่นำมาใช้ไปจนถึง ขั้นตอนการทำลายซากผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในทุกประเด็นที่เกิดขึ้น และให้ความสำคัญทั้งในเรื่องของทรัพยากรที่สิ้นเปลืองไปและสารอันตรายที่ถูก ปล่อยออกมา แต่ LCA จะเป็นการมองผลกระทบในภาพรวมที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อโลก เช่น การทำให้โลกร้อนขึ้น มากกว่าที่จะมองเฉพาะสารพิษที่ปล่อยออกมา การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

การ บ่งชี้และระบุปริมาณของภาระทางสิ่งแวดล้อม (Environmental loads) ในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง/ที่เกิดขึ้นตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น พลังงานและวัตถุดิบที่ถูกใช้ การปล่อยของเสียและการแพร่กระจายของมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
การ ประเมินและการหาค่าของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impacts) ที่มีโอกาสเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากปริมาณภาระทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ถูกบ่งชี้มาในขั้นตอนแรก
การ ประเมินหาโอกาสในการปรับปรุงทางสิ่งแวดล้อม และใช้ข้อมูลที่มีการแสดงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของกิจกรรมเหล่านี้เป็น องค์ประกอบในการตัดสินใจ
การประยุกต์ใช้ LCA

LCA สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมหรืองานวิจัยได้อย่างหลากหลาย โดยกลุ่มของผู้นำไปใช้งานอาจจำแนกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม/บริษัทเอกชน ภาครัฐ องค์กรเอกชน (NGOs) และผู้บริโภค โดยมีรูปแบบของการนำไปใช้งานอยู่ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1รูปแบบของการประยุกต์ใช้งาน LCA

ภาคอุตสาหกรรม / บริษัทเอกชน
ใช้สื่อสารให้ทราบถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์

ออกแบบและปรับปรุงกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์

ใช้ต่อรองกับผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) ให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

พัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาด กลยุทธ์ด้านธุรกิจ และแผนการลงทุน

พัฒนากลยุทธ์ด้านนโยบาย

พัฒนานโยบายของผลิตภัณฑ์

การจัดทำฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3

ภาครัฐ
เป็นเกณฑ์ในการจัดทำข้อกำหนดของฉลากสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาและจัดทำฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3

พัฒนาระบบการฝาก-การขอคืน (Deposit-refund systems)

ใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อสนับสนุนเงินทุน หรือการจัดทำโครงสร้างภาษีอากร

พัฒนานโยบายทั่วไปของภาครัฐ

องค์กรเอกชน
เป็นข้อมูลเพื่อเผยแพร่ต่อผู้บริโภค

เป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับการประชุม/สัมมนาในเวทีสาธารณะ

ใช้ข้อมูลเพื่อกดดันภาคเอกชนและรัฐบาลในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

ผู้บริโภค
ใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

Popular Posts