MBA

We constantly research and disseminate knowledge to prepare graduate students to be leaders at the community, national and international levels.

Facebook is a social utility that connects people with friends and others who work, study and live around them. People use Facebook to keep up with friends

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สรุปการจัดการการเงิน2

บทที่ 15 เรื่อง การจัดการสินทรัพย์หมุนเวียน
1. คำจำกัดความเกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียน 1)เงินทุนหมุนเวียน หมายถึงส/ทหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงาน 2) เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ หมายถึง ผลต่างระหว่างส/ทหมุนเวียน
กับหนี้สินหมุนเวียน สมการ เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ =สินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินหมุนเวียน ) 3)Current ratio หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนหารด้วยหนี้สินหมุนเวียน
ใช้วัดสภาพคล่องของกิจการ 4) Quick ratio ใช้วัดสภาพคล่องของกิจการเช่นเดียวกับ Current ratio แต่หักสินค้าคงเหลือที่มีสภาพคล่องน้อยที่สุดออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน
5)งบประมาณเงินสด คือประมาณการกระแสเงินสดรับและจ่าย ทำให้ทราบว่ากิจการมีกระแสเงินสดรับเพียงพอกับจ่ายหรือไม่ 6)นโยบายเงินทุนหมุนเวียน เป็นนโยบายเกี่ยวกับ
(1)เกี่ยวกับการกำหนดว่าจะมีสินทรัพย์หมุนเวียนแต่ละประเภทเพียงไร(2)จะจัดหาเงินทุนจากแหล่งใดมาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน 7)การจัดหาเงินทุนหมุนเวียน
หมายถึงการกำหนดนโยบายเงินทุนหมุนเวียน และดำเนินการตามนโยบายนั้น ๆ 2.วงจรเงินสด 1)ระยะเวลาในการผลิตและขายสินค้า คือ ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการแปร
สภาพวัตถุดิบเป็นสินค้าสำเร็จรูปและขายสินค้านั้น 2)ระยะเวลาในการเก็บหนี้ คือระยะเวลาถัวเฉลี่ย เริ่มจากขายเชื่อจนถึงเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ เรียกว่า days sales outstanding
(DSO) 3)ระยะเวลาในการชำระหนี้คือระยะเวลาถัวเฉลี่ยตั้งแต่วันที่ซื้อวัตถุดิบจ้างแรงงานจนถึงวันที่จ่ายชำระเงิน 4) วงจรของเงินสด คือ ช่วงระยะเวลาที่เงินทุนได้จมไว้กับ
ส/ทหมุนเวียน(วงจรของเงินสด=ระยะเวลาในการผลิตและขาย+ระยะเวลาเก็บหนี้-ระยะเวลาในการชำระหนี้ 3.แนวความคิดเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์ 4. นโยบายการ
ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน 1) นโยบายลงทุนในส/ทหมุนเวียนสูง ซึ่งกิจการจะกระตุ้นยอดขายโดยการให้สินเชื่อทำให้ลูกหนี้การค้าสูงด้วย 2)นโยบายลงทุนในส/ทหมุนเวียน
แบบจำกัด จะให้มีไว้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 3)นโยบายลงทุนในส/ทหมุนเวียนระดับปานกลาง คือไม่มากหรือน้อยเกินไป จะเลือกนโยบายใดนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์
ในสถานการณ์ที่แน่นอนคือ ยอดขาย ต้นทุน ระยะเวลาการสั่งซื้อ ระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้สามารถทราบได้แน่นอนก็จะมีส/ทหมุนเวียนในระดับต่ำได้เพราะการมี
ส/ทหมุนเวียนสูงไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น 5) การจัดการเงินสด เงินสดเป็นส/ทหมุนเวียนที่มีสภาพคล่องที่สุดแต่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เป้าหมายของการจัดการเงินสดคือ
มีเงินสดให้น้อยที่สุด โดยต้องเพียงพอที่จะชำระหนี้โดยได้รับส่วนลดเงินสด รักษาเครดิตของกิจการไว้ และเพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ข้อดีของการถือเงินสดและส/ทที่ใกล้เคียง
เงินสดไว้เพียงพอ 1)เพื่อซั้อสินค้าโดยได้รับส่วนลดการค้า 2)เพื่อรักษาฐานทางเครดิตไว้ ทำให้ Current ratio , Quick ratio อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมทั่วไป3) มีโอกาส
ได้รับข้อเสนอพิเศษจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบ 4)เพื่อให้มีเพียงพอใช้ในยามฉุกเฉิน 6.งบประมาณเงินสด คือ ประมาณการกระแสเงินสดรับจ่ายคงเหลือ ของช่วงเวลาหนึ่งโดย
ปกติจะจัดทำเป็นรายเดือน 7)เทคนิคการจัดการเงินสด มี 4 อย่าง คือ (1)จัดให้กระแสเงินสดมีความสอดคล้องกัน 2)ทำให้กระบวนการเคลียร์เช็คเร็วขึ้น 3)การใช้ส่วนที่ต่างกัน
4)การเร่งรัดเก็บเงิน 8)หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด คือ หลักทรัพย์ที่ขายได้ในเวลาไม่นานนักธุรกิจมีเหตุผลในการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ นี้คือ 1)สามารถ
เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วจึงใช้แทนเงินสดในการใช้จ่ายตามปกติและยังให้ผลตอบแทนอีกด้วย 2)เป็นการสำรองเงินสด 3)เพื่อเก็งกำไร 9)สินค้าคงเหลือ จำแนกได้เป็น 4 ประเภท
1)ของใช้สิ้นเปลือง 2)วัตถุดิบ 3)สินค้าระหว่างผลิต 4)สินค้าสำเร็จรูป 10)ต้นทุนของสินค้า มีเป้าหมาย 2 ประการ 1)สินค้ามีเพียงพอต่อการทำธุรกิจต่อไป 2)ต้นทุนสั่งซื้อและ
เก็บรักษาต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จำแนกได้เป็น ต้นทุนในการเก็บรักษา ต้นทุนในการสั่งซื้อ ส่งสินค้า และรับสินค้า ต้นทุนทิ่สินค้าไม่พอขาย 11)ระบบการควบคุมสินค้า
มีวิธีดังนี้ 1)Red-Line Method จะขีดเส้นแดงไว้รอบ ๆ สถานที่เก็บสินค้า เมื่อสินค้าลดลงถึงเส้นแดงที่ขีดไว้ ก็จะสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป 2)Two-Bin Method จะเก็บสินค้า
ไว้ในที่เก็บสินค้า ๒แห่ง เมื่อสินค้าในสถานที่เก็บแห่งหนึ่งแห่งใดหมดก็จะสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป 3)Computerixed Inventory Control System จะใช้คอมฯช่วยบันทึกรับ-จ่าย
สินค้าและปรับยอดคงเหลือสินค้าตลอดเวลา เมื่อสินค้าลดลงถึงจุดสั่งซื้อคอมฯจะสั่งซื้อเองอัตโนมัติ //// Just-In-Time Systems :JIT คือ การควบคุมสินค้าที่ผู้ส่งวัตถุดิบ
และส่วนประกอบต่าง ๆ ประสานงานกับผู้ผลิตเพื่อจัดส่งวัตถุดิบได้ทันเวลาที่ต้องการ โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ต้องมีคุณภาพถ้ามีชิ้นส่วนใดเสียหาย อาจต้องหยุดผลิตได้
จึงต้องใช้ร่วมกับระบบการจัดการคุณภาพโดยรวม(TQM) /// Out-Sourcing คือ การสั่งซื้อชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตสินค้าจากผู้ผลิตอื่นแทนการผลิตเองและใช้ร่วมกับ JIT
ทำให้ปริมาณสินค้าคงเหลือลดลง 12)การจัดการลูกหนี้การค้า ต้องเริ่มตัดสินใจว่าจะขายสินค้าเป็นเงินเชื่อหรือไม่ เงื่อนไขอย่างไร มีนโยบายเก็บหนี้อย่างไร การเพิ่มขึ้นของ
ลูกหนี้การค้ามี 2 ประการ คือ ปริมาณการขายเชื่อและระยะเวลาเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย (ตั้งแต่วันที่ขายเชื่อถึงวันที่เก็บเงินได้ถัวเฉลี่ย) การบ่งชี้สถานะ
ของลูกหนี้การค้า จะทำให้1)สินค้าคงเหลือลดลงเท่ากับต้นทุนขาย2) ลูกหนี้การค้าเพิ่มขี้นเท่ากับราคาขาย กำไรเพิ่มขึ้นเท่ากับผลต่างของ(1)(2) 13)นโยบาย
การให้สินเชื่อ ประกอบด้วยตัวแปรดังนี้ ระยะเวลาการให้สินเชื่อ ส่วนลด มาตรฐานของสินเชื่อ และนโยบายการเรียกเก็บหนี้ 14)การกำหนดระยะเวลาและ
มาตรฐานการให้สินเชื่อ ประกอบด้วย มาตรฐานการให้สินเชื่อ คือ ความเข้มแข็งของสถานะการเงินและความน่าเชื่อถือของลูกค้า ถ้าลูกค้ามีคุณสมบัติไม่เพียงพอ
สำหรับเงื่อนไขการให้สินเชื่อตามปกติ กิจการจะขายสินค้า โดยกำหนดเงื่อนไขที่เข้มงวดขึ้น 15)การกำหนดนโยบายจัดเก็บหนี้ คือ กระบวนการเพื่อจ้ดเก็บหนี้
ที่ถึงกำหนดชำระ อาจทำเป็นขั้นตอนคือ ลูกหนี้ค้างชำระเกิน 10 วัน ใช้วิธีส่งจดหมาย ถ้าไม่ได้ผลจะใช้โทรศัพท์และหลัง 90 วัน ยังไม่ชำระให้ตัวแทนจัดเก็บหนี้ต่อไป
การเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้ มีผลกระทบต่อยอดขาย ระยะเวลาจัดเก็บหนี้ และอัตราหนี้สูญ จึงต้องนำปัจจัยดังกล่าวมาพิจารณาประกอบกันด้วย 16) ส่วนลดเงินสด
คือ จำนวนเงินที่หักจากราคาสินค้า เพื่อจูงใจให้ลูกชำระหนี้เร็วขึ้น ต้องวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับจากส่วนลดต่าง ๆ เช่น 2/10,Net30 คือ ลูกหนี้
ต้องชำระเงินภายใน 30 วัน ถ้าชำระภายใน 10 วัน ได้ส่วนลดเงินสด 2% การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการขายมีประโยชน์ 2 ประการ คือ อาจได้ลูกค้าใหม่
เพิ่มขึ้น เนื่องจากพิจารณาว่าราคาสินค้าลดลง และทำให้ระยะเวลาการจัดเก็บหนี้โดยเฉลี่ยลดลง เพราะลูกค้าชำระหนี้เร็วขึ้นเพื่อรับส่วนลด อัตราส่วนลดที่เหมาะสม
คือ ส่วนลดต้นทุนที่เพิ่มขี้น เท่ากับผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นพอดี 17)ปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อนโยบายการให้สินเชื่อ มี 2ประการ คือ โอกาสในการทำกำไรและ
การพิจารณาในด้านกฎหมาย (การกำหนดนโยบายสินเชื่อต้องคำนึงถึงกฎหมายแต่ละประเทศ)
บทที่ 20 หุ้นบุริมสิทธิ์ คือ หลักทรัพย์ลูกผสม มีลักษณะคล้ายพันธบัตรและคล้ายหุ้นสามัญ เป็นรายการหนึ่งของส่วนของผู้ถือหุ้น ข้อดีคือ (1) แม้ว่าจะไม่จ่ายเงินปันผล
ผู้ถือหุ้นก็จะไม่สามารถฟ้องบริษัทให้ล้มละลายได้ (2) ไม่ทำให้สิทธิส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นสามัญลดลง (3) หุ้นบุริมสิทธิ์ส่วนใหญ่ไม่มีวันครบกำหนดไถ่ถอน
จึงไม่คำนึงถึงกระแสเงินสดจ่ายจำนวนมากเช่นเดียวกับการไถ่ถอนบันธบัตร ข้อเสีย (1) เงินปันผลจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อทำให้เสียภาษีน้อยลง
ได้ การระดมทุนจากหุ้นบุริมสิทธิ์เปรียบเสมือนการระดมทุนจากหนี้สิน ทำให้ความเสี่ยงทางการเงินสูงขึ้น
การเช่า Leasing คือ การตกลงที่ผู้ให้เช่าสินทรัพย์ยินยอมให้ผู้เช่าสินทรัพย์มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ตามที่ได้ตกลงทำตามสัญญาไว้ ภายในระยะเวลาที่กำหนดโดย
ได้รับค่าเช่าตอบแทนกรณีที่ผู้เช่าจ่ายค่าบำรุงรักษา ค่าภาษี ค่าเบี้ยประกันเหล่านี้เรียกว่า net lease การเช่า มี 3 ประเภทคือ 1) ขายและเช่ากลับคืนมา (Sale and lease back)
(2) การเช่าเพื่อใช้ในการดำเนินงาน(operating หรือ service leases ) (3) การเช่าเพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ (Financial หรือ Capital Lease)
ปัจจัยในการให้เช่า มี 2 ประการ คือ (1) การประมาณมูลค่าซากสินทรัพย์เมื่อครบกำหนดเช่า (2) การมีเครดิตเพิ่มขึ้น การเช่ามีข้อดีของกิจการที่มีความต้องการจัดหาเงิน
ทุนโดยการกู้ยืมสูง 2 ประการ คือ (1) การเช่ากิจการกาารจัดหาเงินทุนในระยะยาวได้มากกว่าการกู้ยืมเงินโดยสินทรัพย์เป็นหลักประกัน (2) การเช่าไม่ปรากฎในงบดุล
ทำให้การวิเคราะห์เครดิต ของกิจการดีสามารถจัดหาเงินโดยการกู้ยืมได้มากกว่ากิจการที่ไม่ได้เช่า
ใบสำคัญเสดงสิทธิ (Warrant) คือ ใบสำคัญที่บริษัทออกให้ผู้ถือเพื่อแสดงสิทธิ์ในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทได้ภายในเวลาและราคาที่กำหนด หลักทรัพย์แปลงสภาพ
คือ พันธบัตรหรือหุ้นบุริมสิทธิ์ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขให้มีสิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ มีข้อแตกต่างจากใบสำคัญแสดงสิทธิ์ในการซื้อหุ้นสามัญ เมื่อผู้ถือใบแสดงสิทธิ์
นำมาใช้ซื้อหุ้นสามัญจะทำให้เงินทุนของกิจการสูงขึ้นแต่หลักทรัพย์แปลงสภาพเป็นการแปลงสภาพหนี้สินเป็นหุ้นสามัญในงบดุลเท่านั้น
อัตราการแปลงสภาพ (CR) คือ จำนวนหุ้นสามัญที่ผู้ถือหลักทรัพย์แปลงสภาพได้รับเมื่อนำหลักทรัพย์มาแปลงสภาพ
ราคาแปลงสภาพคือ (PC) คือราคาแท้จริงที่ผู้ลงทุนชำระสำหรับหุ้นสามัญที่ได้รับการแปลงสภาพ



ในทำนองเดียวกัน เมื่อทราบราคาแปลงสภาพจะคำนวณอัตราการแปลงสภาพได้ คือ



การเปรียบเทียบใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญและหลักทรัพย์แปลงสภาพ (1) การนำใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญมาใช้ทำให้มีเงินทุนใหม่
เพิ่มขึ้นแต่การแปลงสภาพเป็นเพียงการเปลี่ยนหนี้สินให้เป็นทุนเท่านั้น (2) มีความยืดหยุ่นต่างกัน พันธบัตรแปลงสภาพกำหนดให้มีการไถ่ถอนคืนได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับ
ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าแปลงสภาพและราคาเรียกไถ่ถอน แต่ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญเรียกไถ่ถอนคืนไม่ได้ กิจการต้องคอยจนกระทั่งหมดอายุ
(3) ค่าใช้จ่ายในการออกพันธบัตรพร้อมใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ จำหน่ายจะสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการออกพันธบัตรแปลงสภาพจำหน่าย

สรุปการจัดการการเงิน

บทที่16 การจัดหาเงินทุนสำหรับสินทรัพย์หมุนเวียน
1)ทางเลือกของนโยบายการจัดหาเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ธุรกิจจะต้องมีสินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำไว้เพื่อดำเนินธุรกิจจำนวนหนึ่ง และเมื่อยอดขาย
เพิ่มขึ้น ก็จะมีสินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้นเป็นการชั่วคราว หรือตามวัฏจักรของธุรกิจ ///// Maturity Matching Or "Self-Liquidating " Approach คือนโยบายจัดหา
หนี้สิน มีระยะเวลาเท่ากับระยะเวลาการลงทุนในสินทรัพย์ Aggressive Approach นโยบายนี้ค่อนข้างมีความเสี่ยงคือสินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำบางส่วนจัดหาเงิน
ทุนจากแหล่งเงินกู้ระยะสั้น ที่ไม่เกิดขึ้นเองอัตโนมัติ เนื่องจากหนี้สินระยะสั้นมีต้นทุนต่ำกว่าหนี้สินระยะยาว (ผู้บริหารที่ชอบเสี่ยงจะชอบนโยบายนี้ เพราะแลกกับ
โอกาสที่จะได้รับกำไรสูง ////// Conservative Approach ถือหลักความปลอดภัย ไม่ชอบเสี่ยงการลงทุนในส/ทหมุนเวยียนมีความปลอดภัยเพราะส/ทขั้นต่ำและส/ท
ชั่วคราวบางส่วนจะจัดหามาจากแหล่งเงินทุนระยะยาว 2)ข้อดีและข้อเสียของการจัดหาเงินทุนระยะสั้น การจัดหาเงินทุนระยะสั้นตามนโยบายทั้ง3 มีสัดส่วน
ที่ต่างกัน นโยบาย Aggressive ใช้หนี้สินระยะสั้นมากที่สุด นโยบาย Conservative ใช้หนี้สินระยะสั้นน้อยที่สุด แม้ว่าหนี้สินระยะสั้นจะเสี่ยงมากกว่าระยะยาว แต่มีข้อ
ได้เปรียบเสียเปรียบคือ ระยะเวลาที่ใช้ในการขอกู้เงิน ความยืดหยุ่น ต้นทุนของหนี้สิน ระยะยาวและสั้น ความเสี่ยงของหนี้สินระยะยาวและสั้น 3)แหล่งเงินทุนระยะ
สั้น ธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุนระยะสั้นได้จากแหล่งต่างๆ แต่แหล่งเงินทุนระยะสั้น ที่สำคัญคือ คชจ.ค้างจ่าย เจ้าหนี้การค้าหรือเครดิตทางการค้า เงินกู้ธนาคาร
ตราสารพาณิชย์ 4)คชจ.ค้างจ่าย เมื่อกิจการขยายการดำเนินงาน คชจ.ค้างจ่ายเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ และเป็นหนี้สินที่ไม่มีต้นทุนไม่มีการชำระดอกเบี้ย แต่ก็
ไม่สามารถควบคุมคชจ.ค้างจ่ายได้ เพราะการจ่ายคชจ.ค้างจ่ายจะต้องจ่ายตามเวลา แต่คชจ.ค้างจ่ายก็ยังมีประโยชน์ ถือเป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้น แหล่งหนึ่งของกิจการ
5)เจ้าหนี้การค้า(เครดิตการค้า) เจ้าหน้การเกิดขึ้นจากการขายเชื่อ เป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นสำหรับกิจการ ทั่วไปที่ไม่ได้ทำธุรกิจด้านการเงิน คือจะมีเจ้าหนี้การค้า
ประมาณ 40% ของหนี้สินระยะสั้นทั้งสิ้น และถ้าธุรกิจขนาดเล็กที่จัดหาเงินทุนจากแหล่งอื่นได้ยาก ต้องอาศัยเครดิตทางการค้ามากขึ้น เครดิตทางการค้าเป็นแหล่ง
เงินทุนที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ จากการค้าขายกันตามปกติ ///ต้นทุนเครดิตทางการค้า การคำนวณหาต้นทุนของเงินทุนที่ได้จาก เครดิตทางการค้าภายใต้เงื่อนไข
เช่น 2/10,N/30 Irom = Discount Percent 365 = [ 2/(100-2) ] x [365/(30-10) ]=0.3723 x 100
100 - Discount Percent จำนวนวันที่ให้เครดิต - ระยะที่ให้ส่วนลด = 37.2%
Iper = Inom '= 37.2% = 2.04% /////// องค์ประกอบเครดิตทางการค้า แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ไม่มีต้นทุนกับมีต้นทุน
M 18.25
6. เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร มีดังนี้ Maturity เป็นเงินกู้ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ธนาคารจะให้ผู้กู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินระยะเวลา 90 วัน , ตั๋วสัญญาใช้เงิน(P/N) เมื่อ
ธนาคารอนุมัติการให้กู้และให้ผู้กู้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน ธ.จะนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันให้ ,เงินฝากขั้นต่ำ
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = เงินกู้ x อัตราดอกเบี้ยที่ตกลง
เงินชำระหนี้
7. ต้นทุนของเงินกู้จากธนาคาร ถ้ากู้น้อยดอกเบี้ยจะสูง ดอกเบี้ยตามปกติ คือ ดอกเบี้ยที่ไม่คิดทบต้น อัตราดอกเบี้ยต่อวัน = อัตราดอกเบuhยที่กำหนด / 365
8. การเลือก ธ. - ยอมรับความเสี่ยง ธ. , - การให้คำปรึกษาแนะนำ , - ความจริงใจของ ธ. ต่อลูกค้า, - ความเชี่ยวชาญ , - วงเงินกู้สูงสุด , - Merchant Banking
9. ตราสารพาณิชย์ คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้นไม่มีหลักค้ำประกัน ผู้ที่ออกต้องเป็นบริษัทที่มีกิจการขนาดใหญ่ 10. การจัดหาเงินทนระยะสั้นโดยมีหลักประกัน
ส/ท ที่ใช้เป็นหลักประกัน เช่น ที่ดิน เครื่องจักร สินค้า ลูกหนี้ กรณีเงินกู้ระยะยาวใช้สินทรัพย์ถาวรเป็นหลักประกัน ,สั้น ใช้ลูกหนี้หรือสินค้าเป็นหลักประกัน

สรุปเข้าห้องสอบ

บทที่ 18 ตราสารอนุพันธ์และการจัดการความเสี่ยง
ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ไม่มีมูลค่าในตัวเอง มูลค่าของหลักทรัพย์นึ้ขั้นอยู่กับราคาตลาดหรืออัตราดอกเบี้ยของสินทรัพย์อื่น เช่น สิทธิที่
จะซื้อจะขายหุ้นสามัญ (Option) มูลค่าของสิทธิดังกล่าวขึ้นอยู่กับราคาตลาดของหุ้นสามัญที่รองรับ---> บุคคลกลุ่มที่ 3 คือ นักเก็งกำไร : เข้ามาซื้อขายโดยคาด่าสินทรัพย์
จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยไม่มีความต้องการป้องกันความเสี่ยง เมื่อบุคคลกลุ่มนี้เข้ามามาก ทำให้ตลาดมีสภาพคล่องและมั่นคงมากขึ้น หากไม่มีการควบคุมที่ดีพอ
ก็จะขาดทุนถึงขึ้นล้มละลายได้ Option คือสัญญาแสดงสิทธิของผู้ถือ Option จะซื้อหรือจะขายสินทรัพย์ใดๆที่ระบุไว้ตามจำนวน ภายในระยะเวลาที่กำหนด (strike
หรือ exercise price) ผู้ซื้อต้องจ่าย premiumให้แก่ผู้ขายในวันทำสัญญา จะไม่เป็นการบังคับผู้ถือ Option ให้ซื้อหรือขายแต่อย่างใด มี 2 ประเภท (1) Call Option คือ
Option ที่ผู้ซื้อมีสิทธิจะซื้อสินทรัพย์ตามจำนวน ราคา ภายในระยะเวลาที่กำหนดในอนาคต (2) Put Option คือ Option ที่ผู้ซื้อมีสิทธมีสิทธิจะขายสินทรัพย์ตามจำนวน
ราคา ภายในระยะเวลาที่กำหนดในอนาคต ผู้เกี่วข้องกับ Option มี 2 ฝ่าย คือ (1) ฝ่ายผู้ซื้อ Option (2) ฝ่ายผู้ขาย Option 1. ฝ่ายผู้ซื้อ Option มีสิทธิที่จะใช้หรือไม่ใช้
Option นั้นก็ได้ โดยผู้ซื้อจะจำกัดผลขาดทุนเท่ากับ Premium ที่จ่ายให้กับผู้ขาย แต่จะมีกำไรไม่จำกัด-->จากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าสินทรัพย์ที่ซื้อไว้ (2) ผู้ขาย Option
มีพันธะที่ต้องปฏิบัติตามเมื่อผู้ซื้อเลือก ที่จะใช้สิทธิ โดยผู้ขายสิทธิจะได้รับผลตอบแทนจำกัด เท่ากับ premium ที่ได้รับ แต่ขาดทุนไม่จำกัดขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์
ที่ขายไป การใช้สิทธิมี 2 แบบ 1. Amercan Option : ผู้ซื้อสามารถเลือกใช้สิทธิในการซื้อหรือขายตั้งแต่วันที่ทำสัญญาจนถึงวันครบสัญญา (2) European Option :
ผู้ซื้อสามารถใช้สิทธิซื้อขายได้เฉพาะวันครบกำหนดสัญญา ราคาใช้สิทธิ (exercise price หรือ strike price) คือราคาที่กำหนดให้ผู้ซื้อใช้สิทธิในการซื้อหรือขาย ถ้า
ราคาใช้สิทธิต่ำกว่าราคาตลาดในขณะนั้นเรียกว่า in-the-money ถ้าราคาใช้สิทธิสูงกว่าราคาในตลาดนั้น เรียกว่า out-of-the-money(OTM)และหากใช้สิทธิเท่ากับราคาใน
ขณะนั้น เรียกว่า at-the-money (ATM) Put Option = ราคาที่กำหนดให้ใช้สิทธิ - ราคาตลาด เช่น นาย ไม่มีหุ้นใน บ. ก แต่
นาย ก ขายสิทธิซื้อหุ้นให้นาย ข 100 หุ้น @55฿ ใช้สิทธิภายใน ม.ค. สิทธิละ 3.15฿ ซื้อ สิทธิในการขายหุ้นไว้ 100 หุ้น @50 บาท ใช้สิทธิได้ภายใน ม.ค. ราคาสิทธิละ 2.20 ฿
ถ้าราคาตลาด 60 = (60-55)100-315 = 185 บาทคือกำไร ราคาตลาด 45 ฿ = (50-45)100-220 = 280 บาท คือกำไร
ตัวอย่าง CALL OPTION สิทธิจะซื้อหุ้น A ราคาหุ้นละ20 บาท ในระยะเวลา 3 เดือน ราคาสิทธิละ 3 บาท คือผู้ซื้อสิทธินี้จะได้สิทธิในการซื้อหุ้น A
ราคาหุ้นละ 20 บาท โดยจ่ายค่า Premium ให้ผู้ขายล่วงหน้า ณ วันที่ทำสัญญา 3 บาท ถ้าใน 3 เดือนนี้ราคาหุ้น A ในท้องตลาดต่ำว่า 20 บาท ผู้ซื้อสิทธิก็จะไม่ใช้สิทธิ
ผู้ขายจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับ Premium = 3 บาท แต่ถ้าราคาหุ้นในท้องตลาดสูงกว่าราคาใช้สิทธิ ผู้ซื้อสิทธิจะใช้สิทธิซื้อหุ้นราคา 20 บาท จากผู้ขาย
หรือ ไม่ก็ได้ แต่ผู้ขายต้องปฏบัติตามที่ผู้ซื้อต้องการ โดยได้รับผลตอบแทนมากที่สุดเท่ากับค่า Premium
ตัวอย่าง PUT OPTION ซื้อสิทธิในการขายหุ้น ( put option) เพื่อมีสิทธิในการขายหุ้นบริษัท A ในเดือนมกราคม ราคาใช้สิทธิหุ้นละ 50 บาทจำนวน 100 หุ้น
ต้องจ่าย premium 2.2 บาทต่อหุ้น ถ้าราคาหุ้นลงลดเหลือ 45บาท ก็สามารถใช้สิทธิจะขายหุ้นได้ในราคาหุ้นละ 50 บาท ถ้ายังไม่มีหุ้นก็สามารถซื้อหุ้นจากตลาด
และ ใช้สิทธิจะขายหุ้น 100 หุ้น คงเหลือกำไรทั้งสิ้น ( 50 x 100 ) - ( 2.2 x 100 ) = 280 บาท
FORDWARD CONTRACTS คือข้อตกลงที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงซื้อขายสินทรัพย์จำนวนหนึ่งจากอีกฝ่ายหนึ่งโดยตกลงขายกันในวันทำสัญญา แต่จะส่งมอบ
และชำระเงินในอนาคตตามวันที่กำหนดไว้ ฉะนั้นราคาสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากวันทำสัญญามากจะมีโอกาสให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาได้
Future Contracts : FC) คล้ายกับ Forward Contracts แตกต่างกัน 3 อย่าง คือ (1) F C ปรับราคาตามตลาดทุกวัน บันทึกกำไรขาดทุนทุกวัน ถ้าขาดทุนจะต้อง
จ่ายเงินเพิ่มหุ้ค้มกับผลขาดทุนนั้น จึงทำให้มีการผิดสัญญาลดลง (2) FC ไม่มีการส่งมอบสินทรัพย์ เมื่อครบกำหนดสัญญาจะจ่ายหรือรับเงินส่วนต่างเท่านั้น
(3) FC เป็นสัญญามาตรฐานสามารถนำไปซื้อขายในตลาดได้ กำหนดขนาดสัญญา วันหมดอายุ กฎระเบียบที่ซื้อขายที่ควบคุมโดยตลาดที่เป็นคนกลางระหว่าง
คู่สัญญา 2 ฝ่ายที่กำหนดข้อสัญญาให้ตรงกันตามความต้องการขอคู่สัญญาเท่านั้น
การแลกเปลี่ยน (Swaps) คือสัญญาที่คู่สัญญา 2 ฝ่ายตกลงแลกเปลี่ยนธุรกรรมกัน เช่นการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย สกุลเงิน ข้อดีคือช่วยลดต้นทุน เพราะไม่มี
ค่าคนกลาง swaps ใช้ลดความเสี่ยงทางการเงิน เช่น การแลกเปลี่ยนความรับผิดชอบในการชำระเงิน---> ช่วยลดเวลา ความยุ่งยาก เพิ่มสภาพคล่องและประสิทธิภาพ
Structured Note คือ ภาระหนี้สินที่เกิดจากภาระหนี้สินอื่น เช่น กรณีวานิชธนากร ได้ซื้อพันธบัตรรัฐบาลชนิเรียกไถ่ถอนคืนไม่ได้อายุ 30 ปีมาเป็นหลักประกัน
การจำหน่ายพันธบัตรไร้ดอกเบี้ยเป็นชุดๆ ตามงวดดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตรรัฐบาล ชุดสุดท้ายของพันธบัตรไร้ดอกเบี้ยมีอายุ 30 ปี จะค้ำประกันด้วยดอกเบี้ย
ที่ได้รับชุดสุดท้ายจากพันธบัตรรัฐบาล Inverse Floater(FV) คือ ตั๋วเงินที่มีอัตราผลตอบแทนเคลื่อนไวตรงข้ามกับอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด
เช่น ตั๋วเงินอัตราดอกเบี้ยที่คิดกับลูกค้าชั้นดี บวก 1% แต่ IF นี้อัตราผลตอบแทนจะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามของตลาด ดอกเบี้ยสูง IF จะต่ำ

กระแสเงินสดสุทธิ Net Cash Flow

กระแสเงินสดสุทธิ Net Cash Flow = กำไรสุทธิ - รายได้ที่ไม่เป็นเงินสด + ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายเป็นเงินสด (ค่าเสื่อมราคา & ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย)
Net Operating Working Capital = Operating Working Capital - (เจ้าหนี้การค้า + ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย) หรือ
= จำนวนเงินทุนที่ต้องจัดหามาจากผู้ลงทุน (ซึ่งมีต้นทุนทางการเงิน)
Operating Working Capital = เงินสด + ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ
Total Operating Capital = Net Operating Working Capital + Net Fixed Assets
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Operating Cash Flow) = กำไรสุทธิจากการดำเนินงานหลังภาษี (Nopat) + ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)
กระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow=FCF) = กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Operating Cash Flow) - Gross Investment in Operating Cap.
Gross Investment in Operating Capital = Net Investment in Operating Capital + Depreciation
FCF = Nopat - Net Investment in Operating Capital
อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง
Current Ratio = Current Assets / Current Liabilities Quick Ratio = (Current Assets - Inventory) / Current Liabilities
อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์
Inventory Turnover Ratio = Sales / Inventory Days Sales Outstanding (DSO) = Acc. Rec. / Sales per Date
Fixed Assets Turnover Ratio = Sales / Net Fixed Assets Total Assets Turnover Ratio = Sales / Total Assets
อัตราส่วนการบริหารหนี้สิน อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio) = Total Lia. / Total Assets
Times Interest Earned (TIE) ใช้วัดความสามารถของธุรกิจในการชำระดอกเบี้ย = EBIT / ดอกเบี้ยจ่าย
อัตราส่วนกระแสเงินสดรวมทั้งสิ้นสามารถชำระค่าใช้จ่ายประจำทางการเงินได้เพียงใด
EBITDA Coverage Ratio = EBITDA + Depreciation & Amortization + Lease Payments / Interest + Loan Repayments + Lease Payments
อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร
อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ / ยอดขาย Basic Earning Power (BEP) = EBIT / สินทรัพย์ทั้งสิ้น
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ / สินทรัพย์ทั้งสิ้น
อัตราผลตอบแทนส่วนของผู้เป็นเจ้าของ (ROE) = กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ / ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนประเมินผลธุรกิจโดยรวม
อัตราส่วนราคาต่อหุ้นกับกำไรสุทธิต่อหุ้น (PE Ratio) = ราคาตลาดต่อหุ้น / กำไรสุทธิต่อหุ้น
อัตราส่วนราคาต่อหุ้นกับกระแสเงินสดต่อหุ้น (Price / Cash Flow Ratio) = ราคาตลาดต่อหุ้น / กระแสเงินสดต่อหุ้น
กระแสเงินสดต่อหุ้น = กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคา + รายจ่ายตัดบัญชี / จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือบุคคลภายนอก
อัตราส่วนราคาตลาดต่อหุ้นกับมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Market / Book = M / B) = ราคาตลาดต่อหุ้น / มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น = ส่วนของผู้ถือหุ้น / จำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในมือบุคคลภายนอก
องค์ประกอบของอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด
k = k* + IP + DRP + LP + MRP k = อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดขึ้น (Quoted Rate, Nominal Rate)
k* = อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงที่ไม่มีความเสี่ยงและไม่รวมอัตราเงินเฟ้อ Real Risk - Free Rate = kRF = k* + IP
IP = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกับภาวะเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Inflation Premium)
DRP = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่เจ้าหนี้อาจจะไม่ได้รับชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืน (Default Risk Premium)
LP = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกับความยากในการขายหลักทรัพย์ต่อไป (Liquidity Premium) หรือความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่อง
MRP = (Maturity Risk Premium) อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่เกิดจากอายุของหลักทรัพย์ (หลักทรัพย์ที่มีอายุครบ
ยาวนาน ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่าหลักทรัพย์ที่มีอายุสั้น) ความเสี่ยงเนื่องจากระยะเวลานี้ ความเสี่ยงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk)
หลักทรัพย์รัฐบาลระยะสั้น = k* + IP หลักทรัพย์รัฐบาลระยะยาว = k* + IP + MRP
หลักทรัพย์เอกชนระยะสั้น = k* + IP + DRP + LP หลักทรัพย์เอกชนระยะยาว = k* + IP + DRP + LP + MRP
บทที่ 5 อัตราผลตอบแทน k^ = เงินที่ได้รับจากการลงทุน - เงินลงทุน / เงินลงทุน
อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Rate of Return "k^") k^ = P1k1 + P2k2 + …. + Pnkn
Pi = ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ I ki = อัตราผลตอบแทนของเหตุการณ์ I n = จำนวนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด
ค่าเบี่ยงเบน (Deviation) = ki - k^ ค่าความแปรปรวน Variance =
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Standard Deiation =
ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรปรวน Coefficient of Variation = CV ใช้เฉพาะกรณีที่อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนไม่เท่ากัน =
อัตราผลตอบแทนจริง k-
ความสัมพันธ์ของความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน Capital - Assets Pricing Model (CAPM) = ki = kRF + (kM - kRF) bi
ki = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการของหุ้นสามัญ I kRF = อัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง
kM = อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด bi = ค่าเบต้าของหุ้นสามัญ
RPM อัตราผลตอบแทนของตลาดที่ผู้ลงทุนต้องการเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยกับความเสี่ยง = kM - kRF
RPi อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเพิ่มขึ้นของหุ้นสามัญ I = (kM - kRF) bi = (RPM) bi
สมการ SML (Security Market Line) อัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญ I = อัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง + (อัตราผลตอบแทนของตลาดที่ชดเชย
ความเสี่ยง)(ค่าเบต้าของหุ้นสามัญ I)
บทที่ 6 FV = PV (1+I)n ถ้าการถอนเงินออกมาตอนต้นปี ต้องตั้งเครื่องคำนวณไปที่ BEG ก่อน
PV ของ Perpetuity (ไม่กำหนดปีสิ้นสุด) = Payment / Interest Rate
EAR, EFF = n [Shift] [Eff] อัตรา% [EXE] APR = n [Shift] [APR] อัตราEFF [EXE]
บทที่ 7 ผลตอบแทนจากพันธบัตร Yield to Maturity (YTM)
Yield to Call (YTC) = [n] [PV] [PMT] [FV] [Comp] [I%] Current Yield = Interest / Current Price
บทที่ 9 WACC (Weighted Average Cost of Capital) ต้นทุนของเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = wd kd (1-t) + wp kp + wc ks
kd = อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย, ต้นทุนของหนี้สินก่อนเสียภาษี kd (1-t) = ต้นทุนของหนี้สินหลังเสียภาษี
t = อัตราภาษีเงินได้ kp = ต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิ์ ks = ต้นทุนของหุ้นสามัญ
ต้นทุนของหุ้นบุริมสิทธิ์ kp = dp / pp (เงินปันผลของหุ้นบริมสิทธิ / ราคาหุ้นบุริมสิทธิ)
ต้นทุนของกำไรสะสม วิธี CAPM ks = kRF + (kM - kRF) bi
วิธีผลตอบแทนจากพันธบัตรบวกส่วนชดเชยความเสี่ยง (Bond Yield Plus Risk Premium Approach) ks = Bond Yield + Risk Premium
วิธีผลตอบแทนจากเงินปันผลบวกอัตราการเจริญเติบโตหรือวิธีส่วนลดกระแสเงินสด (Dividend Yield Plus Growth Rate or Discounted Cash
Flow (DCF) Approach) = ks = d1 / p0 + g ต้นทุนของหุ้นสามัญที่ออกใหม่ ke = d1 / p0 (1-f) + g
เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับงบลงทุนมี 5 ประการดังนี้
1. Payback Period - คืนทุนสั้นที่สุด 2. Discounted Payback Period - หามูลค่าปัจจุบันในแต่ละปี แล้วคำนวณหาเวลาคืนทุน
3. Net Present Value (NPV) - NPV เป็น + รับโครงการ 4. Internal Rate of Return (IRR) - ไม่ต้องกด I% ตอนคำนวณ
5. Modified Internal Rate of Return (MIRR) - เอากระแสเงินสดที่ได้รับไปลงทุนใหม่ แล้วรวมเป็นยอดเงินในปีสุดท้าย
อัตราส่วนลดที่ทำให้ค่า NPV ของแต่ละโครงการเท่ากันเรียกว่า Cross Over Rate
บทที่ 11 กระแสเงินสดอิสระ = กำไรจากการดำเนินงานหลังภาษี + ค่าเสื่อมราคา - รายจ่ายลงทุน - การเปลี่ยนแปลงของทุนหมุนเวียนจากการ
ดำเนินงาน (สุทธิ)
การหากระแสเงินสดของโครงการ
1. ข้อมูล 2. ตารางค่าเสื่อมราคา - หามูลค่าตามบัญชี 3. มูลค่าซาก - หากระแสเงินสดสุทธิจากมูลค่าซาก
การตัดสินใจเลือกโครงการ NPV เป็น + IRR และ MIRR สูงกว่าต้นทุนของเงิน
เทคนิคการวัดความเสี่ยงเฉพาะปัจจัย
1. Sensitivity Analysis คือ การวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อทราบว่า เมื่อปัจจัยหนึ่งเปลี่ยนแปลงโดยปัจจัยอื่นคงที่จะทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิเปลี่ยงแปลง
2. Scenario Analysis คือ การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามสภาวะของเหตุการณ์ที่คาดว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นโดยนำการกระจายความน่าจะเป็นของตัว
แปรต่าง ๆ มาพิจารณา
3. Monte Carlo Simulation คือ การวิเคราะห์ความเสี่ยงโดยการสุ่มตัวแปรแล้วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ NPV และบันทึกไว้ ทำซ้ำ ๆ กันเช่นนี้
แล้วจึงหาค่าเสี่ยง SD หรือ CV ของ NPV เพื่อวัดความสามารถในการทำกำไรและความเสี่ยงของโครงการ
บทที่ 13 ROIL (Return on Investment Capital) ความไม่แน่นอนของผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในอนาคต = NOPAT / Capital
Capital = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น (ไม่รวมหุ้นบุริมสิทธิ์) สมการ HAMADA = b = bu [1 + (1 - t)(D / E)]
bu = ค่าเบต้าของกิจการกรณีไม่มีหนี้สิน เรียกว่ Unlevered Bata
บทที่ 15 เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) - สินทรัพย์หมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินงาน
เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital) - ผลต่างระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียน กับ หนี้สินหมุนเวียน
ระยะเวลาในการผลิตและขายสินค้า = สินค้าคงเหลือ / ยอดขายต่อวัน ระยะเวลาในการเก็บหนี้ = ลูกหนี้การค้า / ยอดขายต่อวัน
ระยะเวลาในการชำระหนี้ = เจ้าหนี้การค้า / ยอดซื้อต่อวัน หรือ ต้นทุนขายต่อวัน
วงจรของเงินสด = ระยะเวลาในการผลิตและขายสินค้า + ระยะเวลาในการเก็บหนี้ - ระยะเวลาในการชำระหนี้
บทที่ 16 Nominal Annual Cost = (Discount Percent / 100 - Discount precent) X 365 (Days Credit is Outstanding - Discount Period )
Effective Annual Cost = (1+ %ต่องวด เช่น 2/98)ยกกำลังงวด - 1.0
บทที่ 17 เงินทุนที่ต้องการเพิ่มขึ้น AFN = (A*/S0) dS - (L*/S0) dS - MS1 (RR)
A* = สินทรัพย์ที่ต้องการเพิ่มขึ้นเมื่อยอดขายเพิ่มขึ้น S0 = ยอดขายปีที่ผ่านมา
L* = หนิ้สินที่เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ dS = การเปลี่ยนแปลงยอดขาย - Sales Grownth
M = อัตรากำไรต่อยอดขาย S1 = ยอดขายที่พยากรณ์ไว้ในปีต่อไป
RR = อัตรากำไรที่เหลือจากการจ่ายเงินปันผล
สินทรัพย์ถาวรที่ต้องการ = อัตราส่วนสินทรัพย์ถาวรที่มีอยู่ต่อยอดขาย X ยอดขายที่พยากรณ์ไว้
บทที่ 18 ตราสารอนุพันธ์
1. Forward Contracts & Future Contracts
- Forward ข้อตกลงที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งตกลงซื้อสินทรัพย์จำนวนหนึ่งจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยตกลงราคาขายวันนี้
- ส่งมอบและชำระเงินในอนาคต - มีความเสี่ยงเพราะถ้าราคาสินทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปอาจมีการผิดสัญญาได้
- Future ปรับราคาตามราคาตลาดทุกวัน - ไม่มีกรส่งมอบสินทรัพย์แต่เมื่อครบกำหนดสัญญาจะจ่ายหรือรับเงินส่วนที่ต่างกันเท่านั้น
- เป็นสัญญามาตรฐานสามารถนำไปซื้อขายกันในตลาดได้
2. Swap สัญญาที่คู่สัญญา 2 ฝ่ายตกลงแลกเปลี่ยนธุรกรรมกัน เช่น การแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย, การแลกเปลี่ยนสกุลเงิน
3. Structured Noted ภาระหนี้สินที่เกิดจากภาระหนี้สินอื่น
4. Inverse Floaters ตั๋วเงินที่มีอัตราผลตอบแทนเคลื่อนไหวตรงข้ามกับอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด
ความเสี่ยง 10 ประการ 1. Pure Risks 2. Speculative Risks 3. Demand Risks 4. Input Risks
5. Financials Risks 6. Property Risks 7. Personnal Risks 8. Environmental Risks 9. Liability Risks
บทที่ 21 การควบกิจการ 10. Insurable Risks
การประเมินมูลค่าของบริษัทเป้าหมายมีหลายวิธี แต่ที่ใช้กันมากมี 2 วิธี
1. วิธีซื้อลดกระแสเงินสด - งบกำไรขาดทุน 5 ปีต่อไป มีหักสำรองเงินเพื่อการขยายงาน และประเมินกระแสเงินสดภายหลังปีที่ 5
2. วิธี Market Multiple Analysis
ทฤษฎีโครงสร้างของเงินทุน ของ M&M
- การใช้หนี้สินได้ประโยชน์ด้านภาษี ทฤษฎี M&M ราคาหุ้นจะสูงขึ้นและสูงสุดเมื่อใช้หนี้สิน 100%
- การใช้หนี้สินจะมีต้นทุนล้มละลายทำให้ราคาหุ้นลดลง ในช่วงแรกต้นทุนล้มละลายจะต่ำหรือแทบไม่มี เมื่อ D/A ถึง D1 ประโยชน์ด้านภาษียังมาก
กว่าต้นทุนล้มละลายที่สูงขึ้น ทำให้ราคาหุ้นจึงยังสูงขึ้นในอัตราลดลง เมื่อ D/A ถึง D2 ต้นทุนล้มละลายสูงกว่าประโยชน์ด้านภาษีราคาหุ้นจะลดลง
D2 จึงเป็นโครงสร้างของเงินทุนที่เหมาะสม

เรื่องของสิทธิจะซื้อจะขาย (Options)

Option เป็นสิทธิ (ไม่ใช่ข้อบังคับ) ในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่ระบุไว้ ตามจำนวน ราคา และภายในเวลาที่กำหนด
ทั้งนี้ผู้ซื้อ option จะต้องจ่าย option premium ให้แก่ผู้ขาย option
• สิทธิในการซื้อ เรียกว่า call option
• สิทธิในการขาย เรียกว่า put option
• ผู้ถือสิทธิมีสถานภาพเป็นบวก (เลือกใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้)
• ผู้ขายสิทธิมีสถานภาพเป็นลบ (ต้องปฎิบัติตามที่ผู้ถือสิทธิต้องการ)

ใช้สิทธิเมื่อได้รับประโยชน์จาก option
ผู้ถือสิทธิ
ไม่ใช่สิทธิถ้าสถานการณ์ไม่อำนวย (สละสิทธิ) โดยยอมให้
option หมดอายุและขาดทุนเท่ากับ option premium ที่จ่าย
ให้ผู้ขาย

Option มีทั้ง option ที่มีหุ้นรองรับ เงินตราต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ฯลฯ

สิทธิจะซื้อจะขายหุ้น (Stock Option)
สิทธิจะซื้อจะขายหุ้นสินทรัพย์ที่ระบุไว้ในสัญญา คือ หุ้นสามัญ ปกติจะกำหนด 100 หุ้น พร้อมทั้งวันสิ้นสิทธิ และราคาใช้สิทธิ โดยมี clearing house ทำหน้าที่เป็นตัวกลางการจัดการซื้อขาย เป็นคู่สัญญาของแต่ละฝ่าย และมอบหมายภาระการปฏิบัติตาม
เงื่อนไขของ option
ตัวอย่าง call option ที่มีหุ้นรองรับ นายไพโรจน์ขายสิทธิในการซื้อ
(call option) หุ้น SRC จำนวน 100 หุ้น (สินทรัพย์ที่ระบุไว้) ราคาหุ้นละ 186 บาท (ราคาใช้สิทธิ) ภายในเดือนเมษายน (วันสิ้นสิทธิ 30 เมษายน) ราคาตลาดหุ้นละ 175 บาท นายไวพจน์ต้องจ่าย option premium ให้นายไพโรจน์หุ้นละ 4 บาท
-2-

นายไวพจน์จะใช้สิทธิหรือไม่ขึ้นอยู่กับราคาหุ้น SRC ในอนาคต
1. ถ้าวันที่ 3 เมษายน ราคาตลาดหุ้น SRC หุ้นละ 210 บาท และนายไวพจน์พอใจก็จะใช้สิทธิซื้อหุ้นจากนายไพโรจน์ 100 หุ้น และนำหุ้นไปขายที่ตลาดซึ่งจะคำนวณกำไรได้ดังนี้
ขายหุ้น SRC 100 หุ้น @ 210 บาท 21,000 บาท
ราคาทุน 100 หุ้น @ 186 บาท 18,600
option premium 100 หุ้น @ 4 บาท 400 19,000 บาท
กำไร 2,000 บาท
อัตรากำไร 2,000 = 500 %
400
2. ถ้านายไวพจน์ซื้อ call option ไว้แล้วราคาตลาดหุ้น SRC ไม่สูงขึ้นเลย
จนกระทั่งวันที่ call option หมดอายุ (30 เมษายน) นายไวพจน์จะไม่ใช้สิทธิ และขาดทุนเท่ากับ option premium 400 บาท
ตัวอย่าง put option ที่มีหุ้นรองรับ นายไพโรจน์ขายสิทธิในการขาย (put option)หุ้น SRC จำนวน 100 หุ้น (สินทรัพย์ที่ระบุไว้) ราคาหุ้นละ 170 บาท (ราคาใช้สิทธิ) ภายในเดือนเมษายน (วันสิ้นสิทธิ 30 เมษายน) ราคาตลาดหุ้นละ 175 บาท นายไวพจน์ (ผู้ซื้อสิทธิ) ต้องจ่าย option premium ให้นายไพโรจน์ หุ้นละ 4 บาท
นายไวพจน์จะใช้สิทธิหรือไม่ขึ้นอยู่กับราคาหุ้น SRC
1. ถ้าวันที่ 3 เมษายน ราคาตลาดหุ้น SRC หุ้นละ 150 บาท นายไวพจน์
จะซื้อหุ้นจากตลาดและเรียกให้นายไพโรจน์มาซื้อหุ้นจากตนในราคาหุ้นละ 170 บาท
2. ถ้านายไวพจน์ซื้อ put option ไว้แล้วราคาหุ้น SRC ไม่ต่ำลงเลยจน
กระทั่งวันที่ put option หมดอายุ (30 เมษายน) นายไวพจน์จะไม่ใช้สิทธิ และขาดทุนเท่ากับ option premium 400 บาท
สิทธิที่จะซื้อเงินตราต่างประเทศ (Currency Option)
ตลาด Montreal Exchange (ME) ประเทศแคนาดาได้นำสัญญา option เงินตราต่าง
ประเทศมาซื้อขายครั้งแรกปลายปี 1982 โดยเริ่มจากเงินดอลล่าร์แคนาดาก่อน เมื่อประสบ
ความสำเร็จก็ได้นำ option เงินตราสกุลอื่นๆ เช่น เงินปอนด์ เงินมาร์ค ฯลฯ ออกมาซื้อขาย
-3-
การซื้อขาย option เงินตราต่างประเทศจะมีการชำระค่า premium เช่นเดียวกับ option ที่มี
หุ้นสามัญรองรับ ถ้ามูลค่าของเงินตราต่างประเทศสูงขึ้น ค่า premium ของ call option จะสูง
ขึ้นแต่ค่า premium ของ put option จะลดลง
สิทธิที่จะซื้อเงินตราต่างประเทศ (currency call options) เป็นตราสารทางการเงินชนิดหนึ่ง ที่ผู้ซื้อ call option ได้สิทธิในการซื้อเงินตราต่างประเทศตามราคาและภายในเวลาที่กำหนดไว้
• ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนทันทีสูงกว่าราคาใช้สิทธิ ผู้ถือ call option จะใช้สิทธิ
เรียกซื้อเงินตราต่างประเทศจากผู้ขายสิทธิ และขายเงินตราต่างประเทศนั้นก็จะได้กำไร
• ผู้ถือ call option จะใช้สิทธิซื้อเงินตราต่างประเทศหรือไม่ก็ได้ขึ้นกับ
ประโยชน์ที่จะได้รับ

ตัวอย่าง นายเฮนรี่ถือ call option ในการซื้อเงินปอนด์ โดยมีราคาใช้สิทธิเท่ากับ $ 1.50 จ่าย premium $ 0.20
• ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนลดลงเหลือ $1.25 นายเฮนรี่จะไม่ใช้สิทธิ
• ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นเป็น $ 1.75 นายเฮนรี่จะใช้สิทธิเพราะมีกำไร
สิทธิที่จะขายเงินตราต่างประเทศ ( currency put options ) ผู้ซื้อ put option ได้
สิทธิในการขายเงินตราต่างประเทศตามราคาและภายในเวลาที่กำหนดไว้
• ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนทันทีต่ำกว่าราคาใช้สิทธิผู้ถือ put option จะซื้อเงิน
ตราต่างประเทศจากตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศทันทีและเรียกให้ผู้ขาย put option มาซื้อเงินตราต่างประเทศจากตนทำให้ได้กำไร
• ผู้ถือ put option จะใช้สิทธิขายเงินตราต่างประเทศหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับ
ประโยชน์ที่จะได้รับ
ตัวอย่าง นายเฮนรี่ ถือ put option ในการขายเงินปอนด์ในราคา $ 1.50
• ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนลดลงเหลือ $ 1.25 นายเฮนรี่จะซื้อเงินปอนด์จาก
ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศทันทีและเรียกผู้ขาย put option ให้มาซื้อในราคา $1.50
• ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นเป็น $1.75 นายเฮนรี่จะไม่ใช้สิทธิเพราะ
ไม่มีกำไร

-4-

ตลาดในการซื้อขาย option จะผ่านบริษัทนายหน้า สถาบันการเงิน และลูกค้าต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการซื้อขาย นายหน้าจะเรียกเงินมัดจำจากลูกค้าไว้ป้องกันลูกค้าที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้

FISH&CHIPS INC., PART 2

20-14 Preferred Stock, Warrants, and Convertibles Marthas Milon, financial manager of Fish &Chips Inc., is facing a dilemma. The firm was founded 5 years ago to develop a new fast-food concept, and although Fish &Chips has done well, the firm is founder and chairman believes that and industry shake-out is imminent. To survive, the firm must capture market share now, and this requires a large infusion of new capital.
Because the stock price may rise rapidly, Millon does not want to issue new common stock. On the other hand, interest rate are currently very high by historical standards, and, with the firm’s B rating, the interest payments on a new debt issue would be too much to handle if sales took a downturn. Thus, Millon has narrowed her choice to bonds with warrants or convertible bonds. She has asked you to help in the decision process by answering the following questions.
a. How does preferred stock differ from common equity and debt?
Ans.
 Preferred dividends are fixed, but they may be omitted without placing the firm in default
 Preferred dividends are cumulative up to a limit.
 Most preferred stocks prohibit the firm from paying common dividends when the preferred is in arrears.

b. What is floating rate preferred?
Ans.
 Dividends are indexed to the rate on treasury securities instead of being fixed.
 Excellent S-T corporate investment :
- Only 30% of dividends are taxable to corporations.
- The floating rate generally keeps issue trading near par.
 However, if the issuer is risky, the floating rate preferred stock may have too much price instability for the liquid asset portfolios of many corporate investors.

c. How can a knowledge of call options help one understand warrants and convertibles?
Ans.
 A warrant is a long-term call option.
 A convertible bond consists of a fixed rate bond plus a call option.

d. One of Millon’s alternatives is to issue a bond with warrants at attached. Fish &Chips’ current stock price is $10, and its cost of 20-year, annual coupon debt without warrants estimated by its investment bankers to be 12 percent. The bankers suggest attaching 50 warrants to each bond, with each warrant having an exercise price of $12.50. It is estimated that each warrant, when detached and traded separately, will have a value of $1.50.
(1) What coupon rate should be set on the bond with warrants if the total package is to sell for $1,000
Ans.
 Calculate the value of the bonds in the package
V Package = VBond + VWarrants = $1,000
VWarrants = 50($1.50) = $75
VBond + $75 = $1,000
VBond = $925
 Calculate required annual coupon rate for bond with warrants package (Find coupon payment and rate.)
- Solving for PMT, we have a solution of $110, which corresponds to an annual coupon rate of $110 / $1,000 = 11%




(2) Suppose the bonds are issued and the warrants immediately trade for $2.50 each. What does this imply about the terms of the issue? Did the company “win” or “ lose”?
Ans.
 The package would have been worth $925 + 50(2.50) = $1,050. This is $50 more than the actual selling price.
 The firm could have set lower interest payments whose PV would be smaller by $50 per bond, or it could have offered fewer warrants with a higher exercise price.
 Current stockholders are giving up value to the warrants holders.

(3) When would you expect the warrants to be exercised?
Ans.
 Generally, a warrant will sell in the open market at a premium above its theoretical value (it can’t sell for less).
 Therefore, warrants tend not to be exercised until just before they expire.
 In a stepped-up exercise price, the exercise price increases in steps over the warrant’s life. Because the value of the warrant falls when the exercise price is increased, step-up provisions encourage in-the-money warrant holders to exercise just prior to the step-up.
 Since no dividends are earned on the warrant, holders will tend to exercise voluntarily if a stock’s dividend rises enough.

(4) Will the warrants bring in additional capital when exercised? If so, how much and what type of capital?
Ans.
 When exercised, each warrant will bring in the exercise price, $12.50, per share exercised.
 This is equity capital and holders will receive one share of common stock per warrant.
 The exercise price is typically set at 10% to 30% above the current stock price on the issue date.

(5) Because warrants lower the cost of the accompanying debt, shouldn’t all debt be issued with warrants?
Ans.
 Yes, the warrants have a cost that must be added to the coupon interest cost.

What is the expected cost of the bond with warrants if the warrants are expected to be exercised in 5 years, when Fish & Chips’ stock price is expected to be $17.50?
Ans
 The company will exchange stock worth $17.50 for one warrant plus $ 12.50. The opportunity cost to the company is $17.50 = $12.50 = $5.00, for each warrant excercised.
 Each bond has 50 warrants, so on a par bond basis, opportunity cost = 50($5.00) = $250.
Finding the opportunity cost of capital for the bond with warrants package
 Here is the cash flow time line:


0 1 ....... 4 5 6 ............ 19 20
+1,000 -110 -110 -110 -110 -110 -110
-250 -1,000
-360 -1,100

 Input the cash flows into a financial calculator (or spreadsheet) and find IRR = 12.93%. This is the pre-tax

How would you expect the cost of straight debt? With the cost of common stock?
Ans
 The cost of the bond with warrants package is higher than the 12% cost of straight debt because part of the expected return is from capital gains, which are riskier than interest income.
 The cost is lower than the cost of equity because part of the return is fixed by contract.
 20-year, 10% annual coupon. Callable convertible bond will sell at its $1,000 par value; straight debt issue would require a 12% coupon.
 Call the bonds when conversion value > %1,200.
 P0 = $10;, D0 =$0.74; g = 8%.
 Conversion ratio = CR = 80 shares.


e. As an alternative to the bond with warrant, Millon is considering convertible bond. The firm’s investment banker estimate that Fish & Chips could sell a-20-year,10 percent annual coupon,callable convertible bond for its $1,000 par value, whearas a straight-debt issue would required a 12 percent coupon. Fish & Chip current stockprice is $10,its last dividend was $ 0.47,and the dividend is excepted to grow at a constant rate of 8 percent. The convertible could be converted into 80 shares of Fish&Chip stock at the owner’s option.
(1) What conversion price,Pc ,is implied in the convertible terms?
Ans
• The conversion price can be found by dividing the par value of the bond by the conversion ratio, $1,000 / 80 = $12.50.
• The conversion price is usually set 10% to 30% above the stock price on the issue date.


(2) What is the straight-debt value of the convertible? What is the implied value of the convertibility feature?
Ans
Recall that the straight debt coupon rate is 12% and the bond’s have 20 years until maturity.







Because the convertibles will sell for $1,000, the implied value of the convertibility feature is
$1,000 – $850.61 = $149.39.
= $1.87 per share.
The convertibility value corresponds to the warrant value in the previous example.

(3) What is the formula for the bond’s conversion value in any year? Its value at Year0?At Year 10?
ANS
• Conversion value = Ct = CR(P0)(1 + g)t.
• At t = 0, the conversion value is …
C0 = 80($10)(1.08)0 = $800.
• At t = 10, the conversion value is …
C10 = 80($10)(1.08)10 = $1,727.14.



(4) What is the meant by the term “floor value’of a convertible? What is the convertible’s expected floor valuein Year 0? In Year 10?
Ans
• The floor value is the higher of the straight debt value and the conversion value.
• At t = 0, the floor value is $850.61.
- Straight debt value0 = $850.61. C0 = $800.
• At t = 10, the floor value is $1,727.14.
-Straight debt value10 = $887.00. C10 = $1,727.14.
• Convertibles usually sell above floor value because convertibility has an additional value.
(5) Assume that Fish & Chip intends to forceconversion by calling the bond when its conversion value is 20 percent above its par value, or at 1.2($ 1,000) = $1,200. When is the issue expected to be called?Answer to the clostestyear?
Ans
We are solving for the period of time until the conversion value equals the call price. After this time, the conversion value is expected to exceed the call price.












(6) What is the expected cost of the convertible to Fish & Chip? Does this cost appear consistent with the riskness of the issue? Assume conversion in Year 5 at a conversion value of $1,200.
Ans
0 1 2 3 4 5
1,000 -100 -100 -100 -100 -100
-1,200
-1,300
Input the cash flows from the convertible bond and solve for IRR = 13.08%.
• To be consistent, we require that kd < kc < ke.
• The convertible bond’s risk is a blend of the risk of debt and equity, so kc should be between the cost of debt and equity.
- From previous information, ks = $0.74(1.08) / $10 + 0.08 = 16.0%.
• kc is between kd and ks, and is consistent.
f. Millon believes that the costs of both the bond with warrant and the convertible bond are essentially equal , so her decision must be based on other factors, What are some of the factors that she should consider in making her decision?
Ans
The firm’s future needs for capital:
- Exercise of warrants brings in new equity capital without the need to retire low-coupon debt.
-Conversion brings in no new funds, and low-coupon debt is gone when bonds are converted. However, debt ratio is lowered, so new debt can be issued.

การแบ่งผลประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้น : เงินปันผลและการซื้อหุ้นคืนมา

นโยบายเงินปันผลที่เหมาะสม ...ก็คือ การจัดให้มีความสมดุลระหว่างการจ่ายเงินปันผลในปัจจุบัน และ อัตราการเจริญเติบโตของบริษัทในอนาคต เพื่อที่จะทำให้ราคาของหุ้นสามัญสูงสุด
ทฤษฎีนโยบายเงินปันผล
1.The dividend irrelevance theory …บอกว่า นโยบายเงินปันผลไม่มีความสำคัญ มูลค่าของกิจการขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำกำไร และความเสี่ยงของธุรกิจของบริษัทเอง หรือกล่าวอีกนัย หนึ่งว่า มูลค่าของกิจการขึ้นอยู่กับรายได้จากสินทรัพย์ของบริษัทเท่านั้น
2. The bird-in-hand theory …Gordon บอกว่า นักลงทุนยินดีที่จะได้รับเงินปันผลในปัจจุบันมากกว่า กำไรจากการที่ราคาหุ้นสามัญสูงขึ้นในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนจากกำไรที่จะได้รับ จากการที่ตาดว่าราคาหุ้นจะสูงขึ้นในอนาคต แต่ MM ก็โต้แย้งว่าแนวคิดของ Gordon เป็นภาพลวงตา เพราะหากจ่ายเงินปันผลมาก นักลงทุนก็จะเอาเงินปันผลนี้ไปลงทุนในหุ้นสามัญตัวอื่นอยู่ดี
3.The tax preference theory …point ของแนวคิดนี้คือ กำไรจากการซื้อขายหุ้นสามัญไม่ต้องเสียภาษี (ในประเทศไทย) แต่เงินปันผลต้องเสียภาษี ดังนั้นนักลงทุน มีความต้องการให้บริษัทจ่ายเงินปันผลในอัตราที่ต่ำ
นอกจากนี้ยังมีแนวคิด Information Content, or Signaling, Hypothesis …นักลงทุนจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงนโยบายเงินปันผล โดยเข้าใจว่าเป็นสัญญาณที่จะบอกให้รู้ว่า กำไรในอนาคตของบริษัทจะเป็นอย่างไร คือ ถ้าจ่ายมากกว่าเดิมแสดงว่ากำไรในอนาคตของบริษัทจะต้องมากกว่าเดิมแน่ หรือแนวคิดอีกอย่างคือ Clientele Effect แนวโน้มที่บริษัทจะดึงดูดนักลงทุน โดยการกำหนดนโยบายเงินปันผลตามที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ต้องการ
ขั้นตอนในการจ่ายเงินปันผล
1. วันประกาศจ่ายเงินปันผล (Declaration date) 2. วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น (Holder of record date)
3. Ex-dividend date โดยปกติจะ 4 วัน 4. วันจ่ายเงินปันผล (Payment date)
Dividend Reinvestment Plans (DRPs or DROPs) …เป็นโครงการให้สิทธิผู้ถือหุ้น ใช้เงินปันผลที่ได้รับลงทุนซื้อหุ้นสามัญของบริษัทได้โดยอัตโนมัติ โดยจะมี Trustee (ผู้ดูแลผลประโยชน์) คอยจัดการให้
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อนโยบายเงินปันผล
1. ข้อกำหนดต่างๆ
a. สัญญาในการจำหน่ายพันธบัตรหรือการกู้ยืม b. ข้อกำหนดของหุ้นบุริมสิทธิ c. Impairment of capital rule
d. ปริมาณเงินสดที่มี e. ภาษีค่าปรับสำหรับการเก็บกำไรสะสมไว้อย่างไม่เหมาะสม
2. โอกาสในการลงทุน
a. ตำแหน่งของ IOS b. โอกาสในการเร่งหรือชะลอโครงการ
3. ทางเลือกในการจัดหาเงินทุน
a. ค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายหุ้นสามัญใหม่ b. ความสามารถในการใช้เงินทุนจากหนี้สินแทนส่วนของเจ้าของ c. การควบคุม
4. ผลกระทบของนโยบายเงินปันผลต่ออัตราผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นต้องการ
a. ความต้องการของผู้ถือหุ้นว่า ต้องการรายได้ในปัจจุบันหรือรายได้ในอนาคต b. ความคิดเกี่ยวกับความเสี่ยงระหว่าง เงินปันผลกับกำไรจาการซื้อขายหุ้น
c. ประโยชน์ของภาษีระหว่าง เงินปันผลกับกำไรจากการซื้อขายหุ้น d. ข้อมูลหรือสัญญาณของการจ่ายเงินปันผล
การแตกหุ้น (Stock splits) …คือการแบ่งแยกหุ้นออกเป็น x ส่วน เช่น สองต่อหนึ่ง สามต่อหนึ่ง ซึ่งราคาหุ้นจะลดลงตามจำนวนส่วน แต่จะมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นตามจำนวนส่วนเช่นกัน
หุ้นปันผล (Stock dividend) …คล้ายกับการแตกหุ้น แต่เป็นการจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นแทน
การซื้อหุ้นสามัญกลับคืน (Stock repurchases) …เป็นที่นิยมมาก แทนที่จะจ่ายเงินปันผล ก็เอาเงินนั้นไปซื้อหุ้นกลับคืนมา หรืออาจจะไปกู้เงินเพื่อเอามาซื้อหุ้นสามัญกลับคืน ถ้าเห็นว่าอัตราส่วนเริ่มมีความไม่เหมาะสม
แบบฝึกหัดบทที่ 14 การแบ่งผลประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้น : เงินปันผลและการซื้อหุ้นคืนมา
โจทย์ 14-2 Garnma Medical’s stock trades at $90 a share. The company is contemplating a 3-for-2 stock split. Assuming that the stock split will have no effect on the market value of its equity, what will be the company’s stock price following the stock split ?
ตอบ หุ้น 1 หน่วย มูลค่า = $90
หุ้น 2 “ “ = $180
นำหุ้น 2 หน่วยมาแตกเป็น 3 หน่วย = $180 / 3 = $60
โจทย์ 14-3 Beta Industries has net income of $2,000,000 and it has 1,000,000 shares of common stock outstanding. The company’s stock currently trades at $32 a share. Beta is considering a plan in which it will use available cash to repurchase 20 percent of its shares in the open market. The repurchase is expected to have no effect on either net income or the company’s P/E ratio. What will be its stock price following the stock repurchase ?
ตอบ NI (Net Income) = $2,000,000
Share = $1,000,000
P0 = $32 New P0 = ?
Repurchase = 0.2 x $1,000,000 = $200,000 shares
Repurchase amount = $2,000,000 x $32 = $6,400,000
EPSOLD = NI = $2,000,000 = $2.00
Share $1,000,000
P/E Ratio = Market Price = $32 + $16
EPS $2
EPSNEW = $2,000,000 = $2,000,000 = $2.50
$1,000,000 - $200,000 $800,000
Price NEW = P = $16
EPSNEW E $1

Price NEW = $16 x $2.50 = $40
$1

การจัดการสินทรัพย์หมุนเวียน

ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital)
1. เงินทุนหมุนเวียน (Working capital หรือ Gross working capital) หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหลายที่ใช้ในการดำเนินงาน
2. เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Net working capital) คือ สินทรัพย์หมุนเวียน ลบ หนี้สินระยะสั้น
3. นโยบายเงินทุนหมุนเวียน หมายถึง นโยบายเกี่ยวกับ 3.1 ระดับของสินทรัพย์หมุนเวียนแต่ละประเภท
3.2 จะหาเงินจากที่ใดมาลงทุนในเงินทุนหมุนเวียน
4. การจัดการเงินทุนหมุนเวียน เป็น การกำหนดนโยบายเงินทุนหมุนเวียนและการนำนโยบายนั้นมาปฏิบัติ
นโยบายเงินทุนหมุนเวียน
1. แบบผ่อนคลาย (Relaxed) …บริษัทจะดำรงหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด และสินค้าคงคลังไว้เป็นจำนวนค่อนข้างมาก
2. แบบจำกัด (Restricted) ...บริษัทจะดำรงเงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด สินค้าคงคลังและลูกหนี้การค้า ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. แบบปานกลาง (Moderate) …ไม่มาก และ ไม่น้อยจนเกินไป
เงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วย 4 รายการหลัก
1. เงินสด 2. หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (Marketable securities)
3. สินค้าคงคลัง (วัตถุดิบ, งานระหว่างทำ และ สินค้าสำเร็จรูป) 4. ลูกหนี้การค้า
แนวคิดเรื่องเงินทุนหมุนเวียน เขียนสมการได้ คือ Working Capital = Inventories + Receivables – Payables
งบประมาณเงินสด ...ทำขึ้นเพื่อประเมินความต้องการเงินสด (ดูวิธีทำหน้า 623 ใน Text)
Liquidity(สภาพคล่อง) Profitability(ความสามารถในการทำกำไร)
รายการ ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
เงินสดรับ 8,000 12,000 15,000
เงินสดจ่าย 7,000 14,000 8,000
เงินสดสุทธิ 1,000 (2,000) 7,000
ยอดยกมา 4,000 8,000 8,000
5,000 6,000 15,000
กู้ยืม(ใช้คืน) 3,000 2,000 (5,000) : ใช้หนี้ที่กู้ยืมมาในเดือน ต.ค.=3,000 และ พ.ย.=2,000
ยอดยกไป 8,000 8,000 10,000
ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง
1. ระบบคอมพิวเตอร์ 2. JIT
3. Out-sourcing 4. ความสัมพันธ์ระหว่างตารางการผลิตและระดับของสินค้าคงคลัง
แบบฝึกหัดบทที่ 15 : การจัดการสินทรัพย์หมุนเวียน
โจทย์ 15-5 McDowell Industries sells on terms of 3/10, net 30. Total sales for the year are $912,500. Forty percent of the customers pay on the 10th day and take discounts; the other 60 percent pay on average, 40 days after their purchases.
ตอบ
a. What is the days sales outstanding ?
ระยะเวลาเก็บหนี้ถัวเฉลี่ย (DSO : Days Sales Outstanding)
= 0.4 (10) + 0.6 (40) = 28 days
b. What is the average amount of receivables ?
ยอดลูกหนี้ = $912,500 / 365 = $2,500 sales per day
c. What would happen to average receivables if McDowell toughened up on its collection policy with the result that all nondiscount customers paid on the 30TH days ?
DSO = 0.4 (10) + 0.6 (30) = 22 days
ยอดลูกหนี้ = $912,500 / 365 = $2,500 sales per day
= $2,500 (22) = $55,000 average receivables

โจทย์ 15-8 The Zooco Corporation has an inventory conversion period of 75 days, a receivables collection period of 38 days, and a payables deferral period of 30 days.
ตอบ
a. What is the length of the firm’s cash conversion cycle ?
วงจรของเงินสด (CCC : Cash Conversion Cycle)
สินค้าคงเหลือ + ลูกหนี้
ยอดขายต่อวัน ยอดขายต่อวัน
- เจ้าหนี้
ยอดซื้อต่อวัน

สูตร =สินค้าคงเหลือ + ลูกหนี้ - เจ้าหนี้
ยอดขายต่อวัน ยอดขายต่อวัน
ยอดซื้อต่อวัน

CCC = 75 + 38 – 30 = 83 days
b. If Zooco’s annual sales are $3,421,875 and all sales are on credit, what is the firm’s investment in account receivable?
ยอดขายเฉลี่ยต่อวัน(Average sales per day) = $3,421,875 / 365 = $9,375
c. How many times per year does Zooco turn over its inventory ?
Inventory Turn over = 365 / 75 4.87 ครั้งต่อปี

การจัดหาเงินทุนจากหลักทรัพย์ลูกผสม: หุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบุริมสิทธิ์
Basic EPS : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้น หารด้วย จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและอยู่ในมือผู้ถือหุ้น(โดยวิธีถัวเฉลี่ย)
Primary EPS : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ หารด้วย จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและอยู่ในมือผู้ถือหุ้น(โดยคิดเฉพาะจำนวนที่คาดว่าจะมีการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ หรือใช้สิทธิในการแปรสภาพ
หลักทรัพย์มาเป็นหุ้นสามัญ)
Fully Diluted EPS : กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ หารด้วย จำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและอยู่ในมือผู้ถือหุ้น (โดยคาดว่าได้มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ หรือใช้สิทธิในการแปรสภาพหลักทรัพย์มา
เป็นหุ้นสามัญทั้งหมด)
การเช่า (Leases) คือ ผู้ให้เช่าสินทรัพย์ (Lessor) ยินยอมให้ผู้เช่าสินทรัพย์ (Lessee) มีสิทธิใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ตามที่ทำสัญญาไว้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยได้รับค่าเช่าเป็นการตอบแทน

บทที่ 21 การควบกิจการ
1.เหตุผลในการควบกิจการ
1. Synergy ..การเพิ่มมูลค่า โดยก่อให้เกิด a. ประโยชน์จากการดำเนินงาน b. ประโยชน์ทางการเงิน
c. ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น d. เพิ่มอำนาจทางการตลาด
2. การพิจารณาทางด้านภาษี
3. การซื้อสินทรัพย์ได้ในราคาต่ำ
4. การกระจายความเสี่ยง
5. ความต้องการโดยส่วนตัวของผู้บริหาร
6. Breakup Value …คือ การซื้อกิจการมา แล้วมาแยกส่วนขายเพื่อหวังกำไร
2.ประเภทของการควบกิจการ
1.Horizontal Merger …ควบรวมกิจการตั้งแต่ 2 กิจการขึ้นไป ซึ่งผลิตสินค้าหรือขายบริการ 2.Vertical Merger …ควบรวมกิจการที่เกี่ยวข้องในลักษณะที่เป็น Supplier ให้กัน หรือลูกค้ากัน
3.Congeneric Merger …ควบรวมกิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ไม่มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็น Supplier ให้กัน หรือลูกค้ากัน 4.Conglomerate Merger …ควบรวมกิจการที่อยู่ต่างอุตสาหกรรมกัน
3.การควบกิจการที่เป็นปฏิปักษ์และเป็นมิตรกัน(Hostile merger)
4.การวิเคราะห์การควบกิจการ
5.ภาษีและโครงสร้างการเสนอราคา
6.รายงานทางการเงินสำหรับการควบกิจการ มี 2 วิธี คือ 1.Pooling of interest 2.Purchase
7.การวิเคราะห์เพื่อการควบกิจการอย่างแท้จริง คือ การควบกิจการที่เท่าเทียมกัน
8.บทบาทของวาณิชธนากร
9.ใครเป็นผู้ชนะจากประสบการณ์ในอดีต
10.การพันธมิตรกันระหว่างบริษัท คือ การเป็นพันธมิตรร่วมมือกันระหว่างบริษัท โดยเน้นด้านใดด้านหนึ่งเพื่อทำให้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องควบรวมกิจการ
11.การกู้เงินมาซื้อหุ้นสามัญของบริษัทตนเอง คือ LBO (Leveraged Buyout) การที่กลุ่มผู้ลงทุนซึ่งปกติ คือผู้บริหารของบริษัทกู้เงินมาซื้อหุ้นสามัญของบริษัทนั้นเอง
12.การขายกิจการบางแผนก คือ การขายสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินงานบางส่วน

บทที่ 17 การวางแผนและพยากรณ์ทางการเงิน

การพยากรณ์ทางการเงินโดยใช้วิธีอัตราส่วนคงที่
1. ต้องพยากรณ์ยอดขายของปีถัดไปก่อน
2. เมื่อพยากรณ์ยอดขายแล้ว ก็ต้องทำการพยากรณ์งบกำไร-ขาดทุน
2.1 หา Correction factor ของยอดขายปีหน้าเทียบกับปีปัจจุบัน เช่น ยอดขายปีปัจจุบันเท่ากับ 100 บาท พยากรณ์ยอดขายของปีหน้าเท่ากับ 120 บาท จะได้ Correction factor เท่ากับ 120 / 100 = 1.2 เป็นต้น
2.2 นำ Correction factor ที่ได้มาไปคูณกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในงบกำไรขาดทุน ซึ่งประกอบด้วย
2.2.1 ต้นทุนสินค้า (Cost of goods sold) 2.2.2 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (Selling and administrative expense) 2.2.3 ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)
2.3 จากนั้นก็หา EBIT  EBT  Net income
2.4 นำ Dividend (โจทย์กำหนดมาว่าเป็นกี่ % ของ Net income) ไปหักออกจาก Net income ซึ่งจะทำให้ทราบถึง Retained Earning ซึ่ง Retained Earning นี้จะมีผลต่อเนื่องไปยังงบดุลในส่วนของ Common Equity
3. พยากรณ์งบดุล
3.1 นำ Correction factor เช่นเดียวกันกับในงบกำไร-ขาดทุน ไปคูณกับ Spontaneously generated fund ซึ่งประกอบด้วย
3.1.1 ลูกหนี้การค้า (Account Receivable) 3.1.2 สินค้าคงคลัง (Inventory) 3.1.3 สินทรัพย์ถาวรต่าง ๆ (Fixed asset)
3.1.4 เจ้าหนี้การค้า (Account payable) 3.1.5 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accruals)
ในส่วนของเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาวนั้นไม่ต้องนำ Correction factor ไปคูณ เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่ขึ้นอยู่กับยอดขาย
3.2 กำไรสะสม (Retained Earning) ของปีหน้าคำนวณได้จาก การนำกำไรสะสมที่ได้จากการพยากรณ์งบกำไร-ขาดทุนของปีหน้า มาบวกกับกำไรสะสมของปีปัจจุบัน
3.3 เปรียบเทียบยอดรวมของ Total Asset กับ Total Liability and equity ซึ่งจะต้องเท่ากัน ถ้าไม่เท่ากันต้องหา Additional Fund needed ซึ่งจะเท่ากับ
Additional fund needed (AFN) = Total Asset – Total liability and equity
3.4 ตรวจดูโครงสร้างของเงินทุน (Capital structure) ว่าเงินทุนนั้นมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนเป็นเท่าใด เช่น หนี้สิน 40% ทุน 60% เป็นต้น
3.5 ทำการจัดสรร AFN ที่ได้จากข้อ 3.3 ตามสัดส่วนของหนี้สินต่อทุน (ข้อ 3.4)
3.6 ในกรณีที่มีหนี้สินเพิ่มนั้น จะเป็นผลให้ดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไร- ขาดทุนเพิ่มขึ้น โดยที่ต้องกลับไปคำนวณงบกำไร-ขาดทุนอีกครั้ง ซึ่งเป็นผลให้กำไรสุทธิและกำไรสะสมเปลี่ยนไป
3.7 ทำการเปรียบเทียบ Total asset กับ Total liability and equity อีกครั้ง ซึ่งถ้ายังไม่เท่ากันก็ต้องหา AFN ในข้อ 3.3 อีกครั้ง และทำตามข้อ 3.4, 3.5 และ 3.6 จนกว่า AFN เท่ากับศูนย์
3.8 สุดท้ายนำ AFN ที่เกิดขึ้นทั้งหมดมารวมกัน (Cumulative AFN) ก็จะได้ AFN หรือเงินทุนที่ต้องจัดหาเพิ่มในปีหน้า
THE AFN FORMULA : AFN = (A*/S0)S – (L*/S0)S – MS1(1-d)
หมายเหตุ สูตรนี้จะใช้ได้เมื่อ ใช้สินทรัพย์เต็มกำลังการผลิตเท่านั้น
AFN = เงินทุนที่ต้องการเพิ่ม (Additional fund needed) A* = สินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมด
S0 = ยอดขายของปีก่อน (ปีล่าสุด) S = ยอดขายที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น (ยอดขายพยากรณ์ – ยอดขายของปีล่าสุด)
L* = Spontaneous Liabilities (ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติถ้ามีการเพิ่มขึ้นของยอดขาย)
M = Profit Margin จะมีค่าเท่ากับ Net income to common equity / Sales ซึ่ง Net income to common equity นั้นหมายถึง กำไรสุทธิที่ได้หักเงินปันผลในส่วนของหุ้นบุริมสิทธ์ (Preferred stock) แล้ว
S1 = ยอดขายพยากรณ์ของปีหน้า d = Dividend payout ratio ซึ่งมีค่าเท่ากับ Dividend / Net income โดยที่ d จะมีค่าไม่เกิน 1 เสมอ
ซึ่งถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่า ...AFN = สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น – หนี้สินที่เป็น Spontaneous ที่เพิ่มขึ้น – ทุนที่เพิ่มขึ้น (เฉพาะในส่วนของกำไรสะสม)
แบบฝึกหัดบทที่ 17 : การวางแผนแลพยากรณ์ทางการเงิน
RR (Retention Ratio) = (1 – Payout)
= (1 – 0.3) = 0.7 = 70%
โจทย์ Carter Corporation’s sales are expected to increase from $5 million in 2002 to $6 million in 2003, or by 20 percent. Its assets totaled $3 million at the end of 2002. Carter is at full capacity, so its assets must grow in proportion to projected sales. At the end of 2002, current liabilities are $1 million, consisting of $250,000 of accounts payable, $500,000 of notes payable, and $250,000 of accrued liabilities. The after-tax profit margin is forecasted to be 5 percent, and the forecasted retention ratio is 30 percent. Use this information to answer Problems 17-1, 17-2, and 17-3.
17.1 Use the AFN formula to forecast Carter’s additional funds needed for the coming year.
ตอบAFN = ( A* / S0 ) S - ( L* / S0 ) S - M S1 ( RR )
= ($3,000,000 / $5,000,000)$1,000,000 – ($500,000 / $5,000,000)$1,000,000 – 0.5 x $6,000,000(0.30)
= (0.60)$1,000,000 – (0.10)$1,000,000 - $3,000,000(0.30) = $600,000 - $100,000 - $90,000
= $410,000
17.2 What would the additional funds needed be if the company’s year-end 2002 assets had been $4 million ? Assume that all other numbers are the same. Why is this AFN different from the one you found in Problem 17-1 ? Is the company’s “capital intensity” the same or different ?
ตอบAFN = ( A* / S0 ) S - ( L* / S0 ) S - M S1 ( RR )
= ($4,000,000 / $5,000,000)$1,000,000 – ($500,000 / $5,000,000)$1,000,000 – 0.5 x $6,000,000(0.30)
= (0.80)$1,000,000 – (0.10)$1,000,000 - $300,000(0.30) = $800,000 - $100,000 - $90,000
= $610,000
17-3 Return to the assumption that the company had $3 million in assets at the end of 2002, but now assume that the company pays no dividends. Under these assumption, what would be the additional funds needed for the coming year ? Why is this AFN different from the one you found in Problem 17-1 ?
ตอบAFN = ( A* / S0 ) S - ( L* / S0 ) S - M S1 ( RR )
= ($3,000,000 / $5,000,000)$1,000,000 – ($500,000 / $5,000,000)$1,000,000 – 0.5 x $6,000,000(1.0)
= (0.60)$1,000,000 – (0.10)$1,000,000 - $300,000(1.0) = $600,000 - $100,000 - $300,000
= $200,000
โจทย์ 17-7 AT the end of last year, Roberts Inc. reported the following income statement (in million of dollars) :
• Year-end sales are expected to be 10 percent higher than the $3 billion in sales generated last year.
• Year-end operating costs excluding depreciation are expected to equal 80 percent of year-end sales.
• Depreciation is expected to increase at the same rate as sales.
• Interest costs are expected to remain unchanged.
• The tax rate is expected to remain at 40 percent.
On the basic of this information, what will be the forecast for Robert’s year-end net income ?
ตอบ
Descriptions 2002 (million dollars) 2003 (million dollars) Remarks
Sales $3,000 $3,300 Increase 10%
Operating costs excluding depreciation 2,450 2,640 80% of year-end sales
(3,300 x 80% = 2,640)
EBITDA $550 $660
Depreciation 250 275 10% at the same rate as sales
EBIT $300 $385
Interest 125 125 Remain unchanged
EBT $175 $260
Taxes (40%) 70 104 Remain at 40%
Net income $105 $156

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บทที่ 13 โครงสร้างเงินทุน และการใช้ Leverage

นโยบายเกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุนนั้น เป็นการเลือก (Trade-off) ระหว่าง ความเสี่ยงและผลตอบแทน คือ
1. การก่อหนี้เพิ่มขึ้น  ความเสี่ยงของผู้ถือหุ้นสูงขึ้น 2. อัตราส่วนหนี้สินสูง  ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับสูงตาม 3. High Risk / High Return
โครงสร้างชองเงินทุนมีเป้าหมาย คือ 1. ต้องการทำให้หุ้นสามัญราคาสูงสุด 2. ต้นทุนของเงินทุน(ต้นทุนต่ำ กำไรจะสูง) และควบคุม WACC
Operating Leverage คือ การมองที่ต้นทุนคงที่ เช่น การมี Operating Leverage สูง หมายถึง การที่ยอดขายเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยจะทำให้ผลกำไรจากการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
(Operating Leverage สูง ROE สูง  เสี่ยงสูง)
ความเสี่ยง (Risk) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้คาดหมาย
ยอดขาย = ต้นทุนรวม EBIT = P.Q – V.Q - F
P = ราคาขายต่อหน่วย O = Q ( P – V ) - F
Q = หน่วยขาย ณ จุดคุ้มทุน F = Q(P-V)
F = ต้นทุนรวมคงที่ F = Q
V = ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย P - V
ตัวอย่าง F = 10,000 บาท
P = 100 บาท (ราคาขาย – Price)
V = 50 บาท
QBE = F (Quantity at breakeven)
P – V
= 10,000 / (100 – 50) = 10,000 / 50 = 200 หน่วย
SBE = 200 x 100 (Sales at breakeven)
= 20,000 บาท
Profit = F + Profit (ต้องการกำไร 5,000 บาท)
(ขาย / หน่วย) P – V
= 10,000 + 5,000 / (100 – 50) = 15,000 / 50 = 300 หน่วย
Financial Leverage …การที่บริษัทมีการจัดหาเงินทุนจากหลักทรัพย์ที่ให้ (หรือจ่าย) รายได้ประจำ เช่น หุ้นกู้ พันธบัตร หนี้ระยะยาว และหุ้นบุริมสิทธิ
มูลค่าของบริษัท = กำไรสุทธิ / ต้นทุนเฉลี่ยของเงินทุน = Net Income / WACC (** โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสม คือ โครงสร้างของเงินทุนที่ทำให้ราคาตลาดของหุ้นสามัญสูงสุด**)
Trade-off Theory ซึ่งบริษัทจะต้องเลือก(Trade-off)ระหว่าง ประโยชน์ของหนี้สิน(ประโยชน์จากภาษี)กับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และต้นทุนของการล้มละลาย จากความจริงที่ว่า ดอกเบี้ยสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการหักภาษี ทำให้ต้นทุนของแหล่งเงินทุนจากหนี้สินต่ำกว่าแหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ หรือมองอีกแง่ก็คือ หนี้สินทำให้ได้รับผลประโยชน์ในแง่ที่เป็นเกราะป้องกันภาษี (Tax Shelter benefits) แต่หากใช้เงินทุนจากหนี้สินมากๆ จะทำให้ EBIT ลดลง และต้นทุนจากการล้มละลายจะสูงขึ้น (ดูกราฟ 13-10 หน้า 517 ใน Text)
Signaling Theory จะเป็นทฤษฎีที่บอกถึงสัญญาณให้ผู้ลงทุนรู้กล่าวคือ บริษัทจะออกหุ้นสามัญเพิ่มก็ต่อเมื่ออนาคตของบริษัทไม่ค่อยจะสู้ดี จึงมีความปรารถนาที่จะกระจายการขาดทุนออกไป แต่ในทางกลับกัน ถ้าอนาคตของกิจการดี ก็จะไม่ออกหุ้น แต่จะใช้การกู้ยืมแทน ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นสามัญนั่นเอง ในทางบริหาร ควรจะหาเงินทุนจากการกู้ยืมให้ต่ำกว่า Target เรียกว่า Reserve borrowing capacity
1. Symmetric Information …นักลงทุนรู้ข้อมูลทุกอย่างเหมือนกับผู้บริหาร (ในความเป็นจริงแล้วเป็นไปไม่ได้) 2. Asymmetric Information …ผู้บริหารมีข้อมูลดีกว่านักลงทุน
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในเรื่องโครงสร้างเงินทุน
1. ความสม่ำเสมอของยอดขาย(Sales Stability) 2. โครงสร้างสินทรัพย์ 3. Operating Leverage 4. อัตราการเจริญเติบโต(Growth rate)
5. ความสามารถในการทำกำไร(Profitability) 6. ภาษี(Taxes) 7. การควบคุม(Control) 8.ทัศนคติผู้บริหาร
9. ทัศนคติเจ้าหนี้ และตัวแทนจัดอันดับ 10. สภาวะตลาด 11. สภาวะภายในบริษัท 12. ความยืดหยุ่นในการจัดหาเงินทุน
Degree of Operating Leverage; DOL
DOL = เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง EBIT = EBIT / EBIT
เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของยอดขาย Q / Q
เมื่อ EBIT = Q (P – V) - F
Degree of Financial Leverage; DFL
DOL = เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลง EPS = EBIT
เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของ EBIT EBIT - I
เมื่อ EBIT = Q (P – V) – F
EPS = [(EBIT - I) (1-T)] / N
เมื่อ N = จำนวนหุ้นสามัญ
Combining Operating and Financial Leverage; DTL = DOL x DFL
เพิ่มเติม ... ต้นทุนของเงินทุนเฉลี่ย (WACC) จะสูงขึ้นเมื่อกำไรสะสมหมดไป และบริษัทจำเป็นต้องจำหน่ายหุ้นสามัญใหม่ การที่ต้นทุนของเงินทุนเฉลี่ยสูงขึ้น เนื่องจากการจำหน่ายหุ้นสามัญใหม่นี้ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย (Flotation costs) ทำให้ต้นทุนของหุ้นสามัญ (ke) สูงกว่าต้นทุนของกำไรสะสม (ks)
แบบฝึกหัดบทที่ 13 : โครงสร้างของเงินทุน และการใช้ Leverage
โจทย์ 13-3 Harley Motor has $10 million in assets, which is financed with $2 million of debt and $8 million in equity. If Harley’s beta is currently 1.2 and its tax rate is 40 percent, what is its unlevered beta, bU ?
ตอบ FROM HAMADA EQUATION,
bL = bU [ 1 + ( 1 – T ) ( D / E ) ] (we can calculate bU as.)
bu = bL [ 1 + ( 1 – T ) ( D / E ) ] = 1.2 / [ 1 + ( 1 – 0.4 ) ( $2,000,000 / $8,000,000 ) ]
= 1.2 / [ 1 + ( 0.6 ) ( 0.25 ) ] = 1.2 / [ 1 + (0.15 ) ]
= 1.2 / 1.15
bu = 1.0435

แบบฝึกหัด

บริษัท L จำกัด กำลังพิจารณาโครงการผลิตสินค้าชนิดหนึ่งออกสู่ตลาด โดยที่บริษัทต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรในราคา 680,000 บาท ค่าขนส่งเครื่องจักร 10,000 บาท ค่าติดตั้งเครื่องจักร10,000 บาท เครื่องจักรมีอายุการใช้งาน 5 ปี มีมูลค่าซาก 100,000 บาท ในการผลิตสินค้าจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ไม่รวมค่าเสื่อมราคา) ปีละ 300,000 บาท บริษัทต้องลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิเพิ่มขึ้นอีกในตอนเริ่มต้นโครงการเป็นเงิน 90,000 บาท และจะได้รับเงินจำนวนนี้กลับคืนมาเมื่อสิ้นสุดโครงการในปลายปีที่ 5 บริษัทคาดว่าสามารถผลิตสินค้าออกขายได้ปีละ 640,000 บาท ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรคิดตามวิธีเส้นตรง และบริษัทต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตรา 30 %
บริษัทควรจะดำเนินการตามโครงการนี้หรือไม่ ให้พิจารณาโดยใช้ วิธี
(1) Payback Period : (ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 3 ปี)
(2) Discounted Payback Period (ระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 3 ปี อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
(3) Net Present Value (NPV) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
(4) Internal Rate of Return (IRR) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)
(5) Modified Internal Rate of Return (MIRR) : (อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 12 %)

เฉลย Chapter 11: ข้อ 2

I กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ:
เครื่องจักร (680,000) บาท
ค่าขนส่ง (10,000)
ค่าติดตั้ง (10,000)
NWC ที่เพิ่มขึ้น (90,000)
รวม (790,000)
II กระแสเงินสดจากการดำเนินงานตลอดอายุโครงการ
ปีที่ 1-4 ปีละ . ปีที่ 5 .
รายได้ 640,000 640,000
ค่าใช้จ่าย 300,000 300,000
ค่าเสื่อมราคา 120,000 120,000
กำไรจากการดำเนินงาน 220,000 220,000
หัก ภาษีเงินได้ 30% 66,000 66,000
กำไรสุทธิ 154,000 154,000
บวก ค่าเสื่อมราคา 120,000 120,000
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 274,000 274,000

III กระแสเงินสดของปีสุดท้าย(ปีที่ 5) :
มูลค่าซาก 100,000
NWC ที่ได้รับกลับคืนมา 90,000
รวมกระแสเงินสดของปีที่ 5 464,000

IV กระแสเงินสดสุทธิของโครงการ :
. 0 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000

V ผลการวิเคราะห์โครงการ :
1. PAYBACK PERIOD = 2 + 242,000/274,000 = 2.88 ปี
(ยอมรับโครงการเพราะไม่เกิน 3 ปี)
2. DISCOUNTED PAYBACK PERIOD
= 3 + 131,898 / 174,132
= 3.76 ปี
(ไม่ยอมรับโครงการเพราะเกิน 3 ปี)

. 0 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000

PRESENT VALUE AT 12 %

-790,000 244,643 218,431 195,028 174,132 263,286

V ผลการวิเคราะห์โครงการ (ต่อ) :
3. NPV12% = 305,519.78 บาท
(ยอมรับโครงการเพราะNPVมีค่าเป็นบวก)
4. IRR = 25.52%
( ยอมรับโครงการเพราะIRRมีค่ามากกว่า 12%)
5. MIRR = 19.57%
(ยอมรับโครงการเพราะMIRRมีค่ามากกว่า 12%)

การคำนวณค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน – มูลค่าซาก) / อายุการใช้งาน
= (700,000 – 100,000) / 5
= 120,000 บาท ต่อปี
NPV
NPV = 274,000(PVIFA 12%,4) + 464,000(PVIF12%,5) – 790,000
= 274,000(3.0373) + 464,000(0.5674) – 790,000
= 832,220 + 263,274 – 790,000
= 1,095,494 – 790,000
= 305,494 บาท
ยอมรับโครงการเพราะ NPVมีค่าเป็นบวก
(หมายเหตุ : ค่าNPV คลาดเคลื่อนจากการใช้เครื่องคิดเลขทางการเงิน
เพราะใช้ตัวเลขจากตารางPresent Value ซึ่งมีการปัดเศษ)
MIRR
0 k=12% 1 2 3 4 5 .
-790,000 274,000 274,000 274,000 274,000 464,000
306,880
343,706
384,950
431,144
790,000 1,930,680

0 = NPV

หุ้นมูลค่าหุ้นสามัญ

ผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยหุ้นสามัญ
1. เงินปันผล (Dividend yield)
2. กำไร(ขาดทุน) จากการซื้อขายหุ้นสามัญ (Capital gain (loss) yield)

สิทธิของผู้ถือหุ้นสามัญ
1. การควบคุมบริษัท –มีสิทธิเลือกคณะกรรมการบริษัท
2. สิทธิในการซื้อขายหุ้นสามัญได้ก่อน (The preemptive right)

ประเภทของการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
1. การซื้อขายหุ้นสามัญเดิม
2. การซื้อขายหุ้นเพิ่มทุน
3. การเสนอขายหุ้นสามัญให้ประชาชนเป็นครั้งแรก จะเป็นการซื้อขายในตลาด IPO (Initial Public Offering market)

คำจำกัดความและแบบจำลองของการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ
ks = อัตราผลตอบแทนที่ คาดว่า จะได้รับจากหุ้นสามัญ (Expected rate of return)
ks = อัตราผลตอบแทนที่ ต้องการ จากหุ้นสามัญ (Required rate of return)
ks = อัตราผลตอบอทนที่ ได้รับจริง จากหุ้นสามัญ (Actual or realized rate of return)
Dt = เงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับ (Expected dividend) ในปีที่ t
P0 = ราคาตลาดของหุ้นสามัญ ณ ปัจจุบัน
Pt = ราคาตลาดที่คาดการณ์ในปลายปีที่ t
P0 = ราคาที่ควรจะเป็นหรือราคาตามทฤษฎี (P0 = P0เมื่อตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ดุลยภาพ)
G = อัตราการเจริญเติบโตของเงินปันผล (คาดการณ์)
D1 = อัตราผลตอบแทนที่ คาดว่า จะได้รับจากเงินปันผล (Dividend yield)
P0
P1 P0 = อัตราผลตอบแทนจากกำไร(ขาดทุน) จากการซื้อขายหุ้นสามัญ (Capital gain/loss yield)
P0

ดังนี้จะเห็นได้ว่า ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนในหุ้นสามัญจะเท่ากับ ผลตอบแทนจากเงินปันผลบวกกับกำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายหุ้นสามัญ เป็นได้จากสมการ
ks = Dividend yield + Capital gain/loss yield
ks = D1 + P1- P0
P0 P0

โดยยึดจากสมการนี้เป็นหลัก จะมาพิจารณาที่รูปแบบของเงินปันผล 3 รูปแบบ ดังนี้
1. Zero growth...หมายถึงเงินปันผลไม่มีการเติบโต หรือ g=0

2. Normal or Constant Growth (เงินปันผลเติบโตในอัตราคงที่ = g%) จะสนใจที่รูปแบบของสมการ
P0 = D0(1+g) = D1
ks- g ks- g
หรือ
ks = D1 + g
P0
สรุปประเด็นที่สำคัญของหุ้นสามัญที่เงินปันผลเติบโตในอัตราคงที่ คือ อัตราผลตอบแทนจากการซื้อขายหุ้นสามัญ (Capital gain/loss yield) ก็จะคงที่ เท่ากับอัตราเติบโตของเงินปันผล (g) นั่นเอง...

3. Nonconstant growth ...เงินปันผลเติบโตในอัตราที่ไม่คงที่ตลอด ...วิธีการหา PV ให้ใช้ Time Line เข้าช่วย แล้วกดเครื่องหาตามปกติ (รูปแบบวิธีการใน Text หน้า 325)

ดุลยภาพ (Equilibrium) ในตลาดหลักทรัพย์ ...เราจะใช้ CAPM ในการอัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากหุ้นสามัญก่อน แล้วนำมาเปรียบเทียบกับ อัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญนั้นโดยพิจารณาจากการเงินปันผลและอัตราเติบโตของเงินปันผล ซึ่งถ้าคำนวณเปรียบเทียบแล้ว อัตราผลตอบแทนที่คำนวณจากเงินปันผลนั้นสูงกว่าที่คำนวณได้จาก CAPM ก็จะต้องขายในราคาที่สูงกว่าเดิม และในทางกลับกัน ถ้าอัตราผลตอบแทนที่คำนวณจากเงินปันผลนั้นต่ำกว่าที่คำนวณได้จาก CAPM ก็จะต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าเดิม โดยแทนค่าในสูตรสมการเพื่อหา P0 ต่อไป (ดูใน Text แปล หน้า 197 เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

สมมติฐานของตลาดที่มีประสิทธิภาพ (The Efficient Markets Hypothesis: EMH) …เป็นสมมติฐานที่ว่า หลักทรัพย์จะอยู่ในดุลยภาพเสมอ และไม่มีนักลงทุนรายใดที่จะได้รับผลตอบแทนสุทธิมากกว่าที่ควรจะเป็น
ระดับของตลาดที่มีประสิทธิภาพ
1. Weal-form…ข้อมูลต่างๆ ในอดีต ได้ถูกสะท้อนในราคาตลาดของหลักทรัพย์
2. Semistrong-form…ราคาตลาดปัจจุบัน ได้สะท้อนถึงข้อมูลข่าวสาร ที่ได้ประกาศให้สาธารณะทราบแล้ว
3. Strong-form ...ราคาตลาดปัจจุบัน ถูกสะท้อนโดยข้อมูลทุกประเภท ไม่ว่าจะประกาศหรือไม่ก็ตาม ทุกคนจะต้องรู้หมด ซึ่งในความเป็นจริงยังไม่มี

การประเมินมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ
หุ้นบุริมสิทธิ...มีลักษณะเป็นลูกผสมระหว่าง พันธบัตรกับหุ้นสามัญ ...เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเท่ากันทุกงวด และไม่มีกำหนดไถ่ถอน ดังนั้นลักษณะการจ่ายเงินปันผลจะเป็นแบบ Perpetuities (ดูรายละเอียดในบทที่ 6) ซึ่งสามารถคำนวณหามูลค่าได้จากสมการ
Vps = Dps
kps
เมื่อ Vps = มูลค่าของหุ้นบุริมสิทธิ
Dps = เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิ
Kps = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการสำหรับหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred stock)
(กดเครื่องหาค่าตามปกติ โดยกด i เพื่อหาค่า Kps และกด PMT เพื่อหาค่า Dps และกด PV เพื่อหาค่า Vps)
**ส่วนใหญ่หุ้นบุริมสิทธิจะมีการจ่ายเงินปันผลทุกไตรมาส (ใน USA) ซึ่งหากมีการจ่ายเงินปันผลรายครั้งในปีเดียวเป็นประจำแล้ว เราจำเป็นต้องหา EFF ก่อนเพื่อเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรและหุ้นบุริมสิทธิแต่ละประเภท ซึ่งอัตราที่นำมาเปรียบเทียบกันนี้ เราจะเรียกว่า Equivalent annual rates
แบบฝึกหัดบทที่ 8 หุ้น และมูลค่าหุ้น
โจทย์ 8-2 Thomas Brothers is expected to pay a $0.50 per share dividend at the end of the year (i.e., D1 = $0.50). The dividend is expected to grow at a constant rate of 7 percent a year. The required rate return on the stock, kS, is 15 percent. What is the value per share of the company’s stock ?
ตอบ D1 = 0.50 = 0.05
kS = 15% = 0.15
g = 7% = 0.07
P0 = D1
ks- g
P0 = 0.05 = 0.05 = 6.25%
0.15 – 0.07 0.08
โจทย์ 8-17 A stock is expected to pay a dividend of $0.50 at the end of the year (that is, D1 = $0.50). The dividend is expected to grow at a constant rate of 7 percent a year. The stock has a required return of 12 percent. What is the expected price of the stock 4 years from today ?
ตอบ D1 = 0.50 = 0.05
kS = 12% = 0.12
g = 7% = 0.07
D1
ks- g

P0 =

0.05
0.12-0.07
0.05
0.5

P0 = =

P0 = 10%
P4 = P0 (1+g)n = P0(FVIFi , n)
= 10 (1+0.70)4 = 10 (FVIF7% , 4)
P4 = 10 (1.3108) = $13.108

บทที่ 8 หุ้น และมูลค่าหุ้น

ผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยหุ้นสามัญ
1. เงินปันผล (Dividend yield) 2. กำไร(ขาดทุน) จากการซื้อขายหุ้นสามัญ (Capital gain (loss) yield)
สิทธิของผู้ถือหุ้นสามัญ
1. การควบคุมบริษัท –มีสิทธิเลือกคณะกรรมการบริษัท 2. สิทธิในการซื้อขายหุ้นสามัญได้ก่อน (The preemptive right)
ประเภทของการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
1. การซื้อขายหุ้นสามัญเดิม 2. การซื้อขายหุ้นเพิ่มทุน
3. การเสนอขายหุ้นสามัญให้ประชาชนเป็นครั้งแรก จะเป็นการซื้อขายในตลาด IPO (Initial Public Offering market)
คำจำกัดความและแบบจำลองของการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ
ks = อัตราผลตอบแทนที่ คาดว่า จะได้รับจากหุ้นสามัญ (Expected rate of return)
ks = อัตราผลตอบแทนที่ ต้องการ จากหุ้นสามัญ (Required rate of return)
ks = อัตราผลตอบอทนที่ ได้รับจริง จากหุ้นสามัญ (Actual or realized rate of return)
Dt = เงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับ (Expected dividend) ในปีที่ t
P0 = ราคาตลาดของหุ้นสามัญ ณ ปัจจุบัน
Pt = ราคาตลาดที่คาดการณ์ในปลายปีที่ t
P0 = ราคาที่ควรจะเป็นหรือราคาตามทฤษฎี (P0 = P0เมื่อตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ดุลยภาพ)
G = อัตราการเจริญเติบโตของเงินปันผล (คาดการณ์)
D1 = อัตราผลตอบแทนที่ คาดว่า จะได้รับจากเงินปันผล (Dividend yield)
P0
P1 P0 = อัตราผลตอบแทนจากกำไร(ขาดทุน) จากการซื้อขายหุ้นสามัญ (Capital gain/loss yield)
P0
ดังนี้จะเห็นได้ว่า ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนในหุ้นสามัญจะเท่ากับ ผลตอบแทนจากเงินปันผลบวกกับกำไรหรือ
ขาดทุนจากการซื้อขายหุ้นสามัญ เป็นได้จากสมการ
ks = Dividend yield + Capital gain/loss yield
ks = D1 + P1- P0
P0 P0
โดยยึดจากสมการนี้เป็นหลัก จะมาพิจารณาที่รูปแบบของเงินปันผล 3 รูปแบบ ดังนี้
1. Zero growthหมายถึง เงินปันผลไม่มีการเติบโต หรือ g=0
2. Normal or Constant Growth (เงินปันผลเติบโตในอัตราคงที่ = g%) จะสนใจที่รูปแบบของสมการ
P0 = D0(1+g) = D1
ks- g ks- g
หรือ
ks = D1 + g
P0
สรุปประเด็นที่สำคัญของหุ้นสามัญที่เงินปันผลเติบโตในอัตราคงที่ คือ อัตราผลตอบแทนจากการซื้อขายหุ้นสามัญ (Capital gain/loss yield) ก็จะคงที่ เท่ากับอัตราเติบโตของเงินปันผล (g) นั่นเอง
3. Nonconstant growth เงินปันผลเติบโตในอัตราที่ไม่คงที่ตลอด วิธีการหา PV ให้ใช้ Time Line เข้าช่วย แล้วกดเครื่องหาตามปกติ
ดุลยภาพ (Equilibrium) ในตลาดหลักทรัพย์เราจะใช้ CAPM ในการอัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากหุ้นสามัญแล้วนำมาเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญโดยพิจารณาจากการเงินปันผลและอัตราเติบโตของเงินปันผล ถ้าคำนวณเปรียบเทียบแล้วอัตราผลตอบแทนที่คำนวณจากเงินปันผลนั้นสูงกว่าที่คำนวณได้จาก CAPM ก็จะต้องขายในราคาที่สูงกว่าเดิม และในทางกลับกัน ถ้าอัตราผลตอบแทนที่คำนวณจากเงินปันผลนั้นต่ำกว่าที่คำนวณได้จาก CAPM ก็จะต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าเดิม โดยแทนค่าในสูตรสมการเพื่อหา P0 ต่อไป
สมมติฐานของตลาดที่มีประสิทธิภาพ (The Efficient Markets Hypothesis: EMH) …เป็นสมมติฐานที่ว่า หลักทรัพย์จะอยู่ในดุลยภาพเสมอ และไม่มีนักลงทุนรายใดที่จะได้รับผลตอบแทนสุทธิมากกว่าที่ควรจะเป็นระดับของตลาดที่มีประสิทธิภาพ
1. Weal-form…ข้อมูลต่างๆ ในอดีต ได้ถูกสะท้อนในราคาตลาดของหลักทรัพย์
2. Semistrong-form…ราคาตลาดปัจจุบัน ได้สะท้อนถึงข้อมูลข่าวสาร ที่ได้ประกาศให้สาธารณะทราบแล้ว
3. Strong-form ...ราคาตลาดปัจจุบัน ถูกสะท้อนโดยข้อมูลทุกประเภท ไม่ว่าจะประกาศหรือไม่ก็ตาม ทุกคนจะต้องรู้หมด ซึ่งในความเป็นจริงยังไม่มี
การประเมินมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ
หุ้นบุริมสิทธิ มีลักษณะเป็นลูกผสมระหว่าง พันธบัตรกับหุ้นสามัญ เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเท่ากันทุกงวด และไม่มีกำหนดไถ่ถอน ดังนั้นลักษณะการจ่ายเงินปันผลจะเป็นแบบ Perpetuitiesซึ่งสามารถคำนวณหามูลค่าได้จากสมการ
Vps = Dps
kps
เมื่อ Vps = มูลค่าของหุ้นบุริมสิทธิ
Dps = เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิ
Kps = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการสำหรับหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred stock) (กดเครื่องหาค่าตามปกติ โดยกด i เพื่อหาค่า Kps และกด PMT เพื่อหาค่า Dps และกด PV เพื่อหาค่า Vps)
**ส่วนใหญ่หุ้นบุริมสิทธิจะจ่ายเงินปันผลทุกไตรมาส (ใน USA) หากจ่ายเงินปันผลรายครั้งในปีเดียวเป็นประจำเราจำเป็นต้องหา EFF ก่อนเพื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรกับหุ้นบุริมสิทธิแต่ละประเภท ซึ่งอัตราที่นำมาเปรียบเทียบกันนี้ เราจะเรียกว่า Equivalent annual rate
แบบฝึกหัดบทที่ 8 หุ้น และมูลค่าหุ้น
โจทย์ 8-2 Thomas Brothers is expected to pay a $0.50 per share dividend at the end of the year (i.e., D1 = $0.50). The dividend is expected to grow at a constant rate of 7 percent a year. The required rate return on the stock, kS, is 15 percent. What is the value per share of the company’s stock ?
ตอบ D1 = 0.50 = 0.05
kS = 15% = 0.15
g = 7% = 0.07
P0 = D1
ks- g
P0 = 0.05 = 0.05 = 6.25%
0.15 – 0.07 0.08
โจทย์ 8-17 A stock is expected to pay a dividend of $0.50 at the end of the year (that is, D1 = $0.50). The dividend is expected to grow at a constant rate of 7 percent a year. The stock has a required return of 12 percent. What is the expected price of the stock 4 years from today ?
ตอบ D1 = 0.50 = 0.05
kS = 12% = 0.12
g = 7% = 0.07
D1
ks- g

P0 =

0.05
0.12-0.07
0.05
0.5

P0 = =

P0 = 10%
P4 = P0 (1+g)n = P0(FVIFi , n)
= 10 (1+0.70)4 = 10 (FVIF7% , 4)
P4 = 10 (1.3108) = $13.108

บทที่ 7 พันธบัตร และมูลค่าพันธบัตร

พันธบัตร (Bonds) .เป็นสัญญาระยะยาวซึ่งผู้กู้ ตกลงที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้น ตามเวลาที่กำหนดให้แก่ผู้ถือพันธบัตรนั้น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.พันธบัตรรัฐบาล (Treasury bonds or Government bonds) ออกโดยรัฐบาลกลาง เป็นพันธบัตรชั้นดี มีรัฐบาลเป็นประกัน 2.พันธบัตรของรัฐ (Municipal bonds) ออกโดยรัฐบาลท้องถิ่น พันธบัตรประเภทนี้จะไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
2.พันธบัตรของบริษัทเอกชน(Corporate bonds) มีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยและคืนเงินต้นได้ ที่เรียกว่า Default risk (บางครั้งเรียกว่า Credit risk) 4.พันธบัตรต่างประเทศ (Foreign bonds) นอกจากจะมี Default risk และยังมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
Par Value คือ มูลค่าที่ตราไว้ (Face Value) .เป็นราคาที่กำหนดไว้ต่อพันธบัตรหนึ่งฉบับ
Coupon Interest Rate คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้
Floating rate bonds คือ อัตราดอกเบี้ยชนิดลอยตัว...อัตราดอกเบี้ยจะมีการเปลี่ยนแปลงและปรับตามระยะเวลา เช่น ทุก 6 เดือน
Zero coupon bonds คือ พันธบัตรที่ไม่ได้ระบุดอกเบี้ยเอาไว้ แต่จะออกจำหน่ายในราคาที่ต่ำ หรือเรียกว่า Discount
Original Issue Discount bonds (OID) คือ พันธบัตรที่จำหน่ายครั้งแรกในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้
Maturity Date คือ วันครบกำหนดไถ่ถอน
Call Provision คือ เงื่อนไขในการเรียกคืนพันธบัตร โดยที่พันธบัตรที่ออกโดยบริษัทเอกชนส่วนใหญ่ จะกำหนดเงื่อนไขให้สามารถไถ่ถอนพันธบัตรคืนได้ก่อนวันครบกำหนด
Call Premium คือ ราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ เมื่อมีการไถ่ถอนพันธบัตรก่อนครบกำหนด ซึ่ง premium นี้จะลดลงในอัตราส่วนที่คงที่ คือ ลดลงเท่ากับ INT / N
Sinking Funds คือ เงินทุนที่ตั้งขึ้นเพื่อไถ่ถอนพันธบัตร หรือเพื่อวัตถุประสงค์ใดอย่างหนึ่ง เช่น ตัดหนี้ โดยตัดส่วนของกำไรไปไถ่ถอน Bonds ไปเรื่อยๆ
Convertible bonds คือ พันธบัตรที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในราคาที่กำหนด และเป็นสิทธิของผู้ถือพันธบัตรว่าจะแปลงสภาพหรือไม่ ซึ่งจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรที่ไม่สามารถแปลงสภาพได้
Income bonds คือ พันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ย เมื่อบริษัทมีกำไร
พันธบัตรควบเอกสารสิทธิ (Warrants) คือ สิทธิที่ให้ผู้ถือสามารถซื้อหุ้นสามัญได้ ในราคาที่กำหนด โดยปกติจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรธรรมดา (Straight bonds)
Indexed or Purchasing power bonds คือ พันธบัตรที่มักจะใช้ในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงๆ เช่น บราซิล อิสราเอล
การประเมินมูลค่าพันธบัตร...
0 1 2 3 4 N (ปี)
kd
Value (VB) INT INT INT INT INT + M
VB = มูลค่าของพันธบัตร (ตามทฤษฎี)
INT = จำนวนดอกเบี้ยต่องวด
M = มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value)
Kd = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากพันธบัตร
วิธีคิด ...จากสูตร...VB = INT(PVIFAi%,N) + M(PVIFi%,N) หรือคิดหามูลค่าปัจจุบันตามบทที่ 6 หรือใช้วิธีกดเครื่องโดยใส่ PMT=INT
Premium bond คือ พันธบัตร ซึ่งมีราคาสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ จะเกิดขึ้นเมื่อ kd < i (coupon rate) ทำให้ราคาของพันธบัตรสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ และราคาจะลดลงตามลำดับ เมื่อเวลาผ่านไป จนเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ (Par value)
Discount bond คือ พันธบัตร ซึ่งมีราคาสูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ จะเกิดขึ้นเมื่อ kd > i (coupon rate) ทำให้ราคาของพันธบัตรต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้ และราคาจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อเวลาผ่านไป จนเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ (Par value)
ถ้า kd = i (coupon rate) พันธบัตรจะมีราคาเท่ากับมูลค่าที่ตราไว้ สรุปได้ว่า ...เมื่ออัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงขึ้น ราคาพันธบัตรจะลดลง และ Vice versa
Bond Yields คือ ผลตอบแทนจากพันธบัตร ซึ่งสามารถคำนวณหาได้ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน 3 วิธี ดังต่อไปนี้
Yield to Maturity (YTM) …อัตราผลตอบแทนเมื่อถือพันธบัตรจนครบกำหนดไถ่ถอน (YTM จะเป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี) วิธีการคิด ก็คือการกดเครื่องหาค่า i หรือคือค่า kd นั่นเอง เช่น
14 N -1,494.96 PV 100 PMT 1,000 FV CPT i EXE
Yield to Call (YTC) คือ อัตราผลตอบแทนเมื่อถือพันธบัตรจนถูกเรียกคืน (คิดเหมือน YTM แต่ดูที่เงื่อนไขที่โจทย์ให้มา แล้วเปลี่ยนแปลงตัวเลขตามสถานการณ์)
Current Yield คือ อัตราผลตอบแทนในปัจจุบันของพันธบัตร .ดอกเบี้ยจ่ายต่อปีของพันธบัตร หารด้วยราคาตลาด ณ ปัจจุบันของพันธบัตร เช่น พันธบัตรชนิดอัตราดอกเบี้ย 10% ราคาจำหน่ายในขณะนี้คือ ฉบับละ 985 บาท เพราะฉะนั้น Current yield = 100985 = 10.15%
สมมติว่า มีการจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรปีละ 2 ครั้งจะทำอย่างไร?
คำตอบก็คือ คิดเหมือนกันในการคิดดอกเบี้ยทบต้นจ่ายปีละหลายครั้งนั่นแหละ เช่น พันธบัตรชนิดอัตราดอกเบี้ย 10% ฉบับละ 1,000 บาท จ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน กำหนดไถ่ถอน 15 ปี อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (kd) =5% พันธบัตรนี้จะมีมูลค่า เท่ากับ 1,523.26 บาท คิดโดยการกดเครื่อง โดยที่ N=15 แต่จ่ายดอกปีละ 2 ครั้งก็คูณสอง ได้ N=30 kd ที่ต้องการเท่ากับ 5% แต่จ่ายปีละ 2 ครั้ง ก็หาร 2 ก่อน ได้ kd=2.5%
30 N 2.5 i 50 PMT 1,000 FV CPT PV EXE
ความเสี่ยงของพันธบัตร ก็คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงตลอดเวลา โดยแยกเป็น
1. Price Risk or Interest Rate Risk (ความเสี่ยงในด้านราคาหรืออัตราดอกเบี้ย) …คือ เมื่อดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น ทำให้ kd สูงขึ้นด้วย ทำให้ราคาพันธบัตรลดลง ซึ่งผู้ถือจะพบกับความเสี่ยงอันเนื่องมาจากราคาพันธบัตรลดลง (Capital loss) วิธีลดความเสี่ยง คือ การถือพันธบัตรระยะสั้น
2. Reinvestment Rate Risk (ความเสี่ยงของอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนใหม่) ...คือ เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลง ผู้ออกก็จะไถ่ถอนพันธบัตรก่อนครบกำหนด ผู้ถือก็จะได้เงินต้นคืน แต่เมื่อนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรชุดใหม่ก็จะได้รับอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าเดิม ทั้งนี้ก็เนื่องจากดอกเบี้ยในตลาดที่ต่ำนั่นเอง วิธีลดความเสี่ยง คือ การถือพันธบัตรระยะยาว (ขอให้สังเกตว่า ..ถ้าเราลดความเสี่ยงชนิดหนึ่ง ก็จะไปเพิ่มความเสี่ยงอีกชนิดหนึ่ง)
Default Risk คือ ความเสี่ยงที่จะไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืน ...Default risk สูง ราคาพันธบัตรต่ำ และอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้สูงด้วย, vice versa
ประเภทของพันธบัตร
พันธบัตรจำนอง (Mortgage Bonds) คือ ผู้ออกจะใช้หลักทรัพย์ ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ถาวร ค้ำประกันพันธบัตรนั้น
พันธะสัญญา (Indenture) คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการหรือเป็นสัญญาตามกฎหมาย ซึ่งสัญญานี้จะมีลักษณะเป็นแบบ Open ended ซึ่งบริษัทสามารถออกพันธบัตรชุดใหม่ได้ตลอดเวลา ภายใต้ข้อตกลงในปัจจุบัน จะถูกจำกัดโดยเปอร์เซ็นของหลักทรัพย์ค้ำประกันนั่นเอง
หุ้นกู้ (Debenture) คือ พันธบัตรระยะยาว ซึ่งไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน มีความเสี่ยงสูง และจ่ายดอกเบี้ยสูงด้วยเช่นกัน
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Debenture) .จะมีสิทธิในสินทรัพย์หรือสิทธิเรียกร้อง ต่อเมื่อผู้ออกได้ชดใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้ประเภทอื่นหมดสิ้นแล้ว
Convertible bonds คือ พันธบัตรที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในราคาที่กำหนด และเป็นสิทธิของผู้ถือพันธบัตรว่าจะแปลงสภาพหรือไม่ ซึ่งจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรที่ไม่สามารถแปลงสภาพได้
Income bonds คือ พันธบัตรที่จ่ายดอกเบี้ย เมื่อบริษัทมีกำไร
พันธบัตรควบเอกสารสิทธิ (Warrants) คือ สิทธิที่ให้ผู้ถือสามารถซื้อหุ้นสามัญได้ ในราคาที่กำหนด โดยปกติจะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าพันธบัตรธรรมดา (Straight bonds)
Indexed or Purchasing power bonds คือ พันธบัตรที่มักจะใช้ในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงๆ เช่น บราซิล อิสราเอล
พันธบัตรไร้คุณภาพ (Junk bonds) คือ พันธบัตรที่มีความเสี่ยงสูง และให้ผลตอบแทนสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการเข้าชื้อกิจการด้วยหนี้สิน (Leverage buyout) การควบกิจการ (Merger) หรือจำหน่ายโดยบริษัทที่กำลังประสบปัญหาการจัดอันดับของพันธบัตร ...โดยบริษัท Moody’s และ S&P
แบบฝึกหัดบทที่ 7 พันธบัตร และมูลค่าพันธบัตร
โจทย์ 7-1 Callaghan Motors’ bonds have 10 years remaining to maturity. Interest is paid annually, the bonds have a $1,000 par value, and the coupon interest rate is 8 percent.
The bonds have a yield to maturity of 9 percent. What is the current market price of these bonds ?
ตอบ
0 1 2 N (ปี) N (ปี) 10
9%
VB = ? 80 80 80 80 80
VB = 80 (PVIFA9% , 10) + $1,000 (PVIF9% , 10)
= 80 (6.4177) + $1,000 (0.4224)
= 513.42 + 422.4 = 935.82
วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
10 N 9 i 80 PMT 1,000 FV CPT PV ผลลัพพ์ที่ได้ 935.82
โจทย์ 7-2 Thatcher Corporation’s bonds will mature in 10 years. The bonds have a face value of $1,000 and an 8 percent coupon rate, paid semiannually. The price of the bonds
is $1,100. The bonds are callable in 5 years at a call price of $1,050. What is the yield to maturity ? What is the yield to call ?
ตอบ
0 1 2 N (ปี) N (ปี) 20

$1,100 40 40 40 40 1,000
Kd = YTM ?
VB = INT (PVIFAi , n) + M (PVIFi , n)
$1,100 = 40 (PVIFAKd , 20) + $1,000 (PVIFKd , 20)
Kd = 3% + 0.33%
YTM = 3.33% x 2 = 6.66%
วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
20 N -1,100 PV 40 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ 3.31 แล้วคูณ 2 = 6.66%
Kd = YTC ?
VB = INT (PVIFAi , n) + M (PVIFi , n)
$1,100 = 40 (PVIFAKd , 10) + $1,050 (PVIFKd , 10)
Kd = 3% + 0.25%
YTM = 3.25% x 2 = 6.50%
วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
10 N -1,100 PV 40 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ 3.24 แล้วคูณ 2 = 6.48%
โจทย์ 7-30 ซื้อพันธบัตรมูลค่าที่ตราไว้ (par value) 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% อายุ 14 ปี ในราคา 1,494.93 บาท และถือไว้จนครบกำหนด อัตราผลตอบแทนจากการถือพันธบัตร (YTM) ปีละไหร่
ตอบ วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
14 N -1,494.93 PV 100 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ = 5%

โจทย์ 7-35 พันธบัตรมูลค่าที่ตราไว้ 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% ภายหลังการออกจำหน่ายจะเรียกไถ่ถอนคืนได้ภายใน 10 ปี ราคาไถ่ถอน 1,100 บาท เมื่อออกจำหน่ายแล้ว 1 ปี อัตราดอกเบี้ยของ
ตลาดลดลงเหลือ 5% ทำให้ราคาซื้อ / ขายพันธบัตรสูงขึ้นเป็น 1,494.93 บาท ผู้ลงทุนที่ซื้อพันธบัตรในราคา 1,494.93 บาท ถือไว้ 9 ปีจนกว่าจะถูกไถ่ถอนคืนจะได้รับอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่
ตอบ วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
9 N -1,494.93 PV 100 PMT 1,000 FV CPT I/Y ผลลัพพ์ที่ได้ = 4.21%

โจทย์ 7-39 พันธบัตรอัตราดอกเบี้ย 10% จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ราคาที่ตราไว้ 1,000 บาท กำหนดไถ่ถอน 15 ปี อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 5% จะซื้อพันธบัตรนี้ในราคาเท่าใด
ตอบ วิธีการกดเครื่องคิดเลข Texas
30 N 2.5 I/Y 50 PMT 1,000 FV CPT PV ผลลัพพ์ที่ได้ = 1,523.26

ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน

สรุปแนวความคิดของบทนี้
1.สินทรัพย์ทางการเงิน(Financial assets) ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนในรูปของกระแสเงินสดในความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดนั้น
2.ความเสี่ยงของสินทรัพย์ มี 2 ประเภท
2.1 ความเสี่ยงของหลักทรัพย์ตัวเดียว(Stand-alone risk)
2.2 ความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์(Portfolio risk)
3.ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน แบ่งเป็น 2 ส่วน
3.1ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้
3.2ความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
4.สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจะสูงด้วย

ผลตอบแทนจากการลงทุน

ผลตอบแทน = เงินที่ได้รับจากการลงทุน – เงินลงทุน

อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน = เงินที่ได้รับจากการลงทุน – เงินลงทุน x 100
เงินลงทุน

ความเสี่ยงจากการลงทุน
- ความเสี่ยงเกี่ยวกับความน่าจะเป็นที่จะได้รับผลตอบแทนต่ำหรือขาดทุน
- ความน่าจะเป็นข้างต้นสูงการลงทุนจะมีความเสี่ยงสูงด้วย

ความเสี่ยงและผลตอบแทนมีความสัมพันธ์กัน
ถ้าอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน
ไม่สูงพอที่จะชดเชยกับความเสี่ยงที่ได้รับก็จะไม่มีการลงทุน

การกระจายของความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใด โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น ๆ
ถ้ากำหนดความน่าจะเป็นให้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแล้วนำมารวมกัน เรียกว่า การกระจายความน่าจะเป็น (Probability distribution)

อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ : k^ (k-hat)

กรณีลงทุนในสินทรัพย์ชนิดเดียว

k^ = P1 k1 + P2 k2 + …………..P nkn




Pi = โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ i , ki = อัตราผลตอบแทนถ้าเกิดเหตุการณ์ i

ตัวอย่าง ตาราง 1

ความต้องการสินค้า ความน่า จะเป็น บริษัท M บริษัท U
อัตราผลตอบแทน ผลคูณ อัตราผลตอบแทน ผลคูณ
สูง
ปานกลาง
ต่ำ 0.3
0.4
0.3 100%
15
(70) 30%
6
(21) 20%
15
10 6%
6
3
1.0 K^M =15% K^U =15%


หาค่า K^M = 0.3 (20%) + 0.4 (15%) + 0.3 (-70%) = 15%
หาค่า K^M = 0.3 (20%) + 0.4 (15%) + 0.3 (10%) = 15%



การวัดความเสี่ยงเฉพาะ : ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
n
2 =  (k i- k^) 2 Pi
i=1
n
Standard deviation () = (k i- k^) 2 Pi
 i=1
k i = ผลตอบแทนของเหตุการณ์ i
k^ = อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ
Pi = ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ i







ขั้นตอนการคำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีขั้นตอนดังนี้
1. คำนวณอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ (k^
n
k^ =  Pi k i
i=1
2. หาค่าเบี่ยงเบนของอัตราผลตอนแทนที่จะเกิดขึ้นกับอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับตาม ตาราง 1
ค่าเบี่ยงเบน = k i- k^
3. นำค่าเบี่ยงเบนที่คำนวณได้มายกกำลังสองแล้วคูณด้วย ความน่าจะเป็นที่จะได้รับอัตราผลตอนแทนต่าง ๆ แล้วจึงนำผลคูณที่ได้มารวมกัน เรียกว่า ค่าความแปรปรวน
n
2 = (k i- k^) 2 Pi
i=1


4. หารากที่สองของค่าความแปรปรวน จะค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
n
 = (k i- k^) 2 Pi
 i=1

ตัวอย่าง ข้อมูลจากตาราง 1
k i- k^ (k i- k^) 2 (k i- k^) 2 Pi
100-15 = 85
15-15 = 0
-70-15 = - 85
(85) 2 = 7,225
(0) 2 = 0
(-85) 2 = 7,225 7,225 (0.3) = 2,167.5
0 (0.4) = 0
7,225 (0.3) = 2,167.5
ค่าความแปรปรวน = 4,335



Standard deviation () = 4,335

= 65.84 %
หาค่าของ บริษัท U ในลักษณะเดียวกัน จะได้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ บริษัท U = 3.87 %
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า บริษัท M มีความเสี่ยงมากกว่า บริษัท U


การวัดความเสี่ยงเฉพาะ (Coefficient of Variation “CV” )
ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรปรวน คือ ความเสี่ยงของผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ 1 หน่วย
CV = 
k^
จากข้อมูลข้างต้น หาค่า CV ของบริษัท M และ บริษัท U ได้ดังนี้
CVM = 65.84 /15 = 4.39
CVU = 3.87 /15 = 0.26
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าความเสี่ยงต่อ 1 หน่วยของบริษัท M สูงกว่าความเสี่ยงของบริษัท U

การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ต้องการ
ผู้ลงทุนทั่วไป  ไม่ชอบความเสี่ยง

ทัศนคติของผู้ลงทุนที่มีต่อความเสี่ยง
ส่วนชดเชยความเสียง(Risk Premium) คือ ผลต่างระหว่างผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ซึ่งเป็นผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากกว่า
กรณีความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน(Portfolio Risk)

ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน : k^p
n
k^p =  Wi k^i
i=1
k^p = ค่าถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ k^i

ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน : p
ตามปกติ p จะต่ำกว่าค่าถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ i เพราะผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละตัวมีความสัมพันธ์กัน(Correlation Coefficient : r)






Capital Asset Pricing Model : CAPM
เป็นรูปแบบจำลองที่อธิบายความสัมพันธ์ของความเสี่ยงและผลตอบแทน



Ki = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการของหุ้นสามัญ i
kRF = อัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง
kM = อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาด
bi = ค่าเบต้าของหุ้นสามัญ i

ตัวอย่าง อัตราผลตอนแทนของตั๋วเงินคลัง 6 เปอร์เซ็นต์ อัตราผลตอบแทนของตลาดโดยรวม 11 เปอร์เซ็นต์ ค่าเบต้า 0.5 อัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญ คำนวณได้ดังนี้
Ki = kRF + (kM - kRF) bi
kRF = 6
kM = 11
bi = 0.5 แทนค่าในสมการ

Ki = 6% + (11% - 6%) 0.5
= 8.5 %

บทที่ 5 ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน

ความเสี่ยง(Risk) คือ เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ (Unfavorable event) เกิดขึ้น
สินทรัพย์ทางการเงิน (Financial assets) ทุกประเภท จะให้ผลตอบแทนในรูปของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต
ความเสี่ยงของสินทรัพย์ทางการเงิน พิจารณาได้ 2 แบบ
1.Stand-alone Risk พิจารณาความเสี่ยง เมื่อถือหลักทรัพย์เพียงตัวเดียว หรือพิจารณาหลักทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น
2.Portfolio context พิจารณาความเสี่ยง เมื่อถือหลักทรัพย์หลายๆ ตัว (Portfolio = กลุ่มสินทรัพย์ลงทุน)
2.1 ความเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (Diversifiable risk)
2.2 ความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ (Non-Diversifiable risk)
ความเสี่ยงที่มีความสำคัญ(Relevant risk) ต่อนักลงทุน คือ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ ความเสี่ยงที่มีความสำคัญ หรือความเสี่ยงทางการตลาด(Relevant or Market risk)สูง จะต้องให้อัตราผลตอบแทนสูงเพื่อชดเชยความเสี่ยงนั้น
Risk premium…คือ ผลตอบแทนที่ต้องการเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (Expected Rate of Return: k ) คือ อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน ซึ่งสามารถหาได้จากสมการ
k = n
 PiKi
i =1
Pi = โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ I Ki = อัตราผลตอบแทน ถ้าเกิดเหตุการณ์ I
ตัวอย่าง
ตลาด Prob. บริษัท Martin บริษัท US. Electric
อัตราผลตอบแทน ถ้าตลาด ผลที่ได้ อัตราผลตอบแทน ถ้าตลาด ผลที่ได้
ดี 0.3 100 % 30 % 20 % 6 %
ปกติ 0.4 15 % 6 % 15 % 6 %
ไม่ดี 0.3 -70 % -21 % 10 % 3 %
รวม 1.0 k=15 % k=15 %
จากตัวอย่าง. จะเห็นว่า ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับเท่ากัน คือ 15% แต่ถ้าพิจารณาดูการกระจายของผลตอบแทนของบริษัท US Electric จะแคบกว่า คืออยู่ในช่วง 10%-20% ในขณะที่บริษัท Martin กระจายกว้างกว่า คืออยู่ในช่วง 70%–100%
**การกระจายที่แคบกว่า หมายถึง อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจริงจะใกล้เคียงกับอัตราผลตอบแทนที่คาดไว้ ในแง่ของความเสี่ยง.การลงทุนในบริษัท Martin จะมีความเสี่ยงมากกว่าบริษัท US. Electric
การวัดความเสี่ยงเฉพาะตัว (Measuring Stand-alone risk)
(1) SD: Standard Deviation…จะแสดงถึงโอกาสที่อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจริงจะมีโอกาสเบี่ยงเบนไปจากอัตราผลตอบแทนที่คาดไว้เท่าใด หาได้จากสมการ
2 = n
 (ki – k)2Pi เมื่อ SD = 2 = 
i = 1

สรุปว่า...ค่า SD มาก  เสี่ยงมาก ค่า SD น้อย  เสี่ยงน้อย สามารถใช้เปรียบเทียบได้เฉพาะบริษัทที่มี k เท่ากัน แต่ถ้าแต่ละบริษัทมีค่า k ไม่เท่ากัน จะใช้ CV เป็นตัวเปรียบเทียบแทน
(2) CV: Coefficient of Variation…คือ ความเสี่ยงต่อหนึ่งหน่วยของอัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ (Risk per unit of return) หาได้จากสมการ
CV =  = SD
k k
สรุปว่า...ค่า CV มาก  เสี่ยงมาก ค่า CV น้อย  เสี่ยงน้อย
นักลงทุนที่มีเหตุผลจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น (Risk averse) และหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง จะต้องให้ผลตอบแทน (Expected returns) สูงตามไปด้วย เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยงที่นักลงทุนคาดคิดเอาไว้ ถ้าอัตราผลตอบแทนยังไม่เหมาะสม ราคาหลักทรัพย์จะเคลื่อนไหวจนทำให้ผลตอบแทนเหมาะสมกับความเสี่ยง ณ ระดับต่างๆ ที่นักลงทุนยอมรับได้
Risk in a Portfolio context…ลงทุนในหลักทรัพย์หลายตัว (เป็นกลุ่ม) พร้อมๆ กัน ถ้าเพิ่มปริมาณหลักทรัพย์หลายตัวมากขึ้น จะขจัดความเสี่ยง Diversifiable risk ได้ แต่ไม่สามารถ
ขจัด Market risk ได้
Expected Return on a Portfolio (kp)…การหาอัตราผลตอบแทนจากกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน เป็นการหาผลตอบแทนแบบเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weight average) หาได้จากสมการ
kp = n
 wiki
i =1
ตัวอย่าง
บริษัท อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ (k) Weight Average
A 14 % 25 %
B 13 25
C 20 25
D 18 25
100 %
kp = 0.25(14%) + 0.25(13%) + 0.25(20%) + 0.25(18%) = 16.25%
ผลตอบแทนที่ได้รับจริง (Realized Rate of Return: k)…คือ อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจริง (ทราบแน่นอนแล้ว)
ความเสี่ยงของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน...ไม่สามารถนำค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานมาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเพื่อหาค่าความเสี่ยงได้ เนื่องจากหลักทรัพย์แต่ละตัวจะมีความสัมพันธ์กัน (Correlation) ซึ่งลักษณะทิศทางของความสัมพันธ์นั้น จะดูที่ Coefficient correlation: r ซึ่งค่า r มีค่าระหว่าง –1.00 ~ +1.00 ถ้า r มีค่าเป็นลบ(-) ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม และถ้า r มีค่าเป็นบวก(+) ความสัมพันธ์จะมีทิศทางไปในทางเดียวกัน นอกจากนี้โดยปกติแล้วค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน(p)จะต่ำกว่าค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเฉลี่ย(i)ของหลักทรัพย์แต่ละตัว
Relevant risk…เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือคือความเสี่ยงทางการตลาด (Market risk) ที่ยังคงอยู่หลังจากที่ได้ขจัดความเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้บางส่วนออกไปแล้ว ซึ่ง Market risk นี้สามารถวัดได้โดย beta (b) โดยเปรียบเทียบว่าอัตราผลตอบแทนจากหุ้นสามัญนั้น จะเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์โดยรวม

CAPM: Capital Asset Pricing Model…เป็นแบบจำลอง/ตัวแบบในการตั้งราคาหลักทรัพย์...โดยมีแนวความคิดว่า อัตราผลตอบแทนจากหลักทรัพย์ของหุ้นสามัญตัวใดตัวหนึ่ง จะเท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง (Risk-free rate) บวก อัตราผลตอบแทนที่ต้องการเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (Risk premium) เขียนเป็นสมการได้ดังนี้
ki = kRF + (kM – kRF) bi
เมื่อ ki = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากหุ้นสามัญ i (Required rate of return on stock i)
kRF = อัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง (Risk-free rate)
kM = อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์โดยเฉลี่ย
bi = beta ของหลักทรัพย์ i

แนวคิดของ Beta: b …เป็นการวัดการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เทียบกับการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์โดยรวม ค่าของ beta ก็คือ ค่าความชันของเส้นตรง โดยที่มีแกน Y เป็นอัตราผลตอบแทนของหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง และแกน X เป็นอัตราผลตอบแทนของตลาดโดยรวม ค่าความชัน หรือค่า Beta จะบอกว่า เมื่ออัตราผลตอบแทนของตลาดเปลี่ยนไป 1 หน่วยหรือ 1 % จะทำให้อัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญนั้นเปลี่ยนไปกี่หน่วยหรือกี่% นั่นเอง (ค่า beta สูง คือมีความเสี่ยงสูง)
Portfolio Beta…คือ การเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted average) ของ Beta ของหุ้นสามัญแต่ละตัวใน portfolio นั่นเอง โดยมีสมการดังต่อไปนี้
bp = n
 wibi
i =1
เมื่อ wi = อัตราส่วนการลงทุนในหุ้นสามัญ i
bi = beta ของหุ้นสามัญ I
ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน.เป็นการศึกษาว่า ณ ระดับความเสี่ยงหนึ่ง (วัดโดย beta) นักลงทุนต้องการอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นเท่าใด เพื่อชดเชยความเสี่ยง ณ ระดับนั้นๆ
ki = อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ (Expected rate of return) จากหุ้นสามัญ i
ki = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (Required rate of return) จากหุ้นสามัญ i
ถ้า ki < ki เราจะไม่ซื้อหุ้นสามัญนั้น ในทางตรงกันข้าม
ถ้า ki > ki เราต้องการที่จะซื้อหุ้นสามัญนั้น เนื่องจากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ สูงกว่าอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
kRF = อัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง (Risk-free rate) อาจจะใช้ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแทน kRFได้ (ในประเทศไทย)
bi = Beta ของหุ้นสามัญ i ถ้า beta = 1.0 นั่นคือความเสี่ยงของหุ้นสามัญนั้นเท่ากับความเสี่ยงโดยเฉลี่ยพอดี (ความเสี่ยงโดยเฉลี่ย ก็คือความเสี่ยงของตลาดโดยรวม bM = 1.0)
kM = ผลตอบแทนที่ต้องการ เมื่อ portfolio ประกอบไปด้วยหุ้นสามัญทุกตัวในตลาด ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Market portfolio (kM จะเท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากหุ้นสามัญที่มี b = 1.0 ด้วย)
RPM = (kM-kRF) = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการสูงขึ้น (Risk premium) ของตลาดหลักทรัพย์โดยรวมจากอัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง (Risk-free rate) เหตุที่ต้องการอัตราผลตอบแทนสูงกว่า kRF เพราะตลาดโดยรวมเองก็มีความเสี่ยง (bM = 1.0) = Market Risk Premium
RPi = (kM-kRF)bi = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการสูงขึ้น (Risk premium) ของหุ้นสามัญ i ที่มี beta = bi
Security Market Line: SML…เป็นเส้นซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยง ซึ่งวัดโดย beta กับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการของหลักทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่ง โดยมีสมการ ดังนี้ ki = kRF + (kM – kRF) bi (**SML ถือเป็น 1 ใน CAPM)
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ SML คือ
1. ภาวะเงินเฟ้อ ...จะมีผลทำให้ kRF สูงขึ้น จะทำให้ kM สูงขึ้น เส้น SML จะขนานกับเส้นเดิม (ความชันเท่าเดิม)
2. Changes in Risk Aversion ...คือ Market Risk premium (kM-kRF) เพิ่มสูงขึ้น จากเดิม ทำให้ผลตอบแทนที่ต้องการ ณ ระดับความเสี่ยงเท่าเดิม มีค่ามากขึ้นด้วย
3. Beta ของหุ้นสามัญเปลี่ยนแปลงไปเอง เช่นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุน หรือการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งมีผลทำให้ beta เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
ข้อควรระวังเกี่ยวกับ beta และ CAPM ...เนื่องจาก beta ของหุ้นสามัญของบริษัทต่างๆ จะใช้ข้อมูลในอดีตในการคำนวณหา แต่การจะนำ beta ไปพยากรณ์อัตราผลตอบแทนที่ต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงควรศึกษาดูว่าค่า beta นั้นคงที่หรือไม่ จากการศึกษาใน USA พบว่า beta ของหุ้นสามัญแต่ละตัวไม่ค่อยคงที่ และ beta ของportfolio ที่ประกอบด้วยหุ้นสามัญตั้งแต่ 10 บริษัทขึ้นไป ค่อนข้างคงที่
เพิ่มเติม...Market risk = Systematic risk …ไม่สามารถลดลงได้โดยการกระจายความเสี่ยง เช่น ภาวะสงคราม แต่สามารถลดได้โดยการกระจาย port สู่ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากภาวะของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน
แบบฝึกหัดบทที่ 5 ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน
โจทย์ 5-1 A-stock’s expected return has the following distribution:
DEMAND FOR THE PROBABILITY OF THIS RATE OF RETURN IF THIS
COMPANY’S PRODUCT DEMEND OCCURRING DEMAND OCCURS
Weak 0.1 (50%)
Below average 0.2 (5)
Average 0.4 16
Above average 0.2 25
Strong 0.1 60
1.0 Calculate the stock’s expected return, standard deviation, and coefficient of variation.
ตอบ = (0.1X-50%) + (0.2X-5%) + (0.4X-16%) + (0.2 x 25%) + (0.1 x 60%) = 11.4%
I = (-50%-11.4%)2(0.1) + (-5%-11.4%)2(0.2) + (16%-11.4%)2(0.4) + (25%-11.4%)2(0.2) + (60%-11.4%)2(0.1)
= 26.69%
CV = 26.69% / 11.4% = 2.34%
โจทย์ 5-6 Stock X and Y have the following probability distributions of expected future return:
PROBABILITY X Y
0.1 (10%) (35%)
0.2 2 0
0.4 12 20
0.2 20 25
0.1 38 45
a. Calculate the expected rate of return, k, for Stock Y. ( kX = 12%)
ตอบ kX = 12%
kY = (0.1 x -35%) + (0.2 x 0) + (0.4 x 20%) + (0.2 x 25%) + (0.1 x 45%) = 14%
b. Calculate the standard deviation for Stock X. (That for Stock Y is 20.35 percent.) Now calculate the coefficient of variation for Stock Y. Is it possible that most investors might regard Stock Y as being less risky than Stock X ? Explain.
Y = 20.35%
X = -10%-12%)2(0.1) + (-2%-12%)2(0.2) + (12%-12%)2(0.4) + (20%-12%)2 (0.2) + (38%-12%)2 (0.1)
= 12.2%
CVX = 12.2% / 12% = 1.02
CVY = 20.35% / 14% = 1.45




โจทย์ 5-18 A mutual fund manager has a $20,000,000 portfolio with a beta of 1.5. Assume that the risk-free rate is 4.5 percent and that the market risk premium is 5.5 percent. The manager expects to receive an additional $5,000,000 in funds soon. She wants to invest these funds in a variety of stocks. After making these additional investments, she wants the fund’s expected return to be 13 percent. What should be the average beta of the new stocks added to the portfolio.
ตอบ Ki = KRF + (KM – KRF) bi
13% = 4.5% + (5.5%) bi
13% - 4.5% = bi
(5.5)
bi = 1.5455
bi = 1.5455 = 20,000,000 (1.5) + 5,000,000 ( X )
25,000,000 25,000,000
1.5455 = 1.2 + 0.2 ( X )
(1.5455 – 1.2) = 0.3455 = 0.2 ( X )
X = (0.3455) = 1.7275
0.2

Popular Posts